อาทิตย์ที่ผ่านมา ได้พา หม่าม้า (อายุ 81) และ ลูก ๆ ไปเที่ยวมาเก๊า ฮ่องกง พร้อมกับ บรรดาหลาน ๆ
เป็นทริปแรก ๆ ที่ได้มีโอกาสไปต่างประเทศกันเกือบหมดบ้าน (ประมาณ 19 คน เป็นญาติกัน 17 คน เท่านั้นเอ๊ง อายุไล่ตั้งแต่ 7 ขวบ ถึง 81 ปี)
จุดประสงค์หลัก ๆ ของทริป คือ พาบรรดา (สว.) สูงวัย และ นว. (น้อยวัย) ไปถวายรูปปั้ง เจ้าแม่กวนอิม ที่วัดกวนอิมใน มาเก๊า พร้อมทั้งเที่ยวกันแบบ ชิลล์ ๆ ไม่มีการเร่งรีบ ไปกันแบบฉิ่งฉับ เรื่อยเปื่อยและสบาย ๆ อย่างที่สุด
เราไปกัน 4 วัน ตามโปรแกรม สแตนดาร์ดที่หลาย ๆ ท่านน่าจะไปกันหลายรอบแล้ว
วันแรก คือ ออกจากสุวรรณภูมิ ไปลงมาเก๊า ทานข้าวกลางวัน ไปวัดกวนอิม ไป Senado Square ดูซากโบสถ์ St. Paul ที่ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ทานข้าวเย็น เดิน shopping ที่ Venetian
วันที่สอง – นั่งเรือไปฮ่องกง ทานข้าวกลางวัน Victoria’s Peak วัดกังหัน (แชกงหมิว) ดู Symphony of Lights เดินเล่น หรือ ช้อปปิ้งตามอัธยาศัย
วันที่สาม – Disney Land –> กลับออกมาตอน 5 โมง ทานข้าวเย็น เดินเล่นตามอัธยาศัย
วันที่สี่ – วัดพระใหญ่ (Ngong Ping) –> ช้อปปิ้งที่ City Gate กลับเมืองไทย
รายละเอียดที่เที่ยวอื่น ๆ ในฮ่องกง และ มาเก๊า คงไม่เล่าอะไรมาก เนื่องจาก หลายท่านคงจะรู้มากกว่าดิฉัน และคงจะเคยไปกันหลายครั้งแล้ว
ตั้งกระทู้นี้ เพื่อมาแชร์เรื่อง การถวายเจ้าแม่กวนอิม กับ การเที่ยวกับ สว. ให้เพื่อน ๆ ฟังค่ะ
ขอท้าวความเรื่องการถวายเจ้าแม่กวนอิมแทรกไว้นิดนึงค่ะ (ถ้าใครไปที่นั่น แล้วเช่ากลับมา ก็แวะบอกเล่ากันได้นะคะ)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อ้อ... ขอเล่าแทรกสักเล็กน้อย สำหรับรูปเจ้าแม่กวนอิมปางนี้ ดิฉันได้หล่อทั้งหมด 350 องค์ 300 องค์ ถวายที่วัดกวนอิมที่มาเก๊า ส่วนอีก 50 องค์ ถวายที่วัดตรีวิสุทธิธรรม สุพรรณบุรี เพื่อให้คนได้เช่าบูชาค่ะ
ปี 2550 ตอนไป Canton Fair ที่กวางเจา ได้มีโอกาสแวะที่มาเก๊า และมีโอกาสสักการะเจ้าแม่กวนอิมปางยืน ริมทะเล ซึ่งถอดแบบมาจากองค์โบราณตรงวัดกวนอิม อันเก่าแก่ค่ะ
ธาราสินธุ์ ก็เกิดความคิดปิ๊งแว่บขึ้นมาว่า อยากหล่อเจ้าแม่กวนอิม องค์จำลองปางรูปแบบหน้าฝรั่งนี้ สัก 300 องค์ส่งมาถวายที่วัด เพื่อเปิดให้คนทั่วไปเช่า เงินที่ได้ ก็ถวายให้วัดใช้บำรุงสถานที่หรือเพื่อสาธารณกุศลอื่น ๆ ต่อไป
