ผลวิจัยอนาคตสุขภาพเด็กไทย หรือ HITAP ชี้โจ๋วัย 10-19 ปีท้องและทำแท้งกว่า 1 แสนราย กระทบเศรษฐกิจสูญเงินกว่า 3,000 ล้านบาทต่อปี
เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ หรือ HITAP ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เผยผลการศึกษาโครงการ “อนาคตไทย” เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะเด็กอายุ 6-25 ปี พบ 3 ปัญหาสุขภาพใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนไทยได้ ได้แก่ ปัญหาท้องในวัยรุ่นและติดเชื้อระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ปัญหาความรุนแรงในเด็ก และปัญหาสุขภาพจิตในเด็กและเยาวชน ซึ่งเกิดจากปัจจัยแวดล้อม ทั้งปัจจัยบุคคล ครอบครัว และสังคม
ภญ.ปฤษฐพร กิ่งแก้ว นักวิจัยโครงการ กล่าวว่า ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์เป็นปัญหารุนแรง พบว่าวัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์เร็วขึ้น ไม่มีการคุมกำเนิดและเปลี่ยนหลายคู่นอน รวมถึงไม่มีความรู้ในเรื่องการคุมกำเนิดและการป้องกันด้วยตัวเอง ทำให้เกิดโรคติดต่อ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพ เพราะวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมมีความเสี่ยงที่จะทำแท้ง และติดโรค ซึ่งจากข้อมูลการคลอดบุตรระดับจังหวัด ของสำนักงานกลางสารสนเทศ พบว่า อัตราการคลอดบุตรของผู้หญิงอายุ 15-19 ปี มีการจดทะเบียนเกิดมากกว่า 50 คนต่อ 1,000 คน ยังไม่รวมจำนวนการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นทั้งหมดและทำแท้งผิดกฎหมาย ซึ่งจังหวัดที่มีผู้หญิงอายุต่ำกว่า 20 ปีคลอดบุตรมากที่สุดคือ จ.ประจวบคีรีขันธ์ และจ.นครนายก และทุกจังหวัดในภาคตะวันตกก็พบปัญหาดังกล่าวสูงกว่าทุกภาค
“ปัญหาการตั้งท้องในวัยรุ่นนอกจากกระทบต่อสุขภาพแล้ว ยังพบผลกระทบที่เกิดกับเศรษฐกิจ โดยจากการคำนวณต้นทุนที่เกิดจากการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่มีการศึกษาของสหรัฐอเมริกาพบว่า ประเทศไทยมีแม่วัย 10-19 ปี คลอดบุตรราว 125,000 ราย และทำแท้ง 100,000 ราย กระทบระบบทางเศรษฐกิจ 3,088 ล้านบาท จากต้นทุนที่เด็กเหล่านั้นต้องเสียโอกาสในการทำงาน ไม่มีความสามารถในการจ่ายภาษี เพราะไม่มีรายได้ และต้นทุนด้านสวัสดิการ เช่น การเลี้ยงดูเด็ก การให้การศึกษา รวมถึงต้นทุนในการบังคับใช้กฎหมายในการดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องด้วย” ภญ.ปฤษฐพร กล่าว
นักวิจัยโครงการผู้นี้ กล่าวอีกว่า ข้อเสนอเชิงนโยบายควรมีกลไกบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบทุกระดับ ทั้งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ต้องร่วมกันพัฒนาศักยภาพเด็กและวัยรุ่นให้มีความรู้ทักษะการใช้ชีวิต และต้องลงทุนพัฒนาระบบฐานข้อมูลการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นครอบคลุมทุกจังหวัด มีระบบติดตามประเมินผลทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และยาว รวมถึงการผลักดันร่าง พ.ร.บ.อนามัยเจริญพันธุ์ และสำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสปสช. พัฒนางานด้านการเข้าถึงถุงยางอนามัย ยาคุมกำเนิด และบริการให้คำปรึกษาที่ป้องกันผลกระทบเรื่องต่างๆ ด้วย
