เหตุใดดนตรีแนวนี้ ถึงได้รับความนิยมมากในประเทศไทยครับ?

ชี้แจงเล็กน้อย ทำไมผม tag ประวัติศาสตร์ไปด้วย

ตอนยังเป็น pantip ระบบเก่า ผมเคยปล่อยไก่ไปว่า "จังหวะ 3 ช่า เป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทย"

แล้วก็มีคนมาแย้งครับ เขาบอกว่าจริงๆ แล้วจังหวะนี้เข้ามาในบ้านเราช่วงหลัง WW2 ผ่านคนไทยที่ไปเรียนในฟิลิปปินส์ หรือคนฟิลิปปินส์ที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย ( สมัยนั้นฟิลิปปินส์เจริญกว่าไทยมาก คนฐานะธรรมดาๆ แต่อยากส่งลูกไปเมืองนอก ไม่มีปัญญาส่งไปยุโรปหรืออเมริกา ก็ส่งไปฟิลิปปินส์นี่แหละครับ )

ผมถึงบอกว่าเราเปิดรับวัฒนธรรมอื่นๆ มาก็มาก แต่เอาจริงๆ มันมีไม่กี่อย่างหรอกที่เข้ากับบ้านเราได้ จนคนรุ่นหลังเข้าใจผิดว่ามันเป็น Original ของเราเอง

ซึ่งดนตรีแนวนี้ มันก็เป็น 1 ในวัฒนธรรมประเภทที่ว่านี้ด้วย

เป็นประวัติศาสตร์พอไ้ด้ไหมครับ?

--------------------------------------

ผมไม่รู้จะเรียกว่าดนตรีแนวไหนนะครับ ( บางคนเรียก 3 cha บางคนเรียก Country Rock )

จะให้อธิบายเอกลักษณ์เป็นตัวอักษรก็คงลำบาก ( แหงละ ผมไม่ได้จบด้านดนตรีมา )

แต่ถ้าบอกว่า "เพลงจังหวะโจ๊ะๆ" เชื่อแน่นอนว่าคนไทยส่วนใหญ่นึกภาพออก ( ลองนึกถึงเพลงเพื่อชีวิต ของน้าแอ๊ด-คาราบาว , พี่ปู-พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ ก็ได้ หลายเพลงเป็นแนวๆ นี้ )

วณิพก - คาราบาว

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
โนพลอมแพลม - คาราบาว

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ยอดชาย - พงษ์สิทธิ์ คำภีร์

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แกเพื่อนฉัน - พงษ์สิทธิ์ คำภีร์

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
-----------------------------

จากยุคแรกๆ ที่กระจุกอยู่แต่เพื่อชิวิต ( จริงๆ มีลูกทุ่งด้วยและเยอะพอกัน แต่ผมไม่สันทัดเพลงลูกทุ่งเท่าไร เลยนึกไม่ออกว่าเพลงอะไรบ้าง )

หลังๆ เพลงแนวนี้ได้ข้ามมาเป็นเพลงสตริง เปิดกันตามผับ , งานวัดที่มี Bump Car ลามไปจนงานเลี้ยง งานกีฬาสีทั่วไป  

และที่ขาดไม่ได้ "เทศกาลสงกรานต์" ที่บรรดาแวนซ์ สก๊อย คนโรงงาน และรถเครื่องเสียงเบสหนักๆ มารวมตัวกัน ( เปิดเครื่องเสียงเต้นกันข้างถนนนั่นแหละครับ เห็นภาพแบบนี้มาตั้งแต่จำความได้ ไม่ต่ำกว่า 15 ปีแน่ๆ ) ไม่เว้นแม้แต่ฉิ่งฉาบทัวร์ทั้งหลาย

มาดูตัวอย่างเพลงที่ชอบเอามาเปิดกันนะครับ

Just Let Me Cry - Mary Ann ( ใครอายุ 25+ ต้องคุ้นกับเพลงนี้ ยุคหนึ่งเปิดกันทั่วบ้านทั่วเมือง ตั้งแต่ผับดังๆ ชั้นนำ ไปจนถึงคาราโอเกะไฟหลากสีในห้องแถวเล็กๆ ของชนชาวรากหญ้า )

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
Bye Bye Boy - Nanase Aikawa ( ยุคเดียวกับ Just Let Me Cry สารภาพว่าตอนเด็กๆ ผมฟัง 2 เพลงนี้ แล้วจำชื่อเพลงสลับกัน - -! )

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
------------------------

ใหม่ขึ้นมานิดหน่อย แค่ 12 - 14 ปีก่อน ( ส่วน 2 เพลงด้านบนน่าจะถึง 20 ปีได้ เพราะมันมาพร้อมๆ กับเพลงอย่าง Broken Heart Woman และ No Coke ที่ดังมากในบ้านเราเหมือนกัน ซึ่งผมขอไม่กล่าวถึง 2 เพลงนี้ เพราะไม่เข้าข่ายดนตรีโจ๊ะๆ ตามกระทู้ )

