สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 34
ขอตอบตามนี้นะครับ
1. การครอบครองปรปักษ์ 10 ปี ใช้ได้กับที่ดินที่มี "กรรมสิทธิ์" เท่านั้น หมายถึง "โฉนดเท่านั้น"
ใช่ครับ
2. นส.3 ใช้เงื่อนไขครอบครองปรปักษ์ไม่ได้ เพราะ "ไม่ใช่กรรมสิทธิ์" แต่เป็น "สิทธิครอบครอง" ซึ่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367 ระบุว่า "การเข้าครอบครองที่ดินนั้น(นส.3)ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของและเปิดเผยจนครบ 1 ปี เขาก็จะได้สิทธิครอบครอง"
ใช่ครับ
แต่กรณีของคุณเป็นกรณี ตาม ม.1377,1378 คือผู้ขายได้ขายที่ดิน น.ส.3ให้คุณแต่ไม่ได้ไปจดทะเบียนเมื่อคุณได้เข้าครอบครองที่ดินดังกล่าว
ถือว่าผู้ขายได้สละการครอบครองที่ดินดังกล่าวแล้ว เมื่อคุณเข้าครอบครองที่ดินคุณจึงได้สิทธิครอบครอง
การที่คุณจะเสียสิทธิครอบครองนั้นคุณจะต้องถูกแย่งการครอบครองด้วยเจตนาแย่งการครอบครองและเปิดเผย1ปีตามมาตรา 1367
3. เมื่อนายอุง แอบซื้อที่ดิน นส.3 กับนายปรี และนายปรียอมรับในชั้นศาลว่า ได้ขายให้กับพ่อผมก่อนแล้วจริง ศาลชั้นต้นก็พิจารณาว่าจริง ฉนั้น สัญญาซื้อขายระหว่างนายอุงกับนายปรี จึงสมควรให้เป็น "โมฆะ" เพราะพ่อผมทำกินโดยเปิดเผยมากว่า 20 ปี
ผมไม่รู้ว่าคุณตั้งประเด็นฟ้องว่าอย่างไรบ้างเพราะการที่จะอุทธรณ์ได้นั้นคือต้องเป็น ประเด็นเดิม(ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันในศาลชั้นต้น)
การที่จะอุทธรณ์ว่าการโอน น.ส.3ไม่ชอบนั้นก็ต้องมีประเด็นเรื่องการโอน น.ส.3 ไม่งั้นก็อุทธรณ์ประเด็นนี้ไม่ได้
ดูจากที่คุณเล่ามาแล้วแทบไม่มีทางจะที่จะอุทธรณ์ได้เลยเพราะไม่ได้ตั้งประเด็นไว้
แม้นายปรียอมรับในชั้นศาลว่า ได้ขายให้กับพ่อคุณก่อนแล้วจริง กรณีนี้คุณไม่ได้ฟ้องเพิกถอนศาลก็ไม่มีอำนาจสั่งให้เป็นโมฆะ
(เพราะศาลไม่มีอำนาจพิพากษาเกินคำขอ)
กรณีของคุณลองเทียบเคียงคำพิพากษาฎีกานี้ดูนะครับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 675/2550
การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับ ม. มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง แต่ขณะที่ซื้อขายกันที่ดินพิพาทยังเป็นที่ดินมือเปล่า ม. จึงมีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น เมื่อ ม. ส่งมอบที่ดินพิพาทและโจทก์เข้าครอบครองแล้ว โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองตามมาตรา 1377 และ 1378 อันเป็นการได้สิทธิครอบครองมาด้วยการครอบครองตามกฎหมาย มิใช่เป็นการได้มาตามสัญญาซื้อขาย ม. ย่อมไม่มีหน้าที่ในทางนิติกรรมที่จะต้องไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ม. ให้ดำเนินการเพิกถอนชื่อ ม. ออกจากโฉนดที่ดินพิพาท
ถ้าคุณฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขาย ถึงคดีของคุณไม่ขาดอายุความก็จะออกมาแนวนี้
คุณตั้งประเด็นต่อสู้มาผิดตั้งแต่แรกแล้วมองไม่เห็นทางที่จะอุทธรณ์แล้วจะชนะเลย
ทางแก้ที่เห็นก็มีทางเดียวให้ฟ้องนายอุง แล้วนำนายปรีมาเป็นพยานในคดีว่ามีการซื้อขายกันจริง
ลองดูคำพิพากษาฎีกานี้นะครับมีประเด็นคล้ายกันแต่ต่างกันที่ของคุณเป็นซื้อขายในคำพิพากษาฎีกาเป็นการขอออกโฉนดที่ดินแล้วนำไปจำนอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8160/2551
จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) แก่โจทก์โดยทำเป็นหนังสือ แต่ไม่ได้นำไปจดทะเบียนโอนสิทธิกันต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 4 ทวิ แต่จำเลยที่ 1 ได้แสดงเจตนาสละการครอบครองที่ดินพิพาทและโอนการครอบครองโดยส่งมอบที่ดินพิพาทแก่โจทก์และโจทก์เข้าครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตนตั้งแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขายแล้วดังนั้น การครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 จึงสิ้นสุดลง และโจทก์ย่อมได้ซึ่งสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367, 1377 และ 1378 โดยไม่จำต้องจดทะเบียนการได้มา เมื่อจำเลยที่ 1 มิใช่เจ้าของที่ดินพิพาทอีกต่อไป จึงไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปขอออกโฉนดที่ดินเป็นของตนและไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองแก่จำเลยที่ 2 อันเป็นการต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 705 เพราะผู้ที่จะจำนองทรัพย์สินได้ต้องเป็นเจ้าของในขณะนั้น การจำนองจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับจำนองสุจริตหรือไม่ เพราะสิทธิของผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่ห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทน โดยสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง นั้นต้องเป็นการได้สิทธิในที่ดินที่ได้จดทะเบียนแล้ว และสิทธิที่ได้นั้นต้องเกิดจากเอกสารสิทธิของที่ดินที่ออกโดยชอบ เมื่อการออกโฉนดที่ดินไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 2 จะอ้างสิทธิที่เกิดจากโฉนดที่ดินที่ออกโดยไม่ชอบดังกล่าวหาได้ไม่ กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 1299 วรรคสอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจำนองที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ ส่วนคำขอของโจทก์ที่ว่าให้จำเลยที่ 1 จดเปลี่ยนแปลงแก้ไขชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนจากจำเลยที่ 1 มาเป็นชื่อโจทก์นั้น เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ขอออกโฉนดโดยไม่ชอบดังที่ได้วินิจฉัยแล้วข้างต้น โจทก์จะขอให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินที่ออกโดยไม่ชอบหาได้ไม่ เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะไปดำเนินการออกโฉนดที่ดินเองตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ใน ป. ที่ดิน
1. การครอบครองปรปักษ์ 10 ปี ใช้ได้กับที่ดินที่มี "กรรมสิทธิ์" เท่านั้น หมายถึง "โฉนดเท่านั้น"
ใช่ครับ
2. นส.3 ใช้เงื่อนไขครอบครองปรปักษ์ไม่ได้ เพราะ "ไม่ใช่กรรมสิทธิ์" แต่เป็น "สิทธิครอบครอง" ซึ่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367 ระบุว่า "การเข้าครอบครองที่ดินนั้น(นส.3)ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของและเปิดเผยจนครบ 1 ปี เขาก็จะได้สิทธิครอบครอง"
ใช่ครับ
แต่กรณีของคุณเป็นกรณี ตาม ม.1377,1378 คือผู้ขายได้ขายที่ดิน น.ส.3ให้คุณแต่ไม่ได้ไปจดทะเบียนเมื่อคุณได้เข้าครอบครองที่ดินดังกล่าว
ถือว่าผู้ขายได้สละการครอบครองที่ดินดังกล่าวแล้ว เมื่อคุณเข้าครอบครองที่ดินคุณจึงได้สิทธิครอบครอง
การที่คุณจะเสียสิทธิครอบครองนั้นคุณจะต้องถูกแย่งการครอบครองด้วยเจตนาแย่งการครอบครองและเปิดเผย1ปีตามมาตรา 1367
3. เมื่อนายอุง แอบซื้อที่ดิน นส.3 กับนายปรี และนายปรียอมรับในชั้นศาลว่า ได้ขายให้กับพ่อผมก่อนแล้วจริง ศาลชั้นต้นก็พิจารณาว่าจริง ฉนั้น สัญญาซื้อขายระหว่างนายอุงกับนายปรี จึงสมควรให้เป็น "โมฆะ" เพราะพ่อผมทำกินโดยเปิดเผยมากว่า 20 ปี
ผมไม่รู้ว่าคุณตั้งประเด็นฟ้องว่าอย่างไรบ้างเพราะการที่จะอุทธรณ์ได้นั้นคือต้องเป็น ประเด็นเดิม(ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันในศาลชั้นต้น)
การที่จะอุทธรณ์ว่าการโอน น.ส.3ไม่ชอบนั้นก็ต้องมีประเด็นเรื่องการโอน น.ส.3 ไม่งั้นก็อุทธรณ์ประเด็นนี้ไม่ได้
ดูจากที่คุณเล่ามาแล้วแทบไม่มีทางจะที่จะอุทธรณ์ได้เลยเพราะไม่ได้ตั้งประเด็นไว้
แม้นายปรียอมรับในชั้นศาลว่า ได้ขายให้กับพ่อคุณก่อนแล้วจริง กรณีนี้คุณไม่ได้ฟ้องเพิกถอนศาลก็ไม่มีอำนาจสั่งให้เป็นโมฆะ
(เพราะศาลไม่มีอำนาจพิพากษาเกินคำขอ)
กรณีของคุณลองเทียบเคียงคำพิพากษาฎีกานี้ดูนะครับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 675/2550
การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับ ม. มิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง แต่ขณะที่ซื้อขายกันที่ดินพิพาทยังเป็นที่ดินมือเปล่า ม. จึงมีเพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น เมื่อ ม. ส่งมอบที่ดินพิพาทและโจทก์เข้าครอบครองแล้ว โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองตามมาตรา 1377 และ 1378 อันเป็นการได้สิทธิครอบครองมาด้วยการครอบครองตามกฎหมาย มิใช่เป็นการได้มาตามสัญญาซื้อขาย ม. ย่อมไม่มีหน้าที่ในทางนิติกรรมที่จะต้องไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ม. ให้ดำเนินการเพิกถอนชื่อ ม. ออกจากโฉนดที่ดินพิพาท
