เตือนภัย “ขายดาวน์ รถยนต์”
ศูนย์ปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปจร.ตร.) ประกาศเตือนภัย เรื่องการ ขายดาวน์รถยนต์ ที่มีไฟแนนซ์ เป็นผู้ถือครองกรรมสิทธิ์รถยนต์ และมีคนขายดาวน์ เป็นผู้ครอบครองรถยนต์ตามหลักของกฎหมาย ณ ปัจจุบันพบว่า มีการประกาศ ขายดาวน์รถยนต์ ตามตลาดรถยนต์ หน้าเว็ปไซด์ต่าง ฯลฯ กันอย่างแพร่หลาย ผู้ขายดาวน์ ซึ่งเป็นเจ้าของรถหลายคนถูกกลุ่มมิจฉาชีพติดต่อซื้อ-ขายรถไปแล้วไม่ส่งค่างวดต่อ ผลกระทบต่างๆ มากมาย โดยวิธีการของกลุ่มมิจฉาชีพ ตามข้อมูลทางการสืบสวน คือ.
(1.) กลุ่มมิจฉาชีพ จากข้อมูลปัจจุบัน พบว่า เป็นผู้หญิง 2 คน อ้างตัวเป็นเจ้าของเต้นท์รถยนต์มือสอง ย่านกาญจนาภิเษก ติดต่อผู้ขายดาวน์รถยนต์ ผ่านโทรศัพท์มือถือที่ผู้ขายดาวน์ ประกาศเพื่อขอดูรถยนต์คันที่ประกาศขาย
(2.) ผู้ขายดาวน์รถยนต์ นัดหมายสถานที่ดูรถ บ้านพัก ห้างสรรพสินค้า สถานที่ต่างๆ ปัจจุบันพบข้อมูล กลุ่มมิจฉาชีพ เป็นผู้หญิง 1 หรือ 2 คน เดินทางมาดูรถยนต์ที่ผู้ขายดาวน์ ประกาศขาย
(3.) เมื่อการพูดคุยซื้อ-ขาย รถยนต์ด้วยการขายดาวน์ เป็นที่น่าพอใจของทั้ง 2 ฝ่าย กลุ่มมิจฉาชีพ จะอ้างตัวเป็นเจ้าของ เต้นท์รถ อยู่แถวถนนกาญจนาภิเษก พร้อมกับนำเอกสาร ใบทะเบียนพาณิชย์ซึ่งออกโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าซื้อ-ขายรถยนต์ ให้ผู้ขายดาวน์รถดู จนหลงเชื่อ
(4.) ตกลงทำสัญญาซื้อขายดาวน์ รถยนต์มือสองกัน ซึ่งต่างฝ่าย ต่างให้สำเนาทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวประชาชน ทั้งนี้กลุ่มมิจฉาชีพ จะมอบสำเนาทะเบียนการค้าให้ด้วย เพื่อยืนยันและสร้างความเชื่อใจแก่ผู้ขายดาวน์
(5.) การทำสัญญานั้น กลุ่มมิจฉาชีพ มีการตกลงกับผู้ขายดาวน์ ให้ทำสัญญา 1 เดือนถัดไปเพื่อเปลี่ยนสัญญา เปลี่ยนมือ ระหว่างรอเปลี่ยนสัญญากับไฟแนนซ์ กลุ่มมิจฉาชีพ จะการันตีและรับปากกับผู้ขายดาวน์ ว่า ทางเต้นท์จะรับผิดชอบจ่ายค่างวดรถกับไฟแนนซ์ให้ ทางด้านของผู้ขายดาวน์ วัตถุประสงค์หลัก คือ ต้องการเงินสด ได้ปลดภาระการผ่อนค่างวดรถ ประกอบกับได้รักษาเครดิตทางการเงินของตัวเอง ไม่เสียประวัติ
(6.) เมื่อทุกอย่างเป็นไปตามที่ กลุ่มมิจฉาชีพวางไว้ จากนั้น 3 วัน มิจฉาชีพ จะทำการนัดจ่ายเงินและรับรถจากผู้ขายดาวน์
(7.) รถยนต์ที่มีการ ขายดาวน์ ให้กับกลุ่มมิจฉาชีพกลุ่มนี้ จะถูกนำไปขายในตลาดมืด ด้วยวิธีการ ขายดาวน์ เช่นเดียวกัน ซึ่งรถยนต์คันดังกล่าว ในทางกฎหมายไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายได้ และจะมีการนำรถมาขายดาวน์ในตลาดมืดเป็นทอดๆ ต่อไป จนกว่า ผู้ขายดาวน์ จะถูก ไฟแนนซ์ ทวงถาม ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นต้องยอมรับว่า สายเกินไปแล้วที่จะติดตามรถกลับคืน รถยนต์บางคันถูกนำไปขายในตลาดมืด และถูกนำไปกระทำผิดกฎหมาย
เรื่องที่ ผู้ขายดาวน์ ต้องยอมรับ เมื่อเกิดปัญหา “ขายดาวน์” ผู้ซื้อไม่ยอมผ่อนค่างวดต่อ..
