" หยุดเขื่อน "

อยุดสร้างเขื่อนที่กำลังจะสร้างกันทั้งหมดเถิดครับ

แล้วไปสร้างกันทุกลำน้ำของภาคอิสาน  น้ำชี  น้ำมูล  น้ำสงคราม  ลำน้ำห้วยบั่งอี่ ห้วยมุก
สร้างกันให้ใหญ่ ๆ ทั่วทุกจังหวัดของภาคอิสานเลยครับ
ส่วนที่อื่น...
ที่ พวก NGO รับเงินจากนอก   เข้ามาปั้นมาปลุกชาวบ้าน
มาสร้างผลงานเพื่อรอรับเงินบริจาค
แบบที่เราเห็นกันทุกวันนี้....ดาหน้ามาต้านแล้วต้านอีก  ก่อปล่อยให้มันท่วม มันแล้งไปชั่วลูกชั่วหลานกันเต๊อะ

ใครจำเขื่อยนยักษ์ของจีนได้มั่งครับ
ว่าที่เมืองจีน
เขื่อนสามผานั้น...ผู้ตนต้องย้ายถิ่นอาศัย 1,000,000 คน
ครอบครัวต้องอพยพนับแสนครอบครัว
NGO หน้าโงของเมืองจีนเค้าไปอยู่ไหนกันหมด

แล้วเป็นไงหล่ะ  เมื่อเขื่อนเค้าเสร็จและเปิดใช้งานมันสร้างคุณาประโยชน์มากน้อยแค่ไหน
และมันคุ้มกับผลกระทบต่อป่า  ต่อชุมชน  ต่อสภาพแวดล้อมมากน้อยแค่ไหน....
ลองคิดเทียบกับเขื่อนจิ๊บ ๆ แบบแม่วงค์  และเสือเต้นของบ้านเราดูเองเหอะ...



ผมลูกอิสาน
เกิดและเติบใหญ่วัยเด็กในดินแดนอิสาน
อยู่กับความแห้งแล้งกันดาร
ต้องปรับตัวเรียนรู้ใช้ชีวิตแบบลูกอิสาน  ขุดแย้  ยิงกะปอม  ขุดแมงกุ๊ดจี่  ส่องเขียด  ส่องหาแมงอินูน

เรียนรู้หาอยู่หากินแบบลูกอิสาน

ด้วยความด้อยในด้านสภาพถูมิประเทศ
ดินขาดแร่ธาตุ สารอาหารเพาะปลูกไม่ขึ้น  อยู่กับความแร้นแค้นกันดาร
อาศัยแต่ฟ้าฝน.....เทพเทวดาจะเมตตา

ตอนผมเรียนประมาณชั้น ป.3-ป.4 ราว ๆ ปี 2525-2526
องค์มหาราชาภูมิพลพร้อมสมเด็จพระราชินี เสด็จเยี่ยมปราชาชนคนไกลปืนเที่ยง  อ.คำชะอี  จ.นครพนม ( ในสมัยนั้น )
พร้อมด้วยได้ทรงเมตตาให้มีโครงการพระราชดำริอ่างเก็บน้ำ ห้วยมุก อ.คำชะอีขึ้นมา

ในยุคนั้น
ไม่มีใครคัดค้าน
ไม่มีใครไม่เห็นด้วย

มีแค่คนดีใจว่าหลังจากนี้ สี่ห้าปีข้างหน้า
ชาวบ้าน ชาวนา จะได้อาศัยน้ำจากอ่างมาทำการเพาะปลูก  ไม่ต้องง้อน้ำฟ้าเพียงอย่างเดียว
โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยมุกนี่แหละ  ที่พลิกผืนดินของเกษตรกรชาวนา  แถวนั้นให้สามารถประกอบอาชีพได้
นาข้าวทำได้สองหน   หมดน้านา  ปลูกข้าวโพด  ปลูกพริก
นี่คือที่มาที่ไปของคำว่า ... คำชะอี พื้นที่ของความอุดมสมบูรณ์ดินดำน้ำชุ่มตลอดกาล
ดูรูปครับ


( ขอบคุณภาพของ น้องนัท ชญากร    บ้านคำชะอีนะครับ
ด้านหลังคือ  ภูผากูด ที่นี่แหละครับที่เลี้ยงผมจนเติบใหญ่มาทุกวันนี้ )

