ผมอยู่ศรีสะเกษครับ ถนนเป็นหลุมเยอะแยะไปหมดเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
1. ทางหลวงชนบท เชื่อมต่อตำบล หมู่บ้าน
เป็นถนนเชื่อมระหว่างหมู่บ้าน ป้ายเบ้อเร้อเขียนว่า ทางหลวงชนบท ศก....... เป็นถนนที่โคตรทุเรศที่สุดในโลกเลย ว่าแล้วก็อยากให้เปลี่ยนเป็นลูกรังแทน เพราะว่าหลุมมันไม่คมเหมือนลาดยาง ณ บัดนาว กะทะล้อเบี้ยวไปแล้ว 2 ใบ เพราะเป็นคืนฝนตกมองไม่เห็นหลุม
ขอพูดสองกรณีนะครับ คือ การซ่อมเล็กน้อย กับการซ่อมใหญ่
1.1 การซ่อมเล็กน้อย เพื่ออุดหลุม
การซ่อมแซมรู้จะทำทุกปี วิธีการซ่อมโคตรทุเรศในสามโลก คล้ายเด็กเล่นขายของเด๊ะเลย
- ตรงไหนมีหลุมใหญ่เกือบเมตร ก็เอาหินคลุกกลบๆ ไว้ก่อนตามด้วยหินละเอียด แล้วเอายางมาเทราดเพื่อให้หินจับตัว ตามด้วยทรายกลบหน้าไว้เพื่อไม่ให้หินติดล้อรถไปหมดเสียก่อนที่ยังไม่แห้ง
- ตรงไหนหลุมเล็กก็เอาหินละเอียดลง ตามด้วยราดยาง และทรายตามลำดับ หรือบางทีก็เป็นหินละเอียดที่คลุกกับยางแล้ว บรรจุถุงปุ๋ยเอามาเทหลุมได้เลย ให้มันสูงกว่าพื้นเดิมหน่อยเผื่อยุบตัว มองดูคล้ายกองขี้ควายบนถนน
ถามว่า มีเครื่องจักรในการขุดเจาะเอาพื้นเดิมที่มันเน่าออกก่อนซ่อมแซมใหม่หรือเปล่า ตอบว่า No
ถามว่า มีเครื่องจักรบดอัดให้มันแน่นไหม่ หลังการซ่อมแซมเสร็จ ตอบว่า ตูไม่เคยเห็น
ถามว่า เขาทำชุ่ยๆอย่างนี้มันทนทานนานแค่ไหน ตอบว่า ถ้าทำในช่วงหน้าฝน และบังเอิญฝนตกในวันนั้น มันก็พังในวันนั้นเลย แต่ถ้าไม่เจอฝนจะอยู่ได้ไม่เกิน สามเดือน จริงๆ ไม่ได้โกหก แล้วปีหน้าพวกคุณๆก็มาซ่อมแซมไอ้หลุมเดิมๆอีก
ถนนเส้น ศก 5050 มาซ่อมเดือนก่อน เจอฝนพอดี เดือนนี้ เป็นหลุมเหมือนเดิมทุกประการ
ถามหน่อยพวกคุณๆไม่รู้สึกรู้สาอะไรเลยรึ กับผลงานอันโคตรจะทุเรศเหล่านี้ กลุ่มที่มาซ่อมเป็นเจ้าหน้าที่จริงหรือเปล่าไม่รู้ หรือไปจ้างรายวันมาหรือเปล่า ดูการทำงานไม่เป็นมืออาชีพเล้ย
อ้อเมื่อวานพาลูกๆไปเที่ยวน้ำตกห้วยจันทร์ โอ้โหแม่เจ้า เส้นทางไปแหล่งท่องเที่ยวจากตัวอำเภอไปน้ำตกทำไมมันทุเรศอย่างนี้ ท่านนายอำเภอ ท่านผู้ว่า ถนนน่าจะไม่เคยซ่อมแซมเลยมั้ง เอารถเก๋งไปต้องค่อยๆคลานเอา ไปถึงนำตกโดนเก็บเงินอีกหัวละสิบบาท เลยคิดในใจว่าเอาเงินไปปรับปรุงถนนหน่อยเด้อ
