ผลวิจัยล่าสุดพบว่า กาแล็กซีทางช้างเผือกมีดาวเคราะห์อย่างน้อย 1 แสนล้านดวง เฉลี่ยแล้วดาวฤกษ์ทุกดวงมีบริวาร 1 ดวง หลายดวงอาจมีสิ่งมีชีวิต
จอห์น จอห์นสัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านดาราศาสตร์ดาวเคราะห์ สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย หรือแคลเทค บอกว่า ผลการคำนวณนี้น่าตื่นตะลึง "มีดาวเคราะห์อย่างน้อย 100,000 ล้านดวง นี่นับเฉพาะในกาแล็กซีของเราเท่านั้น"
โจนาธาน สวิฟต์ นักศึกษาหลังปริญญาเอกของแคลเทค ผู้เขียนรายงาน ซึ่งกำลังจะตีพิมพ์ในวารสาร Astrophysical Journal บอก "จำนวนที่ว่านี้นับว่ามหาศาลจริงๆ เท่ากับว่าดาวฤกษ์หนึ่งดวงมีดาวเคราะห์บริวารหนึ่งดวง"
นักดาราศาสตร์ของแคลเทคได้คำนวณข้อค้นพบนี้จากการวิเคราะห์บรรดาดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงหนึ่ง ชื่อ เคปเลอร์-32 ซึ่งเป็นตัวอย่างที่เป็นภาพแทนของดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ในกาแล็กซีของเรา
ระบบสุริยะเคปเลอร์-32 ตรวจพบโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ มีดาวเคราะห์ 5 ดวง ทีมวิจัยของแคลเทคได้เปรียบเทียบระบบนี้กับระบบอื่นๆที่กล้องเคปเลอร์ได้ค้นพบ
ดาวฤกษ์แต่ละประเภท มีเขตที่เอื้อต่อสิ่งมีชีวิต ต่างกัน
เคปเลอร์-32 จัดเป็นดาวฤกษ์จำพวกดาวแคระแดง (red dwarfs) หรือเรียกว่าดาวแคระเอ็ม (M dwarf star) ในกาแล็กซีทางช้างเผือก มีดาวแคระแดงอยู่ราว 3 ใน 4 ของดาวฤกษ์ทั้งหมด
ดาวเคราะห์ทั้งห้าดวง ซึ่งมีขนาดพอๆ กับโลก และโคจรรอบดาวฤกษ์ในระยะใกล้ มีลักษณะเหมือนกับดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวแคระแดงทั้งหลาย ที่กล้องเคปเลอร์ได้ค้นพบ
ทีมวิจัยจึงสรุปว่า ดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ในกาแล็กซี มีลักษณะเช่นเดียวกับดาวเคราะห์ห้าดวงนี้
เคยมีนักดาราศาสตร์คณะอื่นเสนอผลคำนวณไว้แล้วว่า โดยเฉลี่ยแล้ว มีดาวเคราะห์หนึ่งดวงต่อดาวฤกษ์หนึ่งดวง แต่นี่เป็นครั้งแรกที่มีการคำนวณเรื่องนี้โดยอาศัยการศึกษาระบบสุริยะของดาวแคระแดง
อย่างไรก็ดี การวิเคราะห์ครั้งนี้ศึกษาเฉพาะดาวเคราะห์ที่โคจรใกล้กับดาวเคราะห์แดงเท่านั้น ไม่ได้ครอบคลุมถึงดาวเคราะห์ชั้นนอกของระบบดาวเคราะห์แดง หรือดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ประเภทอื่นๆ
ฉะนั้น ทีมวิจัยบอกว่า ถ้าดูจากผลวิเคราะห์ของรายงานวิจัยชิ้นอื่นๆ อาจเป็นได้ว่า ดาวฤกษ์ดวงหนึ่งมีดาวเคราะห์ 2 ดวง
