คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 18
ต้นทุนการผลิตปิโตรเลียมที่แท้จริง
ผู้ที่จัดทำรูป ได้เข้าใจผิดและนำต้นทุนส่วนกระบวนการผลิต (Production Cost หรือ Lifting Cost) มาเพียงแค่อันเดียว ซึ่งความเป็นจริงแล้วต้นทุนการผลิตทั้งหมดจะต้องรวม ต้นทุนที่เกิดจากการสำรวจและค้นหา ต้นทุนการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม ต้นทุนการบริหารจัดการ รวมถึงต้นทุนของดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายอื่นๆอีกครับ รูปดังต่อไปนี้เป็นการแสดงยอดขายและต้นทุนค่าใช้จ่ายทั้งหมดในส่วนของสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของบริษัท Hess Corp ปี 2011
รูปที่ 6: แสดงยอดขายและค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมทั้งหมดของบริษัท Hess Corp ในปี 2011
1. Production expenses including related taxes (ค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิต หรือ Lifting cost)
ต้นทุนค่าใช้จ่ายนี้คือ ต้นทุนค่าใช้จ่ายส่วนกระบวนการผลิตเท่านั้น จากคำนิยามที่ทาง HESS ให้ไว้คือ เป็นค่าใช้จ่ายในส่วนกระบวนการผลิต การซ่อมบำรุงรักษาหลุมผลิต, อุปกรณ์การผลิต รวมค่าขนส่งและส่วนที่เป็นภาษีเพิ่มเติม (เป็นค่าภาคหลวง ผลตอบแทนพิเศษ ส่วนแบ่งกำไร) บางบริษัทจะแยกส่วนที่เป็นค่าภาคหลวงและค่าใช้จ่ายอื่นที่ต้องให้รัฐอีกต่างหาก ซึ่งค่าใช้จ่ายนี้ทาง HESS Corp แยกเป็นส่วนของทวีปเอเชียเท่ากับ $10.62/BOE
2. Exploration expenses, including dry holes and lease impairment (ค่าใช้จ่ายในการสำรวจ)
ต้นทุนค่าใช้จ่ายนี้คือ ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการสำรวจและขุดเจาะหลุมสำรวจปิโตรเลียมทั้งหมด รวมถึงหลุมที่ไม่พบปิโตรเลียมด้วย ต้นทุนนี้คือต้นทุนส่วนนึงของ Finding Cost
3. General, administrative and other expenses หรือ G&A (ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ)
เป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายส่วนของการบริหารจัดการ การดำเนินงาน ธุรการ ค่าจ้างผลตอบแทนพนักงาน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ
4. Depreciation, Depletion and Amortization หรือ DD&A (ค่าเสื่อมราคา ค่าสูญสิ้นและค่าตัดการจำหน่าย)
ต้นทุนค่าใช้จ่ายนี้คือ ต้นทุนค่าใช้จ่ายการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม มันคือส่วนหนึ่งของสินทรัพย์ในแหล่งปิโตรเลียมที่ค้นพบปริมาณสำรองที่พิสูจน์ได้แล้ว เงินลงทุนก่อสร้างแท่นผลิตต่างๆและขุดเจาะหลุมผลิตตอนพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมจะกลายเป็นสินทรัพย์ เช่น หลุมสำรวจ หลุมผลิต แท่นผลิต เครื่องมืออุปกรณ์การผลิต รวมถึงต้นทุนการรื้อถอน ฯลฯ มูลค่าของพวกนี้จะมีค่าเสื่อมราคาโดยคำนวณโดยวิธีสัดส่วนของผลผลิตตลอดอายุของปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว เมื่อหมดอายุสัมปทาน ของเหล่านี้จะกลายเป็นแค่เศษเหล็กที่ต้องรื้อถอนออกไป ดังนั้น ส่วนนี้คือต้นทุนที่จ่ายแล้วจริงตั้งแต่เริ่มมีการสำรวจและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม (ส่วนนึงของ Finding Cost เช่นเดียวกัน) แต่ใช้วิธีทยอยตัดรายจ่ายในรูปค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายนั่นเอง ส่วนแหล่งที่พบปริมาณที่ไม่คุ้มค่าในเชิงพาณิชย์สินทรัพย์ทุกอย่างจะถูกตัดการจำหน่ายเป็นค่าใช้จ่ายออกไปทั้งหมด