1.2 การซ่อมใหญ่
เป็นงบที่ได้มาก้อนโต จึงซ่อมใหญ่ได้ วิธีการคือใช้รถขุดลาดยางเก่ามาบดอัดใหม่ พอบดอัดแน่นเสร็จก็ใช้ลาดยางผสมเสร็จ (เรียกยางแอสฟั ลท์หรือเปล่าไม่แน่ใจ) เท แล้วบดอัดแน่นอีกที
ทันทีทีงานเสร็จให้นับไปอีกไม่เกิน สามเดือน รับรองพัง และพัง (เอกสารอ้างอิง ถนนเส้น อ.ขุขันธ์ - ต.สะเดาใหญ่ และ แยกนาเจริญ - บ้านละลม)
เฮ้อ ทำงานกันยังไงเนี่ย
2.ทางหลวงที่มีหมายเลข 4 หลัก เชื่อมต่ออำเภอ
ถนนที่อยู่ในอำเภอหรือเชื่อมต่ออำเภอ ถ้าเป็นการขยายทางสร้างใหม่ หลังจากตีเส้นจราจรเสร็จแล้ว ซึ่งเป็นกระบวนการขั้นสุดท้ายของการก่อสร้าง ให้นับไปอีกหนึ่งปีไม่เกิน จะพังก่อนทุกที (เอกสารอ้างอิง ถนนหน้าโรงพยาบาลอำเภอขุขันธ์- อำเภอขุขันธ์ และ แยกห้วช้าง - ต.สำโรงพลัน)
ตอนนี้มีถนนสร้างเสร็จใหม่ คือ หน้าโรงพยาบาลอำเภอไพรบึง - ธกส. อำเภอไพรบึง และ อำเภอขุนหาญ- บ้านกระหวัน มาดูสิว่าถนนสองสายนี้จะอยู่ได้กี่วัน เริ่มนับจากเดือนนี้แล้วกันครับ ตุลาคม 2556
เจอกันอีกทีตอนถนนพังนะครับ
เอ้ ทำไมถนนลาดยางต่างจังหวัด ตามอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน หลุมเยอะ และพังเร็วจัง ศรีสะเกษก็เยอะ
1. ทางหลวงชนบท เชื่อมต่อตำบล หมู่บ้าน
เป็นถนนเชื่อมระหว่างหมู่บ้าน ป้ายเบ้อเร้อเขียนว่า ทางหลวงชนบท ศก....... เป็นถนนที่โคตรทุเรศที่สุดในโลกเลย ว่าแล้วก็อยากให้เปลี่ยนเป็นลูกรังแทน เพราะว่าหลุมมันไม่คมเหมือนลาดยาง ณ บัดนาว กะทะล้อเบี้ยวไปแล้ว 2 ใบ เพราะเป็นคืนฝนตกมองไม่เห็นหลุม
ขอพูดสองกรณีนะครับ คือ การซ่อมเล็กน้อย กับการซ่อมใหญ่
1.1 การซ่อมเล็กน้อย เพื่ออุดหลุม
การซ่อมแซมรู้จะทำทุกปี วิธีการซ่อมโคตรทุเรศในสามโลก คล้ายเด็กเล่นขายของเด๊ะเลย
- ตรงไหนมีหลุมใหญ่เกือบเมตร ก็เอาหินคลุกกลบๆ ไว้ก่อนตามด้วยหินละเอียด แล้วเอายางมาเทราดเพื่อให้หินจับตัว ตามด้วยทรายกลบหน้าไว้เพื่อไม่ให้หินติดล้อรถไปหมดเสียก่อนที่ยังไม่แห้ง
- ตรงไหนหลุมเล็กก็เอาหินละเอียดลง ตามด้วยราดยาง และทรายตามลำดับ หรือบางทีก็เป็นหินละเอียดที่คลุกกับยางแล้ว บรรจุถุงปุ๋ยเอามาเทหลุมได้เลย ให้มันสูงกว่าพื้นเดิมหน่อยเผื่อยุบตัว มองดูคล้ายกองขี้ควายบนถนน
