คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 9
ขอบคุณ เจ้าของกระทู้ ที่ทำให้เราสนใจจนต้องพยายามไปหาคำจำกัดความของคำว่าบาป มาเลยทีเดียว
เกณฑ์ที่จัดว่าบาปไม่บาป มีหลายเกณฑ์มาก
1) เป็นสิ่งที่เกิดจากอกุศลมูล คือ โลภะ โทสะ โมหะ
(ซึ่งเราคิดว่าคนที่จะพาสัตว์เลี้ยงไปทำหมันคงไม่ได้มีใครทำด้วยแบบว่า หวังจะได้อะไรจากแมว หรือโกรธแมว หรือหลงผิดอะไรอยู่แล้วนะ)
2)พิจารณาตามสภาวะว่าเป็นสภาพเกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจหรือไม่ ทำให้จิตสบาย ไร้โรค ปลอดโปร่ง ผ่องใส สมบูรณ์ หรือไม่
(สบายใจ ไม่มีปัญหาลูกแมวกำพร้าตามมา แมวมีความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆลดลง)
3) เบียดเบียนผู้อื่นหรือตนเองให้เดือดร้อน หรือไม่
( ตัวเอง - ออกเงินพาแมวไปหาหมอเองก็โอเค, แมว- อาจจะมีเจ็บปวดบ้างตอนฉีดยาเพื่อวางยาและหลังผ่าก็อาจจะมีรำคาญเจ็บแผลบ้าง)
4) เป็นไปเพื่อประโยชน์สุข หรือเป็นไปเพื่อโทษทุกข์ ทั้งแก่ตน และผู้อื่น
(ต่อตัวเรา - เลี้ยงแมวได้เต็มที่เหมาะสมตามความพร้อมที่มี เพราะถ้าปล่อยให้มีลูกเยอะก็อาจจะเลี้ยงไม่ไหวหรือเลี้ยงได้ไม่ดีเท่า ซึ่งถ้าต้อง
คอยเอาไปหาบ้านใหม่ หรือเอาไปปล่อยนั่นจะยิ่งเกิดทุกข์ต่อคนอื่นมากกว่า
ต่อแมว - อาจจะอดผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ แต่ก็ลดปัญหาหลายอย่าง โดยเฉพาะลดโอกาสการเกิดมะเร็งรังไข่ เต้านม หรือมะเร็งที่ต่อมลูกหมาก
ในตัวผู้ การทำหมันยังช่วยลดพฤติกรรมความดุร้าย การออกเที่ยว ซึ่งถ้าเลี้ยงระบบเปิดก็จะเสี่องต่อการบาดเจ็บไปกัดกับคนอื่น และเสี่ยงต่อการติดโรคที่เกิดจากการกัดได้ เช่น โรคเอดส์แมว)
ที่กล่าวมาทั้งหมดทั้งมวลจะเห็นได้ว่าทั้งในแง่ความคิด การกระทำ สิ่งที่เกิดขึ้นจากการทำหมันแมวนั้น มีแต่ทางบวก และทางที่ทำให้เกิดประโยชน์เสียมากกว่า ดังนั้นไม่เห็นเลยว่ามันจะบาปตรงไหนกัน
(อ้างอิงเรื่องเกณฑ์ตัดสินที่จัดว่าเป็นบาป (ดัดแปลงและย่อความบางส่วนเพื่อความกระชับ)
จากการศึกษาของ ของ รศ.ดร.ผจญ คำชูสังข์ ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เรื่อง บาป : ศึกษาเชิงวิเคราะห์ในมโนทัศน์ของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท )
เกณฑ์ที่จัดว่าบาปไม่บาป มีหลายเกณฑ์มาก
1) เป็นสิ่งที่เกิดจากอกุศลมูล คือ โลภะ โทสะ โมหะ
(ซึ่งเราคิดว่าคนที่จะพาสัตว์เลี้ยงไปทำหมันคงไม่ได้มีใครทำด้วยแบบว่า หวังจะได้อะไรจากแมว หรือโกรธแมว หรือหลงผิดอะไรอยู่แล้วนะ)
2)พิจารณาตามสภาวะว่าเป็นสภาพเกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจหรือไม่ ทำให้จิตสบาย ไร้โรค ปลอดโปร่ง ผ่องใส สมบูรณ์ หรือไม่
(สบายใจ ไม่มีปัญหาลูกแมวกำพร้าตามมา แมวมีความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆลดลง)
3) เบียดเบียนผู้อื่นหรือตนเองให้เดือดร้อน หรือไม่
( ตัวเอง - ออกเงินพาแมวไปหาหมอเองก็โอเค, แมว- อาจจะมีเจ็บปวดบ้างตอนฉีดยาเพื่อวางยาและหลังผ่าก็อาจจะมีรำคาญเจ็บแผลบ้าง)
4) เป็นไปเพื่อประโยชน์สุข หรือเป็นไปเพื่อโทษทุกข์ ทั้งแก่ตน และผู้อื่น
(ต่อตัวเรา - เลี้ยงแมวได้เต็มที่เหมาะสมตามความพร้อมที่มี เพราะถ้าปล่อยให้มีลูกเยอะก็อาจจะเลี้ยงไม่ไหวหรือเลี้ยงได้ไม่ดีเท่า ซึ่งถ้าต้อง
คอยเอาไปหาบ้านใหม่ หรือเอาไปปล่อยนั่นจะยิ่งเกิดทุกข์ต่อคนอื่นมากกว่า
ต่อแมว - อาจจะอดผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ แต่ก็ลดปัญหาหลายอย่าง โดยเฉพาะลดโอกาสการเกิดมะเร็งรังไข่ เต้านม หรือมะเร็งที่ต่อมลูกหมาก
ในตัวผู้ การทำหมันยังช่วยลดพฤติกรรมความดุร้าย การออกเที่ยว ซึ่งถ้าเลี้ยงระบบเปิดก็จะเสี่องต่อการบาดเจ็บไปกัดกับคนอื่น และเสี่ยงต่อการติดโรคที่เกิดจากการกัดได้ เช่น โรคเอดส์แมว)
ที่กล่าวมาทั้งหมดทั้งมวลจะเห็นได้ว่าทั้งในแง่ความคิด การกระทำ สิ่งที่เกิดขึ้นจากการทำหมันแมวนั้น มีแต่ทางบวก และทางที่ทำให้เกิดประโยชน์เสียมากกว่า ดังนั้นไม่เห็นเลยว่ามันจะบาปตรงไหนกัน
(อ้างอิงเรื่องเกณฑ์ตัดสินที่จัดว่าเป็นบาป (ดัดแปลงและย่อความบางส่วนเพื่อความกระชับ)
จากการศึกษาของ ของ รศ.ดร.ผจญ คำชูสังข์ ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เรื่อง บาป : ศึกษาเชิงวิเคราะห์ในมโนทัศน์ของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท )
แสดงความคิดเห็น
อยากทราบว่าการทำหมันแมวนี่บาปมั้ยครับ
แต่เพื่อนผมที่เคร่งเรื่องบาปบุญคุณโทษ บอกผมว่าบาป เพราะไปห้ามสัตว์ใม่ให้มีลูกโดยธรรมชาติ
จะส่งผลให้ผมและครอบครัวคนทำ จะมีกรรมและจะมีบุตรยาก
เรื่องจริงรึเปล่าครับ