5. Asset Impairment (การด้อยค่าของสินทรัพย์)
ต้นทุนค่าใช้จ่ายนี้จะคล้ายในส่วนของค่าเสื่อมราคา แต่เกิดจากการที่ราคาตลาดของสินทรัพย์ที่เกิดจากการลงทุนพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม (หลุมสำรวจ หลุมผลิต แท่นผลิต ฯลฯ) ที่ผมอธิบายในส่วนของค่าเสื่อมราคาฯ นั้น มีราคาเปลี่ยนแปลงลดลงมากกว่าความเสื่อมราคาเนื่องจากการใช้งาน สินทรัพย์ที่เรามีล้าสมัยแล้ว (ราคาตก) รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจนมีผลกระทบต่อราคาสินทรัพย์ (กู้เงินมาสร้าง) ถ้าสมมติเราขายสินทรัพย์ (เช่น ขายกิจการ) จะทำให้ขายได้ในราคาต่ำกว่าต้นทุนจริงหลังหักค่าเสื่อมไปแล้ว ดังนั้นต้นทุนนี้คือต้นทุนแฝงในส่วนของ Finding Cost ด้วย
ที่ขาดไม่ได้อีกอันก็คือ
6. Petroleum Income Taxes (ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม)
จะมากน้อยขึ้นอยู่รายได้สุทธิก่อนหักภาษีนั่นเอง และอัตราภาษีก็ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศที่ไปลงทุนด้วย
ผู้ที่จัดทำรูป ได้เข้าใจผิดและนำต้นทุนส่วนกระบวนการผลิต (Production Cost หรือ Lifting Cost) มาเพียงแค่อันเดียว ซึ่งความเป็นจริงแล้วต้นทุนการผลิตทั้งหมดจะต้องรวม ต้นทุนที่เกิดจากการสำรวจและค้นหา ต้นทุนการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม ต้นทุนการบริหารจัดการ รวมถึงต้นทุนของดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายอื่นๆอีกครับ รูปดังต่อไปนี้เป็นการแสดงยอดขายและต้นทุนค่าใช้จ่ายทั้งหมดในส่วนของสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของบริษัท Hess Corp ปี 2011
รูปที่ 6: แสดงยอดขายและค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมทั้งหมดของบริษัท Hess Corp ในปี 2011
1. Production expenses including related taxes (ค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิต หรือ Lifting cost)
ต้นทุนค่าใช้จ่ายนี้คือ ต้นทุนค่าใช้จ่ายส่วนกระบวนการผลิตเท่านั้น จากคำนิยามที่ทาง HESS ให้ไว้คือ เป็นค่าใช้จ่ายในส่วนกระบวนการผลิต การซ่อมบำรุงรักษาหลุมผลิต, อุปกรณ์การผลิต รวมค่าขนส่งและส่วนที่เป็นภาษีเพิ่มเติม (เป็นค่าภาคหลวง ผลตอบแทนพิเศษ ส่วนแบ่งกำไร) บางบริษัทจะแยกส่วนที่เป็นค่าภาคหลวงและค่าใช้จ่ายอื่นที่ต้องให้รัฐอีกต่างหาก ซึ่งค่าใช้จ่ายนี้ทาง HESS Corp แยกเป็นส่วนของทวีปเอเชียเท่ากับ $10.62/BOE
2. Exploration expenses, including dry holes and lease impairment (ค่าใช้จ่ายในการสำรวจ)
ต้นทุนค่าใช้จ่ายนี้คือ ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการสำรวจและขุดเจาะหลุมสำรวจปิโตรเลียมทั้งหมด รวมถึงหลุมที่ไม่พบปิโตรเลียมด้วย ต้นทุนนี้คือต้นทุนส่วนนึงของ Finding Cost