ถ้าคุณฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขาย ถึงคดีของคุณไม่ขาดอายุความก็จะออกมาแนวนี้
คุณตั้งประเด็นต่อสู้มาผิดตั้งแต่แรกแล้วมองไม่เห็นทางที่จะอุทธรณ์แล้วจะชนะเลย
ทางแก้ที่เห็นก็มีทางเดียวให้ฟ้องนายอุง แล้วนำนายปรีมาเป็นพยานในคดีว่ามีการซื้อขายกันจริง
ลองดูคำพิพากษาฎีกานี้นะครับมีประเด็นคล้ายกันแต่ต่างกันที่ของคุณเป็นซื้อขายในคำพิพากษาฎีกาเป็นการขอออกโฉนดที่ดินแล้วนำไปจำนอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8160/2551
จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) แก่โจทก์โดยทำเป็นหนังสือ แต่ไม่ได้นำไปจดทะเบียนโอนสิทธิกันต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 4 ทวิ แต่จำเลยที่ 1 ได้แสดงเจตนาสละการครอบครองที่ดินพิพาทและโอนการครอบครองโดยส่งมอบที่ดินพิพาทแก่โจทก์และโจทก์เข้าครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตนตั้งแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขายแล้วดังนั้น การครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1 จึงสิ้นสุดลง และโจทก์ย่อมได้ซึ่งสิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367, 1377 และ 1378 โดยไม่จำต้องจดทะเบียนการได้มา เมื่อจำเลยที่ 1 มิใช่เจ้าของที่ดินพิพาทอีกต่อไป จึงไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปขอออกโฉนดที่ดินเป็นของตนและไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองแก่จำเลยที่ 2 อันเป็นการต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 705 เพราะผู้ที่จะจำนองทรัพย์สินได้ต้องเป็นเจ้าของในขณะนั้น การจำนองจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับจำนองสุจริตหรือไม่ เพราะสิทธิของผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่ห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทน โดยสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง นั้นต้องเป็นการได้สิทธิในที่ดินที่ได้จดทะเบียนแล้ว และสิทธิที่ได้นั้นต้องเกิดจากเอกสารสิทธิของที่ดินที่ออกโดยชอบ เมื่อการออกโฉนดที่ดินไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 2 จะอ้างสิทธิที่เกิดจากโฉนดที่ดินที่ออกโดยไม่ชอบดังกล่าวหาได้ไม่ กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 1299 วรรคสอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจำนองที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ ส่วนคำขอของโจทก์ที่ว่าให้จำเลยที่ 1 จดเปลี่ยนแปลงแก้ไขชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนจากจำเลยที่ 1 มาเป็นชื่อโจทก์นั้น เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ขอออกโฉนดโดยไม่ชอบดังที่ได้วินิจฉัยแล้วข้างต้น โจทก์จะขอให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินที่ออกโดยไม่ชอบหาได้ไม่ เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะไปดำเนินการออกโฉนดที่ดินเองตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ใน ป. ที่ดิน
ความคิดเห็นที่ 1
เรื่องราวโดยละเอียด
ผมเป็นคนหนึ่งที่เชื่อว่า "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" เชื่อว่า "ธรรมะ ย่อมชนะ อธรรม" จนเชื่ออย่างสนิทใจว่า ที่พึ่งของคนยากคนจน คือ "ศาลสถิตยุติธรรม"
แต่แล้วสิ่งที่เชื่อ กลับไม่ใช่สิ่งที่เห็น เมื่อ "คนข้างบ้านแอบซื้อขายที่ดิน" ที่พ่อผมซื้อเอาไว้เมื่อ 23 ปีก่อน มันแจ้งความจับพ่อผม ข้อหาบุกรุกที่ดินของมัน จนสุดท้ายศาลตัดสินให้คนผิด ไม่ได้รับผิด และพ่อผมต้องเสียที่ดินด้วยเหตุผล "หมดอายุความ"
......................
