สพฐ.ยืนยันไม่ตัดวิชานาฏศิลป์จากหลักสูตรใหม่สรุป ตุ๊กกี้ และ เหล่าดารา ตื่นจริต ทั้งหลาย หน้าแหก นะคะ

"ดี้ นิติพงษ์-ตุ๊กกี้" เงิบ! - "จาตุรนต์-ภาวิช" บิ๊กศธ.ยันไม่ได้เลิกวิชานาฎศิลป์ เซ็งฟังไม่ได้ศัพท์จับไปกระเดียด

จากกรณีมีกระแสข่าวลือแพร่สะพัดในโซเชียลมีเดีย อ้างว่า สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะปรับหลักสูตรการศึกษาพื้นฐานและถอดเอาวิชานาฎศิลป์ไทยออกจากหลักสูตร ต่อมา มีคนดังในสังคม อาทิ ดี้ – นิติพงษ์ ห่อนาค นักแต่งเพลงชื่อดัง และตุ๊กกี้ สุดารัตน์ บุตรพรม  ดาราตลก ถึงกับของขื้นตามกระแสข่าวลือ โพสต์ข้อความขึ้นกู ด่ากราดสพฐ. และกระทรวงศึกษาในกรณีดังกล่าว
 ล่าสุด วันที่ 15 ต.ค.  ศ.(พิเศษ) ดร.ภาวิช ทองโรจน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ ให้สัมภาษณ์เว็บอินไซด์ไทยกอฟ ถึงกรณีความเข้าใจผิดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะปรับหลักสูตรการศึกษาพื้นฐาน ว่าไม่ให้ความสำคัญกับวิชานาฎศิลป์ไทยว่า ประการแรกเลยก็คือไม่รู้ว่าข่าวนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะไม่มีความจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้เลยแม้แต่น้อย ซึ่งข้อเท็จจริงก็คือขณะนี้มีการร่างหลักสูตรการศึกษาใหม่ ตั้งแต่ ป.1 จนถึง ม.6  ที่จะเริ่มใช้ในปีการศึกษาหน้า แต่อาจมีใครสักคนหนึ่งไปดูเอกสารอะไรมาแล้วมองไม่เห็นหรือเกิดความคลาดเคลื่อน ไม่ครบถ้วนแล้วจับมาสร้างเป็นประเด็นขึ้น สำหรับร่างหลักสูตรการศึกษาใหม่นั้นขณะนี้ยังไม่ได้มีการประกาศออกมาอย่างเป็นทางการ ที่สำคัญคือในหลักสูตรการศึกษาที่ยกร่างขึ้นมาใหม่นั้น วิชานาฎศิลป์ไทยยังมีอยู่ในหลักสูตรการศึกษาแน่นอนและไม่ได้หายไปไหน
 ในหลักสูตรการศึกษาใหม่ที่ยกร่างขึ้นมานั้นเบื้องต้นการเรียนการสอนวิชานาฎศิลป์จะจัดอยู่ในกลุ่มความรู้สังคมและความเป็นมนุษย์ซึ่งนอกจากการเรียนการสอนวิชานาฎศิลป์ไทยจะยังอยู่ในหลักสูตรการศึกษาเหมือนเดิมแล้ว  ในหลักสูตรใหม่เรายังให้ความสำคัญมากขึ้นกว่าเดิม โดยจะเปิดเป็นวิชาเลือก สำหรับเด็กที่มีพรสวรรค์ในด้านนี้โดยเฉพาะ ซึ่งถ้าหากสามารถค้นหาตัวเองเจอและรู้ว่าตัวเองมีพรสวรรค์ในด้านศิลปะต่างๆ เราก็จะเปิดโอกาสให้ได้มีการศึกษาเล่าเรียนเพิ่มเติมทุกด้าน เพื่อให้สามารถนำสิ่งที่ได้เล่าเรียนมาไปประกอบอาชีพด้วย” ดร.ภาวิช ระบุ
 
นายภาวิช กล่าวว่า จนถึงขณะนี้สามารถยืนยันได้ว่า 1.เรื่องที่จะถอดวิชานาฎศิลป์ออกจากหลักสูตรการศึกษานั้นไม่ใช่เรื่องจริงอย่างแน่นอน  2.ในการศึกษาทั่วไปที่เด็กทุกคนต้องเรียนนั้นยังมีการเรียนการสอนวิชานาฎศิลป์ไทยอยู่ และ 3.จะมีการเพิ่มเติมการเรียนการสอนมากขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับเด็กที่มีพรสวรรค์ในด้านนี้อีกด้วย