3. General, administrative and other expenses หรือ G&A (ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ)
เป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายส่วนของการบริหารจัดการ การดำเนินงาน ธุรการ ค่าจ้างผลตอบแทนพนักงาน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ
4. Depreciation, Depletion and Amortization หรือ DD&A (ค่าเสื่อมราคา ค่าสูญสิ้นและค่าตัดการจำหน่าย)
ต้นทุนค่าใช้จ่ายนี้คือ ต้นทุนค่าใช้จ่ายการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม มันคือส่วนหนึ่งของสินทรัพย์ในแหล่งปิโตรเลียมที่ค้นพบปริมาณสำรองที่พิสูจน์ได้แล้ว เงินลงทุนก่อสร้างแท่นผลิตต่างๆและขุดเจาะหลุมผลิตตอนพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมจะกลายเป็นสินทรัพย์ เช่น หลุมสำรวจ หลุมผลิต แท่นผลิต เครื่องมืออุปกรณ์การผลิต รวมถึงต้นทุนการรื้อถอน ฯลฯ มูลค่าของพวกนี้จะมีค่าเสื่อมราคาโดยคำนวณโดยวิธีสัดส่วนของผลผลิตตลอดอายุของปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้ว เมื่อหมดอายุสัมปทาน ของเหล่านี้จะกลายเป็นแค่เศษเหล็กที่ต้องรื้อถอนออกไป ดังนั้น ส่วนนี้คือต้นทุนที่จ่ายแล้วจริงตั้งแต่เริ่มมีการสำรวจและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม (ส่วนนึงของ Finding Cost เช่นเดียวกัน) แต่ใช้วิธีทยอยตัดรายจ่ายในรูปค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายนั่นเอง ส่วนแหล่งที่พบปริมาณที่ไม่คุ้มค่าในเชิงพาณิชย์สินทรัพย์ทุกอย่างจะถูกตัดการจำหน่ายเป็นค่าใช้จ่ายออกไปทั้งหมด
5. Asset Impairment (การด้อยค่าของสินทรัพย์)
ต้นทุนค่าใช้จ่ายนี้จะคล้ายในส่วนของค่าเสื่อมราคา แต่เกิดจากการที่ราคาตลาดของสินทรัพย์ที่เกิดจากการลงทุนพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม (หลุมสำรวจ หลุมผลิต แท่นผลิต ฯลฯ) ที่ผมอธิบายในส่วนของค่าเสื่อมราคาฯ นั้น มีราคาเปลี่ยนแปลงลดลงมากกว่าความเสื่อมราคาเนื่องจากการใช้งาน สินทรัพย์ที่เรามีล้าสมัยแล้ว (ราคาตก) รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจนมีผลกระทบต่อราคาสินทรัพย์ (กู้เงินมาสร้าง) ถ้าสมมติเราขายสินทรัพย์ (เช่น ขายกิจการ) จะทำให้ขายได้ในราคาต่ำกว่าต้นทุนจริงหลังหักค่าเสื่อมไปแล้ว ดังนั้นต้นทุนนี้คือต้นทุนแฝงในส่วนของ Finding Cost ด้วย
ที่ขาดไม่ได้อีกอันก็คือ
6. Petroleum Income Taxes (ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม)
จะมากน้อยขึ้นอยู่รายได้สุทธิก่อนหักภาษีนั่นเอง และอัตราภาษีก็ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศที่ไปลงทุนด้วย
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 11
ไม่ค่อยสนใจกันหรอกครับ
ผมเห็นยังมีแชร์กันตาม fb อยู่เลย
ว่าไทยเราเป็น "มหาอำนาจด้านพลังงาน"
เพราะเรามีบ่อน้ำมันอยู่ที่ลานกระบือ จ.กำแพงเพชร !!!!
แล้วก็มีคนเชื่ออีกต่างหากครับ ทั้งๆที่ปริมาณที่เรามีนั้นมันน้อยนิดจนไปเทียบกับใครเขาไม่ได้เลย
จากนั้นก็บานปลายกลายเป็นว่าว่าจะทวงคืน ปตท. (เมิงจะไปทวงจากใครล่ะ ??)