ตามหลักเมื่อ ผู้ขายดาวน์ รู้ตัวว่า รถยนต์ที่ขายดาวน์ไปให้กลุ่มมิจฉาชีพ ไม่เป็นไปตามที่คิด คือการไม่เปลี่ยนสัญญา เปลี่ยนชื่อผู้ครอบครองรถยนต์ กับบริษัท ไฟแนนซ์ ผู้ขายดาวน์ จะต้องแจ้งความดำเนินคดี ในข้อหา ฉ้อโกงทรัพย์ แต่เชื่อเลยครับ เรื่องไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะพนักงานสอบสวน จะลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน แต่ยังไม่รับเป็นเลขคดี สาเหตุคือ ผู้ขายดาวน์ อยู่ในฐานะผู้ครอบครองรถยนต์เท่านั้น ผู้ขายดาวน์ จะต้องแจ้ง ไฟแนนซ์ เพื่อขอหนังสือมอบอำนาจมาแจ้งความดำเนินคดีอาญา กับทางพนักงานสอบสวน
ปัญหาของ ผู้ขายดาวน์ คือ ไม่อยากให้ ไฟแนนซ์ รู้ว่าตนเอง นำรถของ ไฟแนนซ์ ไปขาย เพราะกลัวปัญหาเรื่องผิดสัญญา ซึ่งบริษัท ไฟแนนซ์ สามารถยกเลิกสัญญา ทวงรถคืน และหากไม่รถส่งคืนบริษัท ไฟแนนซ์ สามารถบังคับให้ผู้ขายดาวน์ ส่งเงินค่างวดในสัญญา ไฟแนนซ์ จะแจ้งความดำเนินคดีกับ ผู้ขายดาวน์ ในข้อหายักยอกทรัพย์และฟ้องแพ่งด้วย และนี้คือปัญหา
ศูนย์ปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปจร.ตร.) มีความห่วงใย และขอเตือนภัยสำหรับ เจ้าของรถ ที่กำลังตัดสินใจ “ขายดาวน์ รถยนต์” หลังจากที่มิจฉาชีพ นำรถของผู้ ขายดาวน์ ไปขายในตลาดมืดผู้ขายดาวน์ (ผู้เสียหาย) ต้องไปแจ้งความดำเนินคดีกับมิจฉาชีพในข้อหา ฉ้อโกงทรัพย์ แต่มันคงไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะพนักงานสอบสวน จะลงประจำวันไว้ให้เป็นหลักฐาน ยังไม่รับเป็นเลขคดี
พนักงานสอบสวน จะให้ผู้ขายดาวน (ผู้เสียหาย) คือผู้ครอบครองรถ ไปแจ้งไฟแนนซ์ เพื่อขอหนังสือมอบอำนาจ ให้มาแจ้งความดำเนินคดีอาญา ซึ่งปัญหาของผู้ขายดาวน์ คือ ไม่อยากให้ ไฟแนนซ์ รู้ว่าตนเอง นำรถของ ไฟแนนซ์ ไปขายเพราะกลัว ถูกไฟแนนซ์ กล่าวหาว่า ผิดสัญญาทำให้ ไฟแนนซ์ ยกเลิกสัญญาทวงรถคืน และหากไม่สามารถนำรถกลับมาคืน ไฟแนนซ์ได้ ในทางกฎหมาย บริษัท ไฟแนนซ์ สามารถบังคับให้ ผู้ขายดาวน์ (ผู้เสียหาย) ส่งค่างวดตามสัญญาที่ทำไว้ตั้งแต่ต้น กับไฟแนนซ์ หรือมีการแจ้งความดำเนินคดีกับ ผู้ขายดาวน์ ในข้อหายักยอกทรัพย์และฟ้องแพ่ง ด้วย และนี้คือปัญหาที่ 1 ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับปัญหา การขายดาวน์รถยนต์
ศูนย์ปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปจร.ตร.) ขอย้ำเตือนว่า ทุกอย่างไม่สามารถปิดได้ เพราะถึงเวลา พนักงานสอบสวนรับเป็นคดีก็ต้องเรียกไฟแนนซ์ มาสอบสวน ผู้ขายดาวน์ ควรจะพูดคุยกับไฟแนนซ์ เพื่อหาทางออกร่วมกันดีกว่า
จะว่าไปแล้ว พนักงานสอบสวน บางท้องที่ ก็รับแจ้งโดยไม่ต้องมีหนังสือมอบอำนาจ ขึ้นอยู่กับสามัญสำนึกของพนักงานสอบสวนและคนแจ้งว่ามี เพาเวอร์หรือไม่