5-6 ปีต่อมา ความตั้งใจก็สัมฤทธิ์ผล เพิ่งพาลูก ๆ และ คุณแม่ พร้อม ๆ กับ สมาชิกครอบครัวคนอื่น ๆ ไปร่วมถวาย พร้อมแวะเที่ยวมาเก๊า ฮ่องกง กลับมา
จึงตั้งกระทู้เรียนเชิญทุกท่านมาร่วมอนุโมทนาด้วยกันค่ะ
กุศลผลอันใดที่บังเกิดขึ้น ขอให้ทุก ๆ ท่านได้มีส่วนในกุศลนั้น ๆ ประดุจท่านได้ไปร่วมถวายด้วยตัวเอง
ขอเล่าท้าวความถึง กระบวนการหล่อเจ้าแม่กวนอิม นี่ให้ฟังพอขำ ๆ กันนะคะ กว่าโปรเจคต์นี้จะสำเร็จ ก็ต้องขอบอกว่า สำเร็จได้ด้วยความบังเอิญหลาย ๆ อย่างจริง ๆ
เริ่มจาก พอดิฉัน คิดจะทำ ก็ไม่รู้จักว่า จะต้องเริ่มไปหาให้ใครเป็นคนปั้นแบบ ใครหล่อ หรือ ต้องทำอะไรยังไงต่อไป
คุณเจี๊ยบบู คุณแม่เพื่อนสนิทลูก ก็มาบอกว่า น้องชายเธอเคยทำงานที่โรงหล่อกับ อ.เด (อยู่แถวลาดกระบัง) เดี๋ยวขอเบอร์โทร.ให้
ดิฉัน ก็ได้ทั้งเบอร์บ้าน และ เบอร์มือถือของอ.เด ก็ได้โทร.ไปคุย พร้อมส่งรูปแบบงานไปให้ทางอีเมล์ พอขึ้นรูปแบบคร่าว ๆ แล้ว อ.เด ก็โทร.เรียกดิฉันไปดูแบบ
ดิฉัน ก็ขับรถดุ่ย ๆ ไปลาดกระบัง ที่วิทยาลัยช่างศิลป์ ด้วยความเข้าใจผิดไปว่า วิทยาลัยช่างศิลป์เป็นส่วนหนึ่งของพระจอมเกล้าลาดกระบัง
อันนี้ เป็นแบบแรก
ระหว่างนั้น ก็มีการแก้แบบ คอมเมนต์ ปรับแก้ เพิ่มโน่น เพิ่มนี่ไป ดิฉันก็มีโอกาสได้คุยกับ อ.เดชา อาจารย์ท่านก็ถามว่า ได้เบอร์ท่านมาได้อย่างไร
อันนี้เป็นแบบที่ปรับแก้
ดิฉันก็เล่าท้าวความไปว่า ได้มาจากคุณเจี๊ยบมีน้องชายชื่อคุณโต้ง เค้าบอกเคยทำงานกับอาจารย์ที่โรงหล่อ อาจารย์เด ทำหน้างง ๆ แล้วบอกว่า “ที่คุณเอ่ยชื่อมาทั้งหมดนี่ ผมไม่รู้จักสักคน ผมไม่มีโรงหล่อ รับแต่งานปั้นอย่างเดียว ที่ถามว่า รู้จักผมได้ยังไง เพราะทีแรกเข้าใจว่า คุณเป็นลูกศิษย์โทร.มาอำผม เพราะมีแต่ลูกศิษย์ที่สนิทเท่านั้นที่เรียกผมว่า อาจารย์เด”
เหวอ... ดิฉันหัวเราะก๊ากกก ออกมาเลยค่ะ ดิฉันทวนเบอร์โทรศัพท์ อาจารย์ ทั้งเบอร์บ้าน เบอร์มือถือ ก็ปรากฏว่า ถูกต้อง
สรุป --- ก็งง ๆ กันทั้งสองฝ่าย ว่ามารู้จักกันได้ยังไง
เนื่องจาก งานนี้ ดิฉันต้องการรูปแบบเจ้าแม่กวนอิมให้แปลกออกไปจากรูปแบบเดิม ๆ คือ ไม่ต้องการเครื่องทรงรุงรัง หรือ ดูจีนจ๋าไปหมด อยากได้ลุคแนว ๆ avant-garde และสื่อถึงความเมตตาอันเป็นสากล ไม่เลือกชนชาติ และไม่มีประมาณของเจ้าแม่กวนอิม จึงได้เลือกรูปแบบที่ออกแนว ๆ โครงจีน แต่หน้าฝรั่ง
