วันนี้ (11ต.ค.) ศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.) ในฐานะประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย กลุ่ม 16 สถาบันเก่าแก่แห่งประเทศไทย กล่าวถึงกรณีที่สำนักงานคณะกรรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะฟื้นการจัดสอบวัดผลกลาง รวมทั้งยกร่างระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่าด้วยการวัดประเมินผลการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อใช้ในปีการศึกษา 2557 ซึ่งจะมีผลให้มีการตกซ้ำชั้นในระดับประถมศึกษาว่า ตนขอคัดค้านนโยบายฟื้นการตกซ้ำชั้นอย่างเต็มที่ เพราะระบบการศึกษาของไทยเดินมาไกลกว่าที่จะถอยหลังกลับไปใช้ระบบการตกซ้ำชั้น แต่ควรจะปรับระบบการเรียนการสอนในห้องเรียนให้ดีขึ้น ไม่ใช่ถอยหลังเข้าคลองกลับไปใช้วิธีเพิ่มตราบาปให้แก่เด็กอีก และที่สำคัญตนคิดว่านโยบายนี้จะได้รับการต่อต้านจากผู้ปกครองส่วนใหญ่ด้วย เพราะคงไม่มีผู้ปกครองคนใดที่จะอยากให้ลูกของตัวเองเสียเวลาเรียน ส่วนเรื่องการจัดข้อสอบกลางก็ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ถูกทาง เพราะคุณภาพของโรงเรียนมีความแตกต่างกัน ดังนั้นจึงไม่สามารถใช้ไม้บรรทัดอันเดียวไปวัดเด็กทุกคนได้
“ผมขอคัดค้านเรื่องดังกล่าวอย่างเต็มที่เพราะเรื่องนี้จะมีผลกระทบในวงกว้าง ขณะที่สพฐ.เองก็ไม่ได้คิดอะไรอย่างรอบคอบ สิ่งที่สพฐ.ควรทำขณะนี้คือคิดระบบสแกนจุดอ่อนของเด็ก และช่วยแก้ไขข้อบกพร่องระหว่างปี เพื่อให้เด็กมีความรู้ความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ คิดวิเคราะห์แก้ปัญหาเป็น ไม่ใช่ใช้การสอบเพียงครั้งเดียวมาตัดสินชีวิตเด็ก และที่สำคัญคือตอนนี้ครูก็ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ เพราะจำนวนนักเรียนต่อห้องมีมากเกินไป จนทำให้ครูคนเดียวไม่สามารถดูแลเด็กได้อย่างทั่วถึงส่งผลให้การเรียนการสอนในห้องเรียนซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของระบบการศึกษาขาดคุณภาพ" ศ.ดร.ประวิต กล่าว
http://www.dailynews.co.th/education/239655
ค้านนโยบายตกซ้ำชั้น
“ผมขอคัดค้านเรื่องดังกล่าวอย่างเต็มที่เพราะเรื่องนี้จะมีผลกระทบในวงกว้าง ขณะที่สพฐ.เองก็ไม่ได้คิดอะไรอย่างรอบคอบ สิ่งที่สพฐ.ควรทำขณะนี้คือคิดระบบสแกนจุดอ่อนของเด็ก และช่วยแก้ไขข้อบกพร่องระหว่างปี เพื่อให้เด็กมีความรู้ความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ คิดวิเคราะห์แก้ปัญหาเป็น ไม่ใช่ใช้การสอบเพียงครั้งเดียวมาตัดสินชีวิตเด็ก และที่สำคัญคือตอนนี้ครูก็ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ เพราะจำนวนนักเรียนต่อห้องมีมากเกินไป จนทำให้ครูคนเดียวไม่สามารถดูแลเด็กได้อย่างทั่วถึงส่งผลให้การเรียนการสอนในห้องเรียนซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของระบบการศึกษาขาดคุณภาพ" ศ.ดร.ประวิต กล่าว
http://www.dailynews.co.th/education/239655