DIY แบบง่าย ๆ

1.

หาที่โกยผงฝุ่น(สะอาด) รองน้ำจากอ่างล้างหน้า
ในกรณีไม่ได้ต่อก๊อกน้ำสำรองไว้

2.

ใช้ที่แกะลวดเย็บกระดาษ(แม๊กซ์)ป้องกันเล็บมือ
เวลาจะเพิ่ม/ลดอะไรในวงแหวนกุญแจ

3.

ใช้ยางรัดของเส้นใหญ่รัดกลางกระป๋องสี  
จะรีดสีส่วนเกิน/ป้องกันสีเลอะปากกระป๋องสี

4.

ใช้ลูกถั่ววอลนัตลดรอยขีดข่วน
เสียดสีเครื่องเรือนไม้ (ใช้เทียนไขแทนได้)

5.

แบ่งครึ่งแกนกลางกระดาษทิซชู่
ไว้เก็บกระดาษม้วนรูปทรงกระบอก

6.

กันเด็กนอนดิ้นตกจากเบาะง่าย ๆ
ด้วยการวางโฟมว่ายน้ำกั้นไว้ปลายเตียง
เหลือพื้นที่ว่างบนเบาะเล็กน้อย
(ไว้ให้เด็กปีนป่ายเล่น)

7.

ใช้ที่เก็บรองเท้าแบบแขวน
ใส่อุปกรณ์ทำความสะอาดต่าง ๆ
แล้วเก็บไว้ให้พ้นจากมือเด็ก

8.

ใช้ที่เปิดกระป๋องตัดซองที่แพ็คอย่างแน่นหนา
แทนการใช้มีดที่จะเป็นอันตรายมากกว่า

9.

ที่รัดห่อขนมปังใช้แทนชั่วคราว
เวลารูใส่รองเท้าแตะหลวม

10.

ใช้ยาสีฟันขัดกระจกไฟหน้าที่มัวหมอง

11.

ที่โกยผงฝุ่นจากถังเหลือใช้

12.

ขวดโลชั่นใช้แล้วไว้เก็บข้าวของสำคัญ
โทรศัพท์ พวงกุญแจ เงิน เวลาไปชายหาด

13.

ใช้สีทาเล็บแยกแยะประเภทกุญแจบ้าน/ที่ทำงาน

15.

ใช้ที่เปิดกระป๋องเครื่องดื่มร้อยเข้ากับ
ไม้แขวนเสื้อเพื่อเพิ่มไม้แขวนเสื้อผ้าอีกอันหนึ่ง

16.

ดัดแปลงขวดพลาสติคพร้อมเจาะรู
ให้เหมาะกับปลั๊กไฟฟ้าไว้รองรับ
อุปกรณ์ที่ต้องชาร์ทไฟฟ้า

17.

เทน้ำส้มสายชูลงในถุงพลาสติค  
แล้วมัดกับฝักบัวให้แน่น(ทิ้งไว้ค้างคืน)
จะทำความสะอาดตะกรันหินปูนได้

18.

ครอบถุงน่องไม่ใช้แล้วกับเครื่องดูดฝุ่น
เพื่อหาของชิ้นเล็ก ๆ ที่ตกหล่น

19.

ถุงก๊อบแก๊บที่ปมมัดแน่นดึงไม่ออก  
มัดกับราวเหล็กขนาดเล็ก(หรือที่ดึงลิ้นชัก)
แล้วกวดปมอีกข้างให้แน่น
ก่อนดันกลับย้อนหลัง
จะคายปมที่มัดแน่นออกมาได้

เพิ่มเติม  ใช้เศษผ้ามัดแล้วขัดราวโลหะให้สะอาดได้

20.

ขนมขบเคี้ยว(บางยี่ห้อ)ทำเชื้อเพลิงชั่วคราวได้

21.

ถาดขนมแบบหลายหลุม
(กระดาษ/โฟม/พลาสติค)
พิมพ์หลุม/พิมพ์มัฟฟิน(แบบโลหะ)
วางข้าวของงานบาร์บีคิว
หรือน้ำจิ้มต่าง ๆ ในงานเลี้ยง
จะประหยัดจานและพื้นที่  
แบบกระดาษ/โฟม/พลาสติค
ข้อดี คือ เสร็จงานทิ้งไปได้เลย

22.

กล่องใส่ CD แบบหลอดเก็บขนมปังเบเกิล(มีรูตรงกลาง)

23.

วางช้อนไม้เหนือภาชนะหุงต้มกันไม่ให้น้ำเดือดจนล้น

24.

วิธีสอดไส้แซนวิช/ขนมปังแบบเหนือชั้น

25.

