วัฒนธรรมไทยในการ "บนบานศาลกล่าว" ควรอนุรักษ์ หรือ แค่จารึกไว้ ???

กระทู้สนทนา
อย่างที่ทราบกันดีว่า เมืองไทยเรานั้น มีพฤติกรรมแปลกๆ
เรื่องการ ติดสินบน กับ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ??? ด้วยการบนบาลศาลกล่าว
การสัญญากับรูปปั้น หรือตัวแทนของสิ่งที่เคารพ เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่หวังไว้
และพร้อมที่จะแลกเปลี่ยน ตามเงื่อนไขที่ตนได้ตั้งขึ้นมา หรือที่เชื่อๆ กันว่าถ้าสัญญากับท่านว่าจะเอาสิ่งนั้นๆมาให้ ก็จะสมปรารถนา
เป็นเรื่องที่สมควรแล้ว ?
ในเมืองพุทธ ที่ตอนนี้เริ่มไม่มั่นใจแล้วว่าจะนับถืออะไร จะเชื่อใครดี
อย่างกระแสวิจารณ์ย่าโมที่เกิดขึ้น
เกิดการหลบหลู่ และการตั้งคำถามจนเป็นเหตุให้เกิดความไม่พอใจ
http://www.siamboard.net/2013/09/blog-post_577.html
ตามข่าวที่ผมได้อ่านคร่าวๆ
เรานับถือและเคารพ การอธิษฐาน ย่าโม อันนี้พอเข้าใจ
แต่เราจำเป็นต้องถึงขั้น ทำให้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในการบนบานเลยหรือ ?
ต้องติดสินบนย่าโม เพื่อผลประโยชน์
บ้างก็ว่า "แต่โดยปกติภพภูมิของความเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์หากเป็นระดับชั้นเทพหรือเทวดาท่านจะมีทิพย์สุขอยู่แล้วอยากได้อะไรก็มักจะนึกเอาได้ดังใจปรารถนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นชั้นเทพจึงไม่มีความจำเป็นต้องรับสินบนใดๆ เพราะหากเผลอไปรับก็อาจมีสิทธิ์ตกสวรรค์ไปได้ง่ายๆ เพราะเป็นการทำผิดกฎเป็นการสร้างกรรมสร้างกิเลสและ ผลกรรมก็จะตกอยู่กับผู้ที่เอาเครื่องเซ่นไหว้นี้ไปให้ท่านด้วย"
จากเว็บ http://torthammarak.wordpress.com/2011/11/15/การอธิษฐานในรูปแบบต่าง/

หรืออีกที่ก็ว่า "คนไม่มีบุญนั้น ต่อให้ไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ร้อยครั้ง ก็ไม่มีทางได้ แม้แต่ครั้งเดียว
คนที่มีบุญบ้างบาปบ้างเจือปนอยู่ก็จะได้ครึ่งไม่ได้ครึ่ง
แต่คนที่มีบุญมากไหว้ขอครั้งไหน ได้ทุกครั้ง"
จากเว็บ http://torthammarak.wordpress.com/2012/07/17/เคล็ดอัศจรรย์-บนบานอย่า/

สรุปแล้วคนไทยจะเลิกบนบานได้ไหม
หรือจะยอมรับว่าจริงๆ แล้วอยากนับถือพราหมณ์มากกว่า...
เมื่อไรคนไทยจะเชื่อในคำที่ว่า "ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน"
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่