"ทีเส็บ" ร่วมกับ "มูลนิธิปิดทองหลังพระ" และสายการบินชั้นนำ เปิดทริปปฐมฤกษ์ชวนสื่อมวลชนสัมผัส "จุดเริ่มต้นของแรงบันดาลใจ" ณ โครงการหลวง จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้โครงการ "ลัดฟ้าประชุมเมืองไทย...อิ่มใจ ตามรอยพระราชดำริ"
สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือทีเส็บ ร่วมกับมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ และสายการบินพันธมิตรทั้ง 4 สายบิน ได้แก่ การบินไทย, บองกอก แอร์เวย์ส, แอร์เอเชีย และนกแอร์ ในโครงการ "ลัดฟ้าประชุมเมืองไทย...อิ่มใจ ตามรอยพระราชดำริ" (Domestic MICE: A Royal Trail Inspiration) เชิญสื่อมวลชนและตัวแทนสายการบินเดินทางสัมผัสประสบการณ์การจัดประชุมภายในประเทศ ณ สวนสองแสน ในสถานีวิจัยดอยปุย, ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา และสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้เดินทางกันเมื่อวันที่ 18-19 กันยายนที่ผ่านมา
นายภูริพันธ์ บุนนาค ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมตลาดในประเทศของทีเส็บ ซึ่งให้เกียรติเป็นผู้นำกิจกรรมในครั้งนี้ เปิดเผยว่า หนึ่งในพันธกิจหลักของทีเส็บ คือ มุ่งเน้นในการส่งเสริมอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE) ในประเทศเพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างรายได้จากการประชุมเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ โดยส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเห็นความสำคัญ สำหรับโครงการ ‘ลัดฟ้าประชุมเมืองไทย...อิ่มใจตามรอยพระราชดำริ’ เป็นการส่งเสริมการประชุมตามแนวคิดใหม่ซึ่งผนวกกิจกรรมการสร้างทีมเวิร์คผ่านการเรียนรู้จากโครงการตามพระราชดำริต่างๆ เข้าไปเป็นกิจกรรมก่อนหรือหลังการประชุมและจะเป็นหนึ่งโครงการสำคัญที่ช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรมไมซ์ภายในประเทศในช่วงปลายปีนี้”
การเดินทางเปิดทริปปฐมฤกษ์ของโครงการครั้งนี้ มีคณะสื่อมวลชนประมาณ 40 แห่ง ทั้งจากหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุ โทรทัศน์ รวมถึงเว็บไซต์ และตัวแทนสายการบินต่างๆ เข้าร่วมทริปเดินทางลงพื้นที่ในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นหนึ่งในเส้นทางตัวอย่างการจัดประชุมเป็นแห่งแรกเพื่อสำรวจศึกษาเรียนรู้กระบวนการดำเนินงานตามแนวพระราชดำริ และร่วมกิจกรรม Team Building ที่หลากหลาย
เริ่มต้นกิจกรรมวันแรกหลังจากที่เดินทางโดยเครื่องบินมาถึงยังเชียงใหม่ช่วงสายๆ เหล่าสื่อมวลชนออกเดินทางกันต่อโดยรถตู้ขึ้นดอยปุย เพื่อไปเยือนสวนสองแสน ในสถานีวิจัยดอยปุย ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญที่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการในพระราชดำริ เพราะเป็นสถานที่แห่งแรกที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นจำนวนเงินสองแสนบาท เพื่อซื้อที่ดินทำกินให้สมาชิกชุมชนชาวเขาในพื้นที่ทำเป็นสวนพลับ แทนที่การปลูกฝิ่นที่ทำอยู่เดิม ในปี พ.ศ. 2513 จากพระวิสัยทัศน์และพระราชทรัพย์ จึงเป็นที่มาของโครงการหลวงและโครงการตามพระราชดำริอีกนับพันๆ แห่งทั่วประเทศ
ณ สวนสองแสน แม้จะอยู่ในช่วงหน้าฝน แต่โชคดีวันนี้ท้องฟ้าปกคลุมไปด้วยหมอกหนา อากาศดีมากๆ เราสูดอากาศเข้าเต็มปอด และเดินชมทัศนียภาพของป่าเขาอันเขียวชอุ่มกันอย่างเพลิดเพลิน
ที่นี่นอกจากการทำสวนพลับ ซึ่งเป็นผลไม้ราคาแพงของชาวบ้านแล้ว ยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว คือ การเป็นเจ้าของต้นพลับประจำปี โดยการสมัครเป็นผู้อุปถัมภ์ต้นพลับในราคา 1,500 บาท/ต้น/ปี และสามารถเดินทางมาดูแลต้นพลับของตัวเองได้ตลอดทั้งปี เจ้าของไอเดียการตลาดที่สร้างสรรค์นี้ก็คือ นายวิสิฐ กิจสมพร หัวหน้าสถานีวิจัยดอยปุย พี่วิสิฐยังบอกด้วยว่าช่วงหน้าหนาวที่นี่อากาศดีมากๆ เรามีที่พักให้เช่าเพียงคืนละ 300 บาท สำหรับใครที่ต้องการมาเที่ยวหรือมาดูแลต้นพลับ
