สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 9
กรณีที่ จขกท. เล่ามา หลังจากที่ผมอ่านและทำความเข้าใจ
ซึ่งตามที่ผมเข้าใจก็ประมาณว่าคงจะเป็นการติดตั้งตัวกริ่งไฟฟ้าภายนอกอาคาร
และกริ่งตัวนั้นได้ดึงกระแสไฟฟ้าที่ใช้มาจากสายเมน ที่มีการเดินยึดโยงด้วยลูกถวยกระเบื้อง
โดยที่สายเมนดังกล่าว เป็นสายที่ออกมาจากด้านแรงดันต่ำของหม้อแปลง และถูกติดตั้งยึดโยงไปอาคารอื่นๆ
และกริ่งก็ถูกติดตั้งใกล้แนวที่สายเมนพาดผ่าน ผู้ที่มาติดตั้งเลยจัดการนำสายของกริ่งไปจั๊มเข้าที่สายเมนโดยตรง
ผมเข้าใจเช่นนี้ถูกต้องไหมครับ
แต่ก่อนอื่นผมก็ยังมีข้อสงสัยเพิ่มเติมคือ กริ่งของโรงเรียนที่ว่านี้ คือกริ่งไฟฟ้าสีแดงๆ ที่สมัยก่อนจะนิยมใช้กันมากในโรงเรียน
แบบนี้ใช่หรือไม่ครับ
ถ้าเป็นกริ่งตามภาพด้านบน ก็ขอถามอีกว่ามันทำงานแบบไหน ต้องให้คนไปกดสวิตซ์ทุกครั้งที่ใช้ หรือกริ่งมันดังเองอัตโนมัต
เพราะไม่ว่ามันจะทำงานเมื่อมีคนกด หรืออัตโนมัติ ยังไงเบื้องต้นแล้วมันก็จะต้องผ่านอุปกรณ์สักชิ้นหนึ่งที่ใช้ทำหน้าที่เป็นสวิตซ์
เพราะหากกริ่งมันต่อเข้ากับสายเมน L - N ตรงๆเลย กริ่งก็จะดังตลอดเวลาที่จ่ายไฟและดังจนพังไปเอง เพราะทำงานต่อเนื่องนานเกินไป
การต่อใช้งานแบบง่ายสุดคือให้คนเดินไปกด ยังไงก็จะต้องมีสวิตซ์กริ่งแบบที่ต้องกดค้าง ซึ่งตามปกติแล้วสวิตซ์ดังกล่าวจะต้องต่อ
อนุกรมกับสายเส้นมีไฟ หรือ L แต่สายอีกเส้นที่ไม่มีไฟ หรือ N จะต่อเข้ากริ่งโดยตรง
ซึ่งที่ตัวกริ่งเองจะมีกระแสไฟฟ้าเฉพาะในขณะที่สวิตซ์ถูกกดค้างเท่านั้น เมื่อปล่อยมือออกจากสวิตซ์ ก็จะไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลไปที่กริ่ง
หากจะนำกริ่งออก ก็เพียงแค่อย่าให้มีใครไปกดสวิตซ์ ตัดสายไฟที่เข้าไปในตัวกริ่งออก แล้วพันเทปไว้ที่ปลายสาย เท่านี้ก็เสร็จครับ
แต่...กรณีนี้มันที่คุณจะปฏิบัติจริงมันไม่สามารถยืนยันได้ชัวร์ 100% ว่าช่างคนเก่าจะต่อสวิตซ์ถูกสายหรือเปล่า ต้องเช็คให้ดีก่อน
สำหรับเป็นกรณีของการต่อใช้งานให้กริ่งทำงานและหยุดตามต้องการในทุกๆชั่วโมง หรือในช่วงที่เข้าเรียนและเปลี่ยนคาบระหว่างวัน
อันนี้จะต้องมีส่วนควบคุม ที่จะคอยบังคับให้การทำงานเกิดขึ้นและจบลงตามเงื่อนไข ถ้ากริ่งตัวนั้นเป็นแบบอัตโนมัติก็ต้องมีส่วนควบคุม
รายละเอียดเบื้องต้นของส่วนควบคุมพื้นฐานก่อน ขอยกตัวอย่างง่ายๆ มีอุปกรณ์ไม่ซับซ้อน ก็จะมี
Timer ตัวหลักที่จะต่อวงจรไฟฟ้าให้กับรีเลย์ที่ควบคุมกริ่ง ให้ต่อวงจรทุกๆชั่วโมง หรือทุกๆกี่นาทีก็ขึ้นกับเวลาใน 1 คาบ
Timer Delay เป็นตัวที่จะกำหนดว่า เมื่อ Timer ตัวหลักต่อวงจรแล้ว จะหน่วงเวลาเอาไว้อีกกี่วินาที/นาที แล้วจึงหยุดจ่ายไฟ
ที่เหลือก็จะเป็นพวก รีเลย์ เบรกเกอร์ หรือฟิวส์ ฯลฯ
แต่หากที่ผมกล่าวมาทั้งหมด ไม่ตรงกับสิ่งที่คุณใช้งานอยู่เลย ก็ต้องขออภัย