ถามว่า มีเครื่องจักรในการขุดเจาะเอาพื้นเดิมที่มันเน่าออกก่อนซ่อมแซมใหม่หรือเปล่า ตอบว่า No
ถามว่า มีเครื่องจักรบดอัดให้มันแน่นไหม่ หลังการซ่อมแซมเสร็จ ตอบว่า ตูไม่เคยเห็น
ถามว่า เขาทำชุ่ยๆอย่างนี้มันทนทานนานแค่ไหน ตอบว่า ถ้าทำในช่วงหน้าฝน และบังเอิญฝนตกในวันนั้น มันก็พังในวันนั้นเลย แต่ถ้าไม่เจอฝนจะอยู่ได้ไม่เกิน สามเดือน จริงๆ ไม่ได้โกหก แล้วปีหน้าพวกคุณๆก็มาซ่อมแซมไอ้หลุมเดิมๆอีก
ถนนเส้น ศก 5050 มาซ่อมเดือนก่อน เจอฝนพอดี เดือนนี้ เป็นหลุมเหมือนเดิมทุกประการ
ถามหน่อยพวกคุณๆไม่รู้สึกรู้สาอะไรเลยรึ กับผลงานอันโคตรจะทุเรศเหล่านี้ กลุ่มที่มาซ่อมเป็นเจ้าหน้าที่จริงหรือเปล่าไม่รู้ หรือไปจ้างรายวันมาหรือเปล่า ดูการทำงานไม่เป็นมืออาชีพเล้ย
อ้อเมื่อวานพาลูกๆไปเที่ยวน้ำตกห้วยจันทร์ โอ้โหแม่เจ้า เส้นทางไปแหล่งท่องเที่ยวจากตัวอำเภอไปน้ำตกทำไมมันทุเรศอย่างนี้ ท่านนายอำเภอ ท่านผู้ว่า ถนนน่าจะไม่เคยซ่อมแซมเลยมั้ง เอารถเก๋งไปต้องค่อยๆคลานเอา ไปถึงนำตกโดนเก็บเงินอีกหัวละสิบบาท เลยคิดในใจว่าเอาเงินไปปรับปรุงถนนหน่อยเด้อ
1.2 การซ่อมใหญ่
เป็นงบที่ได้มาก้อนโต จึงซ่อมใหญ่ได้ วิธีการคือใช้รถขุดลาดยางเก่ามาบดอัดใหม่ พอบดอัดแน่นเสร็จก็ใช้ลาดยางผสมเสร็จ (เรียกยางแอสฟั ลท์หรือเปล่าไม่แน่ใจ) เท แล้วบดอัดแน่นอีกที
ทันทีทีงานเสร็จให้นับไปอีกไม่เกิน สามเดือน รับรองพัง และพัง (เอกสารอ้างอิง ถนนเส้น อ.ขุขันธ์ - ต.สะเดาใหญ่ และ แยกนาเจริญ - บ้านละลม)
เฮ้อ ทำงานกันยังไงเนี่ย
2.ทางหลวงที่มีหมายเลข 4 หลัก เชื่อมต่ออำเภอ
ถนนที่อยู่ในอำเภอหรือเชื่อมต่ออำเภอ ถ้าเป็นการขยายทางสร้างใหม่ หลังจากตีเส้นจราจรเสร็จแล้ว ซึ่งเป็นกระบวนการขั้นสุดท้ายของการก่อสร้าง ให้นับไปอีกหนึ่งปีไม่เกิน จะพังก่อนทุกที (เอกสารอ้างอิง ถนนหน้าโรงพยาบาลอำเภอขุขันธ์- อำเภอขุขันธ์ และ แยกห้วช้าง - ต.สำโรงพลัน)
ตอนนี้มีถนนสร้างเสร็จใหม่ คือ หน้าโรงพยาบาลอำเภอไพรบึง - ธกส. อำเภอไพรบึง และ อำเภอขุนหาญ- บ้านกระหวัน มาดูสิว่าถนนสองสายนี้จะอยู่ได้กี่วัน เริ่มนับจากเดือนนี้แล้วกันครับ ตุลาคม 2556
เจอกันอีกทีตอนถนนพังนะครับ