สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
เดี๋ยวจะหาว่าใจดำ ตอบแต่ เฮ้อ....
............................................................
ราคา กับ วอลุ่ม
สูตรสำเร็จรวยด้วยหุ้น ความสัมพันธ์ระหว่าง ราคา กับ วอลุ่ม ปริมาณการซื้อขาย
หรือ วอลุ่ม เปรียบได้กับพลังของ อุปสงค์ ( demand ) และ อุปทาน ( supply)
ที่มีผลต่อการกำหนดทิศทางของราคาหุ้น จะมีแนวโน้มสูงขึ้น หรือ ลดลง
ด้วยพลังจากแรงส่งนี้ เมื่อพลังซื้อมีมากกว่าความต้องการขาย ราคาย่อมจะสูงขึ้น
และถ้าความต้องการขายมีมากกว่า ราคาหุ้นก็ย่อมต่ำลง
การสังเกตุจากปริมาณการซื้อขายเปลี่ยนมือมีความสำคัญในการพิจารณาควบคู่
ไปกับกราฟราคา วอลุ่มที่เกิดขึ้นในขณะที่ราคาเพิ่มสูงขึ้น
เราเรียกว่า demand volume ถ้าราคาและปริมาณเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน
เป็นการชี้ว่า อาจเป็นแนวโน้มขาขึ้น ( bullish )
ขณะที่หากวอลุ่มที่เกิดขึ้นในขณะที่ราคาหุ้นลดต่ำลง
เราเรียกว่า suppy volume ถ้าราคาและปริมาณเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน
เป็นการชี้ว่า อาจเป็นแนวโน้มขาลง (bearish)ในการวิเคราะห์ทางเทคนิค
เราจะนำความสัมพันธ์ระหว่างราคาหุ้นกับวอลุ่มนี้มาช่วยในการ สนับสนุน
แนวโน้มราคา หรืออาจจะนำมาใช้เป็น สัญญานเตือน
ว่าแนวโน้มของราคาใกล้ที่จะเปลี่ยนทิศทางหรือยัง
แต่สาระในการพิจารณาประกอบกับสัญญาณทางเทคนิค
จะให้น้ำหนักมากกับการ ทะลุผ่าน ( breakout) เป็นสำคัญ
เป็นการชี้ให้เห็นว่าพลังผลักดันของแนวโน้ม ขึ้น หรือ ลง มีพลังส่งที่สูงกว่า
อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วจะมีหลักเกณฑ์ในการสังเกตุความสัมพันธ์ระหว่าง
ราคาหุ้น กับ วอลุ่ม ดังนี้
ความสัมพันธ์ระหว่าง ราคา กับ วอลุ่ม ความสัมพันธ์ในแง่บวก
1.เมื่อราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงเวลาก่อนและปริมาณการซื้อขาย(วอลุ่ม)
ปรับตัวสูงขึ้นตาม จะเป็นการสนับสนุนการขึ้นของราคาหุ้น
2.เมื่อราคาหุ้นที่พุ่งสูงขึ้นมาช่วงหนึ่ง ต่อมามีการปรับตัวลดลง(ทางเทคนิค)
ให้สังเกตุปริมาณการซื้อขาย(วอลุ่ม) ถ้าปรับตัวลดลงตามด้วย
จะแสดงถึงการลดลงชั่วคราวของราคาก่อนที่จะมีการ ดีดกลับ ของราคาอีกครั้งหนึ่ง
3.การขายอย่างตื่นตระหนก (panic selling)
ถ้าเกิดขึ้นจากราคาที่ลดต่ำลงมาแล้วเป็นระยะเวลาพอสมควร
และต่อมาราคามีลักษณะเร่งการ ตกดิ่ง อย่างรุนแรงในขณะที่ วอลุ่ม
กลับเพิ่มมากขึ้น ในทางเทคนิคเรียกว่า วิกฤตการขาย (selling climax)
นี้คือจุดจบของแนวโน้มขาลง หรือ bear market
ความสัมพันธ์ระหว่าง ราคา กับ วอลุ่ม ความสัมพันธ์ในแง่ลบ
