(เกร็ดประวัติศาสตร์) เพลงและหนังวัยรุ่นที่ดังสุด ๆ เมื่อเกือบ 40 ปีก่อน

วัยอลวน  

(ฉาย    19 กันยายน พ.ศ. 2519)

ภาพยนตร์ไทยเรื่องนี้กำกับโดยเปี๊ยก โปสเตอร์ จากบทประพันธ์ของ บุญญรักษ์ นิลวงศ์ เจ้าของเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงๆ ในหนัง ซึ่งรับหน้าที่เป็นผู้ช่วยผู้กำกับด้วย

วัยอลวนเป็นภาพยนตร์วัยรุ่นเรื่องแรก ๆ ที่เปลี่ยนแนวทางของภาพยนตร์สมัยนั้น ที่พระเอกจะต้องเป็นสุภาพบุรุษหน้าตาดี ร่างกายกำยำ ชำนาญศิลปะการต่อสู้ ผู้กำกับเลือกใช้ไพโรจน์ สังวริบุตร นักแสดงหน้าใหม่รูปร่างผอมเกร็ง ท่าทางยียวนกวนประสาท มารับบทพระเอก

การที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ฉีกแนวไปจากเรื่องอื่น ทำให้ในระยะแรกภาพยนตร์เรื่อง "วัยอลวน" ขายไม่ได้ ไม่มีโรงภาพยนตร์ใดยอมซื้อเรื่องนี้ไปฉาย ประกอบกับช่วงนั้นเพิ่งเกิดความรุนแรงในเหตุการณ์ 6 ตุลาได้ไม่นาน แต่จากการจัดกิจกรรมของผู้ฉาย จัดรอบพิเศษให้กับนักเรียน ทำให้เกิดกระแสบอกต่อ ประกอบกับมีเพลงประกอบที่ได้รับความนิยม คือเพลง สุขาอยู่หนใด น่ารัก ร้องและเล่นกีตาร์โดย ชัยรัตน์ เทียบเทียม ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้มีรายได้สูงสุด ถึง 8 ล้านบาท และมีการสร้างภาคต่อ คือ รักอุตลุด ฉายในปี พ.ศ. 2520 และ ชื่นชุลมุน ฉายในปี พ.ศ. 2521

เพลงประกอบในหนังวัยอลวน

น่ารัก

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
สุขาอยู่หนใด

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
.........................................................................

รักอุตลุด

(ฉาย 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2520)

ภาพยนตร์ไทยเรื่องนี้กำกับโดยเปี๊ยก โปสเตอร์ เช่นเคย เขียนบทโดย บุญญรักษ์ นิลวงศ์ สร้างเป็นภาคต่อ หลังจากความสำเร็จของเรื่อง วัยอลวน ภาพยนตร์ภาคนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ทำรายได้ถึง 9 ล้านบาท

ในขณะที่ภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าฉาย ดนตรีจังหวะดิสโกกำลังเป็นที่นิยม โดยเฉพาะท่าเต้น "บั๊มพ์" เอาสะโพกกระแทกกัน (เพลงฮิตในขณะนั้นคือเพลง Lady Bump ของ Penny McLean) ฉากหนึ่งในเรื่องนี้ซึ่งเป็นที่จดจำ คือฉากตั้มและโอ๋ ใส่ชุดสีทองเต้นบั๊มพ์ประกอบเพลง "อุตลุดบั๊มพ์"

เพลงประกอบหนังเรื่องรักอุตลุต

เธอที่รัก

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

รักหนอรัก

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ระทมรัก

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

อุตลุตบั๊มส์

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
................................................................................

ชื่นชุลมุน


(ฉาย 21 สิงหาคม พ.ศ. 2521)

เป็นภาพยนตร์ภาคที่สามในชุดวัยอลวน ที่กำกับโดย เปี๊ยก โปสเตอร์ เช่นกัน หลังจากความสำเร็จของ วัยอลวน (2519) และ รักอุตลุด (2520) แต่ภาพยนตร์ภาคนี้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากกล่าวถึงชีวิตในวัยผู้ใหญ่กว่า 2 ภาคแรก แต่มีเพลงประกอบที่เป็นเพลงฮิต คือเพลง "ยับ" ขับร้องโดย ชัยรัตน์ เทียบเทียม แต่งเนื้อร้องโดย อุดม สัตโกวิท โดยใช้ทำนองเพลง Puff, the Magic Dragon เพลงดังของวง Peter, Paul and Mary

เพลงประกอบหนังเรื่อง ชื่นชุลมุน

"ยับ" ของพีชัยรัตน์ เทียบเทียม ตอนนั้นเจ้าของกระทู้ยังเด็กมาก ๆ เลยไม่รู้หรอกว่าเพลงอะไร แต่ติดหูมาตั้งแต่ตอนนั้น
เพิ่งมาได้ยินใหม่ปีนี้เอง ค้นหาจนเจอในยูทูป

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ซำบายดีเหรอ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่