ชีวิตเด็ก “ข้ามแดน” (深港跨境学童) [จีน]

สวัสดีค่ะ ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณเพื่อนๆ พี่ๆและน้องๆนะคะที่ให้ความสนใจกับกระทู้เรื่อง รูปภาพของฉัน ความฝันของฉัน  http://ppantip.com/topic/31044093  ส่วนตัวไม่ได้คิดไว้เลยว่าจะได้รับความชื่นชอบ vote และshare ในพันทิปเยอะขนาดนั้น ยังได้เป็นกระทู้แนะนำในห้องสมุดอยู่พักนึงด้วย (ไม่เคยขึ้นกระทู้แนะนำมาก่อนเลย) ขออนุญาตเก็บไว้เป็นกำลังใจเพื่อหาเรื่องดีๆมาเล่าสู่กันฟังต่อไปนะคะ

เพื่อเป็นการตอบแทน ครั้งนี้นำเรื่องเกี่ยวกับเด็กนักเรียนต้วน้อยๆในเสิ่นเจิ้นต้องต้องมีกิจวัตรการเรียน เดินทางข้ามแดนไปเรียนถึงฮ่องกง มาดูกันนะคะว่าแต่ละวันเด็กๆต้องทำอะไรกันบ้างรวมถึงพ่อแม่ผู้ปกครองของเด็กๆด้วยค่ะ

ติดตามเกร็ดความรู้และเรื่องจีนๆ กันต่อได้ที่ https://www.facebook.com/simplychinese นะคะ
Cr: sina.com.cn


ชีวิตเด็ก “ข้ามแดน” (深港跨境学童)

深 เขียนย่อจาก 深圳 (เสิ่น เจิ้น)
港 เขียนย่อจาก香港  (Xiāng gǎng) (เซียง กั่ง) = ฮ่องกง
•    跨境 [kuà jìng] (คว่า เจี้ยง) = ข้ามแดน
•    学童(xué tóng) (สวีเอ๋ ถง) = เด็กนักเรียน  

จันทร์-ศุกร์ เด็กๆ นักเรียนที่อาศัยอยู่เสิ่นเจิ้น (ประเทศจีน) แต่ไปเรียนหนังสือที่ฮ่องกง มีกิจวัตรเหมือนเดิม ๆ ทุกวัน นั่นคือตื่นนอนตอนตี 5.30 ต้องไปให้ถึงด่านตรวจตอน 6.30 รอคิวเพื่อตรวจคนเข้าเมืองตอน 6.40 นั่งรถโรงเรียนไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนฮ่องกง เวลาเลิกเรียนขากลับเด็กๆ กลับมาจากฮ่องกงพร้อมครูพี่เลี้ยง มาถึงด่านตรวจที่เสิ่นเจิ้นอีกครั้งตอน 16.30  จากนั้นครูจะส่งเด็กตามที่นัดแนะสถานที่รับกับพ่อแม่ของเด็กไว้  หากพ่อแม่มารับช้า เด็กต้องคอยจนเย็น กลับบ้าน ทำการบ้าน ติวหนังสือและเข้านอนตอน 3 ทุ่ม นาฬิกาชีวิตเป็นแบบนี้ทุกๆ วัน เด็กๆ เหล่านี้จึงถูกเรียกว่า “เด็กข้ามแดน”

ทุกวันนี้มีเด็กนักเรียนนับหมื่นมารอตรวจคนเข้าเมืองระหว่างชายแดนฮ่องกงกับเสิ่นเจิ้น เด็กเหล่านี้อยู่ในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ แต่พ่อแม่ต้องการให้ได้เรียนหนังสือที่ฮ่องกง เพราะเชื่อว่าลูกจะได้รับมาตรฐานการศึกษาที่ดีกว่า อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่อินเตอร์กว่า พูดภาษาอังกฤษได้ดีกว่า ทำให้มีโอกาสทางการศึกษาและการงานที่ดีกว่า

นั่นเป็นเพราะว่าโรงเรียนในฮ่องกงมีการเรียนการสอนถึงสามภาษาเป็นพื้นฐานคือ อังกฤษ กวางตุ้งและจีนกลาง ถึงแม้ว่ามีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า รวมถึงความลำบากของทั้งพ่อแม่และตัวเด็กเอง แต่เมื่อแลกกับแต้มต่อทางการศึกษาที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับการเรียนใกล้บ้าน เราก็คงจะเห็นได้ว่าผู้ปกครองเหล่านั้นคิดว่าอะไรดีกว่ากันจากสิ่งที่พวกเขาเลือก ค่านิยมการส่งลูกเรียนข้ามแดนกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากข้อมูลของด่านตรวจคนเข้าเมืองของเสิ่นเจิ้นซึ่งมีทั้งหมด 3 ด่าน เมื่อปี 2013 ด่านฟู่เถียนมีเด็กนักเรียนผ่านเข้า-ออกเพื่อไปเรียนหนังสือ 6,001 คน ด่านหลัวหู 4,551 คนและด่าน Shenzhen Bay อีก 3,360 คน เฉพาะที่ด่านฟู่เถียนเพียงด่านเดียวมีรถนักเรียนบริการรับ-ส่งเด็กมากถึง 11 บริษัท

หันกลับมามองบ้านเราสิ่งเหล่านี้ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่เลย เด็กๆต่างจังหวัดต้องดั้นด้น พยายามมาเรียนในกรุงเทพ เพื่อมีโอกาสสอบติดมหาวิทยาลัยดีๆมีชื่อเสียง หนักกว่านั้นถึงตอนนี้ก็ได้ข่าวจากเพื่อนๆ พี่ๆที่รู้จักกันว่าถึงขนาดต้องเริ่มตั้งต้นกันตั้งแต่อนุบาลเลยที่เดียว เพื่อเข้าประถมดีๆ จากนั้นมัธยมและมหาวิทยาลัยดีๆ  ลองกลับมามองใหม่ว่าการศึกษาที่มาตรฐานที่ไม่เท่าเทียมทั่วถึงนั้นต่างหากเป็นสาเหตุให้เด็กๆรวมทั้งพ่อแม่ต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่ออนาคตของลูกกันอย่างเกินพอดีหรือไม่
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่