ระบบของดาวแคระแดงอย่างเช่นเคปเลอร์-32 นี้ ค่อนข้างแตกต่างกับระบบสุริยะของเรา ดาวแคระแดงมีอุณหภูมิต่ำกว่า และมีขนาดย่อมกว่าดวงอาทิตย์
ตัวอย่างเช่น เคปเลอร์-32 มีมวลครึ่งหนึ่งของดวงอาทิตย์ และมีความยาวรัศมีเพียงครึ่งหนึ่ง และดาวเคราะห์ทั้งห้าก็มีขนาดราว 0.8-2.7 เท่าของโลก ดาวเคราะห์เหล่านั้นยังโคจรรอบดาวฤกษ์ในระยะใกล้มากด้วย
ระบบทั้งหมดของเคปเลอร์-32 มีขนาดแค่ 1 ใน 10 ของระยะห่างระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์
ทว่าแม้ดาวเคราะห์ในระบบดาวแคระแดงโคจรรอบดาวฤกษ์ในระยะใกล้ แต่ใช่ว่าดาวเคราะห์เหล่านั้นจะร้อนจัด เนื่องจากดาวแคระแดงมีขนาดเล็กและเย็น ดังนั้น เขตที่เหมาะแก่สิ่งมีชีวิต ซึ่งมีน้ำในสภาพของเหลว จึงขยับร่นเข้าหาดาวฤกษ์ศูนย์กลาง
ในกรณีดาวเคราะห์ 5 ดวงของเคปเลอร์-32 นี้ มีแค่ดวงนอกสุดดวงเดียวที่จัดอยู่ในเขตที่เอื้อต่อสิ่งมีชีวิต แต่ในระบบดาวแคระแดงอื่นๆนั้น มีหลายระบบที่มีดาวเคราะห์หลายดวงโคจรในเขตเช่นนี้
นั่นหมายความว่า โอกาสที่จะเจอน้ำ หรือกระทั่งสิ่งมีชีวิต บนดาวเคราะห์เหล่านั้นภายในกาแล็กซีของเรา ย่อมมีอยู่ไม่น้อย
ที่มา:
http://news.voicetv.co.th/global/59928.html
ฝากเพจที่เฟสบุคด้วยนะครับ
เพจ "โลกแห่งความจริง" เพจสำหรับชาววิทย์ ความรู้ต่างๆต่างทุกมุมโลก
https://www.facebook.com/Real.of.The.world
ชี้ 'ทางช้างเผือก' มีดาวเคราะห์ 1 แสนล้านดวง
จอห์น จอห์นสัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านดาราศาสตร์ดาวเคราะห์ สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย หรือแคลเทค บอกว่า ผลการคำนวณนี้น่าตื่นตะลึง "มีดาวเคราะห์อย่างน้อย 100,000 ล้านดวง นี่นับเฉพาะในกาแล็กซีของเราเท่านั้น"
โจนาธาน สวิฟต์ นักศึกษาหลังปริญญาเอกของแคลเทค ผู้เขียนรายงาน ซึ่งกำลังจะตีพิมพ์ในวารสาร Astrophysical Journal บอก "จำนวนที่ว่านี้นับว่ามหาศาลจริงๆ เท่ากับว่าดาวฤกษ์หนึ่งดวงมีดาวเคราะห์บริวารหนึ่งดวง"
นักดาราศาสตร์ของแคลเทคได้คำนวณข้อค้นพบนี้จากการวิเคราะห์บรรดาดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงหนึ่ง ชื่อ เคปเลอร์-32 ซึ่งเป็นตัวอย่างที่เป็นภาพแทนของดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ในกาแล็กซีของเรา
ระบบสุริยะเคปเลอร์-32 ตรวจพบโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ มีดาวเคราะห์ 5 ดวง ทีมวิจัยของแคลเทคได้เปรียบเทียบระบบนี้กับระบบอื่นๆที่กล้องเคปเลอร์ได้ค้นพบ
ดาวฤกษ์แต่ละประเภท มีเขตที่เอื้อต่อสิ่งมีชีวิต ต่างกัน
