เรียนวิศวะแต่อยากเป็นนักโฆษณาทำไงดี ช่วยด้วยครับ T_T

เป็นความผิดตัวเองตั้งแต่ต้นที่ไม่รู้จะเรียนอะไรบวกค่านิยมแย่ๆของตัวเองที่อยากเรียนคณะดังๆมหาลัยดังๆแล้วก็แอดติดไว้ก่อนทั้งที่ไม่ได้ถามเลยว่าตัวเองชอบไหม ติดวิศวะก็เลยเรียนวิศวะหวังว่าเรียนไปคงชอบ ปีหนึ่งปีสองก็เฉยๆน่ะ แต่พอมาปีสามกับฝึกงานกลับไม่ชอบชีวิตอย่างนี้เลย ก็เลยมองย้อนตัวเองทั้งหมดในชีวิต ตัวเองเป็นตุ๊ดน่ะ เป็นคนตลก ชอบใส่ความคิดสร้างสรรค์ คิดอะไรแปลกๆ ชอบคิดทำอะไรๆให้ดีกว่าชาวบ้านชาวเมืองเวลาทำงานหรือพรีเซนงานหน้าห้อง และงานมักจะออกมาดีและอาจารย์ชม ตอนนี้ที่ผมคิดมีอยู่ 2 อย่าง ที่คิดไม่ออกและเลือกไม่ถูกเลยเครียดมาก คือ
1.อ่านหนังสือเพื่อแอดเรียนคณะนิเทศศาสตร์ : ตอนนี้ก็เรียนวิศวะอยู่ปีสี่แล้วก็จะเรียนให้จบเพื่อพ่อกับแม่ ผมอยากเป็นนักโฆษณาแต่พื้นไม่มีเลย เลยคิดว่าจะแอดเรียนนิเทศปริญญาตรีใหม่ มันเป็นความคิดที่ดีไหม เพราะผมต้องทำงานจ่ายค่าเล่าเรียนเองไม่อยากรบกวนพ่อแม่เพราะท่านก็จ่ายค่าเทอมค่าวิศวะไปแล้วเลยไม่อยากรบกวนท่านอีก
2.ฝึกฝีมือเพื่อสมัครทำงานโฆษณาเลย : ผมค้นคว้าอาชีพนักโฆษณานี้ก็ไม่เห็นว่าจะต้องจบนิเทศก็ทำงานสายนี้ได้ แต่อย่างที่ผมบอก ผมไม่มีพื้นฐานโปรแกรม เขียน story board ก็ไม่เป็น ผลงานก็ไม่มี เลยอยากรู้ว่าผมต้องฝึกอย่างไร ทำอย่างไร ช่วยแนะนนำผมหน่อยครับ

ช่วยให้คำตอบ คำแนะนำ ผมด้วยน่ะครับ ขอบคุณครับ

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
สมัคร BAD student workshop เลยน้อง ปีนี้คัดเลือกไปแล้ว คงต้องรอปีหน้า
http://www.badawards.com/Student.html

ลองทำงานประกวดส่ง BAD ดู แล้วจะรู้เองว่าน้องเหมาะกับงานสายนี้จริงๆรึเปล่า
เพราะงานสายนี้แค่ความชอบ หรือความพยายามมุ่งมั่นมันไม่พอ
ถ้าลองส่งงานประกวดไปซัก 2-3 ปี หรือจนเรียนจบไปแล้ว ก็ยังเข้า BAD ไม่ได้
หรือยังไม่ได้รางวัลจากเวทีไหนเลย หนทางนี้ก็คงไม่เหมาะกับน้องแล้วล่ะ
อาจต้องลองมองงานด้านโฆษณาสายอื่นๆ ที่ไม่ใช่สาย creative แทน

อันนี้พูดจริง ไม่ได้บั่นทอน ลองได้ ฝันได้ แต่ไม่อยากให้เสียเวลา ถ้ามันไม่ใช่จริงๆ
เพราะบางคนคิดว่านี่แหละเป็นสิ่งที่ตัวเองชอบ เหมาะกับตัวเอง หรือเป็นคนมีหัวด้านนี้
แต่เอาเข้าจริง ลองทำงานส่งจริงๆ คนที่มันใช่ ส่งงานไม่กี่ครั้งมันก็ได้รับเลือกแล้ว
แต่กับคนที่ไม่ใช่ ส่งแล้วส่งอีก ก็ยังมีคนที่คิดได้เหนือชั้นกว่าเราในโจทย์เดียวกันนั้นทุกครั้งไป
จนถึงจุดที่ต้องยอมรับว่าไอเดียในการคิด ad เราโดดเด่นสู้ "คนที่ใช่" ไม่ได้จริงๆก็มีเยอะ
แล้ววงการนี้ เค้าก็คัดเอาแต่พวกที่ไอเดียการคิดโฆษณานระดับบนสุดของห่วงโซ่อาหาร
เทียบกับผลงานของนศ.ทั่วประเทศในรุ่นหรือยุคสมัยเดียวกัน

