ตอนนี้ภาษาถิ่นและภาษาชนกลุ่มน้อยในไทยถูกกลืนหมดหรือยังครับ

ในช่วงที่มีการสร้างรัฐชาติสยามขึ้นมาในช่วงรัชกาลที่ห้า,หก (และมีการส่งเสริมอย่างเข้มข้นในรัฐบาลของแปลก พิบูลสงคราม) ได้มีความพยายามส่งเสริมวัฒนธรรมไทยกระแสหลัก(ไทยภาคกลาง)ขึ้นเป็นวัฒนธรรมของประเทศ เช่นส่งเสริมภาษา วัฒนธรรม และค่านิยมแบบภาคกลางไปทุกพื้นที่ เพื่อให่เกิดความรู้สึกเป็น "ไทย" เหมือนกัน โดยเฉพา่ะในส่วนของภาษาที่มีการส่งเสริมให้ใช้ภาษาไทยมาตรฐานหรือภาษากรุงเทพฯ ซึ่งไม่มีปัญหากับผู้ที่ใช้ภาษากลางอยู่แล้ว(แม้ในเขตกรุงเก่าจะสำเนียงเหน่อไปบ้าง) แต่เพิ่มแรงกดดันให้กับคนในแต่ละภูมิภาคที่มีภาษาถิ่น หรือภาษาเฉพาะของตัวเอง เช่นล้านนา อีสาน ปักษ์ใต้ และเขตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมไปถึงชนกลุ่มน้อย เช่น ชาวไทยภูเขากลุ่มต่างๆ
  เลยอยากถามครับว้า ในปัจจุบันนี้ภาษาถิ่นและภาษาชนกลุ่มน้อยในไทยถูกกลืนหมดหรือยังครับ เห็นว่าในบางที่ บางโรงเรียนมีการอนุรักษ์ ฟิ้นฟูภาษาถิ่นขงตนด้วย และอยากถามครับว่า ใครในที่นี้เคยมีประสบการณ์ถูกห้ามพูดภาษาถิ่นในห้องเรียน โรงเรียนหรือในครอบครัวบ้างครับ
  โดยส่วนตัว จขกท. เอง เป็นคนภาคกลาง มองว่าการกระทำในยุคนั้นมีส่วนให้ภาษาถิ่นถูกทำลายไปมาก แต่หากมองในมุมรัฐบาลแล้วเขาอาจมองว่าเป็นการสร้างรัฐชาติให้เข้มแข็ง เลยต้องใช้วิธีที่เข้มงวดบ้าง ในยุคนี้ จขกท. มองว่าในเมื่อรัฐชาติมีแล้ว ก็ควรส่งเสริมทั้งภาษาไทยกลางไทยถิ่น รวมทั้งภาษาต่างประเทศด้วย ที่เหลือจะใช้หรือไม่ใช้ก็ขึ้นอยู่กับคนในครอบครัวของเขาแล้วครับ
  (เพื่อน จขกท. มีแม่เป็นคนเหนือ ฟังคำเมืองออกแต่พูดไม่ได้ อ่านตั๋วเมืองไม่ได้ ตอนนี้เขากลับไปเรียนที่ มช. แล้วเขาก็เริ่มพูดได้บ้างแล้ว ตอนว่างเขาก็ไปเรียนเขียนตัวอักษรล้านนาตั๋วเมืองเพิ่มด้วย)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่