... เปิดบันทึก "เกษม จาติกวณิช" จี้ สำนึก กรณ์ -- วาทะกรรม " ถ่วงความเจริญ..สร้างหนี้สินให้ลูกหลาน "

เป็นอีกครั้งที่ “กรณ์ จาติกวณิช” รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ออกมาแสดงบทบาท “กูรูเศรษฐกิจ” ด้วยการเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหลักของ “พรรคประชาธิปัตย์” ในการออกมาคัดค้าน โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้วยการออก พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโคตรงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. ….

โดย “กรณ์ จาติกวณิช” พยายามจะบอกว่า “การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม” ของ “ประเทศไทย” ครั้งนี้อาจจะทำให้ต้อง “เป็นหนี้” ไปเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 50 ปี หรือที่ “พรรคประชาธิปัตย์” ได้ผลิต “วาทกรรม” ออกมาทำลายล้างทางการเมืองว่า “สร้างหนี้สินแก่ลูกหลาน” !!!
“กรณ์ จาติกวณิช” นั้นก็คือ อดีต “ขุนคลัง” ของ “รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ผู้ซึ่งเป็นต้นเรื่อง “แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555” เนื่องจากเป็นกำลังหลักในการ ผลักดัน “พ.ร.ก.กู้เงิน” และ “พ.ร.บ.กู้เงิน” จำนวนทั้งสิ้นกว่า 8 แสนล้านบาท มาละลายในระยะเวลา 2 ปีที่ “พรรคประชาธิปัตย์” เป็นรัฐบาล
แต่ดูเหมือนว่า “กรณ์” ที่ออกมาแอ๊คชั่นเป็น “กูรูเศรษฐกิจ” ในครั้งนี้ จะลืมไปว่า “แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555” ที่ตัวเองเป็นผู้กุมบังเหียนนั้น ล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า
หลายต่อหลายโครงการถูกตรวจสอบพบการทุจริตและผิดปกติกันอย่างมโหฬาร จนกระทั่ง 1 รองนายกฯ 1 รัฐมนตรี และ 1 รัฐมนตรีช่วยฯ ต้องหลุดออกจากตำแหน่ง และอีก 1 รัฐมนตรีกับ 1 รัฐมนตรีช่วยฯ ถูกกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ตรวจสอบพบการทุจริตและส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดำเนินการทางกฎหมายต่อ แล้วก็ยังมีผู้เกี่ยวข้องอีกจำนวนมาก กำลังถูกองค์กรต่างๆ ตรวจสอบอย่างหนัก
ซึ่งการคัดค้าน “การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ” ครั้งนี้ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ “พรรคประชาธิปัตย์” ออกมาใช้วาทกรรม … “สร้างหนี้สินแก่ลูกหลาน” ในการขัดขวางความก้าวหน้าของประเทศ เหมือนที่ “พรรคประชาธิปัตย์” ในอดีตเคยทำมาครั้งหนึ่งแล้วในอดีต
โดย “กรณ์ จาติกวณิช” อาจจะกำลังลืมตรงนี้ไป หรือไม่ก็อาจจะไม่เคยสนใจศึกษาหาข้อมูลในส่วนนี้จาก “เกษม จาติกวณิช” ผู้เป็น “ลุง” แท้ๆ!
โดย “เกษม จาติกวณิช” หรือ “ซุปเปอร์เค” อดีตผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) คนแรก (เสียชีวิตแล้ว) ได้ “บันทึกความทรงจำ” เรื่อง “เขื่อนภูมิพล ประวัติศาสตร์ของการใช้เทคโนโลยี” โดยได้เผยแพร่อยู่ในเว็บไซด์ของ กฟผ.
( http://24webhost.com/portfolio/web/egat/power_p9.html ) ตอนหนึ่งว่า “…การสร้างเขื่อนภูมิพลซึ่งตอนแรกเรียกว่า เขื่อนยันฮีนั้น ตั้งใจสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ทางเกษตรกรรม แต่ที่ต้องใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วย ก็เพื่อหารายได้มาชำระหนี้ธนาคารโลก ซึ่งเราต้องกู้เงินเขามาเพื่อใช้ในการสร้างเขื่อน ไม่อย่างนั้นเราจะเอาเงินที่ไหนไปใช้หนี้เขา จะไปเก็บค่าน้ำจากชาวนาก็ไม่ได้ ต้องหารายได้จากผู้ใช้ไฟฟ้า…

… พูดถึงการสร้างเขื่อนใหญ่ขนาดนั้น เทคโนโลยีของไทยยังทำไม่ได้ ต้องจ้างบริษัทรับเหมาฝรั่งมาทำ มีการขนอุปกรณ์ต่าง ๆ ขึ้นไป เหมือนกับการตั้งเมืองที่นั่นเลย การสร้างเขื่อนภูมิพล เป็นแม่บทของการสร้าง เขื่อนต่าง ๆ ภายหลัง ซึ่งต่อมาคนไทยก็สร้างเองได้
เขื่อนภูมิพล เป็นเขื่อนคอนกรีตโค้ง ที่ใหญ่และสูงที่สุดในแถบเอเชียในยุคนั้น แม้ปัจจุบัน ก็ยังได้ชื่อว่าเป็นเขื่อนสูง แต่ไม่สูงสุดแล้ว เพราะตอนนี้ จีนกำลังสร้างเขื่อนสูงที่สุดในโลก กั้นแม่น้ำแยงซี ต้องย้ายประชาชนเป็นจำนวนล้าน ๆ คน

