พลาสติกย่อยสลาย 6 เดือน โดยคนไทย เพื่อโครงการเกษตรหลวง



วันนี้พลาสติกจะไม่กลายเป็นขยะเจ้าปัญหาอีกต่อไป เมื่อบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC ได้ทำโครงการร่วมกับ โครงการหลวง และสำนักงานกองทุนสนับสนุนเพื่อ การวิจัย (สกว.) นำพลาสติกชีวภาพ (PLA) ที่สามารถ ย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยได้ภายในระยะเวลา 6 เดือน... ไม่ต้องรอนานหลายร้อยปีเหมือนพลาสติกทั่วไป

เนื่องจากในแต่ละปี โครงการหลวงมีการใช้พลาสติกมากถึงปีละ 150-200 ตันต่อปี ใช้ทั้งในรูปของถุงเพาะกล้า คลุม แปลง เพาะปลูก บรรจุภัณฑ์พืชผักผลไม้วางจำหน่ายบนชั้นวางใน ซุปเปอร์มาร์เกต

“พลาสติกที่เราวิจัยพัฒนาขึ้นมานี้ แม้จะเป็นพลาสติกชีวภาพที่สกัดมาจากข้าวโพด ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของสหรัฐอเมริกาที่มีการนำมาใช้งานนานร่วม 20 ปีแล้วก็ตาม แต่กว่าพลาสติกชนิดนี้จะย่อยสลายได้จริงในธรรมชาติต้องใช้เวลานานถึง 2 ปี ยังไม่เหมาะที่นำมาใช้กับโครงการหลวง เราจึงต้องมาต่อยอดคิดค้นสูตรใหม่ให้ย่อยสลายได้เร็วกว่านั้น”

ดร.จิตต์พร เครือเนตร ผู้จัดการฝ่ายการพัฒนาผลิตภัณฑ์ PTTGC เผยถึงที่มาของการคิดค้นสูตรให้พลาสติกชีวภาพย่อยสลายเร็วกว่าปกติ โดยการนำสารล่อจุลินทรีย์มาผสมลงไป เพื่อดึงดูดให้จุลินทรีย์ในดินที่มีอยู่โดยธรรมชาติ ให้มาร่วมชุมนุมย่อยพลาสติกชีวภาพให้หมดไปภายใน 6 เดือน ส่วนสารล่อทำมาจากอะไร มีสัดส่วนเท่าไร บอกไม่ได้ทุกอย่างยังเป็นความลับรอการจดสิทธิบัตร...เพราะนี่เป็นนวัตกรรมใหม่หนึ่งเดียวในโลก ที่ยังไม่มีชาติไหนทำได้ แต่คนไทยคิดทำได้แล้ว และนำมาใช้ในโครงการหลวงผลิตเป็นถุงเพาะชำกล้าไม้ เนื่องจากการปลูกพืชเพาะชำในถุงพลาสติกสีดำทั่วไป เกษตรกรจำเป็นต้องดึงต้นกล้าออกจากถุงก่อนนำไปลงดิน เพราะไม่ทำอย่างนี้ รากของต้นไม้จะไม่สามารถแทงรากลงดินได้

และปัญหาที่มักจะพบกัน นอกจากจะต้องทิ้งถุงเพาะกล้าให้เป็นขยะพลาสติกแล้ว การดึงต้นกล้าออกจากถุง ถ้าไม่ทำอย่างระมัดระวังรากมักจะขาด นำไปปลูกลงดินต้นไม้จะชะงักการเจริญเติบโต...แต่ถ้าใช้ถุงเพาะกล้าทำจากพลาสติกย่อยสลายเร็ว เกษตรกรไม่ต้องดึงต้นกล้าออกจากถุง สามารถนำถุงไปฝังลงดินได้เลย เพราะถุงที่ย่อยสลายเร็วรากสามารถแทงทะลุถุงออกมาได้ที่สำคัญสารล่อจุลินทรีย์ให้มาช่วยย่อยสลายพลาสติก ยังช่วยล่อจุลินทรีย์มาทำให้ทั้งดินและพลาสติกกลายเป็นปุ๋ยบำรุงพืชได้อีกต่างหาก...และผลจากการนำดินในพื้นที่เพาะปลูกมาวิเคราะห์ ก็ไม่พบว่ามีส่วนผสมที่เป็นพลาสติกตกค้างอยู่ในดินแต่อย่างใด

ผลจากความสำเร็จนี้ ไม่เพียงจะนำมาทำเป็น ถุงเพาะต้นไม้เท่านั้น ยังนำไปทำเป็นพลาสติกคลุมแปลงพืชที่สามารถไถกลบให้ย่อยสลายเป็นปุ๋ยได้ รวม ทั้งนำไปทำเป็นบรรจุภัณฑ์พืชผักผลไม้ต่างๆ ได้ด้วย
เพราะเมื่อบริโภคพืชผักผลไม้หมดแล้ว บรรจุภัณฑ์ถูกทิ้งเป็นขยะ นำไปฝังกลบที่ไหนก็สามารถย่อยสลายได้ภายใน 6 เดือน...เพื่อจะได้ไม่เป็นขยะพิษหลายร้อยปี ให้สังคมรังเกียจอีกต่อไป.

http://www.thairath.co.th/content/edu/372789

http://bit.ly/ชมรมผู้ไม่ใฝ่ใจบริโภคนิยมวัตถุนิยม

http://bit.ly/เพจข่าวดี
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่