ที่ถามว่าจะใช้คีมตัดสายที่มีกระแสไฟฟ้าอยู่ได้หรือไม่นั้น
ก่อนอื่นต้องดูในส่วนของเครื่องมือที่คุณจะนำไปใช้งานก่อน ว่าเหมาะสมหรือไม่ เครื่องมือช่างไฟฟ้าจะต้องใช้ให้ถูกต้องเหมาะสม
ตามลักษณะของแต่ละสภาพงาน หากเป็นการทำงานในระบบไฟฟ้าแรงต่ำ 220/380 V
คีม , ไขควง ที่ใช้จะต้องเป็นคีมที่ผลิตมาเพื่อใช้ในงานไฟฟ้าเท่านั้น เพราะด้ามคีมจะได้รับการหุ้มด้วยวัสดุฉนวนที่ทนแรงดันได้ในระดับ
ที่สามารถป้องกันผู้ปฏิบัติงานไม่ให้ได้รับอันตราย ในบางครั้งก็อาจจะเลือกใช้ถุงมือกันไฟฟ้าร่วมด้วยตามสภาพงานครับ
แต่ไม่ว่าจะใช้คีมที่มีด้ามเป็นฉนวนคุณภาพดีเลิศจากต่างประเทศ หรืออย่างใดก็ตามแต่ การตัดสายทุกครั้งต้องไม่ลืมว่าตัดทีละเส้น
อย่าเผลอตัดควบทั้งสองลาย เพราะจะเกิดการลัดวงจรทันที
แต่อย่างไรก็ดี ถ้าหากมีความชำนาญในด้านงานช่างไฟฟ้าไม่มากพอ
ผมไม่แนะนำให้คุณทำการซ่อมแซมระบบไฟฟ้าด้วยตัวคุณเองแบบไม่ตัดไฟฟ้า แม้จะเป็นระบบไฟฟ้าที่เรียกว่าระบบแรงดันต่ำ 220/380 V
แต่มันก็สามารถสร้างความเสียหายและอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ การทำงานแบบไม่ตัดไฟ ต้องมีทักษะและความชำนาญที่เพียงพอ
มีความรู้ความเข้าใจในระดับหนึ่ง
ซึ่งตามที่ผมเข้าใจก็ประมาณว่าคงจะเป็นการติดตั้งตัวกริ่งไฟฟ้าภายนอกอาคาร
และกริ่งตัวนั้นได้ดึงกระแสไฟฟ้าที่ใช้มาจากสายเมน ที่มีการเดินยึดโยงด้วยลูกถวยกระเบื้อง
โดยที่สายเมนดังกล่าว เป็นสายที่ออกมาจากด้านแรงดันต่ำของหม้อแปลง และถูกติดตั้งยึดโยงไปอาคารอื่นๆ
และกริ่งก็ถูกติดตั้งใกล้แนวที่สายเมนพาดผ่าน ผู้ที่มาติดตั้งเลยจัดการนำสายของกริ่งไปจั๊มเข้าที่สายเมนโดยตรง
ผมเข้าใจเช่นนี้ถูกต้องไหมครับ
แต่ก่อนอื่นผมก็ยังมีข้อสงสัยเพิ่มเติมคือ กริ่งของโรงเรียนที่ว่านี้ คือกริ่งไฟฟ้าสีแดงๆ ที่สมัยก่อนจะนิยมใช้กันมากในโรงเรียน
แบบนี้ใช่หรือไม่ครับ
ถ้าเป็นกริ่งตามภาพด้านบน ก็ขอถามอีกว่ามันทำงานแบบไหน ต้องให้คนไปกดสวิตซ์ทุกครั้งที่ใช้ หรือกริ่งมันดังเองอัตโนมัต
เพราะไม่ว่ามันจะทำงานเมื่อมีคนกด หรืออัตโนมัติ ยังไงเบื้องต้นแล้วมันก็จะต้องผ่านอุปกรณ์สักชิ้นหนึ่งที่ใช้ทำหน้าที่เป็นสวิตซ์
เพราะหากกริ่งมันต่อเข้ากับสายเมน L - N ตรงๆเลย กริ่งก็จะดังตลอดเวลาที่จ่ายไฟและดังจนพังไปเอง เพราะทำงานต่อเนื่องนานเกินไป
การต่อใช้งานแบบง่ายสุดคือให้คนเดินไปกด ยังไงก็จะต้องมีสวิตซ์กริ่งแบบที่ต้องกดค้าง ซึ่งตามปกติแล้วสวิตซ์ดังกล่าวจะต้องต่อ
อนุกรมกับสายเส้นมีไฟ หรือ L แต่สายอีกเส้นที่ไม่มีไฟ หรือ N จะต่อเข้ากริ่งโดยตรง
ซึ่งที่ตัวกริ่งเองจะมีกระแสไฟฟ้าเฉพาะในขณะที่สวิตซ์ถูกกดค้างเท่านั้น เมื่อปล่อยมือออกจากสวิตซ์ ก็จะไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลไปที่กริ่ง
