ปัจจุบันเมื่อ พระภิกษุเป็นข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์ ซึ่งก็มักจะมีเรื่อง เงิน ๆ ทอง และเรื่องสีกา มาเกี่ยวข้อง ก็เลยเกิดความสงสัยใครรู้ว่า พระภิกษุ (ไทย) เขาเริ่มรับเงินตั้งแต่เมื่อไร ตอนนี้หาย้อนไปได้แค่ยุค อาณาจักรกรุงธนบุรี จากเรื่องราวบางตอนของสมเด็จโต
คัดมาแต่เรื่องที่เกี่ยวข้อง สมาชิกใดท่านประสงค์จะอ่านฉบับเต็ม ก็ตามไปอ่านที่ลิงค์เจ้าของเว็บเอง นะครับ
http://th.wikisource.org/wiki/ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์_(โต_พฺรหฺมรํสี)
สมเด็จโต หรือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เกิดในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี เรื่องต่อไปนี้เป็นช่วงที่โยมมารดานำไปยกให้พระ ชื่อหลวงพ่อแก้ว ตามความเชื่อที่ว่าถ้าเด็กมีบุญมากจะนิยมยกให้เป็นลูกพระ
ตัดความมาที่โยมมารดาของท่านนำเด็ก (สมเด็จโต) มายกให้หลวงพ่อแก้ว วัดบางลำพูบน
ฝ่ายพระอาจารย์แก้ว ตั้งใจรับเด็กอ่อนไว้แล้ว ท่านก็ตรวจตราพิจารณาดู ท่านก็รู้ด้วยการพิจารณา รู้ว่าเด็กคนนี้มีปัญญาสามารถทั้งเฉลียวฉลาดในการร่ำเรียนทั้งประกอบด้วยความเพียรและความอดทน
ทั้งจะเป็นบุคคลที่เปรื่องปราชญ์อาจหาญ ทั้งจะเป็นคนที่เชี่ยวชาญวิทยาคม ทั้งจะมีแต่คนนิยมฤๅชา ปรากฏ ทั้งจะเป็นคนกอรปด้วยอิสริยศบริวารยศมาก ทั้งจะเป็นคนประหลาดแปลกกว่าคน ทั้งจะเจริญ พระชนม์มีอายุยืนนาน
ครั้นพระอาจารย์แก้วตรวจวิจารณ์ชะตาราศีแล้ว จึงผูกข้อมือ เสกเป่าเข้าปากนวดนาบด้วย นิ้วของท่าน เพื่อรักษาเหตุการณ์ตาลทราง หละ ละลอก ทรพิศม์ ไม่ให้มีฤทธิมารบกวนแก่กุมารน้อยต่อไป แล้วท่านก็ฝากให้นางงุดช่วยเลี้ยง กว่าจะได้สามขวบเป็น ค่าจ้าง ค่าน้ำนม ข้าวป้อน เสร็จปีละ ๑๐๐ บาท แล้วท่านก็ประกาศสั่งซ้ำว่า อย่าให้มารดากินของขมและของเผ็ดร้อน และของบูดแฉะ เกรงขีระรสธารา จะเสีย แล้วท่านก็กำชับสั่งนายผลให้เอาใจใส่ระไวระวังคอยเตือน อย่าให้นางแม่มันเล่นเล่อเหม่อประมาท คอยขู่ตวาดนางแม่มันอย่าให้กินของแสลงตามที่เราห้ามจงทำตามทุกประการ
ข้อความตรงนี้ ระบุท่านให้เงินเป็นค่าจ้างเลี้ยง ค่าน้ำนม ข้าวป้อน เสร็จปีละ ๑๐๐ บาท ซึ่งในสมัยยุคกรุงธนบุรี ก็น่าจะมีมูลค่าไม่ใช่น้อย แสดงท่านพระครูฯ มีเงินเก็บพอสมควร
ก็พอจะสันษิฐานขึ้นไปได้ว่า ธรรมเนียมการถวายเงินให้พระภิกษุ สามเณร น่าจะมีมาตั้งแต่ สมัยอยุธยาแล้ว เนื่องจากท่านพระอาจารย์แก้วก็เกิดในช่วงก่อนเสียกรุงฯ ครั้งที่ ๒ ธรรมเนียมปฏิบัติคงถือสืบๆ กันต่อมา
อีกทั้งท่านยังมีความรอบรู้ที่จะสั่งสอน อาหาร การกิน สำหรับคนมีเด็กอ่อน ดังข้อความว่า
อย่าให้มารดากินของขมและของเผ็ดร้อน และของบูดแฉะ เกรงขีระรสธารา จะเสีย แล้วท่านก็กำชับสั่งนายผลให้เอาใจใส่ระไวระวังคอยเตือนอย่าให้นางแม่มันเล่นเล่อเหม่อประมาท คอยขู่ตวาดนางแม่มันอย่าให้กินของแสลงตามที่เราห้ามจงทำตามทุกประการ
เจาะเวลาหาอตีต พระกับเรื่อง เงินๆ ทองๆ ในประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์_(โต_พฺรหฺมรํสี)