แต่คนที่รักงานคิดสร้างสรรค์เป็นเดิมทุนอยู่แล้ว ยังไงก็มีที่ยืนค่ะน้อง
ความถนัดในการคิดไอเดียสร้างสรรค์ของเราอาจไม่ได้อยู่บนห่วงโซ่อาหารของสายโฆษณา
แต่อาจอยู่บนห่วงโซ่อาหารของงานสายอื่น แต่เรายังไม่รู้จัก หรือยังไม่รู้ตัวก็เป็นได้
ลองศึกษางานตปท. ลองส่งประกวดไปเรื่อยๆ ไม่เฉพาะงานคิดโฆษณา แต่รวมถึงงานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ด้านอื่นๆ
อาจค้นพบว่าตัวเองสามารถคิดงานทางด้านอื่นได้ดีและโดดเด่นในวงการด้านนั้นๆ มากกว่าด้านการคิดงานโฆษณาก็เป็นได้

งานสร้างสรรค์ งานครีเอทีฟ งานคิดสนุก ไม่จำเป็นต้องเป็นงานโฆษณา
อยากจะบอกว่า คอร์สที่สอนด้าน creative thinking ที่เมกา ล้วนแต่อยู่ในคณะวิศวฯทั้งนั้นนะ
เพราะมันจำเป็นมากในการคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ

ตัวอย่าง อันนี้มีให้เรียนฟรี online
Pennsylvania State University
https://www.coursera.org/course/cic
Stanford University
https://novoed.com/designthinking
https://novoed.com/creativity13

ถึงคุณจะไปแอดใหม่เรียนนิเทศได้เกียรตินิยมมา
มันก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่จะทำให้คุณได้เข้าทำงานเป็นครีเอทีฟโฆษณาในเอเจนซี่ชั้นนำได้
ถ้าคุณไม่เคยมีผลงานประกวด(ระดับนศ.)ที่ได้รับการคัดเลือกจากเวทีไหนๆมาก่อน
โอกาสน้อยมากที่เอเจนซี่ระดับพวก big name จะรับคุณเข้าทำงานฝ่าย creative
เว้นแต่เอเจนซี่ระดับล่างลงมา ทำงานฮาร์ดเซล,หรือแบรนด์ทั่วไป ไม่สนการส่งงานประกวดเอาโล่ห์เอาชื่อเสียงอะไรพวกนี้
แต่ยังไงก็ต้องมี portfolio โชว์ผลงานอยู่ดีค่ะ

นักโฆษณาที่รุ่งๆมีผลงานระดับได้รางวัล ทำงานในเอเจนซี่ชื่อดัง ส่วนใหญ่ล้วนเป็นศิษย์เก่า BAD workshop กันทั้งนั้น
การเรียนนิเทศศาสตร์ ให้คุณในส่วนของวิชาการที่เกี่ยวข้อง ส่วนไอเดีย มันเป็นความสามารถและพรสวรรค์เฉพาะบุคคล
แต่ถ้าจบนิเทศศาสตร์จะได้เปรียบกว่าคนอื่น คือคุณสามารถทำงานโฆษณาด้านอื่นๆได้ด้วย ไม่จำเป็นต้องแค่ฝ่าย creative
แต่ถ้าคุณจะทำฝ่าย creative เรียนอะไรมาไม่สำคัญเท่าคุณมีอะไรในหัวมา