เรื่องราวเริ่มขึ้นตั้งแต่ 15 กันยายน พ.ศ.2533 พ่อผมได้ทำสัญญาซื้อขายที่ดิน นส.3 กับนายปรี โดยมีการเซ็นต์ชื่อว่าได้รับเงินแล้ว และจะโอนให้ ... แต่แล้วนายปรีหายตัวไป จนได้ข่าวว่าย้ายบ้านไปจังหวัดอื่นแล้ว ไม่สามารถติดต่อได้
ที่ดิน นส.3 ที่พ่อผมซื้อเป็นที่หลังบ้าน ไม่ได้ใหญ่โตอะไร วัดได้ไม่กี่สิบ ตร.วา พ่อผมเอาไว้ปลูกผัก ปลูกต้นไม้ ปลูกกระท่อมอยู่ ล้อมรั้วลวดหนามเอาไว้ ชาวบ้านแถวนั้นรู้กันดีว่าเป็นที่ของพ่อผม
ด้วยความเป็นคนใจเย็นแนวลูกทุ่งสุดๆ วันๆนุ่งผ้าขาวม้าผืนเดียว งานอดิเรกคือ ถากหญ้า ปลูกกล้วย นอนกระท่อม เขาทำกินในที่ดินนั้นมาเป็นสิบๆปี ไม่เคยมีปัญหาอะไร เรื่องโอนที่ดินจะให้โอนอย่างไร? เมื่อไม่สามารถติดต่อนายปรีได้เลย สิ่งที่เก็บไว้อย่างดีคือ "เอกสารสัญญาซื้อขาย" เท่านั้น
ราวปี พ.ศ.2553 (20 ปีผ่านไป) .......... นายอุง คนข้างบ้านที่เห็นกันมาตั้งแต่เด็กๆ มาถามเรื่องอยากสร้างบ้านหลังบ้านเรา เป็นที่เนินเขา (ที่สาธารณะประโยชน์) ไม่มีเอกสารสิทธิ์อะไรเลย จะทำได้ไหม? ด้วยความที่พ่อผมเป็นคนใจดี เห็นใจเด็กคนหนึ่งที่ต้องเช่าบ้านอยู่ เมื่อก่อนชีวิตมันไม่มีอะไรเลย แม่มันก็ยังลำบากอยู่ พ่อผมจึงบอกไปว่าไปสร้างเถอะ ไม่มีปัญหาหรอก แล้วมันก็ไปสร้างจริงๆ แบบใหญ่โตด้วยเงินเก็บที่สะสมมาหลายปี พร้อมซื้อรถหรูคันละเกือบล้าน ในช่วงเวลาที่มันกำลังสร้างบ้าน ก็มาขอต่อน้ำ ต่อไฟบ้านเรา พอสร้างเสร็จบางวันน้ำไม่ไหลก็มาขอ อาบน้ำบ้านเรา ลูกๆมันก็มาตีแบทอยู่หน้าบ้านเรา มากิน มานอนเล่นอยู่บ้านเรา
เวลาผ่านไป 2 ปี พ.ศ.2555 .......... นายอุง "แจ้งความจับพ่อของผม" ข้อหา "บุกรุกที่ดินของมัน" มันรื้อรั้วพ่อผมออก แล้วล้อมรั้วรอบบ้านตัวเอง รวมกับที่ดิน นส.3 ที่พ่อผมซื้อไว้เมื่อ 23 ปีก่อน มันโชว์ นส.3 ให้ดูว่า มันได้ซื้อ-ขาย-โอนที่ดินตรงนี้จากนายปรี เรียบร้อย อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
ตำรวจมาดูถึงที่ บอกให้ไกล่เกลี่ยกัน จนมีเสียงตอบโต้กันรุนแรง สิ่งที่ผมกลัวไม่มีอะไรมากไปกว่า กลัวคนที่ดูนิ่งๆอย่างพี่ชายกับพ่อจะทนไม่ไหว จนสุดท้ายลูกเมียมันจะไม่ได้อยู่ในบ้านที่มันสร้าง .. แล้วเรื่องที่ดินเล็กๆจะกลายเป็นเรื่องอื่นที่น่าเศร้ายิ่งกว่า
โชคยังดีที่พ่อผมเป็นคน "ใจเย็น" เขาแยกแยะได้ว่า ทุกอย่างเป็นของนอกกาย ที่ดินก็ของนอกกาย แต่พ่อผมไม่ชอบ "ความอยุติธรรม" ตั้งแต่สมัยหนุ่มๆพ่อผมเคยประท้วงระบบโรงเรียนที่ไม่ยุติธรรมถึงขนาดขึ้นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นหน้าหนึ่ง แล้วอยู่ๆจะยอมให้เด็กเมื่อวานซืนมายึดที่ดินที่ทำกินมา 20 กว่าปีได้อย่างไร?
เราจึงปรึกษาหารือกัน แล้วรวบรวมเงินที่มีอย่างจำกัด จ้างทนายความฟ้องนายปรี พ่วงกับนายอุง ผมเองก็ต้องกดบัตรเครดิตส่งเงินไปให้ (ยังผ่อนจ่ายจนถึงตอนนี้) เพราะยังเชื่อว่า "เอกสารสัญญาซื้อขายที่ลงลายมือชื่อแล้ว" จะเป็นกุญแจสำคัญ
ทำไมนายอุง ถึงอยากได้ที่ดิน นส.3 เล็กๆตรงนี้เหลือเกิน?