ปัจจุบันเมื่อ พระภิกษุเป็นข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์ ซึ่งก็มักจะมีเรื่อง เงิน ๆ ทอง และเรื่องสีกา มาเกี่ยวข้อง ก็เลยเกิดความสงสัยใครรู้ว่า พระภิกษุ (ไทย) เขาเริ่มรับเงินตั้งแต่เมื่อไร ตอนนี้หาย้อนไปได้แค่ยุค อาณาจักรกรุงธนบุรี จากเรื่องราวบางตอนของสมเด็จโต
คัดมาแต่เรื่องที่เกี่ยวข้อง สมาชิกใดท่านประสงค์จะอ่านฉบับเต็ม ก็ตามไปอ่านที่ลิงค์เจ้าของเว็บเอง นะครับ
http://th.wikisource.org/wiki/ประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์_(โต_พฺรหฺมรํสี)
สมเด็จโต หรือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เกิดในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี เรื่องต่อไปนี้เป็นช่วงที่โยมมารดานำไปยกให้พระ ชื่อหลวงพ่อแก้ว ตามความเชื่อที่ว่าถ้าเด็กมีบุญมากจะนิยมยกให้เป็นลูกพระ
ตัดความมาที่โยมมารดาของท่านนำเด็ก (สมเด็จโต) มายกให้หลวงพ่อแก้ว วัดบางลำพูบน
ฝ่ายพระอาจารย์แก้ว ตั้งใจรับเด็กอ่อนไว้แล้ว ท่านก็ตรวจตราพิจารณาดู ท่านก็รู้ด้วยการพิจารณา รู้ว่าเด็กคนนี้มีปัญญาสามารถทั้งเฉลียวฉลาดในการร่ำเรียนทั้งประกอบด้วยความเพียรและความอดทน
ทั้งจะเป็นบุคคลที่เปรื่องปราชญ์อาจหาญ ทั้งจะเป็นคนที่เชี่ยวชาญวิทยาคม ทั้งจะมีแต่คนนิยมฤๅชา ปรากฏ ทั้งจะเป็นคนกอรปด้วยอิสริยศบริวารยศมาก ทั้งจะเป็นคนประหลาดแปลกกว่าคน ทั้งจะเจริญ พระชนม์มีอายุยืนนาน
ครั้นพระอาจารย์แก้วตรวจวิจารณ์ชะตาราศีแล้ว จึงผูกข้อมือ เสกเป่าเข้าปากนวดนาบด้วย นิ้วของท่าน เพื่อรักษาเหตุการณ์ตาลทราง หละ ละลอก ทรพิศม์ ไม่ให้มีฤทธิมารบกวนแก่กุมารน้อยต่อไป แล้วท่านก็ฝากให้นางงุดช่วยเลี้ยง กว่าจะได้สามขวบเป็น ค่าจ้าง ค่าน้ำนม ข้าวป้อน เสร็จปีละ ๑๐๐ บาท แล้วท่านก็ประกาศสั่งซ้ำว่า อย่าให้มารดากินของขมและของเผ็ดร้อน และของบูดแฉะ เกรงขีระรสธารา จะเสีย แล้วท่านก็กำชับสั่งนายผลให้เอาใจใส่ระไวระวังคอยเตือน อย่าให้นางแม่มันเล่นเล่อเหม่อประมาท คอยขู่ตวาดนางแม่มันอย่าให้กินของแสลงตามที่เราห้ามจงทำตามทุกประการ
ข้อความตรงนี้ ระบุท่านให้เงินเป็นค่าจ้างเลี้ยง ค่าน้ำนม ข้าวป้อน เสร็จปีละ ๑๐๐ บาท ซึ่งในสมัยยุคกรุงธนบุรี ก็น่าจะมีมูลค่าไม่ใช่น้อย แสดงท่านพระครูฯ มีเงินเก็บพอสมควร
ก็พอจะสันษิฐานขึ้นไปได้ว่า ธรรมเนียมการถวายเงินให้พระภิกษุ สามเณร น่าจะมีมาตั้งแต่ สมัยอยุธยาแล้ว เนื่องจากท่านพระอาจารย์แก้วก็เกิดในช่วงก่อนเสียกรุงฯ ครั้งที่ ๒ ธรรมเนียมปฏิบัติคงถือสืบๆ กันต่อมา
อีกทั้งท่านยังมีความรอบรู้ที่จะสั่งสอน อาหาร การกิน สำหรับคนมีเด็กอ่อน ดังข้อความว่า
อย่าให้มารดากินของขมและของเผ็ดร้อน และของบูดแฉะ เกรงขีระรสธารา จะเสีย แล้วท่านก็กำชับสั่งนายผลให้เอาใจใส่ระไวระวังคอยเตือนอย่าให้นางแม่มันเล่นเล่อเหม่อประมาท คอยขู่ตวาดนางแม่มันอย่าให้กินของแสลงตามที่เราห้ามจงทำตามทุกประการ