ภญ.ปฤษฐพร กล่าวว่า การศึกษายังพบปัญหาความรุนแรงที่มีแนวโน้มสูงขึ้นจากปัญหายาเสพติด ปัญหาครอบครัว การชักจูงจากเพื่อนและสื่อเสี่ยงต่างๆ โดยพบว่ามีเด็กและเยาวชนได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในสถานศึกษา 3,723,000 คน ปรากฏว่า 8,500 คน ถูกละเมิดทางเพศ 5,000 คน ถูกส่งเข้าสถานพินิจฯ ด้วยคดีทางร่างกาย 7,600 คน ถูกส่งเข้าสถานพินิจฯ ด้วยคดีทางเพศ ซึ่งในจำนวนวัยรุ่นที่มีปัญหาเรื่องความรุนแรงยังไม่สามารถบอกจำนวนอายุได้ว่าอายุเท่าไหร่ประสบปัญหามากที่สุด ดังนั้น พม.ควรพัฒนาระบบ เพื่อให้สามารถแจ้งเตือนกรณีเกิดความรุนแรงบ่อยครั้ง
“ที่ผ่านมาเมื่อโรงพยาบาลดูแลผู้ป่วย ซึ่งดูอาการแล้วเกิดจากความรุนแรง และบ่อยครั้งที่ผู้ป่วยรายเดิมกลับเข้ามารักษาอาการเดิม แต่แพทย์ผู้รักษาไม่สามารถช่วยเหลือเหยื่อได้ เพราะไม่มีอำนาจในการดำเนินการ จึงเสนอว่าความจะมีระบบที่เชื่อมโยงกันระหว่างผู้รักษากับเจ้าหน้าที่ พม. เพื่อให้สามารถแจ้งเตือนให้ความช่วยเหลือในกรณีที่เกิดความรุนแรงซ้ำ” ภญ.ปฤษฐพร กล่าว
ขณะที่ผลการศึกษาปัญหายาเสพติด ภญ.ปฤษฐพร บอกว่า สาเหตุส่วนใหญ่วัยรุ่นอยากรู้อยากลองยาเสพติดและส่วนหนึ่งเกิดปัญหาครอบครัว ทำให้ติดเพื่อนที่ไม่ดีและเสี่ยงเกิดภาวะติดยาเสพติด จากการประเมินผลกระทบผลว่าในแต่ละปีมีเด็กติดยาเสพติด เช่น กัญชา 900,000 คน ติดแอลกอฮอล์ 5,247,000 คน ต้องสูญเสียเงินจากแอลกอฮอล์กว่า 14,000 ล้านบาท ซึ่งหากประเทศไทยสามารถป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ได้จะประหยัดเงินไปได้ 20,000-360,000 บาทต่อคนต่อปี
"ที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่มีระบบป้องกันที่มีประสิทธิภาพ จึงเสนอว่าทุกสถานพยาบาลทุกระดับ ควรมีระบบคัดกรองผู้ใช้สารเสพติด โดยใช้เครื่องคัดกรอง ASSIST และเจ้าหน้าที่ควรให้คำแนะนำ และในเชิงนโยบาย กระทรวงสาธารณสุขและ สปสช.ควรร่วมกันพัฒนาระบบบริการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดที่ไม่ก่อให้เกิดตราบาป หรือกลายเป็นเงื่อนไขที่ทำให้ได้รับโทษตามกฎหมายกรณียาเสพติด" ภญ.ปฤษฐพร ระบุ
ส่วนปัญหาด้านสุขภาพซึ่งเกิดจากการติดเกมและเป็นโรคสมาธิสั้นนั้น นักวิจัยโครงการกล่าวว่า จากการสำรวจมีเด็กติดเกมอยู่มากกว่า 2 ล้านคน ซึ่งจะส่งผลให้เด็กมีสมาธิสั้น มีปัญหาทางอารมณ์ และมีความบกพร่องทางการเรียนรู้และส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจสูญเงินจากค่าใช้จ่ายในการเล่นเกม 1,106 บาทต่อคนต่อเดือน และหากรวม 1 ปีจะสูญเงินไปกว่า 30,000 ล้านบาท ขอเสนอว่า รัฐบาลควรกำหนดปัญหานี้ให้เป็นวาระแห่งชาติ
“จากปัจจัยของการติดเกมและปัจจัยอื่น ยังพบว่ามีเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นประมาณ 283,000-453,000 คน เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ 226,000-340,000 คน และเด็กออทิสติก 4,000 คน ซึ่งในจำนวนเด็กทั้งหมดจะพบว่าเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นมี 5-8% เด็กที่มีความบกพร่องทางอารมณ์ 4-6% และเด็กออทิสติก 6.93 ต่อ 10,000 ประชากร ซึ่งผู้ปกครองแต่ละคนต้องเสียเงินเลี้ยงดูเด็กออทิสติกประมาณ 530,000-200,000 บาทต่อคนต่อปี ซึ่งข้อเสนอในเชิงนโยบายกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุขความพัฒนาระบบคัดกรองโรคสมาธิสั้น ภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ และออทิสติกในโรงเรียน และต้องมีการเชื่อมต่อกับสถานพยาบาล เพื่อการรักษาและติดตามผลการรักษาอย่างเป็นระบบด้วย” ภญ.ปฤษฐพร กล่าว
.........
