เมื่อคืนนี้ดูเรื่องทองเนื้อเก้าแล้วค่อนข้างเครียดแทนกับชีวิตแต่ละคนในเรื่อง (แต่ก็เป็นละครที่ดูสนุกนะครับ) รู้สึกว่าเป็นละครที่มีเนื้อหาสมจริงมากๆ เลยครับ คิดว่าคุณพงษ์พัฒน์กำกับละครทองเนื้อเก้าออกมาดีมาก โดยเฉพาะการนำเสนอตัวละครแต่ละตัว ทั้งตัวละครเอกและตัวละครประกอบทุกตัว ทำได้เยี่ยมมาก และผมก็เชื่อว่าคนที่ดูนางลำยองแล้วคงไม่น่าจะมีใครอยากเลียนแบบอย่างการกระทำของนางลำยองเป็นแน่ น่าจะมีแต่จะสมเพช และอาจคิดเสียดายโอกาสที่ดีแทน เพียงแค่ทำตัวให้ดีกว่าที่นางลำยองทำในเรื่องสักนิด ชีวิตก็คงไม่ลงเหวนรกในตอนท้าย...อยากชื่นชมและปรบมือให้คนเขียนบทที่จับหัวใจของเรื่องได้ตรงประเด็น และอยากขอบคุณคุณพงษ์พัฒน์ที่นำนวนิยายแนวสร้างสรรค์อย่างนี้มาเสนอเป็นละครได้ดูกัน
ขอพูดเลยไปถึงตัวนวนิยายเรื่องนี้ในฐานะที่อ่านนวนิยายมาแล้วนะครับ ชื่อเรื่อง "ทองเนื้อเก้า" โบตั๋นผู้เขียนตั้งใจให้หมายถึง "วันเฉลิม" ที่ไม่ว่าจะตกอยู่ในสถานการณ์เลวร้ายเพียงใด แต่ความใฝ่ดีในตัวก็ทำให้เอาชนะความทุกข์โศกและอุปสรรคในชีวิตได้ เหมือนทองบริสุทธิ์ ทองเนื้อเก้าที่ไม่มีวันสูญค่า
อ่านนวนิยายหลายเรื่องของโบตั๋น (เช่น เกิดแต่ตม สุดแต่ใจจะไขว่คว้า ไม้ดัด ฯลฯ) จะพบว่า โบตั๋นให้ความสำคัญกับ "สิ่งแวดล้อม" และ "จิตสำนึกใฝ่ดี" ของตัวละคร มากกว่าเรื่องชาติกำเนิด โบตั๋นไม่เชื่อว่า "กรรมพันธุ์" จะทำให้คนดีหรือเลวได้ เท่ากับ "การเลี้ยงดู" ของผู้ปกครอง พูดง่ายๆ ว่า โบตั๋นไม่เชื่อคำพังเพยที่ว่า "ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น" เพราะถ้าเปรียบเทียบลำยองกับวันเฉลิม ลำยองโชคร้ายที่ได้แม่ (ยายแล) ปลูกฝังและสนับสนุนลูกในทางที่ผิด ประกอบกับให้ความสำคัญกับ "ความสวย" ของตนเองมากกว่าการแสวงหาความรู้ จึงใช้ชีวิตอย่างขาดสติปัญญากำกับและมัวเมาในความลุ่มหลงในรูปเป็นทรัพย์ของตน
ส่วนวันเฉลิมโชคดีที่ได้ใกล้ชิดกับ "หลวงตา" และ "ปู่" (ซึ่งเป็นท่านมหา) มาตั้งแต่ยังเล็ก จึงได้รับการปลูกฝังกล่อมเกลาจิตใจด้วยแนวคิดทางพุทธศาสนา และประกอบกับความใฝ่ดีในจิตนใจของตน ดังนั้น ถึงแม้จะมีแม่อย่างนางลำยองที่ดูเหมือนจะ "หาที่ชื่นชม" ไม่ได้เลย แต่ด้วยการปลูกฝังสั่งสอนให้รู้จักชั่วดีจนซึมเข้าไปเป็นนิสัย ทำให้วันเฉลิมจึงเติบโตมาเป็น "ทอง" เนื้อแท้ท่ามกลางกองขยะอันโสมม