People of the Mountain - Juliana Jeans

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
Chilly Cha Cha - Jessica Jay

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
-----------------------------------

ใหม่หน่อย ไม่ถึง 10 ปี

แล้วก็เพลงนี้ครับ Malay Song (ขออภัยที่เพลงนี้ ผมไม่ทราบชื่อนักร้องจริงๆ )

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
---------------------------------

เพลงฝรั่งบางเพลง ที่ Original ไม่ได้เป็นจังหวะโจ๊ะๆ แต่คนไทยเอามา Mix ใหม่ซะเลย

My Macho - Jessica Jay

ฉบับ Original จะหน้าตาแบบนี้ครับ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แต่เมื่อมาถึงไทย เราชอบอะไรแบบนี้ครับ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
-----------------------------------

มาดูเพลงไทยกันบ้าง เชื่อว่าส่วนใหญ่ต้องคุ้นกับเพลงพวกนี้เป็นอย่างดี

กินตับ - เท่ง เถิดเทิง

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
คิดถึงจังหวะ - Gancore Club ( โจอี้บอยและผองเพื่อน )

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
Ska Variety - OK Mocca

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
--------------------------------

นึกออกแล้ว ลูกทุ่งเราก็มี

มันต้องถอน - ปอยฝ้าย มาลัยพร

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ลูกเทวดา - สนุ๊ก สิงห์มาตร ( จริงๆ เป็นเพลงที่เนื้อหาสอนวัยรุ่นนะครับ แต่ไหงกลายเป็นเพลงของแวนซ์ไปซะได้ T_T )

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
-----------------------------------

เอาแค่นี้ก่อนนะครับ จริงๆ มีเยอะกว่านี้ ทั้งไทยทั้งเทศ

อย่างที่บอกไปตอนต้น แม้บางเพลงที่ Original เป็นจังหวะอื่นๆ แต่พอมาไทยก็กลายเป็นการ Remix แบบโจ๊ะๆ กันไปหมด

สงสัยครับ ทั้งที่เราเปิดรับวัฒนธรรมทางดนตรีของต่างประเทศมาเยอะมาก แต่ท้ายที่สุด ทำไมเหลือแต่แนวนี้ที่สามารถหลอมรวมกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมดนตรีแบบไทยๆ ได้ครับ

( ขนาดผมยังเคยเข้าใจผิดเลยว่าดนตรี 3 ช่า เป็นของไทยแท้ เพราะเกิดมาก็ได้ยินแล้ว ทั้งลูกทุ่ง ทั้งเพื่อชีวิต )

ปล.ผมหาเพลงที่ติดหู ช่วงสงกรานต์ปีล่าสุดเจอแล้วนะครับ ( เคยตั้งกระทู้ไว้ในนี้ http://ppantip.com/topic/30378266 แล้วไม่มีใครนึกออก )

อันนี้ครับ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
มาจาก Original อันนี้ครับ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
จังหวะมันสนุกมีเพลงฮิตติดหูไงครับท่าน แล้วจังหวะสามช่าเนี่ยมันเข้ากันได้กับเพลงดนตรีพื้นบ้าน ผมเข้าใจว่า เพลงจังหวะสามช่าเนี่ยเข้ามาพร้อม ๆ กับวัฒนธรรมอเมริกันรุ่งเรืองก่อนหน้า ที่จะเป็นยุค จีไอ นั้นก็จะเป็น ยุคสุนทราภรณ์ เพลงก็จะเป็นอีกจังหวะหนึ่งซึ่งเป็นยุคที่อเมริกันเขาฮิตกันมาก่อนจะเข้ามาเมืองไทย

ทีนี้เพลงจังหวะสามช่าเนี่ย มันเป็นจังหวะมาตรฐานหนึ่งของการลีลาศ (การเต้นแบบมาตรฐานสากล มีแข่งระดับโลกด้วยนะครัส) สมัยก่อนยุคที่เขาเรียกกันว่ายุคสุนทราภรณ์เนี่ย ยุคนั้นไม่มีทีวี บ้านไหนมีวิทยุแลเครื่องเล่นแผ่นเสียงจะดูเลอเลิศมาก ดุจดังมี ชุดไฮเดฟระดับไฮเอน ในสมัยนี้เลยทีเดียว การมาของวิทยุและเพลงยุคสุนทราภรณ์ทำให้ จังหวะสามช่าเกิดการแพร่หลายเพราะความเร้าใจของจังหวะ ชะ ชะ ช่า ที่พัฒนาต่อมาจาก จังหวะแมมโบ้ ที่เลื่อมความนิยมลงไปตามกระแสดนตรีโลกในยุคนั้น ซึ่งจังหวะ ชะ ชะ ช่า หรือ สามช่า นั้น อย่างที่เกริ่นไปแล้ว