ก็เพราะบ้านที่มันสร้างราคาเกือบล้านตั้งอยู่ในที่ดินสาธารณะประโยชน์ (เนินเขา)
ไม่มีเอกสารสิทธิ์อะไรเลย จะขอออกบ้านเลขที่ไม่ได้ มันจึงใช้วิธีพิเศษ
จัดการเรื่องบ้านเลขที่ ไฟฟ้า ประปา ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
แน่นอนว่า "งานนี้มีข้าราชการรู้เห็นเป็นใจ" มันจึงกล้าพูดอย่างเต็มปากว่า "ทำถูกกฎหมาย"
ศาลชั้นต้นเรียกนายปรีกับนายอุง อยู่หลายเดือนแต่ทั้ง 2 ไม่เคยมาขึ้นศาล จนครั้งที่ 4 ถ้าไม่มาจะถูกออกหมายจับ ทั้ง 2 จึงมาให้การ โดยให้ญาติตัวเองมาโกหกว่า ที่ดินตรงนี้ทำกินร่วมกับพ่อผมมาตั้งนานแล้ว พ่อผมต้องเอารูปเก่าๆที่ถ่ายไว้กับแม่ผมไปให้ศาลดูว่า มันไม่เคยเกี่ยวข้องอะไรกับที่ดินตรงนี้เลย
น่าเศร้าที่ "ทนายความหน้าเงิน" ที่เราจ้าง พยายามบอกให้เปลี่ยนเป็นการ "รับเงิน" เรื่องจะได้จบ
ให้ยอมความกัน การต่อสู้ในศาลก็ไม่มีเหตุผลดีๆไปหักล้าง ไม่มีคำตอบที่เป็นเหตุเป็นผล "สู้เขาไม่ได้"
ทั้งๆที่ศาลพยายามบอกให้นายปรี และนายอุง คืนที่ดินให้พ่อผม และแน่นอนว่า "มันไม่ยอม"
แต่เงินหน่ะหรือ คือสิ่งที่เราต้องการ เราแค่ต้องการที่ดินที่เราทำกินมา 20 กว่าปีคืน
20 ก.ย. 2556 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า แม้นายปรียอมรับว่า "การซื้อขายเกิดขึ้นจริง ผู้ขายลงลายมือชื่อจริง"
แต่ ไม่ทำการโอนที่ดินให้แล้วเสร็จภายใน 10 ปี จึงตัดสินให้ ยกฟ้อง
โดยสามารถยื่นอุทรณ์ได้ ภายในวันที่ 20 ต.ค. 2556 ที่จะถึงนี้ คำถามคือ ...............
1. ถ้าตอนนี้เราไม่มีเงินเลย จะยื่นอุทรณ์ได้อย่างไรครับ?
2. บ้านของนายอุง สร้างบนที่ดินสาธารณะประโยชน์ จะร้องเรียนได้ที่ไหน? และผลลัพท์จะเป็นอย่างไร?
3. ถ้าคดีนี้ "พ่อผมแพ้" ก็หมายความว่า ต่อไปนี้เราสามารถหลอกให้ใครก็ตามซื้อที่ดินของเราด้วยการเซ็นต์เอกสาร แล้วเราก็หนีไปอยู่ที่อื่น รอจนหมดอายุความ 10 ปี เราก็ไม่มีความผิดใดๆ สามารถเอาเอกสารสิทธิ์นั้นไปขายให้คนอื่นอีกได้ทันที ใช่หรือไม่?
ผมเป็นคนหนึ่งที่เชื่อว่า "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" เชื่อว่า "ธรรมะ ย่อมชนะ อธรรม" จนเชื่ออย่างสนิทใจว่า ที่พึ่งของคนยากคนจน คือ "ศาลสถิตยุติธรรม"
แต่แล้วสิ่งที่เชื่อ กลับไม่ใช่สิ่งที่เห็น เมื่อ "คนข้างบ้านแอบซื้อขายที่ดิน" ที่พ่อผมซื้อเอาไว้เมื่อ 23 ปีก่อน มันแจ้งความจับพ่อผม ข้อหาบุกรุกที่ดินของมัน จนสุดท้ายศาลตัดสินให้คนผิด ไม่ได้รับผิด และพ่อผมต้องเสียที่ดินด้วยเหตุผล "หมดอายุความ"
......................