1.เมื่อราคาปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงเวลาก่อน แต่ปริมาณการซื้อขาย(วอลุ่ม)
กลับลดลง จะเป็นสัญญาณ ค้าน การขึ้นของราคา
2.เมื่อราคาลดลงมาแล้วช่วงหนึ่ง ต่อมามีการปรับตัวขึ้น(ทางเทคนิค)
ให้สังเกตุปริมาณการซื้อขาย(วอลุ่ม)หากลดลงสวนทางการเพิ่มขึ้นของราคา
จะเป็นสัญญาณลบ และบ่งชี้ว่าในไม่ช้าจะมีการปรับตัวลดลงของราคาอีกครั้ง
3.เมื่อราคาวิ่งขึ้นกลับไปที่จุดสูงสุดเก่า แต่ปริมาณการซื้อขาย(วอลุ่ม) มีไม่มากพอ
(วอลุ่มไม่หนุน) เป็นสัญญาณเตือนในทางลบ
4.ถ้าราคาสูงขึ้นเป็นระยะเวลานาน และถ้ามาถึงจุดหนึ่งที่ราคาขยับขึ้นเล็กน้อย
แต่วอลุ่มกลับยังคงสูงมาก เป็นสัญญาณเตือนว่ามีการระบายหุ้นออกในลักษณะ
โยนหุ้น เกิดขึ้น หรือมีการซื้อขายกันระหว่างกลุ่ม เพื่อไม่ให้ราคาตก
สัญญาณนี้จะบอกว่าในไม่ช้าจะมีการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มจากขาขึ้นมาเป็นแนวโน้มขาลง
5.เมื่อราคากับวอลุ่มขึ้นไปด้วยกันอย่างช้าๆ จนถึงระดับหนึ่งแล้วราคาหุ้น
กลับทะยานขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยพบว่ามีวอลุ่มเพิ่มขึ้นสูงมากกว่าผิดปกติ
และหลังจากนั้นราคาเริ่มลดต่ำลง จะถือว่า ณ จุดนั้น เป็นการเปลี่ยนแนวโน้มจากขึ้นเป็นลง
การตกลงของราคาจะรุนแรงเพียงใด ขึ้นอยู่กับราคาและขนาดของวอลุ่มที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้
ที่มา:thaistockinvestor
............................................................
ราคา กับ วอลุ่ม
สูตรสำเร็จรวยด้วยหุ้น ความสัมพันธ์ระหว่าง ราคา กับ วอลุ่ม ปริมาณการซื้อขาย
หรือ วอลุ่ม เปรียบได้กับพลังของ อุปสงค์ ( demand ) และ อุปทาน ( supply)
ที่มีผลต่อการกำหนดทิศทางของราคาหุ้น จะมีแนวโน้มสูงขึ้น หรือ ลดลง
ด้วยพลังจากแรงส่งนี้ เมื่อพลังซื้อมีมากกว่าความต้องการขาย ราคาย่อมจะสูงขึ้น
และถ้าความต้องการขายมีมากกว่า ราคาหุ้นก็ย่อมต่ำลง
การสังเกตุจากปริมาณการซื้อขายเปลี่ยนมือมีความสำคัญในการพิจารณาควบคู่
ไปกับกราฟราคา วอลุ่มที่เกิดขึ้นในขณะที่ราคาเพิ่มสูงขึ้น
เราเรียกว่า demand volume ถ้าราคาและปริมาณเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน
เป็นการชี้ว่า อาจเป็นแนวโน้มขาขึ้น ( bullish )
ขณะที่หากวอลุ่มที่เกิดขึ้นในขณะที่ราคาหุ้นลดต่ำลง
เราเรียกว่า suppy volume ถ้าราคาและปริมาณเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน
เป็นการชี้ว่า อาจเป็นแนวโน้มขาลง (bearish)ในการวิเคราะห์ทางเทคนิค
เราจะนำความสัมพันธ์ระหว่างราคาหุ้นกับวอลุ่มนี้มาช่วยในการ สนับสนุน
แนวโน้มราคา หรืออาจจะนำมาใช้เป็น สัญญานเตือน
ว่าแนวโน้มของราคาใกล้ที่จะเปลี่ยนทิศทางหรือยัง
แต่สาระในการพิจารณาประกอบกับสัญญาณทางเทคนิค