ในส่วนนี้ ผู้ขายดาวน์ (ผู้เสียหาย) ต้องแจ้งเรื่องเอกสาร คือ บัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านหรือคู่มือสมุดรถกับพนักงานสอบสวนด้วย โดยต้องระบุวันที่ส่งมอบเอกสารให้ มิจฉาชีพไป เพื่อให้พนักงานสอบสวนลงประจำวันไว้เป็นหลักฐาน ไม่ให้มิจฉาชีพนำเอกสารไปใช้ทำผิดกฎหมาย เช่น การนำรถยนต์ของ ผู้ขายดาวน์ (ผู้เสียหาย) ไปทำการขนส่งยาเสพติด เป็นต้น
ประเด็นต่อมา ถ้าผู้ขายดาวน์ (ผู้เสียหาย) รายเดียวไปแจ้งข้อหาฉ้อโกงทรัพย์โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และยอมความได้ แต่ถ้ามิจฉาชีพยอมส่งค่างวดรถให้ 2 เดือนก็ไม่สามารถดำเนินคดีอาญาได้ ซึ่งในลักษณะดังกล่าว คดีความจะกลายเป็นคดีแพ่งทันที่ ดังนั้น มิจฉาชีพ จะทำโดยแยกกระจายต่างพื้นที่ เพื่อไม่ให้เหยื่อหรือผู้เสียหาย รวมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป เพราะถ้ารวมกันได้ 10 คน ข้อหาจะกลายเป็นฉ้อโกงประชาชนโทษหนักขึ้นและสามารถยึดทรัพย์ได้ โดยไม่ต้องสนใจว่า กลุ่มมิจฉาชีพ จะส่งงวดรถ 2 เดือนหรือไม่
และประเด็น คดีฉ้อโกงทรัพย์นั้น พนักงานสอบสวนจะออกหมายเรียก มิจฉาชีพ 2 ครั้ง ถึงจะออกหมายจับ โดยใช้เวลา 40 วัน ศูนย์ปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปจร.ตร.) อยากเตือน ผู้เป็นเจ้าของรถทุกคน คิดจะ “ขายดาวน์” รถยนต์ มีล้อ กว่าจะออกหมายจับ การติดตามหารถกลับคืนเป็นเรื่องยากมาก บางคันหาไม่เจอ กลายเป็นชิ้นส่วนไปแล้วครับ
ประเด็นสุดท้ายพนักงานสอบสวน กับตำรวจโรงพักไม่ตามคดีให้ คือ ไม่สนใจตามจับคนร้ายและตามรถให้ คือปัญหาสุดท้ายทำให้ท้ายสุด ผู้ขายดาวน์ (ผู้เสียหาย) ได้เงินมานิดเดียวต้องรับผิดชอบค่ารถทั้งหมดที่ซื้อมาจาก ไฟแนนซ์ นี้เป็นเรื่องเตือนภัย และขอย้ำว่า อย่าคิดได้เงินมาง่ายๆ จากการ “ขายดาวน์” สุดท้ายต้องเจ็บและต้องทน ผ่อนค่างวด ทั้งที่ไม่มีรถเป็นของตัวเอง
ด้วยความปรารถนาดี : ศูนย์ปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปจร.ตร.) สายด่วน รถหาย 1192
เตือนภัย “ขายดาวน์ รถยนต์”
ศูนย์ปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปจร.ตร.) ประกาศเตือนภัย เรื่องการ ขายดาวน์รถยนต์ ที่มีไฟแนนซ์ เป็นผู้ถือครองกรรมสิทธิ์รถยนต์ และมีคนขายดาวน์ เป็นผู้ครอบครองรถยนต์ตามหลักของกฎหมาย ณ ปัจจุบันพบว่า มีการประกาศ ขายดาวน์รถยนต์ ตามตลาดรถยนต์ หน้าเว็ปไซด์ต่าง ฯลฯ กันอย่างแพร่หลาย ผู้ขายดาวน์ ซึ่งเป็นเจ้าของรถหลายคนถูกกลุ่มมิจฉาชีพติดต่อซื้อ-ขายรถไปแล้วไม่ส่งค่างวดต่อ ผลกระทบต่างๆ มากมาย โดยวิธีการของกลุ่มมิจฉาชีพ ตามข้อมูลทางการสืบสวน คือ.