เรื่องราวเริ่มขึ้นตั้งแต่ 15 กันยายน พ.ศ.2533 พ่อผมได้ทำสัญญาซื้อขายที่ดิน นส.3 กับนายปรี โดยมีการเซ็นต์ชื่อว่าได้รับเงินแล้ว และจะโอนให้ ... แต่แล้วนายปรีหายตัวไป จนได้ข่าวว่าย้ายบ้านไปจังหวัดอื่นแล้ว ไม่สามารถติดต่อได้
ที่ดิน นส.3 ที่พ่อผมซื้อเป็นที่หลังบ้าน ไม่ได้ใหญ่โตอะไร วัดได้ไม่กี่สิบ ตร.วา พ่อผมเอาไว้ปลูกผัก ปลูกต้นไม้ ปลูกกระท่อมอยู่ ล้อมรั้วลวดหนามเอาไว้ ชาวบ้านแถวนั้นรู้กันดีว่าเป็นที่ของพ่อผม
ด้วยความเป็นคนใจเย็นแนวลูกทุ่งสุดๆ วันๆนุ่งผ้าขาวม้าผืนเดียว งานอดิเรกคือ ถากหญ้า ปลูกกล้วย นอนกระท่อม เขาทำกินในที่ดินนั้นมาเป็นสิบๆปี ไม่เคยมีปัญหาอะไร เรื่องโอนที่ดินจะให้โอนอย่างไร? เมื่อไม่สามารถติดต่อนายปรีได้เลย สิ่งที่เก็บไว้อย่างดีคือ "เอกสารสัญญาซื้อขาย" เท่านั้น
ราวปี พ.ศ.2553 (20 ปีผ่านไป) .......... นายอุง คนข้างบ้านที่เห็นกันมาตั้งแต่เด็กๆ มาถามเรื่องอยากสร้างบ้านหลังบ้านเรา เป็นที่เนินเขา (ที่สาธารณะประโยชน์) ไม่มีเอกสารสิทธิ์อะไรเลย จะทำได้ไหม? ด้วยความที่พ่อผมเป็นคนใจดี เห็นใจเด็กคนหนึ่งที่ต้องเช่าบ้านอยู่ เมื่อก่อนชีวิตมันไม่มีอะไรเลย แม่มันก็ยังลำบากอยู่ พ่อผมจึงบอกไปว่าไปสร้างเถอะ ไม่มีปัญหาหรอก แล้วมันก็ไปสร้างจริงๆ แบบใหญ่โตด้วยเงินเก็บที่สะสมมาหลายปี พร้อมซื้อรถหรูคันละเกือบล้าน ในช่วงเวลาที่มันกำลังสร้างบ้าน ก็มาขอต่อน้ำ ต่อไฟบ้านเรา พอสร้างเสร็จบางวันน้ำไม่ไหลก็มาขอ อาบน้ำบ้านเรา ลูกๆมันก็มาตีแบทอยู่หน้าบ้านเรา มากิน มานอนเล่นอยู่บ้านเรา
เวลาผ่านไป 2 ปี พ.ศ.2555 .......... นายอุง "แจ้งความจับพ่อของผม" ข้อหา "บุกรุกที่ดินของมัน" มันรื้อรั้วพ่อผมออก แล้วล้อมรั้วรอบบ้านตัวเอง รวมกับที่ดิน นส.3 ที่พ่อผมซื้อไว้เมื่อ 23 ปีก่อน มันโชว์ นส.3 ให้ดูว่า มันได้ซื้อ-ขาย-โอนที่ดินตรงนี้จากนายปรี เรียบร้อย อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
ตำรวจมาดูถึงที่ บอกให้ไกล่เกลี่ยกัน จนมีเสียงตอบโต้กันรุนแรง สิ่งที่ผมกลัวไม่มีอะไรมากไปกว่า กลัวคนที่ดูนิ่งๆอย่างพี่ชายกับพ่อจะทนไม่ไหว จนสุดท้ายลูกเมียมันจะไม่ได้อยู่ในบ้านที่มันสร้าง .. แล้วเรื่องที่ดินเล็กๆจะกลายเป็นเรื่องอื่นที่น่าเศร้ายิ่งกว่า
โชคยังดีที่พ่อผมเป็นคน "ใจเย็น" เขาแยกแยะได้ว่า ทุกอย่างเป็นของนอกกาย ที่ดินก็ของนอกกาย แต่พ่อผมไม่ชอบ "ความอยุติธรรม" ตั้งแต่สมัยหนุ่มๆพ่อผมเคยประท้วงระบบโรงเรียนที่ไม่ยุติธรรมถึงขนาดขึ้นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นหน้าหนึ่ง แล้วอยู่ๆจะยอมให้เด็กเมื่อวานซืนมายึดที่ดินที่ทำกินมา 20 กว่าปีได้อย่างไร?
เราจึงปรึกษาหารือกัน แล้วรวบรวมเงินที่มีอย่างจำกัด จ้างทนายความฟ้องนายปรี พ่วงกับนายอุง ผมเองก็ต้องกดบัตรเครดิตส่งเงินไปให้ (ยังผ่อนจ่ายจนถึงตอนนี้) เพราะยังเชื่อว่า "เอกสารสัญญาซื้อขายที่ลงลายมือชื่อแล้ว" จะเป็นกุญแจสำคัญ
ทำไมนายอุง ถึงอยากได้ที่ดิน นส.3 เล็กๆตรงนี้เหลือเกิน?