ปรับอุณหภูมิเบาะที่นั่งภายในรถยนต์เป็นที่นั่งแบบอุ่น
(มีเฉพาะรถยนต์ในเขตเมืองหนาว)  
เพื่อไม่ให้พิซซ่าเย็นระหว่างขับรถยนต์กลับบ้าน

26.

ไม้แขวนเสื้อแบบมีคลิปหนีบ
ใช้กางเอกสารตำราทำอาหาร

27.

ผสมส่วนผสมทำแพนเค็กลงในขวดซ๊อสมะเขือเทศ  
แล้วค่อย ๆ เทลงในกะทะเหมาะสำหรับมือใหม่

28.

ไหมขัดฟันตัดได้หลายอย่าง

29.

เสียบหลอดดูดเครื่องดื่มในช่องเล็กจะกันหลอดไหวพริ้ว

30.

พลิกด้านถาดอบมัฟฟิน(ถาดทำขนม)
จะได้รูปแบบขนมอีกรูปแบบหนึ่ง
วิธีทำที่ใส่ทาโก้(อาหารเม็กซิกัน)ให้กรอบอร่อย
ทาน้ำมันบนด้านบนถาดอบมัฟฟิน
แล้วอบแผ่นแป้งตอติลญ่าประมาณ 10 นาที
ที่ความร้อน 375 องศาฟาเรนไฮต์

31.

ใช้ซ่อมแทนมือในการจุ่มกินโอลีโอ

32.

ใช้ตีนตุ๊กแกเก็บรีโมท ทีวี/ดีวีดี/เครื่องปรับอากาศ

33.

ที่ซ่อนเงินฉุกเฉินเวลาเดินทาง

34.

แกนกลางกระดาษทิซชู่ไว้เก็บสายประเภทต่าง ๆ

35.

ที่รัดห่อขนมปังปิดแถบกาวที่ดึงออกมาใช้งาน

36.

ตีนตุ๊กแก/ตัวติดของ  ไว้เก็บของใช้สำคัญใกล้ตัว

37.

เวลาไปพักตามโรงแรมบางแห่งแล้ว
สายชาร์ทอุปกรณ์ไฟฟ้าไม่เพียงพอ
โทรทัศน์รุ่นใหม่มักมีช่อง USB
นำมาใช้งานชาร์ทอุปกรณ์ไฟฟ้าได้

38.

นำเศษสบู่แปะติดกับก้อนใหม่จะใช้งานได้เพิ่มขึ้น

39.

สอดใส่กระดาษแข็งลงในซองกันน้ำ  
จะป้องกันรอยยับเอกสาร/เช็ค
รวมทั้งป้องกันการเปียกน้ำฝนได้

40.

นำกระดาษรองแก้ววางไว้บนถ้วยเครื่องดื่ม
เวลาจะไปทำธุระส่วนตัว/ไปสูบบุหรี่ด้านนอก
เป็นสัญญลักษณ์สากลว่า  เดี๋ยวจะกลับมา
กันคนมาแย่งที่นั่งหรือพนักงานเก็บโต๊ะไปเลย

41.

ปลั๊กไฟฟ้าส่วนมากมีขนาดใช้แทนไขควงปากแบน
ใช้ไขน็อต/สกรู  รูขนาดกลางและใหญ่ได้

42.

เจาะรูเล็ก ๆ สักสองรูใกล้กับปลายถังขยะ
ช่วยการใส่/เก็บขยะจากถุงขยะได้ง่ายขึ้น
(ลดแรงดันอากาศภายในถังขยะ)

43.

แสงจากหลอดไฟโทรศัพท์มือถือ
วางไว้ได้ในขวดน้ำจะได้แสงไฟกระจาย
ให้แสงสีสวยงามกว่าหลอดไฟทั่วไป

44.

ห่วงล็อคช่วยถือข้าวของหนักได้ประมาณ 50 ปอนด์
(ประมาณ 22.6 กิโลกรัม) เวลาเดินขึ้นลงบ้นได

45.

หยุดรับอีเมล์ขยะบางรายการ
ด้วยการตั้งคำกรองว่า Unsubscribe

46.

ใส่ห่วงคล้องกับปลายซิปกางเกง
แล้วคล้องติดกับกระดุมกางเกง
กันซิปเลื่อนหลุดเวลาเคลื่อนไหว

47.

อักษรพิเศษบางคำทำให้รหัสลับยากต่อการคาดเดา

48.

ฝาขวดน้ำดื่มพร้อมเกลียวเปิดปิดใช้แล้วไว้เก็บขนมได้

49.

ที่หนีบกระดาษไว้แยกแยะสายประเภทต่าง ๆ

50.

เอาที่ถือกระเป๋าคล้องขาไว้ข้างหนึ่งเวลาจะงีบหลับ
ช่วงรอเวลาขึ้นเครื่องบิน/รถโดยสาร
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่