ฝ่าย creative จะแยกเป็น copywriter & art director ทำงานร่วมกัน
copywriter ไม่จำเป็นต้องเรียนทางสายนิเทศ อยู่ที่ไอเดียล้วนๆ และความสามารถในการใช้ภาษา
แต่ถ้าจะมาสาย art director คงต้องไปเรียนนิเทศศิลป์ (หรือ art school, design school อื่นๆ เช่น จิตกรรม,ศิลปกรรม,สถาปัตย์ )
แต่ถ้าจะเรียนสายตรงเพื่อเป็น art director ก็นิเทศศิลป์แหละ ไม่ใช่นิเทศศาสตร์
พื้นฐานโปรแกรมไม่สำคัญเท่าไอเดีย,sense ทางศิลปะ และมุมมองทาง art direction
แนะนำ...
( edit : กำ...อ่านข้ามง่ะ ไม่ทันเห็นว่าน้องพิมพ์ไว้ว่าอยู่ปี4ใกล้จบแล้ว - -'
งั้นก็ไม่แนะนำให้แอดใหม่เน๊ออ ถ้าคิดจะเรียน ก็ต่อป.โทเลยค่ะ ^^" )
- จุฬา-ศิลปกรรม สาขานฤมิตศิลป์ ภาควิชาเรขศิลป์
- ศิลปากร-มัณฑนศิลป ภาคฯออกแบบนิเทศศิลป์
(ส่วนข้างล่างนี้ไม่แน่ใจว่ามีป.โทยัง)
- ลาดกระบัง-สถาปัตย์ฯ สาขาวิชานิเทศศิลป์
- ม.กรุงเทพ-ศิลปกรรม ภาคฯออกแบบนิเทศศิลป์
- ม.รังสิต (นิเทศศิลป์ อยู่ในคณะอะไรจำไม่ได้ละ)
สถาบันในประเทศแนะนำแค่นี้ นอกนั้นอย่าเสียเวลาเลย
ดูจาก portfolio เด็กที่จบมา เราเลือกแค่สถาบันเหล่านี้จริงๆ
ที่อื่นๆนานๆจะมีเจ๋งๆหลุดเข้ามารุ่นละไม่เกิน5-10คน
หรือถ้าจะต่อป.โท ตปท. google คำว่า ad school rankings

ส่วนการวาด storyboard ไม่ใช่หน้าที่ของ creative จะมี visualizer วาดโดยเฉพาะ
creative แค่วาด sketch ไอเดียคร่าวๆ ถึงจะเป็นตัวคนก้างปลา แต่สื่อสารไอเดียของน้องให้คนอื่นดูแล้วรู้เรื่อง ก็โอเคแล้ว
ส่วนงานประกวดระดับนร. ส่วนใหญ่เป็นงาน print ad campaigns ไม่ก็ poster ไม่ใช่ TVC ไม่ต้องวาด storyboard

ถ้าน้องไม่มีพื้นฐานทางศิลปะหรือ drawing เลย แนะนำสมัครด้าน copywriter
แต่ถ้าชอบด้านภาพ บ้าสี ฟินกับงานศิลปะหรือภาพถ่ายที่ compost แจ่มๆ
มากกว่าฟินกับคำคมเก๋ๆ หรือหนังสืออินๆ แนะนำสมัครด้าน art director
แต่ถ้าจะมาสาย art di คุณต้องผ่านการเรียนการสอนจากมหาลัยที่มี art/design department
ฝึกฝนฝีมือ ทำ portfolio ไปพลางๆ เรียนจบวิศวฯ แล้วเอาไปสมัครป.โท ตามคณะและม.ที่แนะนำไปข้างต้นเลยค่ะ
ไม่มีคำว่าสายเกินไปสำหรับการเรียนรู้ในสิ่งที่ตัวเองกระหายอยากจะเรียนรู้จริงๆ
sense ทางศิลปะและการออกแบบ มันเกิดจากการบ่มเพาะที่ถูกกรรมวิธีของการฝึกฝนมาเป็นเวลาอย่างน้อย3-4ปี
ซึ่งกรรมวิธีฝึกฝนที่สามารถสร้างนร.ศิลปะ,นร.ออกแบบ ที่ได้ประสิทธิภาพ หาได้จากคณะที่สอนศิลปะหรือการออกแบบโดยตรง
มันไม่สามารถสร้างได้จากการฝึกฝนเรียนรู้ด้วยตัวเองภายในเวลา3-4ปีเท่ากัน, หรือเทคคอร์สแค่ไม่กี่เดือนตามสถาบันสอนโปรแกรมกราฟิก อะไรพวกนี้ได้

แต่ถ้าไม่อยากไปสอบเข้า art school ใหม่ ระหว่างเรียนวิศวะก็ลองส่งประกวด BAD สาย copywriter ดูก่อน
แต่ถึงจะมาทาง copywriter อย่างน้อยก็ควรมีพื้นฐาน photoshop เพราะมันจะง่ายต่อการ present idea ให้ออกมาเป็นภาพที่ดูดีและรู้เรื่อง(ในกรณีวาดแล้วดูไม่ได้เลยอะนะ)