ก็เพราะบ้านที่มันสร้างราคาเกือบล้านตั้งอยู่ในที่ดินสาธารณะประโยชน์ (เนินเขา)
ไม่มีเอกสารสิทธิ์อะไรเลย จะขอออกบ้านเลขที่ไม่ได้ มันจึงใช้วิธีพิเศษ
จัดการเรื่องบ้านเลขที่ ไฟฟ้า ประปา ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
แน่นอนว่า "งานนี้มีข้าราชการรู้เห็นเป็นใจ" มันจึงกล้าพูดอย่างเต็มปากว่า "ทำถูกกฎหมาย"
ศาลชั้นต้นเรียกนายปรีกับนายอุง อยู่หลายเดือนแต่ทั้ง 2 ไม่เคยมาขึ้นศาล จนครั้งที่ 4 ถ้าไม่มาจะถูกออกหมายจับ ทั้ง 2 จึงมาให้การ โดยให้ญาติตัวเองมาโกหกว่า ที่ดินตรงนี้ทำกินร่วมกับพ่อผมมาตั้งนานแล้ว พ่อผมต้องเอารูปเก่าๆที่ถ่ายไว้กับแม่ผมไปให้ศาลดูว่า มันไม่เคยเกี่ยวข้องอะไรกับที่ดินตรงนี้เลย
น่าเศร้าที่ "ทนายความหน้าเงิน" ที่เราจ้าง พยายามบอกให้เปลี่ยนเป็นการ "รับเงิน" เรื่องจะได้จบ
ให้ยอมความกัน การต่อสู้ในศาลก็ไม่มีเหตุผลดีๆไปหักล้าง ไม่มีคำตอบที่เป็นเหตุเป็นผล "สู้เขาไม่ได้"
ทั้งๆที่ศาลพยายามบอกให้นายปรี และนายอุง คืนที่ดินให้พ่อผม และแน่นอนว่า "มันไม่ยอม"
แต่เงินหน่ะหรือ คือสิ่งที่เราต้องการ เราแค่ต้องการที่ดินที่เราทำกินมา 20 กว่าปีคืน
20 ก.ย. 2556 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า แม้นายปรียอมรับว่า "การซื้อขายเกิดขึ้นจริง ผู้ขายลงลายมือชื่อจริง"
แต่ ไม่ทำการโอนที่ดินให้แล้วเสร็จภายใน 10 ปี จึงตัดสินให้ ยกฟ้อง
โดยสามารถยื่นอุทรณ์ได้ ภายในวันที่ 20 ต.ค. 2556 ที่จะถึงนี้ คำถามคือ ...............
1. ถ้าตอนนี้เราไม่มีเงินเลย จะยื่นอุทรณ์ได้อย่างไรครับ?
2. บ้านของนายอุง สร้างบนที่ดินสาธารณะประโยชน์ จะร้องเรียนได้ที่ไหน? และผลลัพท์จะเป็นอย่างไร?
3. ถ้าคดีนี้ "พ่อผมแพ้" ก็หมายความว่า ต่อไปนี้เราสามารถหลอกให้ใครก็ตามซื้อที่ดินของเราด้วยการเซ็นต์เอกสาร แล้วเราก็หนีไปอยู่ที่อื่น รอจนหมดอายุความ 10 ปี เราก็ไม่มีความผิดใดๆ สามารถเอาเอกสารสิทธิ์นั้นไปขายให้คนอื่นอีกได้ทันที ใช่หรือไม่?
ความคิดเห็นที่ 27
คุณฟ้องบังคับตามสัญญาซื้อขายที่หมดอายุความใช่ไหมครับ
กรณีดังกล่าว ผมว่าคุณต้องฟ้องเพิกถอน น.ส.3
คุณต้องฟ้องว่าผู้ขาย ขายที่ดินแล้วถือว่าเป็นการสละเจตนาครอบครองที่ดิน เมื่อคุณได้เข้าครอบครองที่ดินคุณจึงได้สิทธิครอบครองที่ดิน
น.ส.3 เมื่อผู้ขายนำที่ดินไปขายต่อให้นายอุง จึงเป็นการนำไปขายโดยไม่มีสิทธิ เมื่อผู้ขายไม่มีสิทธิในที่ดิน นายอุงผู้ซื้อที่ดิน น.ส.3 จึงเป็นผู้ซื้อที่ดินจากผู้ไม่มีสิทธิในที่ดิน จึงไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดิน น.ส.3
แนะนำเปลี่ยนทนายเถอะครับ
กรณีดังกล่าว ผมว่าคุณต้องฟ้องเพิกถอน น.ส.3
คุณต้องฟ้องว่าผู้ขาย ขายที่ดินแล้วถือว่าเป็นการสละเจตนาครอบครองที่ดิน เมื่อคุณได้เข้าครอบครองที่ดินคุณจึงได้สิทธิครอบครองที่ดิน
น.ส.3 เมื่อผู้ขายนำที่ดินไปขายต่อให้นายอุง จึงเป็นการนำไปขายโดยไม่มีสิทธิ เมื่อผู้ขายไม่มีสิทธิในที่ดิน นายอุงผู้ซื้อที่ดิน น.ส.3 จึงเป็นผู้ซื้อที่ดินจากผู้ไม่มีสิทธิในที่ดิน จึงไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดิน น.ส.3
แนะนำเปลี่ยนทนายเถอะครับ
ความคิดเห็นที่ 21
หลายคนยังมาแนะนำเรื่องครอบครองปรปักษ์ กันอยู่ได้
เรื่องนี้มันอ้างครอบครองปรปักษ์ไม่ได้ เพราะ ที่ดิน นส.3 ก. มันมีเพียงสิทธิ์ครอบครองเท่านั้น
อ่านๆๆๆๆๆ คำแนะนำคนอื่นที่เค้าบอกกันบ้าง ไม่ใช่ไปต่อว่า ทำไมไม่อ้างครอบครองปรปักษ์... เซ็ง
...