เคยอ่านบทวิจารณ์เรื่องนี้ มีนักวิจารณ์แนวสิทธิสตรีคนหนึ่งวิจารณ์ว่า โบตั๋นสร้างวันเฉลิม (ซึ่งเป็นผู้ชาย) ให้เป็นคนดี คู่ตรงข้ามกับลำยองซึ่งเป็น "หญิงร้าย" สมบูรณ์แบบและได้ผลตอบสนองอันน่าสะเทือนใจ เป็นการตอกย้ำอุดมการณ์ชายเป็นใหญ่ว่า "เพราะมีหญิงร้ายจึงมีชายดี" ผมไม่ค่อยเห็นด้วยนัก แต่กลับมองตรงข้ามว่า โบตั๋นกำลังบอกเราว่า ผู้หญิงเองก็ต้องตระหนักในศักยภาพของตน ไม่ใช่ติดข้องอยู่กับความสวยโดยขาดปัญญา และเหมือนกับส่งเสียงเตือนมายังเราด้วยว่า ถ้าผู้หญิงมีแต่ความสวย โดยไม่ใช้สติปัญญาและการเอาชนะ "กิเลส" ทั้งปวง ผู้หญิงคนนั้นอาจดิ่งลงเหวได้โดยง่าย และศาสนาก็ยังเป็นทางให้เข้าสู่ปัญญาสำหรับผู้ด้อยโอกาส
อย่างไรก็ตาม อาจเป็นโชคดีของวันเฉลิมด้วยที่มีโอกาสเกิดเป็นชาย ถ้าหากวันเฉลิมเป็นเกิดหญิง ชีวิตคงเปลี่ยนไป และอาจมี "กรรมเวร" ที่ต้องผจญมากกว่านี้ เพราะ
๑.จะหมดโอกาสที่จะได้ใกล้ชิดให้ "หลวงตา" คอยสั่งสอนด้วยกีดเรื่องเพศ (เห็นได้ว่า ผู้หญิงนั้นโอกาสที่จะบรรลุธรรมด้วยการบวชนี่ไม่มีเลยในสังคมไทย หรือการเข้าใกล้ชิดพระสงฆ์ก็อาจถูกมองว่าจะทำลายศาสนาด้วยซ้ำไป ผู้หญิงที่จะบรรลุธรรมต้องมีจิตใจที่แน่วแน่เข้มแข็งมาก)
๒. ผู้หญิงที่เกิดในสภาพแวดล้อมและมีสถานภาพอย่างนี้อาจถูกเอาเปรียบทางเพศได้ง่ายจากผู้ชายเพราะไร้การปกป้องตัวเอง จะเห็นได้จากตัวละครน้องสาวต่างบิดาของวันเฉลิมคือ "อ้อย" ซึ่งปัญญาอ่อน และใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนอย่างในเรื่อง (อ้อยเกิดจากสามีคนที่สามของลำยอง ซึ่งจะปรากฏในละครอีกไม่นานนี้) อ้อยถูกวัยรุ่นทรชนในชุมชนล่อลวงข่มขืนจนท้อง โบตั๋นได้เสนอเปรียบเทียบให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความได้เปรียบเสียเปรียบของการเกิดเป็นชายและหญิงในสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม ชีวิตอ้อยจึงน่าเวทนาเพราะไม่สามารถที่จะพัฒนาตนเป็น "ทองเนื้อเก้า" ได้อย่างวันเฉลิม เพราะเกิดเป็นหญิงนั่นเอง
ชื่นชมทองเนื้อเก้า
ขอพูดเลยไปถึงตัวนวนิยายเรื่องนี้ในฐานะที่อ่านนวนิยายมาแล้วนะครับ ชื่อเรื่อง "ทองเนื้อเก้า" โบตั๋นผู้เขียนตั้งใจให้หมายถึง "วันเฉลิม" ที่ไม่ว่าจะตกอยู่ในสถานการณ์เลวร้ายเพียงใด แต่ความใฝ่ดีในตัวก็ทำให้เอาชนะความทุกข์โศกและอุปสรรคในชีวิตได้ เหมือนทองบริสุทธิ์ ทองเนื้อเก้าที่ไม่มีวันสูญค่า
อ่านนวนิยายหลายเรื่องของโบตั๋น (เช่น เกิดแต่ตม สุดแต่ใจจะไขว่คว้า ไม้ดัด ฯลฯ) จะพบว่า โบตั๋นให้ความสำคัญกับ "สิ่งแวดล้อม" และ "จิตสำนึกใฝ่ดี" ของตัวละคร มากกว่าเรื่องชาติกำเนิด โบตั๋นไม่เชื่อว่า "กรรมพันธุ์" จะทำให้คนดีหรือเลวได้ เท่ากับ "การเลี้ยงดู" ของผู้ปกครอง พูดง่ายๆ ว่า โบตั๋นไม่เชื่อคำพังเพยที่ว่า "ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น" เพราะถ้าเปรียบเทียบลำยองกับวันเฉลิม ลำยองโชคร้ายที่ได้แม่ (ยายแล) ปลูกฝังและสนับสนุนลูกในทางที่ผิด ประกอบกับให้ความสำคัญกับ "ความสวย" ของตนเองมากกว่าการแสวงหาความรู้ จึงใช้ชีวิตอย่างขาดสติปัญญากำกับและมัวเมาในความลุ่มหลงในรูปเป็นทรัพย์ของตน