วันเดียวกัน ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ส่วนตัวไม่เคยได้ยินว่ากระทรวงศึกษาธิการจะตัดวิชานาฏศิลป์ออกจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับใหม่ เมื่อสอบถามกับผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก็ได้รับคำตอบว่า ข้อความหรือข่าวที่ส่งกันไปในโซเชียลมีเดียไม่ตรงกับความเป็นจริง เพราะหลักสูตรฉบับใหม่ไม่ได้มีการตัดวิชานาฏศิลป์ออกไป แต่จะปรับปรุงหลักสูตรโดยจัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ใหม่ จากเดิมที่มีอยู่ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เป็น 6 กลุ่มความรู้ ซึ่งวิชานาฏศิลป์ได้ถูกนำไปบรรจุอยู่ในกลุ่มความรู้สังคม และความเป็นมนุษย์ สำหรับนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา ส่วนในระดับมัธยมศึกษาจะอยู่ในระบบวิชาเลือก

 "ประเด็นการขยายความแบบผิดๆ เรื่องการตัดวิชานาฏศิลป์ออกจากหลักสูตรใหม่ จนนำไปเชื่อมโยงกับวิชาอื่นจนเลยเถิดไปในขณะนี้นั้น ผมจะให้ผู้ที่เกี่ยวข้องชี้แจงเพิ่มเติมให้ทุกคนเข้าใจว่าไม่ได้มีการตัดวิชานาฏศิลป์ออก และจำเป็นต้องมีการปรับหลักสูตรเพราะอะไร ทั้งนี้การปรับปรุงหลักสูตรถือเป็นเรื่องจำเป็น และจะเป็นประโยชน์อย่างมาก เนื่องจากหลักสูตรฉบับปัจจุบันที่ใช้กันอยู่ ไม่สอดคล้องกับองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่จะถ่ายทอดให้ผู้เรียน อีกทั้งหลักสูตรเก่าที่มี 8 กลุ่มสาระฯ ก็ยังมีปัญหาอยู่มาก โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ที่ปัจจุบันการใช้เวลาเรียนสำหรับวิชาพื้นฐานที่จำเป็นมากๆ อย่างเช่น ภาษาไทย คณิตศาสตร์ เหลืออยู่น้อย ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กในสองวิชานี้ไม่น่าพอใจอย่างมาก ส่วน"รมว.ศธ.กล่าว
ด้านนายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า สพฐ.ยืนยันว่ายังคงให้ความสำคัญกับวิชานาฏศิลป์ และยืนยันว่าไม่ได้มีการตัดนาฏศิลป์ออกจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับใหม่แต่อย่างใด เพราะนาฏศิลป์ถือเป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านอารมณ์ ความรู้สึก ที่สำคัญคือช่วยกล่อมเกลาจิตใจ ฝึกความอดทน และสร้างเสริมความสามัคคีให้กับผู้เรียน อีกทั้งวิชานาฏศิลป์ก็ยังอยู่ในหมวดศิลปะที่ครอบคลุมเนื้อหาสาระในหมวดนี้อยู่เช่นเดิม

สำหรับข้อความที่นายนิติพงษ์ โพสต์ในเฟซบุ๊กมีดังนี้ 

อ่านข้อมูลเรื่องการยกเลิกหรือลดระดับความสำคัญนาฏศิลป์ ให้น้อยลง ของสพฐ...เพื่อจะให้มีเวลาไปตามฝรั่งให้มากขึ้น
อ่านข้อเท็จจริงจากหลายแหล่งแล้วนี่ไง..พวกคนหัวสี่เหลี่ยมครองเมือง ถึงจะหวังดีต่อบ้านเมือง ก็มองแค่มิติตื้นๆ...
ขออนุญาตใช้ภาษาแห่งพื้นชนคนไทย...ใช้ภาษาสวยงามแบบวัฒนธรรมไทยบอกกล่าวไปยังท่านผู้ที่คิดเรื่องนี้ขึ้นมาว่า...

