พระไตรปิฏก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
วิภังคปกรณ์ ข้อ 98
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?book=35&item=98#98top
อรรถกถาอธิบายความในวิภังคปกรณ์ ข้อ 98
วรรณนาสุตตันตภาชนีย์
[บางส่วน]
จริงอยู่ เมื่อถ้วยชาม หรือขัน หรือวัตถุอะไรๆ ตกจากมือแตกแล้ว
ชนทั้งหลายย่อมพูดว่า โอ! มันไม่เที่ยง ความไม่เที่ยง ชื่อว่า ปรากฏแล้ว
อย่างนี้ ก็เมื่อฝีต่อมเป็นต้นตั้งขึ้นในอัตภาพแล้ว หรือว่าถูกตอหรือหนามทิ่ม
เอาแล้วก็ย่อมพูดว่า โอ! เป็นทุกข์ ทุกข์ชื่อว่า ปรากฏแล้วอย่างนี้.
อนัตตลักษณะไม่ปรากฏ มืดมน ไม่แจ่มแจ้ง แทงตลอดได้โดย
ยาก แสดงได้โดยยาก ทำให้เข้าใจได้โดยยาก. แต่อนิจจลักษณะและ
ทุกขลักษณะ พระตถาคตทั้งหลายจะทรงอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่ทรงอุบัติขึ้นก็ตาม
ย่อมปรากฏ. อนัตตลักษณะ เว้นจากการบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าแล้วย่อม
ไม่ปรากฏ ย่อมปรากฏในพุทธุปบาทเท่านั้น.
จริงอยู่ ดาบสและปริพาชกทั้งหลายผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก
แม้มีสรภังคศาสดาเป็นต้น ย่อมสามารถกล่าวว่า อนิจจัง ทุกขัง ได้ แต่ไม่
สามารถจะกล่าวว่า อนัตตา ได้ แม้ถ้าพวกดาบสเป็นต้นเหล่านั้นพึงสามารถ
กล่าวคำว่า อนัตตา ในบริษัทที่ประชุมกันแล้ว บริษัทที่ประชุมกันก็จะพึง
แทงตลอดมรรคและผล เพราะการประกาศให้รู้อนัตตลักษณะไม่ใช่วิสัยของ
ใครๆ อื่น เป็นวิสัยของพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเท่านั้น อนัตตลักษณะนี้จึง
ไม่ปรากฏแล้วด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้น พระศาสดาเมื่อจะแสดงอนัตต-
ลักษณะจึงทรงแสดงโดยความไม่เที่ยงบ้าง โดยความเป็นทุกข์บ้าง
โดยทั้งความไม่เที่ยงทั้งความเป็นทุกข์บ้าง แต่ในอายตนวิภังค์นี้ พึงทราบ
ว่า ทรงแสดงอายตนะนั้นทั้งโดยความไม่เที่ยง ทั้งโดยความเป็นทุกข์ ดังนี้.
ถามว่า ก็ลักษณะเหล่านี้ ย่อมไม่ปรากฏ เพราะไม่มนสิการอะไร
ไม่แทงตลอดอะไร และอันอะไรปิดบังไว้.
ตอบว่า อนิจจลักษณะก่อน ย่อมไม่ปรากฏ เพราะไม่มนสิการ
ไม่แทงตลอดความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป และเพราะ
สันตติปิดบังไว้. ทุกข-
ลักษณะ ย่อมไม่ปรากฏ เพราะไม่มนสิการ ไม่แทงตลอดความบีบคั้นเนือง ๆ
และเพราะ
อิริยาบถทั้งหลายปิดบังไว้. อนัตตลักษณะ ย่อมไม่ปรากฏ เพราะ
ไม่มนสิการ ไม่แทงตลอดการแยกธาตุต่างๆ และเพราะอัน
ฆนสัญญาปกปิดไว้.
ก็พระโยคาวจรกำหนดความเกิดและความเสื่อมเพิกสันตติได้แล้ว
อนิจจลักษณะ ย่อมปรากฏโดยกิจตามความเป็นจริง มนสิการการบีบคั้น
เนืองๆ สับเปลี่ยนอิริยาบถได้แล้ว ทุกขลักษณะ ย่อมปรากฏโดยกิจตามความ
เป็นจริง เมื่อแยกธาตุต่างๆ แล้วทำการแยกความเป็นก้อน อนัตตลักษณะ
ย่อมปรากฏโดยกิจตามความเป็นจริง.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อนึ่ง ในอธิการนี้ พึงทราบวิภาค (การจำแนก) นี้ คือ
อนิจฺจํ (ความไม่เที่ยง)
อนิจฺจลกฺขณํ (ลักษณะแห่งความไม่เที่ยง)
ทุกฺขํ (ความทุกข์)
ทุกฺขลกฺขณํ (ลักษณะแห่งทุกข์)
อนตฺตา (ไม่ใช่อัตตา)
อนตฺตลกฺขณํ (ลักษณะแห่งอนัตตา).
บรรดาวิภาคทั้ง ๖ เหล่านั้น คำว่า อนิจจัง ได้แก่ ขันธ์ ๕.