จะให้น้ำหนักมากกับการ ทะลุผ่าน ( breakout) เป็นสำคัญ
เป็นการชี้ให้เห็นว่าพลังผลักดันของแนวโน้ม ขึ้น หรือ ลง มีพลังส่งที่สูงกว่า
อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วจะมีหลักเกณฑ์ในการสังเกตุความสัมพันธ์ระหว่าง
ราคาหุ้น กับ วอลุ่ม ดังนี้
ความสัมพันธ์ระหว่าง ราคา กับ วอลุ่ม ความสัมพันธ์ในแง่บวก
1.เมื่อราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงเวลาก่อนและปริมาณการซื้อขาย(วอลุ่ม)
ปรับตัวสูงขึ้นตาม จะเป็นการสนับสนุนการขึ้นของราคาหุ้น
2.เมื่อราคาหุ้นที่พุ่งสูงขึ้นมาช่วงหนึ่ง ต่อมามีการปรับตัวลดลง(ทางเทคนิค)
ให้สังเกตุปริมาณการซื้อขาย(วอลุ่ม) ถ้าปรับตัวลดลงตามด้วย
จะแสดงถึงการลดลงชั่วคราวของราคาก่อนที่จะมีการ ดีดกลับ ของราคาอีกครั้งหนึ่ง
3.การขายอย่างตื่นตระหนก (panic selling)
ถ้าเกิดขึ้นจากราคาที่ลดต่ำลงมาแล้วเป็นระยะเวลาพอสมควร
และต่อมาราคามีลักษณะเร่งการ ตกดิ่ง อย่างรุนแรงในขณะที่ วอลุ่ม
กลับเพิ่มมากขึ้น ในทางเทคนิคเรียกว่า วิกฤตการขาย (selling climax)
นี้คือจุดจบของแนวโน้มขาลง หรือ bear market
ความสัมพันธ์ระหว่าง ราคา กับ วอลุ่ม ความสัมพันธ์ในแง่ลบ
1.เมื่อราคาปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงเวลาก่อน แต่ปริมาณการซื้อขาย(วอลุ่ม)
กลับลดลง จะเป็นสัญญาณ ค้าน การขึ้นของราคา
2.เมื่อราคาลดลงมาแล้วช่วงหนึ่ง ต่อมามีการปรับตัวขึ้น(ทางเทคนิค)
ให้สังเกตุปริมาณการซื้อขาย(วอลุ่ม)หากลดลงสวนทางการเพิ่มขึ้นของราคา
จะเป็นสัญญาณลบ และบ่งชี้ว่าในไม่ช้าจะมีการปรับตัวลดลงของราคาอีกครั้ง
3.เมื่อราคาวิ่งขึ้นกลับไปที่จุดสูงสุดเก่า แต่ปริมาณการซื้อขาย(วอลุ่ม) มีไม่มากพอ
(วอลุ่มไม่หนุน) เป็นสัญญาณเตือนในทางลบ
4.ถ้าราคาสูงขึ้นเป็นระยะเวลานาน และถ้ามาถึงจุดหนึ่งที่ราคาขยับขึ้นเล็กน้อย
แต่วอลุ่มกลับยังคงสูงมาก เป็นสัญญาณเตือนว่ามีการระบายหุ้นออกในลักษณะ
โยนหุ้น เกิดขึ้น หรือมีการซื้อขายกันระหว่างกลุ่ม เพื่อไม่ให้ราคาตก
สัญญาณนี้จะบอกว่าในไม่ช้าจะมีการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มจากขาขึ้นมาเป็นแนวโน้มขาลง
5.เมื่อราคากับวอลุ่มขึ้นไปด้วยกันอย่างช้าๆ จนถึงระดับหนึ่งแล้วราคาหุ้น
กลับทะยานขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยพบว่ามีวอลุ่มเพิ่มขึ้นสูงมากกว่าผิดปกติ
และหลังจากนั้นราคาเริ่มลดต่ำลง จะถือว่า ณ จุดนั้น เป็นการเปลี่ยนแนวโน้มจากขึ้นเป็นลง
การตกลงของราคาจะรุนแรงเพียงใด ขึ้นอยู่กับราคาและขนาดของวอลุ่มที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้
ที่มา:thaistockinvestor
แสดงความคิดเห็น
แนะนำวิธีดูโวลุ่มด้วยค่ะ