(1.) กลุ่มมิจฉาชีพ จากข้อมูลปัจจุบัน พบว่า เป็นผู้หญิง 2 คน อ้างตัวเป็นเจ้าของเต้นท์รถยนต์มือสอง ย่านกาญจนาภิเษก ติดต่อผู้ขายดาวน์รถยนต์ ผ่านโทรศัพท์มือถือที่ผู้ขายดาวน์ ประกาศเพื่อขอดูรถยนต์คันที่ประกาศขาย
(2.) ผู้ขายดาวน์รถยนต์ นัดหมายสถานที่ดูรถ บ้านพัก ห้างสรรพสินค้า สถานที่ต่างๆ ปัจจุบันพบข้อมูล กลุ่มมิจฉาชีพ เป็นผู้หญิง 1 หรือ 2 คน เดินทางมาดูรถยนต์ที่ผู้ขายดาวน์ ประกาศขาย
(3.) เมื่อการพูดคุยซื้อ-ขาย รถยนต์ด้วยการขายดาวน์ เป็นที่น่าพอใจของทั้ง 2 ฝ่าย กลุ่มมิจฉาชีพ จะอ้างตัวเป็นเจ้าของ เต้นท์รถ อยู่แถวถนนกาญจนาภิเษก พร้อมกับนำเอกสาร ใบทะเบียนพาณิชย์ซึ่งออกโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าซื้อ-ขายรถยนต์ ให้ผู้ขายดาวน์รถดู จนหลงเชื่อ
(4.) ตกลงทำสัญญาซื้อขายดาวน์ รถยนต์มือสองกัน ซึ่งต่างฝ่าย ต่างให้สำเนาทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวประชาชน ทั้งนี้กลุ่มมิจฉาชีพ จะมอบสำเนาทะเบียนการค้าให้ด้วย เพื่อยืนยันและสร้างความเชื่อใจแก่ผู้ขายดาวน์
(5.) การทำสัญญานั้น กลุ่มมิจฉาชีพ มีการตกลงกับผู้ขายดาวน์ ให้ทำสัญญา 1 เดือนถัดไปเพื่อเปลี่ยนสัญญา เปลี่ยนมือ ระหว่างรอเปลี่ยนสัญญากับไฟแนนซ์ กลุ่มมิจฉาชีพ จะการันตีและรับปากกับผู้ขายดาวน์ ว่า ทางเต้นท์จะรับผิดชอบจ่ายค่างวดรถกับไฟแนนซ์ให้ ทางด้านของผู้ขายดาวน์ วัตถุประสงค์หลัก คือ ต้องการเงินสด ได้ปลดภาระการผ่อนค่างวดรถ ประกอบกับได้รักษาเครดิตทางการเงินของตัวเอง ไม่เสียประวัติ
(6.) เมื่อทุกอย่างเป็นไปตามที่ กลุ่มมิจฉาชีพวางไว้ จากนั้น 3 วัน มิจฉาชีพ จะทำการนัดจ่ายเงินและรับรถจากผู้ขายดาวน์
(7.) รถยนต์ที่มีการ ขายดาวน์ ให้กับกลุ่มมิจฉาชีพกลุ่มนี้ จะถูกนำไปขายในตลาดมืด ด้วยวิธีการ ขายดาวน์ เช่นเดียวกัน ซึ่งรถยนต์คันดังกล่าว ในทางกฎหมายไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายได้ และจะมีการนำรถมาขายดาวน์ในตลาดมืดเป็นทอดๆ ต่อไป จนกว่า ผู้ขายดาวน์ จะถูก ไฟแนนซ์ ทวงถาม ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นต้องยอมรับว่า สายเกินไปแล้วที่จะติดตามรถกลับคืน รถยนต์บางคันถูกนำไปขายในตลาดมืด และถูกนำไปกระทำผิดกฎหมาย
เรื่องที่ ผู้ขายดาวน์ ต้องยอมรับ เมื่อเกิดปัญหา “ขายดาวน์” ผู้ซื้อไม่ยอมผ่อนค่างวดต่อ..