กูเกิดเมืองไทย พ่อกูฟังเพลงไทยเดิม เครื่องสายผสมออร์แกนก็ยังพอรับได้ แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม
กูเล่นดนตรีไทยก่อนจะเล่นกีตาร์ เล่นฆ้องวง เพลงสาธุการ ซึ่งต้องเป็นพื้นฐานการเล่นดนตรีไทย กูเล่นมาก่อนจะเคยเห็นเปียโนจริงๆ
แล้วรู้ไหมว่าต่อให้หลังจากนั้นจะไปเล่นกีตาร์ร็อกบ้าบออะไร ร้องเพลงฝรั่งบ้าบออะไร แต่ไม่เคยลืมราก เพราะรากนั้นได้อยู่ในที่ของมันแล้ว
ลูกสาวกูชอบดูโขนมากๆ โดยที่ไม่ได้ยัดเยียด มันสนุก แล้วมันก็จะติดอยู่ในจิตใต้สำนึก 
กูเพิ่งมีโอกาสได้ฝึกหัดโขนตอนอายุห้าสิบ...โหยนี่มันช่างงดงามเจิดจรัส ได้เป็นทศกัณฐ์ เหนื่อย แต่ภูมิใจ และได้เห็นแววตาของคนทั้งรุ่นศิลปินแห่งชาติ และเด็กวัยรุ่นรุ่นใหม่ที่มาเรียนนาฏศิลป์ แววตามันมีมิติน่ะ มันอ่อนโยนนัก
คุณสพฐ. ครับ คุณอย่าทำให้กูดราม่าเลย กูก็รำคาญตัวเองตอนดราม่า แต่มันไม่ไหวครับ
ช่วยมีรสนิยม ช่วยคิดถี่ถ้วน หรือไม่ก็ช่วยลาออกไปจากอิทธิพลของการศึกษาของประเทศด้วยเถิดครับ
ผมเชื่อว่าพวกนั่นแหละครับ ที่คิดแก้ปัญหาอะไรแบบนี้ แบบลิงแก้แห จนทำให้ลูกหลานของพวกผมและพวกเนี่ย งงตึ้บ...
ไปดูเถิดครับ ไปดูงานต่างประเทศที่เอาเงินกูไปดูงานน่ะ...ช่วยไปดูเถิดว่า..ประเทศที่เจริญแล้วทางวัตถุ เศรษฐกิจ เขายังรักษาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของเขา แล้วเขาก็จะเอาความแข็งแรงของวัฒนธรรมเขามา-หัวเรานั่นแหละ...
เป็นใครครับพี่สพฐ. พี่กระทรวงศึกษาธิการ...กูไม่ได้ดราม่านะครับ แต่กูน้อยใจชะตาชีวิตน่ะ...
ช่วยวางแผนการศึกษาอย่างเข้าใจในทุกมิติด้วยได้ไหมครับ...
ขอโทษด้วยที่ใช้ภาษา กู เพราะ ฉันคิดว่าพ่อขุนรามฯ ก็ไม่ได้ทรงหยาบคายอันใด....

ฉันไปมาเกือบทั่วโลกแล้ว...ยืนยันเพราะเห็นกับตา...ไม่มีประเทศที่เจริญดีงามประเทศไหนที่คิดจะลดบทบาทของอัตตลักษณ์ของตัวเอง
เขามีแต่จะสร้างให้อัตตลักษณ์ตัวเองแข็งแรง แล้วส่งไปแทรกซึมประเทศที่อาจจะมีอัตตลักษณ์ดี แต่คนที่รับผิดชอบนั้น เบาปัญญา..จึงปล่อยให้เขามายึดพื้นที่
ผมกราบขอโทษพวกด้วยนะครับ...ที่ขอแสดงความเห็นขัดแย้ง...
โกรธเกรี้ยวขอกระทืบบาทหน่อย....

ส่วนข้อความที่ ตุ๊กกี้ ชิงร้อย โพสต์มีดังนี้ 
“กูเรียนรำ ถ้าไม่มีวิชานาฏศิลป์ในหลักสูตร นั่นคือการนับถอยหลังของเด็กไทยที่จะลืมรากเหง้าของวัฒนธรรมไทย ยิ่งโลกมันก้าวไปข้างหน้าเรายิ่งต้องช่วยกัน สืบสาน สั่งสม บ่มเพาะ อนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมไทย ให้อยู่คู่ประเทศไทย ให้ยาวนานที่สุด (คิดเยอะ ๆ นะคะ คนที่มีอำนาจในตรงนี้)”



http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNE1UZ3lORGMxTXc9PQ%3D%3D&subcatid
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่