อาจารย์ท่านก็อดทนกับดิฉัน... กับคอมเมนต์ของคนที่ไม่มีความรู้เรื่องศิลปะ แต่ใช้ความรู้สึกขับเคลื่อนในการ brief และกำกับงาน
เช่น “อาจารย์คะ ... ต้องการอารมณ์แบบเซน คือ น้อย แต่มาก”
“อาภรณ์ท่านไม่เอาแบบรุงรังมากนะคะ ขอเส้นพลิ้วเหมือนมีการเคลื่อนไหว ... ดูสะอาดตา”
“ตาพริ้มแบบสงบ ๆ และใจดี และยิ้มนิด ๆ นิดเดียวพอนะคะ เหมือนแย้มริมฝีปากนิด ๆ ค่ะ แต่ต้องดูสงบเป็นหลัก”
“มือ ไม่เอาตามแบบทั้งหมดนะคะ ขอปรับให้รายละเอียดเพิ่มจากต้นแบบนิดนึง ขอเพิ่มแจกัน และท่ามุทราของมือนิดนึงค่ะ”
“ส่วนลำตัว ขอบางอีกนิดนะคะ”
อาจารย์ท่านก็เมตตาสอนเกี่ยวกับเรื่องความโค้งของเส้น และตำแหน่งการวาง ว่าจะให้ดูงามที่สุด จะต้องวางในตำแหน่งไหน ถึงจะได้อารมณ์สงบแบบที่ต้องการ
ก็เหนื่อยทั้งอาจารย์ ทั้งดิฉัน จนอาจารย์ถึงกับหัวเราะและเอ่ยปากว่า
“โห... ผมปั้นรูปมาเยอะแยะ ขนาดใหญ่โตกว่านี้ไม่รู้กี่เท่า แต่นี่ปั้นองค์เล็กนิดเดียว แต่รายละเอียด กับการกำกับงานของคุณนี่ ให้ความรู้สึกเหมือนกำลังปั้นพระประธานใหญ่ ๆ ยังงั้นเลย”
ท้ายที่สุด ... งานก็เสร็จค่ะ อ.เด ก็แนะนำโรงหล่อให้สองสามเจ้าให้ดิฉันเลือก ท้ายที่สุด ดิฉัน ก็ได้เลือกโรงหล่อที่รับแต่ค่าหล่ออย่างเดียว ส่วนวัสดุนั้น ดิฉันเจาะจงใช้เศษทองแดง เกรด 99.95% ที่ใช้ในงานไฟฟ้าของโรงงานมาขึ้นรูปหล่อทั้งหมด
หล่อออกมาแล้วเป็นแบบนี้ค่ะ
ทีนี้ ก็มาที่กล่องบรรจุ ดิฉัน อยากได้กล่องบรรจุแบบธรรมดา มากที่สุด ไม่ต้องการกระจก อะครีลิคครอบ หรืออะไรยังไง เพราะอยากให้ รูปหล่อเจ้าแม่กวนอิมเมื่อเวลาตั้งแล้ว ให้ความรู้สึกว่า เข้าถึงท่านได้ จับต้องได้เลยตัดสินใจว่า ใช้กล่องกระดาษลูกฟูกธรรมดาดีกว่า เพราะถ้าทำกล่องสวยงาม คนก็จะเก็บไว้ในกล่องสวยงามนั้น ไม่ได้เอาออกมาตั้งบูชา
ยังไม่ทันหาว่า จะซื้อกล่องจากไหน (ซึ่งก็ไม่รู้จัก ผู้ผลิตเจ้าไหนอีกตามเคย)
วันหนึ่ง ขับรถวน ๆ อยู่ในซอย ก็เจอคุณป้าอยู่คนหนึ่ง ถือร่มเดิน ๆ อยู่ในซอย แดดร้อนเปรี้ยง แถมในซอยยังมีการทำถนนอยู่
ยิ่งหารถยาก