(หมายเหตุ : ขอบคุณภาพจากzazana.com)
เครดิต คมชัดลึก
วิจัยพบเด็กท้อง'ทำแท้งกว่า1แสนราย'
เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ หรือ HITAP ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เผยผลการศึกษาโครงการ “อนาคตไทย” เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะเด็กอายุ 6-25 ปี พบ 3 ปัญหาสุขภาพใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนไทยได้ ได้แก่ ปัญหาท้องในวัยรุ่นและติดเชื้อระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ปัญหาความรุนแรงในเด็ก และปัญหาสุขภาพจิตในเด็กและเยาวชน ซึ่งเกิดจากปัจจัยแวดล้อม ทั้งปัจจัยบุคคล ครอบครัว และสังคม
ภญ.ปฤษฐพร กิ่งแก้ว นักวิจัยโครงการ กล่าวว่า ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์เป็นปัญหารุนแรง พบว่าวัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์เร็วขึ้น ไม่มีการคุมกำเนิดและเปลี่ยนหลายคู่นอน รวมถึงไม่มีความรู้ในเรื่องการคุมกำเนิดและการป้องกันด้วยตัวเอง ทำให้เกิดโรคติดต่อ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพ เพราะวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมมีความเสี่ยงที่จะทำแท้ง และติดโรค ซึ่งจากข้อมูลการคลอดบุตรระดับจังหวัด ของสำนักงานกลางสารสนเทศ พบว่า อัตราการคลอดบุตรของผู้หญิงอายุ 15-19 ปี มีการจดทะเบียนเกิดมากกว่า 50 คนต่อ 1,000 คน ยังไม่รวมจำนวนการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นทั้งหมดและทำแท้งผิดกฎหมาย ซึ่งจังหวัดที่มีผู้หญิงอายุต่ำกว่า 20 ปีคลอดบุตรมากที่สุดคือ จ.ประจวบคีรีขันธ์ และจ.นครนายก และทุกจังหวัดในภาคตะวันตกก็พบปัญหาดังกล่าวสูงกว่าทุกภาค
“ปัญหาการตั้งท้องในวัยรุ่นนอกจากกระทบต่อสุขภาพแล้ว ยังพบผลกระทบที่เกิดกับเศรษฐกิจ โดยจากการคำนวณต้นทุนที่เกิดจากการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นที่มีการศึกษาของสหรัฐอเมริกาพบว่า ประเทศไทยมีแม่วัย 10-19 ปี คลอดบุตรราว 125,000 ราย และทำแท้ง 100,000 ราย กระทบระบบทางเศรษฐกิจ 3,088 ล้านบาท จากต้นทุนที่เด็กเหล่านั้นต้องเสียโอกาสในการทำงาน ไม่มีความสามารถในการจ่ายภาษี เพราะไม่มีรายได้ และต้นทุนด้านสวัสดิการ เช่น การเลี้ยงดูเด็ก การให้การศึกษา รวมถึงต้นทุนในการบังคับใช้กฎหมายในการดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องด้วย” ภญ.ปฤษฐพร กล่าว
นักวิจัยโครงการผู้นี้ กล่าวอีกว่า ข้อเสนอเชิงนโยบายควรมีกลไกบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบทุกระดับ ทั้งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ต้องร่วมกันพัฒนาศักยภาพเด็กและวัยรุ่นให้มีความรู้ทักษะการใช้ชีวิต และต้องลงทุนพัฒนาระบบฐานข้อมูลการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นครอบคลุมทุกจังหวัด มีระบบติดตามประเมินผลทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และยาว รวมถึงการผลักดันร่าง พ.ร.บ.อนามัยเจริญพันธุ์ และสำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสปสช. พัฒนางานด้านการเข้าถึงถุงยางอนามัย ยาคุมกำเนิด และบริการให้คำปรึกษาที่ป้องกันผลกระทบเรื่องต่างๆ ด้วย
