[Heat transfer] อยากทราบว่าทำไมน้ำถึงระเหยเร็วขึ้นเมื่อมีลมพัดครับ

ตอนนี้ผมกำลัง Thesis เกี่ยวกับเครื่องมือจำพวก หม้อน้ำอยู่ครับ  ซึ่งผมได้ทำการติดตั้งระบบขึ้นมาใหม่ คือเสริมระบบน้ำเข้ามาควบคู่กับพัดลมเพื่อให้เจ้าพวกหม้อน้ำที่ทดสอบเนี่ย ระบายความร้อนได้ดีขึ้นครับ

ทั้งๆที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การฉีดน้ำ(ใช้วิธีพ่นละอองน้ำเข้าไปยังแผงรังผึ้งตรงๆเลย)จะช่วยให้เกิดการระบายความร้อนได้ดีขึ้น แต่ถ้าจะให้ดีกว่านั้น ก็จะต้องมีพัดลมเข้ามามีส่วนช่วยด้วย ซึ่งจากผลการทดลองนั้น ปรากฏว่าอุณหภูมิลดลงอย่างรวดเร็วมากที่สุด  โดยการทดสอบนี้ของผมจะแบ่งเป็น 3 เคสคือ ใช้พัดลมระบายความร้อน ใช้น้ำระบายความร้อน และใช้น้ำควบคู่กับพัดลม ในการช่วยระบายความร้อน

ทีนี้มันมาเรื่องในส่วนของการคำนวณครับ  สองเคสแรกคือ พัดลม และการใช้น้ำ  สามารถคำนวณหาค่าการระบายความร้อนได้อย่างไม่ยากเย็นเท่าไหร่ครับ   แต่ตอนนี้จะมีเรื่องปวดหัวก็คือเมื่อใช้ น้ำ+พัดลม เนี่ยแหละครับ   เพราะค่าการระบายความร้อนนั้นของน้ำนั้นจะเกิดขึ้นจาก
1. การระเหยของน้ำ (Q=ML)
2. การระบายความร้อนของน้ำ (Q=MCΔT)
3. การระบายความร้อนของพัดลม(Q=MCΔT)

ซึ่งตรงนี้ จะมีปัจจัยเรื่องลมมาเกี่ยวข้อง โดยน้ำจะมีการระเหยได้เร็วขึ้นเมื่อใช้พัดลมครับ แต่ตอนนี้ยังนึกไม่ออกว่า ควรจะใช้ ทฤษฏีอะไรมาจับ เพื่อต่อยอดในการคำนวณตรงจุดนี้  เมื่อซักครู่ที่ผ่านมา ลองพ่นน้ำเทสลงบนฝ่ามือ และใช้ลมเป่า ปรากฏว่าแป๊บเดียวน้ำแห้งหมดเลย(อุณหภูมิ ณ เวลานี้คือ 27 C ) เราก็เลยมาย้อนคิดดูว่า เอ้อ ในหม้อน้ำถ้าเราฉีดน้ำลงไปแล้วใช้ลมเป่า ก็คงจะมีปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นด้วย

เลยรบกวนมาขอความรู้ครับ ว่าผมควรใช้ ทฤษฏี หรือสูตร เพื่อใช้ในการคำนวณอะไรบ้าง เพื่อที่จะได้ทราบว่า " เหตุใด เมื่อใช้พัดลมแล้วน้ำมันระเหยเร็วขึ้น "  และ  " ค่าการระเหยของน้ำนั้น มีค่าเท่าไหร่ "

ท่านใดพอที่จะเก่งๆในเรื่องนี้ ผมรบกวนด้วยนะครับ  เพราะตอนนี้คิดมาสองวันแล้ว ยังไม่ได้ข้อสรุปดีๆซักที แถมยังหาวิธีการคำนวณไม่ได้เลย

ขอบพระคุณสำหรับทุกๆความคิดเห็นนะครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่