เพราะเหตุไร? เพราะความที่ขันธ์ ๕ มีความแปรเปลี่ยนไปด้วยความเกิดและ
ความเสื่อม หรือว่า เพราะมีแล้วกลับไม่มี. ความที่ขันธ์ ๕ มีความแปร
เปลี่ยนไปด้วยความเกิดและความเสื่อม หรือว่า ความเปลี่ยนแปลงแห่งอาการ
(ลักษณะ) กล่าวคือ เป็นแล้วกลับไม่เป็น ชื่อว่า อนิจจลักษณะ.
เบญจขันธ์นั้นนั่นเอง ชื่อว่า ทุกข์ เพราะพระบาลีว่า สิ่งใดไม่เที่ยง
สิ่งนั้น เป็นทุกข์ ดังนี้. เพราะเหตุไร? เพราะมีการบีบคั้นเนืองๆ
อาการ (คือลักษณะ) ที่บีบคั้นเนืองๆ ชื่อว่า ทุกขลักษณะ.
ก็เบญจขันธ์นั้นนั่นเอง ชื่อว่า อนัตตา เพราะพระบาลีว่า สิ่งใด
เป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็นอนัตตา ดังนี้. เพราะเหตุไร? เพราะไม่เป็นไป
ในอำนาจ. อาการ (คือลักษณะ) ที่ไม่เป็นไปในอำนาจ ชื่อว่า อนัตตลักษณะ
เพราะฉะนั้น อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา จึงเป็นอย่างหนึ่ง อนิจจลักษณะ
ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ จึงเป็นอย่างหนึ่ง.
จริงอยู่ คำว่า ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ นี้แม้ทั้งหมด ชื่อว่า
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แต่วิการ (การเปลี่ยนแปลง) แห่ง
อาการ (ลักษณะ) มีประการตามที่กล่าวแล้ว ชื่อว่า อนิจจลักษณะ
ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ ฉะนี้แล.
อนึ่ง ว่าโดยสังเขปในอายตนวิภังค์นี้ อายตนะ ๑๐ เป็นกามาพจร
อายตนะ ๒ (คือ มนายตนะ และธรรมายตนะ) เป็นไปในภูมิ ๓ วาระว่า
ด้วยการพิจารณา พึงทราบว่า ตรัสไว้ในอายตนะแม้ทั้งหมดแล.
วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ จบ
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=97
สันตติปิดบังอนิจจลักษณะ
อิริยาบถปิดบังทุกขลักษณะ
ฆนสัญญาปิดบังอนัตตลักษณะ
อนัตตลักษณะนั้น เว้นจากการบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าแล้ว ย่อมไม่ปรากฏ ย่อมปรากฏในพุทธุปบาทเท่านั้น
นี้เป็นความแตกต่างกันของพระศาสนานี้ กับของดาบสทั้งหลาย
เช่น ท่านสรภังคดาบส มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก กล่าวได้ว่า มีปัญญามาก
แต่ท่านและดาบสทั้งหลายเหล่านั้น ก็ยังไม่รู้ทั่ว คือ ไม่รู้อนัตตสักษณะเลย ก็คือไม่รู้อริยสัจ
สรภังคดาบสหรือฤาษีอื่นๆ ที่ไ้ด้ฌานสมาบัติ เมื่อละอัตภาพนั้น ถ้าฌานไม่เสื่อม ก็จะอุบัติในพรหมโลก
แต่พรหมโลกก็ไม่เที่ยง เมื่อหมดกำลังของปัจจัย คือบุญกรรมแล้วย่อมกลับมาสู่กามภูมิอีก ก็ประสบกับทุกข์ในกามภูมิอีก
สรภังคชาดก สรภังคดาบสเฉลยปัญหา
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=27&A=10186&Z=10323&pagebreak=0&bgc=ivory
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ไตรลักษณ์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อนิจจลักษณะ
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ทุกขลักษณะ
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อนัตตลักษณะ
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สันตติ
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อิริยาบถ
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ฆนสัญญา
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=พุทธุปบาทกาล
แก้ไข : เพิ่มลิงค์อรรถกถา 20 มี.ค. 2563
อนัตตลักษณะ เว้นจากการบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าแล้ว ย่อมไม่ปรากฏ ย่อมปรากฏในพุทธุปบาทเท่านั้น
วิภังคปกรณ์ ข้อ 98
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?book=35&item=98#98top
อรรถกถาอธิบายความในวิภังคปกรณ์ ข้อ 98
วรรณนาสุตตันตภาชนีย์
[บางส่วน]
จริงอยู่ เมื่อถ้วยชาม หรือขัน หรือวัตถุอะไรๆ ตกจากมือแตกแล้ว
ชนทั้งหลายย่อมพูดว่า โอ! มันไม่เที่ยง ความไม่เที่ยง ชื่อว่า ปรากฏแล้ว
อย่างนี้ ก็เมื่อฝีต่อมเป็นต้นตั้งขึ้นในอัตภาพแล้ว หรือว่าถูกตอหรือหนามทิ่ม
เอาแล้วก็ย่อมพูดว่า โอ! เป็นทุกข์ ทุกข์ชื่อว่า ปรากฏแล้วอย่างนี้.