ตามหลักเมื่อ ผู้ขายดาวน์ รู้ตัวว่า รถยนต์ที่ขายดาวน์ไปให้กลุ่มมิจฉาชีพ ไม่เป็นไปตามที่คิด คือการไม่เปลี่ยนสัญญา เปลี่ยนชื่อผู้ครอบครองรถยนต์ กับบริษัท ไฟแนนซ์ ผู้ขายดาวน์ จะต้องแจ้งความดำเนินคดี ในข้อหา ฉ้อโกงทรัพย์ แต่เชื่อเลยครับ เรื่องไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะพนักงานสอบสวน จะลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน แต่ยังไม่รับเป็นเลขคดี สาเหตุคือ ผู้ขายดาวน์ อยู่ในฐานะผู้ครอบครองรถยนต์เท่านั้น ผู้ขายดาวน์ จะต้องแจ้ง ไฟแนนซ์ เพื่อขอหนังสือมอบอำนาจมาแจ้งความดำเนินคดีอาญา กับทางพนักงานสอบสวน
ปัญหาของ ผู้ขายดาวน์ คือ ไม่อยากให้ ไฟแนนซ์ รู้ว่าตนเอง นำรถของ ไฟแนนซ์ ไปขาย เพราะกลัวปัญหาเรื่องผิดสัญญา ซึ่งบริษัท ไฟแนนซ์ สามารถยกเลิกสัญญา ทวงรถคืน และหากไม่รถส่งคืนบริษัท ไฟแนนซ์ สามารถบังคับให้ผู้ขายดาวน์ ส่งเงินค่างวดในสัญญา ไฟแนนซ์ จะแจ้งความดำเนินคดีกับ ผู้ขายดาวน์ ในข้อหายักยอกทรัพย์และฟ้องแพ่งด้วย และนี้คือปัญหา
ศูนย์ปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปจร.ตร.) มีความห่วงใย และขอเตือนภัยสำหรับ เจ้าของรถ ที่กำลังตัดสินใจ “ขายดาวน์ รถยนต์” หลังจากที่มิจฉาชีพ นำรถของผู้ ขายดาวน์ ไปขายในตลาดมืดผู้ขายดาวน์ (ผู้เสียหาย) ต้องไปแจ้งความดำเนินคดีกับมิจฉาชีพในข้อหา ฉ้อโกงทรัพย์ แต่มันคงไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะพนักงานสอบสวน จะลงประจำวันไว้ให้เป็นหลักฐาน ยังไม่รับเป็นเลขคดี
พนักงานสอบสวน จะให้ผู้ขายดาวน (ผู้เสียหาย) คือผู้ครอบครองรถ ไปแจ้งไฟแนนซ์ เพื่อขอหนังสือมอบอำนาจ ให้มาแจ้งความดำเนินคดีอาญา ซึ่งปัญหาของผู้ขายดาวน์ คือ ไม่อยากให้ ไฟแนนซ์ รู้ว่าตนเอง นำรถของ ไฟแนนซ์ ไปขายเพราะกลัว ถูกไฟแนนซ์ กล่าวหาว่า ผิดสัญญาทำให้ ไฟแนนซ์ ยกเลิกสัญญาทวงรถคืน และหากไม่สามารถนำรถกลับมาคืน ไฟแนนซ์ได้ ในทางกฎหมาย บริษัท ไฟแนนซ์ สามารถบังคับให้ ผู้ขายดาวน์ (ผู้เสียหาย) ส่งค่างวดตามสัญญาที่ทำไว้ตั้งแต่ต้น กับไฟแนนซ์ หรือมีการแจ้งความดำเนินคดีกับ ผู้ขายดาวน์ ในข้อหายักยอกทรัพย์และฟ้องแพ่ง ด้วย และนี้คือปัญหาที่ 1 ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับปัญหา การขายดาวน์รถยนต์