ต้องอธิบายหน่อยค่ะ ว่า ดิฉันเอง อยู่แถวชานเมืองกรุงเทพ ซอยที่อยู่ก็ลึก มีทั้งโรงงาน บ่อปลา ทุ่งหญ้า ตั้งสลับ ๆ กันไป ส่วนใหญ่คนที่อยู่แถวนี้ ถ้าไม่มีรถ ก็ต้องเรียก taxi radio มารับ ไม่งั้น เดินทางไม่ค่อยสะดวกน่ะค่ะ รถไม่มีและไกลมาก
ดิฉัน เลยจอด แล้วบอกว่า ขึ้นมาเถอะค่ะ เดี๋ยวไปส่งให้หน้าปากซอย จะได้ต่อแท็กซี่ได้ง่าย ๆ
คุณป้าท่านนั้น ก็ขึ้นรถมา ขอบอกขอบใจ พร้อมคุยกันไปในรถ คุณป้าบอกว่า อายุ 66 แล้ว เป็นเจ้าของโรงงานกล่องกระดาษลูกฟูกอยู่ในซอย สามีเสียชีวิต ตัวเองก็ตัวคนเดียว สมัยสามียังอยู่ ก็ไม่เคยหัดขับรถ ตอนนี้ ต้องนั่งแท็กซี่มาทำงานทุกวัน อยากขายโรงงานขนาดไร่กว่า ๆ นี้ พร้อมเครื่องจักร ตอนนี้ มีคนงาน 4-5 คน ทำงานอยู่ คุณป้าอยากไปใช้ชีวิตสงบ ๆ
เปล่าหรอกนะคะ ดิฉัน ไม่ได้ช่วยคุณป้าขายโรงงานได้หรอกค่ะ แต่ได้เพื่อนใหม่มาคนหนึ่ง พร้อมกับ หาคนทำกล่องกระดาษให้ได้แล้ว
พอทุกอย่างเรียบร้อย จะส่งออก ก็ได้กัลยาณมิตรในพันทิปท่านหนึ่ง ที่ทำงานด้านชิปปิ้ง รับปากจะประสานงานให้
มาติดปัญหาอีกข้อคือ การจะส่งออกศิลปวัตถุที่เป็นรูปเคารพนี้ ต้องขออนุญาตก่อน พร้อมยื่นหลักฐานการซื้อขายว่า ของที่ส่งออกไม่ใช่วัตถุโบราณที่แอบไปขโมย หรือซื้อของโจรมา
คำถามคือ ขออนุญาตใคร เพื่อนก็ติดต่อไปที่กรมศุลฯ กรมศุลฯบอกให้โทร.ไปที่กรมศาสนา กรมศาสนา ก็บอกให้โทร.ไปที่กรมศิลปากร กรมศิลปากร ก็บอกให้ไปที่ สำนักงานควบคุมโบราณวัตถุ แถวเทเวศร์เพื่อทำเรื่องขออนุญาต
โดยจะต้องขนรูปหล่อทั้งหมดไปที่นั่น เพื่อให้เจ้าหน้าที่ ผูกสลักตะกั่วกำกับ แล้วเอาคีมย้ำที่มี เครื่องหมายของกรมศิลปากร (เป็นรูปพระพิฆเนศวร) กดย้ำบนแผ่นตะกั่ว พร้อมติดแถบเล็ก ๆ เพื่อเป็นเครื่องหมายว่าขออนุญาตถูกต้องแล้ว
โดยต้องทำทุกองค์จนครบ 300
พอขออนุญาตแล้ว ก็จะได้กระดาษใบเล็ก ๆ ใบนี้มา 300 ใบ ผูกไปกับองค์เจ้าแม่กวนอิมทุกองค์
เอาละค่ะ ... ในที่สุด เมื่อทุกสิ่งอย่างเรียบร้อย ก็ได้เวลาส่งออกเสียที
ด้วยความช่วยเหลือของ คุณ Gaspy กัลยาณมิตรในนี้ ดิฉัน ส่งของไปที่ฮ่องกงก่อนทางเรือ แล้วชิปปิ้ง ก็ช่วยเคลียร์ของไปที่วัด
เมื่อของไปถึงที่นั่น คุณกุ้งที่เป็นไกด์ที่มาเก๊า ก็ช่วยประสานงานให้ วันที่พวกเราไปถึง ทางวัด ก็เอารูปหล่อประมาณ 9 รูป วางบนแท่นบูชา คุณกุ้ง เตรียมผลไม้ กับอาหารเจนิดหน่อยไว้บนแท่นบูชา พวกเราก็ไปจุดธูปบอกกล่าวว่า ได้ร่วมกันมาถวายแล้วนะคะ
