แนวคิดการออกแบบปรับปรุงร้าน เพื่อป้องกันการโดนปล้น

วันที่ 24 กย ดูข่าวพบข่าวโจรปล้นธนาคาร 3 ราย ปล้นร้านทอง 2 ราย ในวันเดียวกัน
ผมสงสัยว่าร้านค้า-ธนาคาร ที่เสี่ยงต่อการปล้นของโจร ทำไมไม่คิดปรับปรุงร้านให้ยากต่อการปล้นให้มากกว่านี้
ผมเห็นร้านทองหลายร้าน เริ่มมีการทำลูกกรงตรงเคาท์เตอร์ แต่ดูแล้วมันแก้ได้ระดับต้น ๆ เพราะ
โจรยังเข้าถึงทองได้ คือถ้ามือทุบตู้กระจกได้ ก็ยังเอาทองไปได้อยู่ดี แม้ว่าจะปีนเข้าไปหลังเคาท์เตอร์ไม่ได้
แนวคิดของผมอาจจะไม่สะดวกต่อผู้ใช้บริการไปบ้างแต่น่าจะลดปัญหาการปล้นไปได้มากนะครับดังนี้

1. ทำระบบประตู ให้คนเข้า-ออกได้โดยต้องได้รับการอนุญาต
การเข้าและออก ต้องแยกประตูเข้า-ออก ถ้าจะให้กันได้สมบูรณ์ ต้องเป็นประตู 2 ชั้น โดยประตูเข้าจะเปิด
ได้ต้องให้เจ้าหน้าที่ร้านเปิดสวิทช์ให้ ทุกวันนี้โจรเข้ามาในร้านได้ง่ายเหมือนลูกค้าทั่วไปเพราะไม่มีระบบ
สกรีน โจรใส่หมวกกันน๊อค-สวมโม่ง เข้ามาในร้านได้ง่ายเกินไป ถ้ามีระบบอนุญาต เช่นมีปุ่มสั่งเปิดประตู
(เหมือนที่บริษัทหลาย ๆ แห่งทำ) จากภายในเมื่อมีคนจะเข้า ก็จะเป็นการสกรีนคนเข้าได้ระดับหนึ่ง ที่หน้า
ประตูก็ควรจะมีระบบบันทึกภาพคนเข้าอย่างชัดเจนไปเลย ถ้าใครคลุมโม่งมา ใส่หมวกกันน๊อคมา แล้วคนใน
ร้านเปิดให้ แสดงว่าคนในร้านสมคบคิดละ

ที่ว่าประตู 2 ชั้น เพื่อป้องกันการ"แอบเข้า-แอบออก" ระหว่างที่ลูกค้าเข้าออก โดยประตูชั้นที่ 2 จะเปิดได้เมื่อ
ประตูชั้น 1 ปิดแล้วเท่านั้น อย่างถ้าโจรแอบเข้ามาพร้อมลูกค้า ถ้ามีประตู 2 ชั้น ก็ยังต้านได้ กรณีการออกก็
เช่นกัน แล้วตอนออกต้องให้ร้านอนุญาตเช่นกัน แล้วต้องออกด้วยระบบ 2 ชั้นเช่นกัน ป้องกันการแอบเข้าตอนประตูออกเปิดด้วย
และยังดีต่อทางร้านด้วยเพราะสามารถตรวจสอบก่อนว่าลูกค้าทำธุระเรียบร้อย ไม่มีฉ้อฉลจึงอนุญาติให้ออกจากร้านได้

2. ระบบลูกกรง ทั้งหน้าร้านและหน้าเคาท์เตอร์
ตรงส่วนเคาท์เตอร์ ปกติเคาท์เตอร์ ต้องทำให้บุคคลภายนอกไม่สามารถเข้ามาได้อยู่แล้ว และต้องออกแบบทำ
ระบบลูกกรงให้โจรไม่สามารถทุบกระจกเองกวาดทรัพย์สินไปได้ด้วยถึงจะดี
ตรงส่วนหน้าร้าน ก็ต้องเป็นลูกกรงด้วย ถ้าเป็นกระจกอย่างเดียว ทุบแตกเข้ามาได้ ก็เสี่ยงต่อการถูกปล้นแล้ว
หนีไปได้เช่นกัน หากมีโจรปล้นคนขายแค่ก้มหลบใต้เคาท์เตอร์ ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ โจรจะโดนขังรอตำรวจมาจับ
(แต่ถ้ามีตัวประกันก็ไม่รู้ด้วยนะ)

ปล. คล้ายไปเยี่ยมคนในคุกเลยเนอะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่