ศูนย์ปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปจร.ตร.) ขอย้ำเตือนว่า ทุกอย่างไม่สามารถปิดได้ เพราะถึงเวลา พนักงานสอบสวนรับเป็นคดีก็ต้องเรียกไฟแนนซ์ มาสอบสวน ผู้ขายดาวน์ ควรจะพูดคุยกับไฟแนนซ์ เพื่อหาทางออกร่วมกันดีกว่า
จะว่าไปแล้ว พนักงานสอบสวน บางท้องที่ ก็รับแจ้งโดยไม่ต้องมีหนังสือมอบอำนาจ ขึ้นอยู่กับสามัญสำนึกของพนักงานสอบสวนและคนแจ้งว่ามี เพาเวอร์หรือไม่
ในส่วนนี้ ผู้ขายดาวน์ (ผู้เสียหาย) ต้องแจ้งเรื่องเอกสาร คือ บัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านหรือคู่มือสมุดรถกับพนักงานสอบสวนด้วย โดยต้องระบุวันที่ส่งมอบเอกสารให้ มิจฉาชีพไป เพื่อให้พนักงานสอบสวนลงประจำวันไว้เป็นหลักฐาน ไม่ให้มิจฉาชีพนำเอกสารไปใช้ทำผิดกฎหมาย เช่น การนำรถยนต์ของ ผู้ขายดาวน์ (ผู้เสียหาย) ไปทำการขนส่งยาเสพติด เป็นต้น
ประเด็นต่อมา ถ้าผู้ขายดาวน์ (ผู้เสียหาย) รายเดียวไปแจ้งข้อหาฉ้อโกงทรัพย์โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และยอมความได้ แต่ถ้ามิจฉาชีพยอมส่งค่างวดรถให้ 2 เดือนก็ไม่สามารถดำเนินคดีอาญาได้ ซึ่งในลักษณะดังกล่าว คดีความจะกลายเป็นคดีแพ่งทันที่ ดังนั้น มิจฉาชีพ จะทำโดยแยกกระจายต่างพื้นที่ เพื่อไม่ให้เหยื่อหรือผู้เสียหาย รวมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป เพราะถ้ารวมกันได้ 10 คน ข้อหาจะกลายเป็นฉ้อโกงประชาชนโทษหนักขึ้นและสามารถยึดทรัพย์ได้ โดยไม่ต้องสนใจว่า กลุ่มมิจฉาชีพ จะส่งงวดรถ 2 เดือนหรือไม่
และประเด็น คดีฉ้อโกงทรัพย์นั้น พนักงานสอบสวนจะออกหมายเรียก มิจฉาชีพ 2 ครั้ง ถึงจะออกหมายจับ โดยใช้เวลา 40 วัน ศูนย์ปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปจร.ตร.) อยากเตือน ผู้เป็นเจ้าของรถทุกคน คิดจะ “ขายดาวน์” รถยนต์ มีล้อ กว่าจะออกหมายจับ การติดตามหารถกลับคืนเป็นเรื่องยากมาก บางคันหาไม่เจอ กลายเป็นชิ้นส่วนไปแล้วครับ
ประเด็นสุดท้ายพนักงานสอบสวน กับตำรวจโรงพักไม่ตามคดีให้ คือ ไม่สนใจตามจับคนร้ายและตามรถให้ คือปัญหาสุดท้ายทำให้ท้ายสุด ผู้ขายดาวน์ (ผู้เสียหาย) ได้เงินมานิดเดียวต้องรับผิดชอบค่ารถทั้งหมดที่ซื้อมาจาก ไฟแนนซ์ นี้เป็นเรื่องเตือนภัย และขอย้ำว่า อย่าคิดได้เงินมาง่ายๆ จากการ “ขายดาวน์” สุดท้ายต้องเจ็บและต้องทน ผ่อนค่างวด ทั้งที่ไม่มีรถเป็นของตัวเอง
ด้วยความปรารถนาดี : ศูนย์ปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปจร.ตร.) สายด่วน รถหาย 1192