"จำภาพสุดท้ายที่มองเห็นได้ไหมครับ"
"ไม่ครับ จำไม่ได้"
.
.
.
.
เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาเราได้ไปเที่ยวงานนิทรรศการ dialogue in the dark
งานนี้จัดที่จามจุรีสแควร์ ชั้น 4 ค่ะ ไปเที่ยวกันได้ ค่าเข้าชมผู้ใหญ่ 90 บาท เด็ก 50 บาท
นิทรรศการนี้เป็นการจำลองว่าคนที่ไม่สามารถรับรู้ภาพได้แฉกเช่นพวกเรา
เขาจะดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไร
โดยมีเพียงไม้เท้าอันเดียว ช่วยในการเดินทางไปไหนต่อไหน
เรื่องราวในนิทรรศการ สามารถรับชมได้ แต่ไม่ใช่ด้วยตา เป็นประสาทสัมผัสอื่นๆ
บอกตรงๆ ว่าตอนเข้าไปใหม่ๆ ในห้องที่มืดจนมองไม่เห็นอะไรเลยแม้ว่าจะลืมตาแบบไม่กระพริบเลยก็ตามที
มืดชนิดที่ว่า คนยืนข้างหน้า ห่างไปเพียงไม่กี่เซนติเมตร เราก็ยังมองไม่เห็น
มืดได้ขนาดนั้น
ความมืดขนาดนั้น มันน่ากลัวพอสมควร
สำหรับคนที่เคยมองเห็นได้มาตลอดอย่างเรา
บทเรียนแรก เพียงแค่การนั่งเก้าอี้โซฟา เพียงแต่นั่งเก้าอี้จากที่ปกติ พอกลับถึงบ้าน
โยนกระเป๋าข้าวของแล้วทิ้งตัวลงบนเก้าอี้
หลายๆ คนเลือกที่จะบ่นอะไรมากมาย นั่งลงได้อย่างทันทีและรวดเร็ว
แต่ครั้งนี้ไม่ใช่ ต้องใช้มือค่อยๆ สัมผัส
ย่อตัวลงช้าๆ เพื่อกะระยะความสูง แล้วจึงค่อยๆ หย่อนตัวลงไปนั่ง
แค่นั่งได้ไม่ตกเก้าอี้นี่ก็ดีใจมากแล้ว
บทเรียนต่อๆ ไปก็ยากขึ้น และยากขึ้น
เดินเข้าไปในสวน ลองสัมผัสใบไม้ น้ำ ด้วยมือ
สัมผัสรูปปั้นเย็นชืดในสวนจนมือแทบชา ก็ยังบอกแทบไม่ได้ว่าเป็นรูปอะไร
เดินริมฟุตบาท สำหรับคนเราแล้วก็คงเป็นเรื่องง่ายๆ
แต่มันไม่ง่ายเลยเมื่อต้องเดินแบบมืดๆ จนหลายครั้งอดคิดไม่ได้ว่า
ตอนที่เขาให้ลองข้ามถนนจำลองเนี่ย เขาให้ฟังเสียงรถว่าเงียบแล้ว ค่อยข้าม
คนเรามักรำคาญเสียงรถ แต่ในวันนั้น รถเสียงดังๆ มันก็ดีนะ
แม้แต่การขึ้นลงรถ ยังรู้สึกแสนลำบาก ก้าวขึ้นยังไงนะ ถึงไม่สะดุดขาตัวเองล้มไปได้
ฟังเพลง ที่ได้แต่จินตนาการว่า หน้าตาของคนร้องจะเป็นอย่างไร เวทีเป็นแบบไหน
แม้แต่จะกิน ยังเอาป๊อกกี้จิ้มจมูกตัวเองแทนปากไปก็หลาย
.
.
.
.