แถมยังด่ากันเลอะเทอะ
ว่า ปตท.สูบเลือดสูบเนื้อคนไทย
ด้วยการขายน้ำมันแพง หากินกับคนไทยด้วยกัน
โธ่....ปั๊มไหนๆมันก็ขายราคาไม่ได้หนีกันหรอกครับ
จะไปเติมเอสโซ่ , เชลล์ , เพโทรนาส , คาลเท็กซ์
หรือ จะย้อนยุคไปตั้งแต่สมัยปํ๊ม "สามทหาร" ราคาน้ำมันๆก็ไม่มีใครขายแพงกว่าใครหรอก
แต่ไอ้ที่ด่าๆกัน
แชร์ๆกัน กดไล้ค์กัน สนุกมือ
ในประเด็นที่ว่า "ปตท.ขายชาติ คนไทยเราใช้น้ำมันแพงกว่าราคาส่งออก" เนี่ย
มันเป็นเพราะว่าน้ำมันที่เรา "ส่งออก" นั้น
เราอ้างอิงราคาของน้ำมันสำเร็จรูปตลาดสิงคโปร์ครับ
ราคาที่เราใช้อ้างอิงนั้น มัน "ไม่มีค่าการตลาด , ค่าภาษี , เงินกองทุน" อย่างที่ผมบอกไว้ในตอนต้น
เพราะไอ้ "ค่าการตลาด , ค่าภาษี , เงินกองทุน" มันจัดเก็บเฉพาะน้ำมันในไทยเท่านั้นครับ
ก็เลยกลายเป็นวาทกรรม "ขายชาติ" , "ทวงคืน", "คนไทยใช้น้ำมันแพง" ...อะไรไปโน่นเลย....
ทุกอย่างมันมีกลไกอย่างที่บอกนั่นแหละครับ
หากปล่อยให้กำหนดราคากันเอง
ผมว่าจะยิ่งยุ่ง วุ่นวาย จนถึงขั้นเละเทะเลยก็ได้
เพราะถ้าโรงกลั่นตั้งราคาแพงเว่อร์กว่าตลาดโลกในแบบตามใจฉัน
พ่อค้าน้ำมันเขาก็ไม่ซื้อ แต่เขาจะไปนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากต่างประเทศแทน
ไอ้ครั้นจะให้เขาทะลึ่งขายถูกกว่าตลาดโลก
มันก็ต้องมองตามหลักความเป็นจริงว่าเขาไม่ใช่ "มูลนิธิ" ครับ
แต่เขาคือองค์กรธุรกิจ ที่มันต้องคำนึงถึงผลกำไรขององค์กร...ไม่งั้นผู้ถือหุ้นเขาสวดชยันโตแน่ๆ
เราไม่ใช่ประเทศใน "กลุ่มโอเปค"
ที่จะมีน้ำมันราคาถูกมาให้ใช้กันนะครับ
เราเป็นประเทศที่ที่ผสมผสานระหว่างเกษตรกรรม กับ อุตสาหกรรม
แหล่งพลังงานที่เรามี
มันไม่ได้มากมานเหมือนพวกโอเปคเขามี
เอออ....ถ้าเป็น ข้าว หรือ ยางพารา ก็ว่าไปอย่าง !!!
นอกจากไม่หาข้อมูลมาศึกษาแล้ว
คนไทยบางส่วนยังเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นความเชื่อแบบ จีรนันท์ "มโนแจ่ม" กันอีกต่างหาก !!!
ผมเห็นยังมีแชร์กันตาม fb อยู่เลย
ว่าไทยเราเป็น "มหาอำนาจด้านพลังงาน"
เพราะเรามีบ่อน้ำมันอยู่ที่ลานกระบือ จ.กำแพงเพชร !!!!
แล้วก็มีคนเชื่ออีกต่างหากครับ ทั้งๆที่ปริมาณที่เรามีนั้นมันน้อยนิดจนไปเทียบกับใครเขาไม่ได้เลย
จากนั้นก็บานปลายกลายเป็นว่าว่าจะทวงคืน ปตท. (เมิงจะไปทวงจากใครล่ะ ??)
แถมยังด่ากันเลอะเทอะ
ว่า ปตท.สูบเลือดสูบเนื้อคนไทย
ด้วยการขายน้ำมันแพง หากินกับคนไทยด้วยกัน
โธ่....ปั๊มไหนๆมันก็ขายราคาไม่ได้หนีกันหรอกครับ
จะไปเติมเอสโซ่ , เชลล์ , เพโทรนาส , คาลเท็กซ์
หรือ จะย้อนยุคไปตั้งแต่สมัยปํ๊ม "สามทหาร" ราคาน้ำมันๆก็ไม่มีใครขายแพงกว่าใครหรอก
แต่ไอ้ที่ด่าๆกัน
แชร์ๆกัน กดไล้ค์กัน สนุกมือ
ในประเด็นที่ว่า "ปตท.ขายชาติ คนไทยเราใช้น้ำมันแพงกว่าราคาส่งออก" เนี่ย
มันเป็นเพราะว่าน้ำมันที่เรา "ส่งออก" นั้น
เราอ้างอิงราคาของน้ำมันสำเร็จรูปตลาดสิงคโปร์ครับ
ราคาที่เราใช้อ้างอิงนั้น มัน "ไม่มีค่าการตลาด , ค่าภาษี , เงินกองทุน" อย่างที่ผมบอกไว้ในตอนต้น
เพราะไอ้ "ค่าการตลาด , ค่าภาษี , เงินกองทุน" มันจัดเก็บเฉพาะน้ำมันในไทยเท่านั้นครับ
ก็เลยกลายเป็นวาทกรรม "ขายชาติ" , "ทวงคืน", "คนไทยใช้น้ำมันแพง" ...อะไรไปโน่นเลย....