เคปเลอร์-32 จัดเป็นดาวฤกษ์จำพวกดาวแคระแดง (red dwarfs) หรือเรียกว่าดาวแคระเอ็ม (M dwarf star) ในกาแล็กซีทางช้างเผือก มีดาวแคระแดงอยู่ราว 3 ใน 4 ของดาวฤกษ์ทั้งหมด
ดาวเคราะห์ทั้งห้าดวง ซึ่งมีขนาดพอๆ กับโลก และโคจรรอบดาวฤกษ์ในระยะใกล้ มีลักษณะเหมือนกับดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวแคระแดงทั้งหลาย ที่กล้องเคปเลอร์ได้ค้นพบ
ทีมวิจัยจึงสรุปว่า ดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ในกาแล็กซี มีลักษณะเช่นเดียวกับดาวเคราะห์ห้าดวงนี้
เคยมีนักดาราศาสตร์คณะอื่นเสนอผลคำนวณไว้แล้วว่า โดยเฉลี่ยแล้ว มีดาวเคราะห์หนึ่งดวงต่อดาวฤกษ์หนึ่งดวง แต่นี่เป็นครั้งแรกที่มีการคำนวณเรื่องนี้โดยอาศัยการศึกษาระบบสุริยะของดาวแคระแดง
อย่างไรก็ดี การวิเคราะห์ครั้งนี้ศึกษาเฉพาะดาวเคราะห์ที่โคจรใกล้กับดาวเคราะห์แดงเท่านั้น ไม่ได้ครอบคลุมถึงดาวเคราะห์ชั้นนอกของระบบดาวเคราะห์แดง หรือดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ประเภทอื่นๆ
ฉะนั้น ทีมวิจัยบอกว่า ถ้าดูจากผลวิเคราะห์ของรายงานวิจัยชิ้นอื่นๆ อาจเป็นได้ว่า ดาวฤกษ์ดวงหนึ่งมีดาวเคราะห์ 2 ดวง
ระบบของดาวแคระแดงอย่างเช่นเคปเลอร์-32 นี้ ค่อนข้างแตกต่างกับระบบสุริยะของเรา ดาวแคระแดงมีอุณหภูมิต่ำกว่า และมีขนาดย่อมกว่าดวงอาทิตย์
ตัวอย่างเช่น เคปเลอร์-32 มีมวลครึ่งหนึ่งของดวงอาทิตย์ และมีความยาวรัศมีเพียงครึ่งหนึ่ง และดาวเคราะห์ทั้งห้าก็มีขนาดราว 0.8-2.7 เท่าของโลก ดาวเคราะห์เหล่านั้นยังโคจรรอบดาวฤกษ์ในระยะใกล้มากด้วย
ระบบทั้งหมดของเคปเลอร์-32 มีขนาดแค่ 1 ใน 10 ของระยะห่างระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์
ทว่าแม้ดาวเคราะห์ในระบบดาวแคระแดงโคจรรอบดาวฤกษ์ในระยะใกล้ แต่ใช่ว่าดาวเคราะห์เหล่านั้นจะร้อนจัด เนื่องจากดาวแคระแดงมีขนาดเล็กและเย็น ดังนั้น เขตที่เหมาะแก่สิ่งมีชีวิต ซึ่งมีน้ำในสภาพของเหลว จึงขยับร่นเข้าหาดาวฤกษ์ศูนย์กลาง
ในกรณีดาวเคราะห์ 5 ดวงของเคปเลอร์-32 นี้ มีแค่ดวงนอกสุดดวงเดียวที่จัดอยู่ในเขตที่เอื้อต่อสิ่งมีชีวิต แต่ในระบบดาวแคระแดงอื่นๆนั้น มีหลายระบบที่มีดาวเคราะห์หลายดวงโคจรในเขตเช่นนี้
นั่นหมายความว่า โอกาสที่จะเจอน้ำ หรือกระทั่งสิ่งมีชีวิต บนดาวเคราะห์เหล่านั้นภายในกาแล็กซีของเรา ย่อมมีอยู่ไม่น้อย
ที่มา: http://news.voicetv.co.th/global/59928.html
ฝากเพจที่เฟสบุคด้วยนะครับ
เพจ "โลกแห่งความจริง" เพจสำหรับชาววิทย์ ความรู้ต่างๆต่างทุกมุมโลก
https://www.facebook.com/Real.of.The.world