เรียนเชิญมาร่วมถวายไปพร้อม ๆ กันนะคะ
เที่ยวกับ สว. และ เด็กน้อย พร้อมถวายรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิม ที่วัดกวนอิม มาเก๊า + แวะเที่ยวฮ่องกง
เป็นทริปแรก ๆ ที่ได้มีโอกาสไปต่างประเทศกันเกือบหมดบ้าน (ประมาณ 19 คน เป็นญาติกัน 17 คน เท่านั้นเอ๊ง อายุไล่ตั้งแต่ 7 ขวบ ถึง 81 ปี)
จุดประสงค์หลัก ๆ ของทริป คือ พาบรรดา (สว.) สูงวัย และ นว. (น้อยวัย) ไปถวายรูปปั้ง เจ้าแม่กวนอิม ที่วัดกวนอิมใน มาเก๊า พร้อมทั้งเที่ยวกันแบบ ชิลล์ ๆ ไม่มีการเร่งรีบ ไปกันแบบฉิ่งฉับ เรื่อยเปื่อยและสบาย ๆ อย่างที่สุด
เราไปกัน 4 วัน ตามโปรแกรม สแตนดาร์ดที่หลาย ๆ ท่านน่าจะไปกันหลายรอบแล้ว
วันแรก คือ ออกจากสุวรรณภูมิ ไปลงมาเก๊า ทานข้าวกลางวัน ไปวัดกวนอิม ไป Senado Square ดูซากโบสถ์ St. Paul ที่ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ทานข้าวเย็น เดิน shopping ที่ Venetian
วันที่สอง – นั่งเรือไปฮ่องกง ทานข้าวกลางวัน Victoria’s Peak วัดกังหัน (แชกงหมิว) ดู Symphony of Lights เดินเล่น หรือ ช้อปปิ้งตามอัธยาศัย
วันที่สาม – Disney Land –> กลับออกมาตอน 5 โมง ทานข้าวเย็น เดินเล่นตามอัธยาศัย
วันที่สี่ – วัดพระใหญ่ (Ngong Ping) –> ช้อปปิ้งที่ City Gate กลับเมืองไทย
รายละเอียดที่เที่ยวอื่น ๆ ในฮ่องกง และ มาเก๊า คงไม่เล่าอะไรมาก เนื่องจาก หลายท่านคงจะรู้มากกว่าดิฉัน และคงจะเคยไปกันหลายครั้งแล้ว
ตั้งกระทู้นี้ เพื่อมาแชร์เรื่อง การถวายเจ้าแม่กวนอิม กับ การเที่ยวกับ สว. ให้เพื่อน ๆ ฟังค่ะ
ขอท้าวความเรื่องการถวายเจ้าแม่กวนอิมแทรกไว้นิดนึงค่ะ (ถ้าใครไปที่นั่น แล้วเช่ากลับมา ก็แวะบอกเล่ากันได้นะคะ)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ปี 2550 ตอนไป Canton Fair ที่กวางเจา ได้มีโอกาสแวะที่มาเก๊า และมีโอกาสสักการะเจ้าแม่กวนอิมปางยืน ริมทะเล ซึ่งถอดแบบมาจากองค์โบราณตรงวัดกวนอิม อันเก่าแก่ค่ะ
ธาราสินธุ์ ก็เกิดความคิดปิ๊งแว่บขึ้นมาว่า อยากหล่อเจ้าแม่กวนอิม องค์จำลองปางรูปแบบหน้าฝรั่งนี้ สัก 300 องค์ส่งมาถวายที่วัด เพื่อเปิดให้คนทั่วไปเช่า เงินที่ได้ ก็ถวายให้วัดใช้บำรุงสถานที่หรือเพื่อสาธารณกุศลอื่น ๆ ต่อไป