การต้อนรับจากทางสถานีเป็นไปอย่างอบอุ่น แถมยังมีกิจกรรมสนุกๆ อย่างการจับฉลากผู้โชคดีได้เป็นเจ้าของต้นพลับประจำปี
หลังจากเดินชมสวนพลับและศึกษาถึงวิธีการปลูกต้นพลับแล้ว เราเดินทางไปชมการเพาะพันธุ์เห็ดเมืองหนาว ณ ศูนย์วิจัยเห็ดที่รวบรวมเห็ดไว้หลากหลายพันธุ์ที่สุดในประเทศ ทั้งเห็ดถังเฉ้า เห็ดนางรมหลวง เห็ดสายพันธุ์อื่นๆ จากญี่ปุ่น เช่น เห็ดชิตาเกะ เห็ดยามาบูชิตาเกะ
และกิจกรรมสุดท้ายของวันแรกคือ การเยี่ยมชมศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์อันยิ่งใหญ่ของความเป็น Chiang Mai MICE City ประกอบด้วยอาคารศูนย์ประชุมและโถงนิทรรศการขนาดใหญ่ไว้รองรับการจัดประชุมและนิทรรศการในระดับสากล
วันที่สองออกเดินทางสู่ดอยอินทนนท์ เพื่อไปยังสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ ก่อนไปถึงสถานี เราแวะไปสักการะพระมหาธาตุคู่ “นภเมทนีดล” และ “นภพลภูมิสิริ” บนดอยอินทนนท์
เมื่อมาถึงสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ ผู้อำนวยการสถานีเกษตรฯเป็นผู้ให้การต้อนรับ สู่สวนสวยและไร่พืชผลนานาพันธุ์ ที่นี่ยังเป็นแหล่งงานประมงบนพื้นที่สูงและเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงปลาเรนโบว์เทราต์แห่งเดียวในประเทศ มีวิทยากรให้ความรู้ถึงการทำการเกษตรบนพื้นที่สูง รวมถึงการทำกิจกรรมเสริมสร้างความแข็งแกร่งของทีม ทั้งในแง่ของไอเดียสร้างสรรค์และการสานสัมพันธ์ในหมู่คณะ (team building)
เราได้ไปดูกระบวนการผลิตไม้กระถาง การเพาะกล้า และการเก็บผักไฮโดรโพนิกส์
และที่สนุกไปกว่านั้นคือ การทำกิจกรรม Cooking Class โดยเก็บผักสดๆ เพื่อนำมาปรุงเมนูอาหารไปพร้อมๆ กับเชฟประจำสถานีฯ
กิจกรรมปิดท้ายของทริปนี้จบลงด้วยความสนุกสนาน และเป็นกิจกรรมที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก คือ การแบ่งกลุ่มกันลงมือระบายภาพวาดสีน้ำ ท่ามกลางสวนดอกไม้อันงดงาม สร้างความประทับใจทิ้งท้ายวันที่สองของการเดินทาง
ในเบื้องต้นนี้ โครงการ “ลัดฟ้าประชุมเมืองไทย...อิ่มใจตามรอยพระราชดำริ” มีการนำเสนอ 14 โครงการตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศ์ ใน 5 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ น่าน สกลนคร และกระบี่ โดยมีกิจกรรมตัวอย่างที่หลากหลายในโครงการฯ อาทิ การเรียนรู้การผลิตและแปรรูปผักผลไม้ การทดลองปลูกหญ้าแฝก และสร้างฝาย (โครงการหลวงที่ 1 (ฝาง), การศึกษาดูนกหายากกว่า 1,000 สายพันธุ์ (สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง), การเรียนรู้การทำฟาร์มปศุสัตว์ ไก่ดำ วัวดำ หมูดำ (ศูนย์การพัฒนาภูพาน), กิจกรรมปล่อยปูและฟื้นฟูชายหาด (โครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าทุ่งทะเล เกาะลันตา), เยี่ยมชมแปลงปลูกและชิมชาใบหม่อน (โครงการศูนย์ภูฟ้าพัฒนา), การลงมือทำนาขั้นบันได (โครงการนำร่องปิดทองหลังพระ บ้านน้ำป้าก) และการเยี่ยมชม สวนดอกไม้ และเก็บผลแมคคาเดเมีย (โครงการพัฒนาดอยตุงฯ) ไปจนถึงศึกษากระบวนการผลิตน้ำมันชาซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ราคาสูงและหายาก (ศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมัน) เป็นต้น
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : www.tceb.or.th
"ทีเส็บ"ร่วมกับ"มูลนิธิปิดทองหลังพระ"และสายการบินชั้นนำ เปิดตัวโครงการ "ลัดฟ้าประชุมเมืองไทย อิ่มใจ...ตามรอยพระราชดำริ"