ส่วนวันเฉลิมโชคดีที่ได้ใกล้ชิดกับ "หลวงตา" และ "ปู่" (ซึ่งเป็นท่านมหา) มาตั้งแต่ยังเล็ก จึงได้รับการปลูกฝังกล่อมเกลาจิตใจด้วยแนวคิดทางพุทธศาสนา และประกอบกับความใฝ่ดีในจิตนใจของตน ดังนั้น ถึงแม้จะมีแม่อย่างนางลำยองที่ดูเหมือนจะ "หาที่ชื่นชม" ไม่ได้เลย แต่ด้วยการปลูกฝังสั่งสอนให้รู้จักชั่วดีจนซึมเข้าไปเป็นนิสัย ทำให้วันเฉลิมจึงเติบโตมาเป็น "ทอง" เนื้อแท้ท่ามกลางกองขยะอันโสมม
เคยอ่านบทวิจารณ์เรื่องนี้ มีนักวิจารณ์แนวสิทธิสตรีคนหนึ่งวิจารณ์ว่า โบตั๋นสร้างวันเฉลิม (ซึ่งเป็นผู้ชาย) ให้เป็นคนดี คู่ตรงข้ามกับลำยองซึ่งเป็น "หญิงร้าย" สมบูรณ์แบบและได้ผลตอบสนองอันน่าสะเทือนใจ เป็นการตอกย้ำอุดมการณ์ชายเป็นใหญ่ว่า "เพราะมีหญิงร้ายจึงมีชายดี" ผมไม่ค่อยเห็นด้วยนัก แต่กลับมองตรงข้ามว่า โบตั๋นกำลังบอกเราว่า ผู้หญิงเองก็ต้องตระหนักในศักยภาพของตน ไม่ใช่ติดข้องอยู่กับความสวยโดยขาดปัญญา และเหมือนกับส่งเสียงเตือนมายังเราด้วยว่า ถ้าผู้หญิงมีแต่ความสวย โดยไม่ใช้สติปัญญาและการเอาชนะ "กิเลส" ทั้งปวง ผู้หญิงคนนั้นอาจดิ่งลงเหวได้โดยง่าย และศาสนาก็ยังเป็นทางให้เข้าสู่ปัญญาสำหรับผู้ด้อยโอกาส
อย่างไรก็ตาม อาจเป็นโชคดีของวันเฉลิมด้วยที่มีโอกาสเกิดเป็นชาย ถ้าหากวันเฉลิมเป็นเกิดหญิง ชีวิตคงเปลี่ยนไป และอาจมี "กรรมเวร" ที่ต้องผจญมากกว่านี้ เพราะ
๑.จะหมดโอกาสที่จะได้ใกล้ชิดให้ "หลวงตา" คอยสั่งสอนด้วยกีดเรื่องเพศ (เห็นได้ว่า ผู้หญิงนั้นโอกาสที่จะบรรลุธรรมด้วยการบวชนี่ไม่มีเลยในสังคมไทย หรือการเข้าใกล้ชิดพระสงฆ์ก็อาจถูกมองว่าจะทำลายศาสนาด้วยซ้ำไป ผู้หญิงที่จะบรรลุธรรมต้องมีจิตใจที่แน่วแน่เข้มแข็งมาก)
๒. ผู้หญิงที่เกิดในสภาพแวดล้อมและมีสถานภาพอย่างนี้อาจถูกเอาเปรียบทางเพศได้ง่ายจากผู้ชายเพราะไร้การปกป้องตัวเอง จะเห็นได้จากตัวละครน้องสาวต่างบิดาของวันเฉลิมคือ "อ้อย" ซึ่งปัญญาอ่อน และใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนอย่างในเรื่อง (อ้อยเกิดจากสามีคนที่สามของลำยอง ซึ่งจะปรากฏในละครอีกไม่นานนี้) อ้อยถูกวัยรุ่นทรชนในชุมชนล่อลวงข่มขืนจนท้อง โบตั๋นได้เสนอเปรียบเทียบให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความได้เปรียบเสียเปรียบของการเกิดเป็นชายและหญิงในสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม ชีวิตอ้อยจึงน่าเวทนาเพราะไม่สามารถที่จะพัฒนาตนเป็น "ทองเนื้อเก้า" ได้อย่างวันเฉลิม เพราะเกิดเป็นหญิงนั่นเอง