5-6 ปีต่อมา ความตั้งใจก็สัมฤทธิ์ผล เพิ่งพาลูก ๆ และ คุณแม่ พร้อม ๆ กับ สมาชิกครอบครัวคนอื่น ๆ ไปร่วมถวาย พร้อมแวะเที่ยวมาเก๊า ฮ่องกง กลับมา
จึงตั้งกระทู้เรียนเชิญทุกท่านมาร่วมอนุโมทนาด้วยกันค่ะ
กุศลผลอันใดที่บังเกิดขึ้น ขอให้ทุก ๆ ท่านได้มีส่วนในกุศลนั้น ๆ ประดุจท่านได้ไปร่วมถวายด้วยตัวเอง
ขอเล่าท้าวความถึง กระบวนการหล่อเจ้าแม่กวนอิม นี่ให้ฟังพอขำ ๆ กันนะคะ กว่าโปรเจคต์นี้จะสำเร็จ ก็ต้องขอบอกว่า สำเร็จได้ด้วยความบังเอิญหลาย ๆ อย่างจริง ๆ
เริ่มจาก พอดิฉัน คิดจะทำ ก็ไม่รู้จักว่า จะต้องเริ่มไปหาให้ใครเป็นคนปั้นแบบ ใครหล่อ หรือ ต้องทำอะไรยังไงต่อไป
คุณเจี๊ยบบู คุณแม่เพื่อนสนิทลูก ก็มาบอกว่า น้องชายเธอเคยทำงานที่โรงหล่อกับ อ.เด (อยู่แถวลาดกระบัง) เดี๋ยวขอเบอร์โทร.ให้
ดิฉัน ก็ได้ทั้งเบอร์บ้าน และ เบอร์มือถือของอ.เด ก็ได้โทร.ไปคุย พร้อมส่งรูปแบบงานไปให้ทางอีเมล์ พอขึ้นรูปแบบคร่าว ๆ แล้ว อ.เด ก็โทร.เรียกดิฉันไปดูแบบ
ดิฉัน ก็ขับรถดุ่ย ๆ ไปลาดกระบัง ที่วิทยาลัยช่างศิลป์ ด้วยความเข้าใจผิดไปว่า วิทยาลัยช่างศิลป์เป็นส่วนหนึ่งของพระจอมเกล้าลาดกระบัง
อันนี้ เป็นแบบแรก
ระหว่างนั้น ก็มีการแก้แบบ คอมเมนต์ ปรับแก้ เพิ่มโน่น เพิ่มนี่ไป ดิฉันก็มีโอกาสได้คุยกับ อ.เดชา อาจารย์ท่านก็ถามว่า ได้เบอร์ท่านมาได้อย่างไร
อันนี้เป็นแบบที่ปรับแก้
ดิฉันก็เล่าท้าวความไปว่า ได้มาจากคุณเจี๊ยบมีน้องชายชื่อคุณโต้ง เค้าบอกเคยทำงานกับอาจารย์ที่โรงหล่อ อาจารย์เด ทำหน้างง ๆ แล้วบอกว่า “ที่คุณเอ่ยชื่อมาทั้งหมดนี่ ผมไม่รู้จักสักคน ผมไม่มีโรงหล่อ รับแต่งานปั้นอย่างเดียว ที่ถามว่า รู้จักผมได้ยังไง เพราะทีแรกเข้าใจว่า คุณเป็นลูกศิษย์โทร.มาอำผม เพราะมีแต่ลูกศิษย์ที่สนิทเท่านั้นที่เรียกผมว่า อาจารย์เด”
เหวอ... ดิฉันหัวเราะก๊ากกก ออกมาเลยค่ะ ดิฉันทวนเบอร์โทรศัพท์ อาจารย์ ทั้งเบอร์บ้าน เบอร์มือถือ ก็ปรากฏว่า ถูกต้อง
สรุป --- ก็งง ๆ กันทั้งสองฝ่าย ว่ามารู้จักกันได้ยังไง
เนื่องจาก งานนี้ ดิฉันต้องการรูปแบบเจ้าแม่กวนอิมให้แปลกออกไปจากรูปแบบเดิม ๆ คือ ไม่ต้องการเครื่องทรงรุงรัง หรือ ดูจีนจ๋าไปหมด อยากได้ลุคแนว ๆ avant-garde และสื่อถึงความเมตตาอันเป็นสากล ไม่เลือกชนชาติ และไม่มีประมาณของเจ้าแม่กวนอิม จึงได้เลือกรูปแบบที่ออกแนว ๆ โครงจีน แต่หน้าฝรั่ง