เรื่องนี้ศาลชั้นต้นตัดสินไปแล้ว ทำอะไรมากไม่ได้แล้วนอกจากยื่นอุทธรณ์ฎีกาเท่านั้น
และเรื่องที่จะยื่นอุทธรณ์ต่อไปนั้น ก็ต้องเป็นเรื่องที่ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นอีกด้วย
จู่ๆจะมายกประเด็นอื่นที่ไม่ได้ต่อสู้กันในศาลชั้นต้นนั้น ไม่ได้ ยกเว้นเป็นเรื่องขอกฎหมายเกี่ยวด้วยกับความสงบฯ
ทนายตั้งฟ้องเรื่องอะไร แล้วเค้าสู้เรื่องอะไร
และสืบในประเด็นใด เค้าหักล้างประเด็นใด
ศาลชั้นต้นฟังอะไรมาบ้าง ฟังแล้วเราเห็นด้วยมั้ย
และมีอะไรที่เราควรบอกศาลอุทธรณ์ว่า ไม่ควรฟังศาลชั้นต้น
ยกมาให้หมดที่ต่อสู้กัน ยกเรื่องครอบครอง ยกเรื่องยึดถือเพื่อตนเอง
ยกเรื่องส่งมอบและสละการครอบครองกัน และยกเรื่องแย่งการครอบครอง..
การตอบตรงนี้หรือแนะนำตรงนี้ มันถูกจำกัดด้วยเรื่องที่คุณตีกันมาในศาลชั้นต้นแล้ว
ดังนั้นจะมายกเรื่องใหม่ในศาลอุทธรณ์นั้น คงไม่ได้
แล้วจะไปฟ้องใหม่ก็จะเป็นฟ้องซ้ำ ฟ้องซ้อนไปอีก
เรื่องนี้มันอ้างครอบครองปรปักษ์ไม่ได้ เพราะ ที่ดิน นส.3 ก. มันมีเพียงสิทธิ์ครอบครองเท่านั้น
อ่านๆๆๆๆๆ คำแนะนำคนอื่นที่เค้าบอกกันบ้าง ไม่ใช่ไปต่อว่า ทำไมไม่อ้างครอบครองปรปักษ์... เซ็ง
...
เรื่องนี้ศาลชั้นต้นตัดสินไปแล้ว ทำอะไรมากไม่ได้แล้วนอกจากยื่นอุทธรณ์ฎีกาเท่านั้น
และเรื่องที่จะยื่นอุทธรณ์ต่อไปนั้น ก็ต้องเป็นเรื่องที่ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นอีกด้วย
จู่ๆจะมายกประเด็นอื่นที่ไม่ได้ต่อสู้กันในศาลชั้นต้นนั้น ไม่ได้ ยกเว้นเป็นเรื่องขอกฎหมายเกี่ยวด้วยกับความสงบฯ
ทนายตั้งฟ้องเรื่องอะไร แล้วเค้าสู้เรื่องอะไร
และสืบในประเด็นใด เค้าหักล้างประเด็นใด
ศาลชั้นต้นฟังอะไรมาบ้าง ฟังแล้วเราเห็นด้วยมั้ย
และมีอะไรที่เราควรบอกศาลอุทธรณ์ว่า ไม่ควรฟังศาลชั้นต้น
ยกมาให้หมดที่ต่อสู้กัน ยกเรื่องครอบครอง ยกเรื่องยึดถือเพื่อตนเอง
ยกเรื่องส่งมอบและสละการครอบครองกัน และยกเรื่องแย่งการครอบครอง..
การตอบตรงนี้หรือแนะนำตรงนี้ มันถูกจำกัดด้วยเรื่องที่คุณตีกันมาในศาลชั้นต้นแล้ว
ดังนั้นจะมายกเรื่องใหม่ในศาลอุทธรณ์นั้น คงไม่ได้
แล้วจะไปฟ้องใหม่ก็จะเป็นฟ้องซ้ำ ฟ้องซ้อนไปอีก
แสดงความคิดเห็น
วิธี "หลอกขายที่ดิน" อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และ "ไร้ความผิด"
เรื่องราวนี้เกิดขึ้นในจังหวัด สงขลา โดยจะเล่าแบบย่อ จาก 5 รูปภาพก่อนครับ