จังหวะ สามช่า เป็นจังหวะลีลาศจังหวะหนึ่งในประเภทลาตินอเมริกัน ที่ได้พัฒนามาจาก จังหวะ แมมโบ้ (MAMBO) ชื่อ จังหวะนี้ตั้งขึ้นโดยการเลียนเสียงของ รองเท้าขณะที่กำลังเต้นรำของสตรีชาวคิวบา จังหวะ ชา ชา ช่า ได้ถูกพบเห็นเป็นครั้งแรก ที่ประเทศอเมริกา แล้วแพร่หลายไป ทั่วโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จังหวะแมมโบ้ เสื่อมความนิยมลง โดยหันมานิยมจังหวะ ชา ชา ช่า ซึ่งได้รับความนิยมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันนี้

จังหวะ ชา ชา ช่า ได้เข้ามาที่ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2498 โดยชาวฟิลิปปินส์ชื่อ เออร์นี่ ซึ่งเป็นนักดนตรีของวงดนตรีคณะ “ซีซ่า วาเลสโก” นายเออร์นี่ ได้โชว์ลีลาการเต้น ชา ชา ช่า ประกอบการ เขย่ามาลากัส จากลีลาการเต้นนี้ได้สร้างความประทับใจให้กับนักเต้นและครูลีลาศของไทย จึงได้ขอให้ นายเออร์นี่ ช่วยสอนลีลาการเต้น ชา ชา ช่า การเต้นของนายเออร์นี่ แม้จะผิดการเต้นหลักมาตรฐานสากล ก็ตาม และทำให้เพลงจังหวะนี้เกิดการแพร่หลาย

ในยุคกระโน้นมาจนถึงบัดนี้ ดนตรีสามช่าได้ผ่านสื่อวิทยุสู่ผู้คนแพร่หลาย ผ่านการดัดแปลงทำซ้ำ เพราะความสนุกของจังหวะดนตรีจนทำให้ หลาย ๆ คนอาจจะนึกคิดไปเองโดยเฉพาะนักดนตรีป๊อปเพื่อชีวิตแบบไทย ๆ บางคนถึงกับยึดแย่งเอาจังหวะสามช่ามาเป็นสัญลักษณ์ของตนเองมันเสียเลยในยุคหนึ่ง ถึงกับกล่าวขานอย่างอหังการว่าตนเป็นผู้ริเริ่มกันเลยทีเดียว เพื่อนที่เคยร่วมวงและเพื่อนศิลปินเพื่อชีวิตกรุณาอย่าก๊อป พี่ขอร้อง ซึ่ง จริง ๆ นั้นมันไม่ใช่ครับลุง เขาฟังกันแพร่หลายมาแต่รุ่นทวดแล้วแต่ไม่ได้ใช้เครื่องดนตรีร๊อคมาเล่นแบบยุคของลุง เท่านั้นเอง (ปล.เพลงของลุงเองบางเพลงยังได้รับแรงบัลดาลใจจากเพลงฝรั่งอยู่เลย เพียงใส่เนื้อไืทยแปลงท่อนดนตรีนิดนึงขายได้ละ)

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ทีนี้ การมาแพร่หลายของกระแสเพื่อชีวิตได้พัดพาดนตรีสามช่าเข้าสู่ชนชั้นแรงงานรากหญ้าของไทยได้เป็นจำนวนมากทั้งที่เดิมมาแล้ว เพลงจังหวะสามช่าเองนั้นวงการลุกทุ่งก็ได้นำไปใส่ในทำนองเพลงมาตั้งแต่ยุคหลังสุนทราภรณ์เช่นกัน แต่เพลงลูกทุ่งไทยคันทรีดัง ๆ ส่วนมากนั้นจะมีทำนองและเสียงดนตรีไทยเดิมอยู่ในเนื้ออยู่พร้อมเนื้อร้องที่แสดงความน่าสงสารของหัวอกชาวรากหญ้ายุคนั้นที่ดัง ๆ ก็มักจะเป็นเพลงช้ากันเสียส่วนใหญ่ จังหวะรำวงสามช่าก็พอฮิตอยู่บ้างแต่ไม่ดังเปรี้ยงปร้าง จนกระทั่งการมาถึงของ ราชินีลูกทุ่งพุ่มพวงดวงจันทร์ ที่ดังระดับคับฟ้าเมืองไทยก็มีเพลงสามช่ามาให้แฟน ๆ ได้สนุกกันอยู่หลาย ๆ เพลงครับ ท่านพ่อแม่พี่น้องผู้มีเกียรติ ซึ่งตรงนี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนอันแพร่หลายของดนตรีสามช่าจริง ๆ ครับท่าน

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
ผิดพลาดประการใดแก้ไขท้วงติงได้ครับท่านลูกเต่าน้อย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่