อาจารย์ท่านก็อดทนกับดิฉัน... กับคอมเมนต์ของคนที่ไม่มีความรู้เรื่องศิลปะ แต่ใช้ความรู้สึกขับเคลื่อนในการ brief และกำกับงาน
เช่น “อาจารย์คะ ... ต้องการอารมณ์แบบเซน คือ น้อย แต่มาก”
“อาภรณ์ท่านไม่เอาแบบรุงรังมากนะคะ ขอเส้นพลิ้วเหมือนมีการเคลื่อนไหว ... ดูสะอาดตา”
“ตาพริ้มแบบสงบ ๆ และใจดี และยิ้มนิด ๆ นิดเดียวพอนะคะ เหมือนแย้มริมฝีปากนิด ๆ ค่ะ แต่ต้องดูสงบเป็นหลัก”
“มือ ไม่เอาตามแบบทั้งหมดนะคะ ขอปรับให้รายละเอียดเพิ่มจากต้นแบบนิดนึง ขอเพิ่มแจกัน และท่ามุทราของมือนิดนึงค่ะ”
“ส่วนลำตัว ขอบางอีกนิดนะคะ”
อาจารย์ท่านก็เมตตาสอนเกี่ยวกับเรื่องความโค้งของเส้น และตำแหน่งการวาง ว่าจะให้ดูงามที่สุด จะต้องวางในตำแหน่งไหน ถึงจะได้อารมณ์สงบแบบที่ต้องการ
ก็เหนื่อยทั้งอาจารย์ ทั้งดิฉัน จนอาจารย์ถึงกับหัวเราะและเอ่ยปากว่า
“โห... ผมปั้นรูปมาเยอะแยะ ขนาดใหญ่โตกว่านี้ไม่รู้กี่เท่า แต่นี่ปั้นองค์เล็กนิดเดียว แต่รายละเอียด กับการกำกับงานของคุณนี่ ให้ความรู้สึกเหมือนกำลังปั้นพระประธานใหญ่ ๆ ยังงั้นเลย”
ท้ายที่สุด ... งานก็เสร็จค่ะ อ.เด ก็แนะนำโรงหล่อให้สองสามเจ้าให้ดิฉันเลือก ท้ายที่สุด ดิฉัน ก็ได้เลือกโรงหล่อที่รับแต่ค่าหล่ออย่างเดียว ส่วนวัสดุนั้น ดิฉันเจาะจงใช้เศษทองแดง เกรด 99.95% ที่ใช้ในงานไฟฟ้าของโรงงานมาขึ้นรูปหล่อทั้งหมด
หล่อออกมาแล้วเป็นแบบนี้ค่ะ
ทีนี้ ก็มาที่กล่องบรรจุ ดิฉัน อยากได้กล่องบรรจุแบบธรรมดา มากที่สุด ไม่ต้องการกระจก อะครีลิคครอบ หรืออะไรยังไง เพราะอยากให้ รูปหล่อเจ้าแม่กวนอิมเมื่อเวลาตั้งแล้ว ให้ความรู้สึกว่า เข้าถึงท่านได้ จับต้องได้เลยตัดสินใจว่า ใช้กล่องกระดาษลูกฟูกธรรมดาดีกว่า เพราะถ้าทำกล่องสวยงาม คนก็จะเก็บไว้ในกล่องสวยงามนั้น ไม่ได้เอาออกมาตั้งบูชา
ยังไม่ทันหาว่า จะซื้อกล่องจากไหน (ซึ่งก็ไม่รู้จัก ผู้ผลิตเจ้าไหนอีกตามเคย)
วันหนึ่ง ขับรถวน ๆ อยู่ในซอย ก็เจอคุณป้าอยู่คนหนึ่ง ถือร่มเดิน ๆ อยู่ในซอย แดดร้อนเปรี้ยง แถมในซอยยังมีการทำถนนอยู่
ยิ่งหารถยาก
ต้องอธิบายหน่อยค่ะ ว่า ดิฉันเอง อยู่แถวชานเมืองกรุงเทพ ซอยที่อยู่ก็ลึก มีทั้งโรงงาน บ่อปลา ทุ่งหญ้า ตั้งสลับ ๆ กันไป ส่วนใหญ่คนที่อยู่แถวนี้ ถ้าไม่มีรถ ก็ต้องเรียก taxi radio มารับ ไม่งั้น เดินทางไม่ค่อยสะดวกน่ะค่ะ รถไม่มีและไกลมาก