"ทีเส็บ" ร่วมกับ "มูลนิธิปิดทองหลังพระ" และสายการบินชั้นนำ เปิดทริปปฐมฤกษ์ชวนสื่อมวลชนสัมผัส "จุดเริ่มต้นของแรงบันดาลใจ" ณ โครงการหลวง จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้โครงการ "ลัดฟ้าประชุมเมืองไทย...อิ่มใจ ตามรอยพระราชดำริ"
สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือทีเส็บ ร่วมกับมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ และสายการบินพันธมิตรทั้ง 4 สายบิน ได้แก่ การบินไทย, บองกอก แอร์เวย์ส, แอร์เอเชีย และนกแอร์ ในโครงการ "ลัดฟ้าประชุมเมืองไทย...อิ่มใจ ตามรอยพระราชดำริ" (Domestic MICE: A Royal Trail Inspiration) เชิญสื่อมวลชนและตัวแทนสายการบินเดินทางสัมผัสประสบการณ์การจัดประชุมภายในประเทศ ณ สวนสองแสน ในสถานีวิจัยดอยปุย, ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา และสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้เดินทางกันเมื่อวันที่ 18-19 กันยายนที่ผ่านมา
นายภูริพันธ์ บุนนาค ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมตลาดในประเทศของทีเส็บ ซึ่งให้เกียรติเป็นผู้นำกิจกรรมในครั้งนี้ เปิดเผยว่า หนึ่งในพันธกิจหลักของทีเส็บ คือ มุ่งเน้นในการส่งเสริมอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE) ในประเทศเพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างรายได้จากการประชุมเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ โดยส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเห็นความสำคัญ สำหรับโครงการ ‘ลัดฟ้าประชุมเมืองไทย...อิ่มใจตามรอยพระราชดำริ’ เป็นการส่งเสริมการประชุมตามแนวคิดใหม่ซึ่งผนวกกิจกรรมการสร้างทีมเวิร์คผ่านการเรียนรู้จากโครงการตามพระราชดำริต่างๆ เข้าไปเป็นกิจกรรมก่อนหรือหลังการประชุมและจะเป็นหนึ่งโครงการสำคัญที่ช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรมไมซ์ภายในประเทศในช่วงปลายปีนี้”
การเดินทางเปิดทริปปฐมฤกษ์ของโครงการครั้งนี้ มีคณะสื่อมวลชนประมาณ 40 แห่ง ทั้งจากหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุ โทรทัศน์ รวมถึงเว็บไซต์ และตัวแทนสายการบินต่างๆ เข้าร่วมทริปเดินทางลงพื้นที่ในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นหนึ่งในเส้นทางตัวอย่างการจัดประชุมเป็นแห่งแรกเพื่อสำรวจศึกษาเรียนรู้กระบวนการดำเนินงานตามแนวพระราชดำริ และร่วมกิจกรรม Team Building ที่หลากหลาย
เราได้ไปดูกระบวนการผลิตไม้กระถาง การเพาะกล้า และการเก็บผักไฮโดรโพนิกส์
ในเบื้องต้นนี้ โครงการ “ลัดฟ้าประชุมเมืองไทย...อิ่มใจตามรอยพระราชดำริ” มีการนำเสนอ 14 โครงการตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศ์ ใน 5 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ น่าน สกลนคร และกระบี่ โดยมีกิจกรรมตัวอย่างที่หลากหลายในโครงการฯ อาทิ การเรียนรู้การผลิตและแปรรูปผักผลไม้ การทดลองปลูกหญ้าแฝก และสร้างฝาย (โครงการหลวงที่ 1 (ฝาง), การศึกษาดูนกหายากกว่า 1,000 สายพันธุ์ (สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง), การเรียนรู้การทำฟาร์มปศุสัตว์ ไก่ดำ วัวดำ หมูดำ (ศูนย์การพัฒนาภูพาน), กิจกรรมปล่อยปูและฟื้นฟูชายหาด (โครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าทุ่งทะเล เกาะลันตา), เยี่ยมชมแปลงปลูกและชิมชาใบหม่อน (โครงการศูนย์ภูฟ้าพัฒนา), การลงมือทำนาขั้นบันได (โครงการนำร่องปิดทองหลังพระ บ้านน้ำป้าก) และการเยี่ยมชม สวนดอกไม้ และเก็บผลแมคคาเดเมีย (โครงการพัฒนาดอยตุงฯ) ไปจนถึงศึกษากระบวนการผลิตน้ำมันชาซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ราคาสูงและหายาก (ศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมัน) เป็นต้น
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : www.tceb.or.th