สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 6
มีความสำคัญอยู่ครับ
1. ขอเริ่มต้นที่ขีดเส้นใต้สีเขียวก่อนนะครับ ตัวนี้จะบอกว่าการดำเนินงานที่ผ่านมาในงวดนั้นมีเงินสดเพิ่มขึ้นหรือลดลง
โดย เงินสดสุทธิ เกิดจากการเอาเงินสดจากทั้ง 3 กิจกรรมรวมกัน (กิจกรรมดำเนินงาน + ลงทุน + จัดหาเงิน) ก็จะได้เงินสดสุทธิที่เหลือออกมาในงวดนั้น
งวด 6M/56 -88.12 คือ งวด 6 เดือนนี้ บริษัทประกอบกิจการมา 6 เดือนมีเงินสดไหลออกไป (ลดลง) 88.12 ล้านบาท กล่าวคือ บ. หาเงินมาจากการดำเนินกิจการได้ 113 ลบ. นำเงินไปลงทุน 144 ลบ และจ่ายปันผลหรือจ่ายหนี้ 57 ลบ. ทำให้เงินสดติดลบ 88.12 (เนื่องจากไหลออกไป 144+57 มากกว่าที่ไหลเข้ามา113 ลบ.)
งวดปี55 +94.14 คือ ได้เงินสดจากการดำเนิน 231 ล้านบาท ใช้จ่ายลงทุนไป -69.64 และ จ่ายปันผลหรือจ่ายหนี้ (ในกิจกรรมจัดหาเงิน) -67.23 ยังมีเงินสดเหลือเพิ่มขึ้นมา 94 ลบ.
2. ส่วนในวงกลมสีแดง ก็จะเห็นว่างบนี้ดีตามมาตรฐาน เป็นไปตามตำราที่กล่าวมา คือ เงินสดที่หามาได้จากการดำเนินงานควรเป็นบวก แล้วงบอื่นเป็นลบจากการลงทุนเพิ่ม และชำระหนี้หรือจ่ายปันผล
เช่น บ. นี้มีกำไรสุทธิ 30 ลบ. แต่ได้เงินสดมา113 ลบ. ซึ่งก็ถือว่าดีครับ(บริษัทส่วนใหญ่จะได้เงินสดจากการดำเนินงานจะได้มาประมาณ 60-80% ของยอดกำไรสุทธิ) ขณะที่บางบริษัทจะมีแต่ตัวเลขกำไรแต่ไม่มีเงินสดเข้ามา
3. จากนั้นให้ดูต่อไป (โดยคลิกที่คำว่าเพิ่มเติม มุมขวาล่าง)
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เพิ่มขึ้น (ลดลง) สุทธิ -88.12
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ต้นงวด 115.44
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด สิ้นงวด 27.32
จะเห็นว่าเงินสดที่บริษัทมีอยู่ในงวดก่อน (ต้นงวด) 115 ลบ. ดำเนินงานมาในงวดนี้ (เงินสดลดลงสุทธิ) ติดลบ 88 ลบ. ทำให้มีเงินสดเหลืออยู่ตอนนี้ (สิ้นงวด) 27 ลบ. ครับ
4. ซึ่งเงินสดสิ้นงวดนี้ก็จะไปปรากฏที่บรรทัดแรกของงบดุลครับ
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 27.32
5. วิธีการดูเงินสดหรือกระแสเงินสด ก็เช่น ปีเตอร์ ลินช์ แนะว่าดูเงินสดต่อหุ้น เมื่อเทียบกับราคาหุ้นนั้น เป็นต้นครับ
1. ขอเริ่มต้นที่ขีดเส้นใต้สีเขียวก่อนนะครับ ตัวนี้จะบอกว่าการดำเนินงานที่ผ่านมาในงวดนั้นมีเงินสดเพิ่มขึ้นหรือลดลง
โดย เงินสดสุทธิ เกิดจากการเอาเงินสดจากทั้ง 3 กิจกรรมรวมกัน (กิจกรรมดำเนินงาน + ลงทุน + จัดหาเงิน) ก็จะได้เงินสดสุทธิที่เหลือออกมาในงวดนั้น
งวด 6M/56 -88.12 คือ งวด 6 เดือนนี้ บริษัทประกอบกิจการมา 6 เดือนมีเงินสดไหลออกไป (ลดลง) 88.12 ล้านบาท กล่าวคือ บ. หาเงินมาจากการดำเนินกิจการได้ 113 ลบ. นำเงินไปลงทุน 144 ลบ และจ่ายปันผลหรือจ่ายหนี้ 57 ลบ. ทำให้เงินสดติดลบ 88.12 (เนื่องจากไหลออกไป 144+57 มากกว่าที่ไหลเข้ามา113 ลบ.)
งวดปี55 +94.14 คือ ได้เงินสดจากการดำเนิน 231 ล้านบาท ใช้จ่ายลงทุนไป -69.64 และ จ่ายปันผลหรือจ่ายหนี้ (ในกิจกรรมจัดหาเงิน) -67.23 ยังมีเงินสดเหลือเพิ่มขึ้นมา 94 ลบ.
2. ส่วนในวงกลมสีแดง ก็จะเห็นว่างบนี้ดีตามมาตรฐาน เป็นไปตามตำราที่กล่าวมา คือ เงินสดที่หามาได้จากการดำเนินงานควรเป็นบวก แล้วงบอื่นเป็นลบจากการลงทุนเพิ่ม และชำระหนี้หรือจ่ายปันผล
เช่น บ. นี้มีกำไรสุทธิ 30 ลบ. แต่ได้เงินสดมา113 ลบ. ซึ่งก็ถือว่าดีครับ(บริษัทส่วนใหญ่จะได้เงินสดจากการดำเนินงานจะได้มาประมาณ 60-80% ของยอดกำไรสุทธิ) ขณะที่บางบริษัทจะมีแต่ตัวเลขกำไรแต่ไม่มีเงินสดเข้ามา
3. จากนั้นให้ดูต่อไป (โดยคลิกที่คำว่าเพิ่มเติม มุมขวาล่าง)
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เพิ่มขึ้น (ลดลง) สุทธิ -88.12
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ต้นงวด 115.44
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด สิ้นงวด 27.32
จะเห็นว่าเงินสดที่บริษัทมีอยู่ในงวดก่อน (ต้นงวด) 115 ลบ. ดำเนินงานมาในงวดนี้ (เงินสดลดลงสุทธิ) ติดลบ 88 ลบ. ทำให้มีเงินสดเหลืออยู่ตอนนี้ (สิ้นงวด) 27 ลบ. ครับ
4. ซึ่งเงินสดสิ้นงวดนี้ก็จะไปปรากฏที่บรรทัดแรกของงบดุลครับ
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 27.32
5. วิธีการดูเงินสดหรือกระแสเงินสด ก็เช่น ปีเตอร์ ลินช์ แนะว่าดูเงินสดต่อหุ้น เมื่อเทียบกับราคาหุ้นนั้น เป็นต้นครับ
แสดงความคิดเห็น
สงสัยเรื่องงบกระแสเงินสด (มีภาพ)
ตามภาพที่วงกลมสีแดงไว้ ที่เคยอ่านในหนังสือเค้าสอนวิธีการดูงบกระแสเงินสด ว่าต้องเป็น บวก ลบ ลบ ถึงจะเป็นงบกระแสเงินสดที่ดี ซึ่งตรงตามในภาพที่วงกลมสีแดง แต่สงสัยตรงที่ขีดเส้นใต้สีเขียวค่ะ ว่ามันต่างกันยังไง หมายความว่ายังไงคะ