ดิฉัน เลยจอด แล้วบอกว่า ขึ้นมาเถอะค่ะ เดี๋ยวไปส่งให้หน้าปากซอย จะได้ต่อแท็กซี่ได้ง่าย ๆ
คุณป้าท่านนั้น ก็ขึ้นรถมา ขอบอกขอบใจ พร้อมคุยกันไปในรถ คุณป้าบอกว่า อายุ 66 แล้ว เป็นเจ้าของโรงงานกล่องกระดาษลูกฟูกอยู่ในซอย สามีเสียชีวิต ตัวเองก็ตัวคนเดียว สมัยสามียังอยู่ ก็ไม่เคยหัดขับรถ ตอนนี้ ต้องนั่งแท็กซี่มาทำงานทุกวัน อยากขายโรงงานขนาดไร่กว่า ๆ นี้ พร้อมเครื่องจักร ตอนนี้ มีคนงาน 4-5 คน ทำงานอยู่ คุณป้าอยากไปใช้ชีวิตสงบ ๆ
เปล่าหรอกนะคะ ดิฉัน ไม่ได้ช่วยคุณป้าขายโรงงานได้หรอกค่ะ แต่ได้เพื่อนใหม่มาคนหนึ่ง พร้อมกับ หาคนทำกล่องกระดาษให้ได้แล้ว
พอทุกอย่างเรียบร้อย จะส่งออก ก็ได้กัลยาณมิตรในพันทิปท่านหนึ่ง ที่ทำงานด้านชิปปิ้ง รับปากจะประสานงานให้
มาติดปัญหาอีกข้อคือ การจะส่งออกศิลปวัตถุที่เป็นรูปเคารพนี้ ต้องขออนุญาตก่อน พร้อมยื่นหลักฐานการซื้อขายว่า ของที่ส่งออกไม่ใช่วัตถุโบราณที่แอบไปขโมย หรือซื้อของโจรมา
คำถามคือ ขออนุญาตใคร เพื่อนก็ติดต่อไปที่กรมศุลฯ กรมศุลฯบอกให้โทร.ไปที่กรมศาสนา กรมศาสนา ก็บอกให้โทร.ไปที่กรมศิลปากร กรมศิลปากร ก็บอกให้ไปที่ สำนักงานควบคุมโบราณวัตถุ แถวเทเวศร์เพื่อทำเรื่องขออนุญาต
โดยจะต้องขนรูปหล่อทั้งหมดไปที่นั่น เพื่อให้เจ้าหน้าที่ ผูกสลักตะกั่วกำกับ แล้วเอาคีมย้ำที่มี เครื่องหมายของกรมศิลปากร (เป็นรูปพระพิฆเนศวร) กดย้ำบนแผ่นตะกั่ว พร้อมติดแถบเล็ก ๆ เพื่อเป็นเครื่องหมายว่าขออนุญาตถูกต้องแล้ว
โดยต้องทำทุกองค์จนครบ 300
พอขออนุญาตแล้ว ก็จะได้กระดาษใบเล็ก ๆ ใบนี้มา 300 ใบ ผูกไปกับองค์เจ้าแม่กวนอิมทุกองค์
เอาละค่ะ ... ในที่สุด เมื่อทุกสิ่งอย่างเรียบร้อย ก็ได้เวลาส่งออกเสียที
ด้วยความช่วยเหลือของ คุณ Gaspy กัลยาณมิตรในนี้ ดิฉัน ส่งของไปที่ฮ่องกงก่อนทางเรือ แล้วชิปปิ้ง ก็ช่วยเคลียร์ของไปที่วัด
เมื่อของไปถึงที่นั่น คุณกุ้งที่เป็นไกด์ที่มาเก๊า ก็ช่วยประสานงานให้ วันที่พวกเราไปถึง ทางวัด ก็เอารูปหล่อประมาณ 9 รูป วางบนแท่นบูชา คุณกุ้ง เตรียมผลไม้ กับอาหารเจนิดหน่อยไว้บนแท่นบูชา พวกเราก็ไปจุดธูปบอกกล่าวว่า ได้ร่วมกันมาถวายแล้วนะคะ
เรียนเชิญมาร่วมถวายไปพร้อม ๆ กันนะคะ