ถ้าอยากเรียน photoshop หรือโปรแกรม graphic อื่นๆ แนะนำ lynda.com
http://www.lynda.com/Photoshop-tutorials/279-0.html
สอนละเอียดและถูกต้องกว่าสถาบันสอน graphic ที่เปิดในไทยเยอะ
( สอนเป็น eng แต่มี cc ให้ ศัพท์ไม่ยาก )
ถูกกว่าด้วย จ่าย subscribe เดือนละ $37.50
ภายใน1เดือนจะเข้าไปเรียนกี่คอร์สก็ได้
ขยันหน่อยเรียนจบคอร์สได้ไวภายใน1เดือนก็กดยกเลิก subscribe ซะ ก็จะจ่ายแค่พันนิดๆเอง
ว่างเดือนไหนอยากเรียนคอร์สอื่นก็ subscribe ใหม่

ว่างๆรอ BAD ปีหน้า ก็ลองศึกษางาน ad ดู
โดยเฉพาะ print ad, poster, outdoor, ambient
หางานประกวดจากเวทีระดับโลกมาวิเคราะห์ศึกษาดู
http://www.adforum.com/
http://adsoftheworld.com/
ของไทย
www.adintrend.com
( จริงๆมีอีกหลายเว็บ แต่จำได้แค่นี้ค่ะ
ไม่ได้ติดตามงาน ad และวงการโฆษณามาหลายปีแล้ว )

***เพิ่มเติม***
ฝากไว้อย่างเดียว แต่สำคัญมาก "อย่าลอกIDEA" !!!

ดูงาน ad เยอะๆ
ไม่ใช่เพื่อเอา idea หรือเอาผลงานเค้ามา "ปรับใช้" หรือเป็น "แรงบันดาลใจ" ในงานของเรา
แต่เพื่อหลีกเลี่ยง ไม่ให้เผลอเอา idea งานรางวัลเหล่านี้ ไปใช้กับงานของเราต่างหาก
เพราะคนในวงการเค้าอัพเดทงานใหม่ๆกันตลอดเว เห็นปุ๊บก็รู้แล้วว่าคล้ายงานนั้นงานนี้

ดูงาน ad เยอะๆ  
เพื่อเอามาวิเคราะห์แยกแยะ หาที่มาที่ไปของวิธีคิด big idea และ execution ของเค้า
จากโจทย์--->ผลงาน final ระหว่างทาง เค้ามีวิธีคิดยังไง
ใช้วัตถุดิบหรือ reference อะไรในการคิดบ้าง
( บางคนลอกไอเดียชาวบ้านมาแล้วบอกว่า ไม่ได้ลอกเค้า แต่เอางานเค้ามาเป็น reference -"- ต้องเตือนไว้ก่อน เพราะหลายๆคนที่ไม่ได้เรียนทางด้าน design หรือ ad มาโดยตรง มักเข้าใจและใช้คำนี้ผิดๆ
reference หมายถึง "วัตถุดิบ" ที่เอามาอ้างอิงในการคิดงาน อย่างเช่น โทนสี สไตล์ ศิลปะ ยุคสมัย เหตุการณ์ บลาๆๆ
แต่ถ้าเป็น "ผลงานชาวบ้าน" ที่เอามาอ้างอิงในการปรับใช้เป็นผลงานfinalของเรา ไม่ได้เรียก reference เรียกว่า เรเฟอร์ลอก )

เราศึกษางานจากวิธีคิดในการตีโจทย์ของเค้า ว่าทำไมถึงได้ idea นี้ออกมา ทำไมถึงใช้ execution แบบนี้ เพื่ออะไร ซึ่งนี่คือ"ต้นทาง"ของ process การคิดงาน
ไม่ใช่ศึกษางานจาก idea หรือ execution ผลงานที่ปรากฎออกมาแล้ว ซึ่งนั่นจะเป็นผลลัพธ์"ปลายทาง"
ถ้าดูแค่ผลงานส่วนปลายทาง โอกาสลักไก่จำไอเดียหรือ execution ไปใช้เป็นผลงานfinalเลย
โดยไม่ผ่านขั้นตอนการคิดวิเคราะห์จากการตีโจทย์ของเราตั้งแต่ต้นทางมันมีสูง
และนั่น จะเป็นสาเหตุของอาการหลงลืมชอบหยิบยืมไอเดียชาวบ้านมาใช้จนชินโดยไม่รู้ตัว
แล้วไอเดียสดใหม่มันจะไม่มีทางเกิดขึ้นกับงานของเรา


โชคดีจ่ะ ยิ้ม
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่