ภญ.ปฤษฐพร กล่าวว่า การศึกษายังพบปัญหาความรุนแรงที่มีแนวโน้มสูงขึ้นจากปัญหายาเสพติด ปัญหาครอบครัว การชักจูงจากเพื่อนและสื่อเสี่ยงต่างๆ โดยพบว่ามีเด็กและเยาวชนได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในสถานศึกษา 3,723,000 คน ปรากฏว่า 8,500 คน ถูกละเมิดทางเพศ 5,000 คน ถูกส่งเข้าสถานพินิจฯ ด้วยคดีทางร่างกาย 7,600 คน ถูกส่งเข้าสถานพินิจฯ ด้วยคดีทางเพศ ซึ่งในจำนวนวัยรุ่นที่มีปัญหาเรื่องความรุนแรงยังไม่สามารถบอกจำนวนอายุได้ว่าอายุเท่าไหร่ประสบปัญหามากที่สุด ดังนั้น พม.ควรพัฒนาระบบ เพื่อให้สามารถแจ้งเตือนกรณีเกิดความรุนแรงบ่อยครั้ง
“ที่ผ่านมาเมื่อโรงพยาบาลดูแลผู้ป่วย ซึ่งดูอาการแล้วเกิดจากความรุนแรง และบ่อยครั้งที่ผู้ป่วยรายเดิมกลับเข้ามารักษาอาการเดิม แต่แพทย์ผู้รักษาไม่สามารถช่วยเหลือเหยื่อได้ เพราะไม่มีอำนาจในการดำเนินการ จึงเสนอว่าความจะมีระบบที่เชื่อมโยงกันระหว่างผู้รักษากับเจ้าหน้าที่ พม. เพื่อให้สามารถแจ้งเตือนให้ความช่วยเหลือในกรณีที่เกิดความรุนแรงซ้ำ” ภญ.ปฤษฐพร กล่าว
ขณะที่ผลการศึกษาปัญหายาเสพติด ภญ.ปฤษฐพร บอกว่า สาเหตุส่วนใหญ่วัยรุ่นอยากรู้อยากลองยาเสพติดและส่วนหนึ่งเกิดปัญหาครอบครัว ทำให้ติดเพื่อนที่ไม่ดีและเสี่ยงเกิดภาวะติดยาเสพติด จากการประเมินผลกระทบผลว่าในแต่ละปีมีเด็กติดยาเสพติด เช่น กัญชา 900,000 คน ติดแอลกอฮอล์ 5,247,000 คน ต้องสูญเสียเงินจากแอลกอฮอล์กว่า 14,000 ล้านบาท ซึ่งหากประเทศไทยสามารถป้องกันนักดื่มหน้าใหม่ได้จะประหยัดเงินไปได้ 20,000-360,000 บาทต่อคนต่อปี
"ที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่มีระบบป้องกันที่มีประสิทธิภาพ จึงเสนอว่าทุกสถานพยาบาลทุกระดับ ควรมีระบบคัดกรองผู้ใช้สารเสพติด โดยใช้เครื่องคัดกรอง ASSIST และเจ้าหน้าที่ควรให้คำแนะนำ และในเชิงนโยบาย กระทรวงสาธารณสุขและ สปสช.ควรร่วมกันพัฒนาระบบบริการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดที่ไม่ก่อให้เกิดตราบาป หรือกลายเป็นเงื่อนไขที่ทำให้ได้รับโทษตามกฎหมายกรณียาเสพติด" ภญ.ปฤษฐพร ระบุ
ส่วนปัญหาด้านสุขภาพซึ่งเกิดจากการติดเกมและเป็นโรคสมาธิสั้นนั้น นักวิจัยโครงการกล่าวว่า จากการสำรวจมีเด็กติดเกมอยู่มากกว่า 2 ล้านคน ซึ่งจะส่งผลให้เด็กมีสมาธิสั้น มีปัญหาทางอารมณ์ และมีความบกพร่องทางการเรียนรู้และส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจสูญเงินจากค่าใช้จ่ายในการเล่นเกม 1,106 บาทต่อคนต่อเดือน และหากรวม 1 ปีจะสูญเงินไปกว่า 30,000 ล้านบาท ขอเสนอว่า รัฐบาลควรกำหนดปัญหานี้ให้เป็นวาระแห่งชาติ
“จากปัจจัยของการติดเกมและปัจจัยอื่น ยังพบว่ามีเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นประมาณ 283,000-453,000 คน เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ 226,000-340,000 คน และเด็กออทิสติก 4,000 คน ซึ่งในจำนวนเด็กทั้งหมดจะพบว่าเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นมี 5-8% เด็กที่มีความบกพร่องทางอารมณ์ 4-6% และเด็กออทิสติก 6.93 ต่อ 10,000 ประชากร ซึ่งผู้ปกครองแต่ละคนต้องเสียเงินเลี้ยงดูเด็กออทิสติกประมาณ 530,000-200,000 บาทต่อคนต่อปี ซึ่งข้อเสนอในเชิงนโยบายกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุขความพัฒนาระบบคัดกรองโรคสมาธิสั้น ภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ และออทิสติกในโรงเรียน และต้องมีการเชื่อมต่อกับสถานพยาบาล เพื่อการรักษาและติดตามผลการรักษาอย่างเป็นระบบด้วย” ภญ.ปฤษฐพร กล่าว
.........
(หมายเหตุ : ขอบคุณภาพจากzazana.com)
เครดิต คมชัดลึก