ผมเขียนกระทู้นี้
ด้วยอารมย์ประชด..แถมด้วยอาการแบบแอบงอนครับ
ว่า...
ทำไมคนไทยเราใจแคบกันจัง
ไม่เห็นความทุกข์ ความต้องการของคนในพื้นที่
ไม่เห็นประโยชน์ที่แท้จริง....ค้านเอาหน้า  ค้านตามกระแส

ผมเห็นบางคนเปรียบเทียบว่า  น้ำในเขื่อนเอาไปทำการเกษตรสร้างเงินได้นิดเดียว
แต่ต้นทุนเขื่อน 10,000 ล้านบาท   เมื่อไหร่จะคุ้มทุน
นี่ไง...
คนเห็นแก่ตัว  และคิดด้านเดียว
แต่กลับไม่คิดไปว่าหากน้ำท่วม  หากแห้งแล้งมันจะสร้างมูลค่าความเสียหายเท่าไหร่
ความสุข ความทุกข์ของคนตีมูลค่าราคาเป็นเม็ดเงินเท่าไหร่....

หากอยากทราบ  คุณลองก่อกำแพงแล้วเปิดน้ำให้ท่วมบ้านคุณสัก 1.5 เมตร
แล้วคุณลองใช้ชีวิตแบบนั้นดูสัก 1 เดือน

บางท่านว่าเขื่อน ทำลายป่า...... โถ ๆๆ
ผมขอถามครับ
ว่านายทุน นายหัวกินป่าราบไปมากน้อยแค่ไหน
ลองคิดดูว่าเข้าหัวโล้น ในประเทศไทยมีกี่สิบกี่ร้อยล้านไร่
คุณลองขับรถเส้นทาง หล่มสัก ชุมแพ  รึน้ำหนาว
ว่าเขาทั้งลูกที่กลายเป็นเข้าหัวโล้นปลูกผักปลูกข้าวโพดมันสุดลูกหูลูกตาแค่ไหน....ลองตรองดู

พวกเข้าหัวโล้นพวกนี้
คนบุกรุกผิดกฏหมาย  กรมป่าไม้ไปเอาคืนมาแล้วปลูกป่าเศรษฐกิจไม่ดีกว่าหรือ
โครงการ ยางพาราล้านไร่หล่ะ
ใช่การเพิ่มพื้นที่สีเขียว  ใช่การปลูกป่าทดแทนรึไม่หล่ะ
ลองขับรถตระเวนภาคอิสานดูนะ   ท่าน NGO ในกะลาคลอบทั้งหลายว่าชาวอิสานคืนพื้นที่ป่า คืนสีเขียวให้โลกมากน้อยแค่ไหน


( รูปป่ายางพาราอิสาน  รูปนี้จากสวนพี่ชายผมเอง  เป็นสวนยางที่ปลูกต่อกับนาข้าว ที่ บ.โนนสว่าง อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร )

สุดท้าย
ขอน้อมกลับไปยังพระราชดำรัสโครงการแก้มลิงเมื่อ หลายปีก่อน
ที่พระองค์ท่านตรัสว่า  เขื่อน เปรียบเหมือนแก้มลิง
ทำแก้มลิงมารับน้ำไว้ก่อน   สักพักก็คายออกมาเหมือนเราทำเขื่อนกักน้ำไว้
ทุกคนน้อมรับ....
และรีบปฏิบัติทันที



อย่าว่าผมโหนเลยครับ
ผมขอให้รัฐบาลขอพระราชานุญาตให้เขื่อนแม่วงเปลี่ยนชื่อเป็นเขื่อน ฑีปังกร เถิดครับท่าน....
ผมว่าด้วยพระบารมีเหนือเกล้า...ทุกอย่างน่าจะมีทางออกที่ดี

นะ..แต่ถ้าคุณ ๆ ไม่เอาเขื่อนจริง ๆ
ขอให้ไปสร้างที่ อิสานบ้านเกิดผม
เอาให้มีเขื่อนใหญ่ ๆ ทุกจังหวัดเลย
รับรองว่า  ชาวอิสานจะรวยที่สุดของประเทศ จากความขยันขันแข็ง  ทำนา 2 รอบ ทำสวน 1 รอบ ...หุหุ

ขอบคุณครับ ( นาน ๆ ว่างที  บ่นยาว ๆ ตามประสาไม่ว่ากันนะครับ )
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่