เมื่อชมนิทรรศการจนจบทุกอย่าง เราสามารถถามคำถามไกด์ได้
สิ่งที่เราถามออกไปอาจจะดูแปลกๆ มั้ง สำหรับไกด์
"พี่มองไม่เห็น แล้วพี่รู้ได้ไงว่าแตงตัวสูง"
"เสียงคุณแตง อยู่สูงกว่าผมมาก"
บอกตรงๆ ว่าตัวเราเองใช่จะจับทิศทางเสียงได้ดีนัก
"พี่เห็นครั้งสุดท้ายตอนไหนครับ" ไม่รู้ว่าคนไหนถาม
"สามขวบครับ"
ไม่รู้ว่าความรู้สึกตอนนั้นของพี่เขาจะเป็นยังไง ไม่กล้านึกเลย
แต่จากทุกคำตอบที่ตอบมา มีคำตอบนึงที่ประทับแน่นในความทรงจำของเรามากที่สุด
"พี่ว่าไปที่ไหน ยากที่สุด"
"ไม่มีที่ไหนยากหรอกครับ ผมไปได้ทุกที"
โลกใบนี้คงไม่มีอะไรที่ยากเกินไป หากเราตั้งใจมากพอ
โลกใบนี้ ที่ว่าไม่มีที่ให้คนอ่อนแอ เราว่าจริงๆ แล้วไม่ใช่
โลกมันไม่มีที่ให้คนที่ยอมแพ้มากกว่า
.
.
.
.
รู้ไหม ณ วินาทีที่ได้สัมผัสใบไม้ เรามองไม่เห็นหรอก
แต่เรารู้สึกว่ามันต้องสดชื่น และเขียวสะอาดมากๆ
บางที บางสิ่งที่ทำให้เรามองเห้นภาพได้ชัดเจนกว่าดวงตา ก็คงเป็นจิตใจนี่ล่ะ
ที่ทำให้ภาพนั้นๆ สวยงามตรึงใจได้มากมายแค่ไหน
.
.
.
.
"จำภาพสุดท้ายที่มองเห็นได้ไหมครับ"
"ไม่ครับ จำไม่ได้"
แต่เชื่อว่าพี่เขาคงมีภาพที่งดงาม อยู่ในใจเสมอ
Cr. น้องแตง แห่ง DiaryIS.com
ปล. อ่านแล้วรู้สึกดีเลยเอามาแชร์ค่ะ ขออนุญาตคนเขียนแล้ว ส่วนเรื่อง Tag ก็แบ่งปันเรื่องดีดี กระจายไปห้องต่างๆ ค่ะ ที่เราเข้าไปอ่านบ่อยๆ
"จำภาพสุดท้ายที่มองเห็นได้ไหมครับ" "ไม่ครับ จำไม่ได้"
"ไม่ครับ จำไม่ได้"
.
.
.
.
เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาเราได้ไปเที่ยวงานนิทรรศการ dialogue in the dark
งานนี้จัดที่จามจุรีสแควร์ ชั้น 4 ค่ะ ไปเที่ยวกันได้ ค่าเข้าชมผู้ใหญ่ 90 บาท เด็ก 50 บาท
นิทรรศการนี้เป็นการจำลองว่าคนที่ไม่สามารถรับรู้ภาพได้แฉกเช่นพวกเรา
เขาจะดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไร
โดยมีเพียงไม้เท้าอันเดียว ช่วยในการเดินทางไปไหนต่อไหน
เรื่องราวในนิทรรศการ สามารถรับชมได้ แต่ไม่ใช่ด้วยตา เป็นประสาทสัมผัสอื่นๆ
บอกตรงๆ ว่าตอนเข้าไปใหม่ๆ ในห้องที่มืดจนมองไม่เห็นอะไรเลยแม้ว่าจะลืมตาแบบไม่กระพริบเลยก็ตามที
มืดชนิดที่ว่า คนยืนข้างหน้า ห่างไปเพียงไม่กี่เซนติเมตร เราก็ยังมองไม่เห็น
มืดได้ขนาดนั้น
ความมืดขนาดนั้น มันน่ากลัวพอสมควร
สำหรับคนที่เคยมองเห็นได้มาตลอดอย่างเรา
บทเรียนแรก เพียงแค่การนั่งเก้าอี้โซฟา เพียงแต่นั่งเก้าอี้จากที่ปกติ พอกลับถึงบ้าน