ทุกอย่างมันมีกลไกอย่างที่บอกนั่นแหละครับ
หากปล่อยให้กำหนดราคากันเอง
ผมว่าจะยิ่งยุ่ง วุ่นวาย จนถึงขั้นเละเทะเลยก็ได้
เพราะถ้าโรงกลั่นตั้งราคาแพงเว่อร์กว่าตลาดโลกในแบบตามใจฉัน
พ่อค้าน้ำมันเขาก็ไม่ซื้อ แต่เขาจะไปนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากต่างประเทศแทน
ไอ้ครั้นจะให้เขาทะลึ่งขายถูกกว่าตลาดโลก
มันก็ต้องมองตามหลักความเป็นจริงว่าเขาไม่ใช่ "มูลนิธิ" ครับ
แต่เขาคือองค์กรธุรกิจ ที่มันต้องคำนึงถึงผลกำไรขององค์กร...ไม่งั้นผู้ถือหุ้นเขาสวดชยันโตแน่ๆ
เราไม่ใช่ประเทศใน "กลุ่มโอเปค"
ที่จะมีน้ำมันราคาถูกมาให้ใช้กันนะครับ
เราเป็นประเทศที่ที่ผสมผสานระหว่างเกษตรกรรม กับ อุตสาหกรรม
แหล่งพลังงานที่เรามี
มันไม่ได้มากมานเหมือนพวกโอเปคเขามี
เอออ....ถ้าเป็น ข้าว หรือ ยางพารา ก็ว่าไปอย่าง !!!
นอกจากไม่หาข้อมูลมาศึกษาแล้ว
คนไทยบางส่วนยังเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นความเชื่อแบบ จีรนันท์ "มโนแจ่ม" กันอีกต่างหาก !!!
แสดงความคิดเห็น
ข้อมูลพลังงานไทย ที่เผยแพร่กันอยู่ ทำไมคนไทยไม่สนใจ
แท๊ก ห้องสินธร เพราะมันเรื่องเศรษฐกิจเงินในกระเป๋าเราหายไปเพราะพลังงานเยอะ
แท็ก ห้องราชดำเนิน เพราะยังไงมันก็มีการเมืองเข้ามาเกี่ยว เลิกมโน ว่าใครจะล้มรัฐบาล
เอาหลักการเหตุผลมาคุยกัน
ทั้งหมดทั้งมวล อยากรู้ความจริงคืออะไร ก๊อป เขามาถามเพราะอยากรู้
ชวนกันช่วยหาคำตอบ ที่เขา โพสต์ ๆ กันใน IF พันทิปสนใจป่าว
หรือมัวแต่วุ่นวายอยู่กับการ เถียงกันเรื่อง แมงสาป ปชป.
.
ภาพนี้เป็นภาพธรณีวิทยาเก่าแก่ ที่บริษัทขุดเจาะนำมาประกอบเอกสาร
ภายในที่แสดงต่อฝ่ายบริหาร เป็นภาพที่น่าภูมิใจของไทย แต่กลับรู้สึกเสียดายและ
เสียใจที่เด็กไทยไม่มีโอกาสรู้เรื่องนี้ในชั้นประถม
เขาน่าจะรักแผ่นดินแม่มากกว่านี้ได้หากรู้ว่า แม่ทิ้งมรดกมากกว่าผิวดินไว้ให้
(เราจะทำไปเรื่อยๆ ปล่อยไปเรื่อยๆ นะ)
http://www.asx.com.au/asxpdf/20130306/pdf/42dhgbbx9xyxbn.pdf