หากจะนำกริ่งออก ก็เพียงแค่อย่าให้มีใครไปกดสวิตซ์ ตัดสายไฟที่เข้าไปในตัวกริ่งออก แล้วพันเทปไว้ที่ปลายสาย เท่านี้ก็เสร็จครับ
แต่...กรณีนี้มันที่คุณจะปฏิบัติจริงมันไม่สามารถยืนยันได้ชัวร์ 100% ว่าช่างคนเก่าจะต่อสวิตซ์ถูกสายหรือเปล่า ต้องเช็คให้ดีก่อน
สำหรับเป็นกรณีของการต่อใช้งานให้กริ่งทำงานและหยุดตามต้องการในทุกๆชั่วโมง หรือในช่วงที่เข้าเรียนและเปลี่ยนคาบระหว่างวัน
อันนี้จะต้องมีส่วนควบคุม ที่จะคอยบังคับให้การทำงานเกิดขึ้นและจบลงตามเงื่อนไข ถ้ากริ่งตัวนั้นเป็นแบบอัตโนมัติก็ต้องมีส่วนควบคุม
รายละเอียดเบื้องต้นของส่วนควบคุมพื้นฐานก่อน ขอยกตัวอย่างง่ายๆ มีอุปกรณ์ไม่ซับซ้อน ก็จะมี
Timer ตัวหลักที่จะต่อวงจรไฟฟ้าให้กับรีเลย์ที่ควบคุมกริ่ง ให้ต่อวงจรทุกๆชั่วโมง หรือทุกๆกี่นาทีก็ขึ้นกับเวลาใน 1 คาบ
Timer Delay เป็นตัวที่จะกำหนดว่า เมื่อ Timer ตัวหลักต่อวงจรแล้ว จะหน่วงเวลาเอาไว้อีกกี่วินาที/นาที แล้วจึงหยุดจ่ายไฟ
ที่เหลือก็จะเป็นพวก รีเลย์ เบรกเกอร์ หรือฟิวส์ ฯลฯ
แต่หากที่ผมกล่าวมาทั้งหมด ไม่ตรงกับสิ่งที่คุณใช้งานอยู่เลย ก็ต้องขออภัย
ที่ถามว่าจะใช้คีมตัดสายที่มีกระแสไฟฟ้าอยู่ได้หรือไม่นั้น
ก่อนอื่นต้องดูในส่วนของเครื่องมือที่คุณจะนำไปใช้งานก่อน ว่าเหมาะสมหรือไม่ เครื่องมือช่างไฟฟ้าจะต้องใช้ให้ถูกต้องเหมาะสม
ตามลักษณะของแต่ละสภาพงาน หากเป็นการทำงานในระบบไฟฟ้าแรงต่ำ 220/380 V
คีม , ไขควง ที่ใช้จะต้องเป็นคีมที่ผลิตมาเพื่อใช้ในงานไฟฟ้าเท่านั้น เพราะด้ามคีมจะได้รับการหุ้มด้วยวัสดุฉนวนที่ทนแรงดันได้ในระดับ
ที่สามารถป้องกันผู้ปฏิบัติงานไม่ให้ได้รับอันตราย ในบางครั้งก็อาจจะเลือกใช้ถุงมือกันไฟฟ้าร่วมด้วยตามสภาพงานครับ
แต่ไม่ว่าจะใช้คีมที่มีด้ามเป็นฉนวนคุณภาพดีเลิศจากต่างประเทศ หรืออย่างใดก็ตามแต่ การตัดสายทุกครั้งต้องไม่ลืมว่าตัดทีละเส้น
อย่าเผลอตัดควบทั้งสองลาย เพราะจะเกิดการลัดวงจรทันที
แต่อย่างไรก็ดี ถ้าหากมีความชำนาญในด้านงานช่างไฟฟ้าไม่มากพอ
ผมไม่แนะนำให้คุณทำการซ่อมแซมระบบไฟฟ้าด้วยตัวคุณเองแบบไม่ตัดไฟฟ้า แม้จะเป็นระบบไฟฟ้าที่เรียกว่าระบบแรงดันต่ำ 220/380 V
แต่มันก็สามารถสร้างความเสียหายและอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ การทำงานแบบไม่ตัดไฟ ต้องมีทักษะและความชำนาญที่เพียงพอ
มีความรู้ความเข้าใจในระดับหนึ่ง
แสดงความคิดเห็น
การตัดสายไฟฟ้าขณะที่ยังมีกระแสไฟ
คือว่าถ้าผมใช้คีมตัดสายไฟฟ้า ตัดสายไฟขณะที่ยังมีกระแสไฟอยู่ผมจะโดนช๊อตมั้ยครับ
คือว่าผมจะย้ายกริ่งบอกเวลาที่โรงเรียนน่ะครับ แล้วของเดิมเค้าต่อจากสายเมนมาเลยครับ
ไม่ได้ต่อผ่านเบรกเกอร์มาก่อน จึงไม่มีจุดตัดไฟให้เลย หรือใครมีวิธีตัดสายที่ปลอดภัยช่วยแนะนำด้วยครับผม