โยนกระเป๋าข้าวของแล้วทิ้งตัวลงบนเก้าอี้
หลายๆ คนเลือกที่จะบ่นอะไรมากมาย นั่งลงได้อย่างทันทีและรวดเร็ว
แต่ครั้งนี้ไม่ใช่ ต้องใช้มือค่อยๆ สัมผัส
ย่อตัวลงช้าๆ เพื่อกะระยะความสูง แล้วจึงค่อยๆ หย่อนตัวลงไปนั่ง
แค่นั่งได้ไม่ตกเก้าอี้นี่ก็ดีใจมากแล้ว
บทเรียนต่อๆ ไปก็ยากขึ้น และยากขึ้น
เดินเข้าไปในสวน ลองสัมผัสใบไม้ น้ำ ด้วยมือ
สัมผัสรูปปั้นเย็นชืดในสวนจนมือแทบชา ก็ยังบอกแทบไม่ได้ว่าเป็นรูปอะไร
เดินริมฟุตบาท สำหรับคนเราแล้วก็คงเป็นเรื่องง่ายๆ
แต่มันไม่ง่ายเลยเมื่อต้องเดินแบบมืดๆ จนหลายครั้งอดคิดไม่ได้ว่า
ตอนที่เขาให้ลองข้ามถนนจำลองเนี่ย เขาให้ฟังเสียงรถว่าเงียบแล้ว ค่อยข้าม
คนเรามักรำคาญเสียงรถ แต่ในวันนั้น รถเสียงดังๆ มันก็ดีนะ
แม้แต่การขึ้นลงรถ ยังรู้สึกแสนลำบาก ก้าวขึ้นยังไงนะ ถึงไม่สะดุดขาตัวเองล้มไปได้
ฟังเพลง ที่ได้แต่จินตนาการว่า หน้าตาของคนร้องจะเป็นอย่างไร เวทีเป็นแบบไหน
แม้แต่จะกิน ยังเอาป๊อกกี้จิ้มจมูกตัวเองแทนปากไปก็หลาย
.
.
.
.
เมื่อชมนิทรรศการจนจบทุกอย่าง เราสามารถถามคำถามไกด์ได้
สิ่งที่เราถามออกไปอาจจะดูแปลกๆ มั้ง สำหรับไกด์
"พี่มองไม่เห็น แล้วพี่รู้ได้ไงว่าแตงตัวสูง"
"เสียงคุณแตง อยู่สูงกว่าผมมาก"
บอกตรงๆ ว่าตัวเราเองใช่จะจับทิศทางเสียงได้ดีนัก
"พี่เห็นครั้งสุดท้ายตอนไหนครับ" ไม่รู้ว่าคนไหนถาม
"สามขวบครับ"
ไม่รู้ว่าความรู้สึกตอนนั้นของพี่เขาจะเป็นยังไง ไม่กล้านึกเลย
แต่จากทุกคำตอบที่ตอบมา มีคำตอบนึงที่ประทับแน่นในความทรงจำของเรามากที่สุด
"พี่ว่าไปที่ไหน ยากที่สุด"
"ไม่มีที่ไหนยากหรอกครับ ผมไปได้ทุกที"
โลกใบนี้คงไม่มีอะไรที่ยากเกินไป หากเราตั้งใจมากพอ
โลกใบนี้ ที่ว่าไม่มีที่ให้คนอ่อนแอ เราว่าจริงๆ แล้วไม่ใช่
โลกมันไม่มีที่ให้คนที่ยอมแพ้มากกว่า
.
.
.
.
รู้ไหม ณ วินาทีที่ได้สัมผัสใบไม้ เรามองไม่เห็นหรอก
แต่เรารู้สึกว่ามันต้องสดชื่น และเขียวสะอาดมากๆ
บางที บางสิ่งที่ทำให้เรามองเห้นภาพได้ชัดเจนกว่าดวงตา ก็คงเป็นจิตใจนี่ล่ะ
ที่ทำให้ภาพนั้นๆ สวยงามตรึงใจได้มากมายแค่ไหน
.
.
.
.
"จำภาพสุดท้ายที่มองเห็นได้ไหมครับ"
"ไม่ครับ จำไม่ได้"
แต่เชื่อว่าพี่เขาคงมีภาพที่งดงาม อยู่ในใจเสมอ
Cr. น้องแตง แห่ง DiaryIS.com
ปล. อ่านแล้วรู้สึกดีเลยเอามาแชร์ค่ะ ขออนุญาตคนเขียนแล้ว ส่วนเรื่อง Tag ก็แบ่งปันเรื่องดีดี กระจายไปห้องต่างๆ ค่ะ ที่เราเข้าไปอ่านบ่อยๆ