อนัตตลักษณะไม่ปรากฏ มืดมน ไม่แจ่มแจ้ง แทงตลอดได้โดย
ยาก แสดงได้โดยยาก ทำให้เข้าใจได้โดยยาก. แต่อนิจจลักษณะและ
ทุกขลักษณะ พระตถาคตทั้งหลายจะทรงอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่ทรงอุบัติขึ้นก็ตาม
ย่อมปรากฏ. อนัตตลักษณะ เว้นจากการบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าแล้วย่อม
ไม่ปรากฏ ย่อมปรากฏในพุทธุปบาทเท่านั้น.
จริงอยู่ ดาบสและปริพาชกทั้งหลายผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก
แม้มีสรภังคศาสดาเป็นต้น ย่อมสามารถกล่าวว่า อนิจจัง ทุกขัง ได้ แต่ไม่
สามารถจะกล่าวว่า อนัตตา ได้ แม้ถ้าพวกดาบสเป็นต้นเหล่านั้นพึงสามารถ
กล่าวคำว่า อนัตตา ในบริษัทที่ประชุมกันแล้ว บริษัทที่ประชุมกันก็จะพึง
แทงตลอดมรรคและผล เพราะการประกาศให้รู้อนัตตลักษณะไม่ใช่วิสัยของ
ใครๆ อื่น เป็นวิสัยของพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเท่านั้น อนัตตลักษณะนี้จึง
ไม่ปรากฏแล้วด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้น พระศาสดาเมื่อจะแสดงอนัตต-
ลักษณะจึงทรงแสดงโดยความไม่เที่ยงบ้าง โดยความเป็นทุกข์บ้าง
โดยทั้งความไม่เที่ยงทั้งความเป็นทุกข์บ้าง แต่ในอายตนวิภังค์นี้ พึงทราบ
ว่า ทรงแสดงอายตนะนั้นทั้งโดยความไม่เที่ยง ทั้งโดยความเป็นทุกข์ ดังนี้.
ถามว่า ก็ลักษณะเหล่านี้ ย่อมไม่ปรากฏ เพราะไม่มนสิการอะไร
ไม่แทงตลอดอะไร และอันอะไรปิดบังไว้.
ตอบว่า อนิจจลักษณะก่อน ย่อมไม่ปรากฏ เพราะไม่มนสิการ
ไม่แทงตลอดความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป และเพราะสันตติปิดบังไว้. ทุกข-
ลักษณะ ย่อมไม่ปรากฏ เพราะไม่มนสิการ ไม่แทงตลอดความบีบคั้นเนือง ๆ
และเพราะอิริยาบถทั้งหลายปิดบังไว้. อนัตตลักษณะ ย่อมไม่ปรากฏ เพราะ
ไม่มนสิการ ไม่แทงตลอดการแยกธาตุต่างๆ และเพราะอันฆนสัญญาปกปิดไว้.
ก็พระโยคาวจรกำหนดความเกิดและความเสื่อมเพิกสันตติได้แล้ว
อนิจจลักษณะ ย่อมปรากฏโดยกิจตามความเป็นจริง มนสิการการบีบคั้น
เนืองๆ สับเปลี่ยนอิริยาบถได้แล้ว ทุกขลักษณะ ย่อมปรากฏโดยกิจตามความ
เป็นจริง เมื่อแยกธาตุต่างๆ แล้วทำการแยกความเป็นก้อน อนัตตลักษณะ
ย่อมปรากฏโดยกิจตามความเป็นจริง.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ จบ
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=97
นี้เป็นความแตกต่างกันของพระศาสนานี้ กับของดาบสทั้งหลาย
เช่น ท่านสรภังคดาบส มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก กล่าวได้ว่า มีปัญญามาก
แต่ท่านและดาบสทั้งหลายเหล่านั้น ก็ยังไม่รู้ทั่ว คือ ไม่รู้อนัตตสักษณะเลย ก็คือไม่รู้อริยสัจ
สรภังคดาบสหรือฤาษีอื่นๆ ที่ไ้ด้ฌานสมาบัติ เมื่อละอัตภาพนั้น ถ้าฌานไม่เสื่อม ก็จะอุบัติในพรหมโลก
แต่พรหมโลกก็ไม่เที่ยง เมื่อหมดกำลังของปัจจัย คือบุญกรรมแล้วย่อมกลับมาสู่กามภูมิอีก ก็ประสบกับทุกข์ในกามภูมิอีก
สรภังคชาดก สรภังคดาบสเฉลยปัญหา
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=27&A=10186&Z=10323&pagebreak=0&bgc=ivory
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ไตรลักษณ์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อนิจจลักษณะ
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ทุกขลักษณะ
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อนัตตลักษณะ
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สันตติ
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อิริยาบถ
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ฆนสัญญา
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=พุทธุปบาทกาล
แก้ไข : เพิ่มลิงค์อรรถกถา 20 มี.ค. 2563