เขื่อนภูมิพล เริ่มสร้างในยุค จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต่อมาจนถึงจอมพลสฤษดิ์ และมาแล้วเสร็จในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร ใช้เงินกู้จากธนาคารโลก 65 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นเงินก้อนใหญ่ที่สุด ที่ธนาคารโลกปล่อยให้กู้ คิดเป็นเงินไทยตอนนั้นก็ประมาณ 1,000 กว่าล้านบาท ใช้เงินไทยอีก 700 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายโดยรวม ก็ประมาณ 2,000 ล้านบาท ซึ่งก็ถูกโจมตีว่า สร้างหนี้สินแก่ลูกหลานดังกล่าว แต่เราก็ชำระเงินเต็มจำนวนตามงวดที่กำหนดโดยไม่เคยบกพร่อง โดยใช้เงินที่ได้จากการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ลูกหลานไม่ต้องเดือนร้อนแต่ประการใด

เรื่องการกู้เงิน และการชำระคืนของ กฟผ. นั้น ก็กลายเป็นแม่บทในด้านนี้ไปเหมือนกัน ทางธนาคารโลกจะแนะนำผู้กู้ยืมในระยะต่อมา ให้ไปศึกษาการดำเนินการทางด้านนี้จาก กฟผ.

ลูงเกษมกะหลานกรณ์

ในด้านเกษตรกรรมนั้น เขื่อนภูมิพล ทำให้เกิดการทำนาได้ปีละ 2-3 ครั้ง บางทีได้ถึง 4 ครั้ง จากเดิมซึ่งเคยทำได้ปีละหน และปีใดฝนแล้งก็มีปัญหา ปีใดฝนหนัก น้ำท่วม นาก็ล่ม

การต่อต้านการสร้างเขื่อน สมัยนั้น ไม่มีการต่อต้านการสร้างเขื่อน จากประชาชน ซึ่งมีเพียงจำนวนน้อย ในบริเวณที่ต้องโยกย้ายออกไป มีแต่การต่อต้านจากทางการเมือง สมัยนั้นท่านจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี มีพรรคการเมืองหลายพรรคต้องการล้มท่าน โดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคของอาจารย์สุกิจ นิมมานเหมินทร์ ซึ่งทำการคัดค้านอย่างแรงมาก อย่างไรก็ตาม เขื่อนก็แล้วเสร็จจนได้ พระราชบัญญัติก็ผ่านออกมาแล้ว แต่หลังจากนั้นไม่นาน รัฐบาลจอมพล ป. ก็ถูกล้มโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ จนต้องหนีไปอยู่ญี่ปุ่น

การต่อต้านอีกทางหนึ่งมาจากหนังสือพิมพ์ ซึ่งขณะนั้นก็มีไม่กี่ฉบับ มีของจอมพลสฤษดิ์ อยู่ฉบับหนึ่ง ซึ่งทำการต่อต้านรุนแรงมาก โจมตีการสร้างเขื่อน เป็นการสร้างหนี้ให้แก่ลูกหลาน จะต้องใช้หนี้ต่างประเทศไปอีกกว่า 20 ปี …

… ความประทับใจ คือ การสร้างเขื่อนภูมิพลในตอนนั้น เป็นการสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ แก่ประเทศไทย ด้วยการใช้เทคโนโลยีในการสร้าง รวมทั้งการนำพลังน้ำ มาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า การเกิดรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่อย่าง กฟผ. ซึ่งก่อนนั้น ก็มีเพียงรัฐวิสาหกิจเล็ก ๆ มีการออกกฎหมายใช้เฉพาะ ก็เป็นครั้งแรกที่มีขึ้น และทำให้กิจการรุ่งเรือง เพราะไม่มีการเมืองเข้ามายุ่ง กรรมการจะถูกไล่ออกไม่ได้ นอกจากเขากินเขาโกง หรือหมดวาระ การประมูลทุกครั้งโปร่งใส จะกี่พันกี่หมื่นล้าน ไม่ต้องผ่านรัฐมนตรี ทำกันเอง เสนอรัฐมนตรีแต่เพียงว่า ปีนี้จะใช้เท่าไร…”
ชัดเจนว่า “เกษม จาติกวณิช” ผู้เป็น “ลุงแท้ๆ” ของ “กรณ์ จาติกวณิช” บันทึกเอาไว้ว่า “พรรคประชาธิปัตย์” คือผู้ขัดขวางการสร้างสร้างเขื่อนครั้งนั้น
และเป็น “พรรคประชาธิปัตย์” ก็เป็นผู้ใช้ “วาทกรรมทางการเมือง”ว่า “สร้างหนี้สินแก่ลูกหลาน” ในการ “ทำลาย” ผู้เกี่ยวข้องและผู้ผลักดัน
ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว เมื่อเขื่อนได้รับการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ “ลูกหลาน” ก็ไม่มีใคร เดือดร้อนจากการเป็น “หนี้สิน” แต่ “ลูกหลานไทย” ทุกคนกลับได้ใช้ประโยชน์กันถ้วนทั่ว ทั้งเรื่องของการกักเก็บน้ำกิน-น้ำใช้ ไปจนถึง การผลิตกระแสไฟฟ้า และสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ สร้างรายได้ให้กับประชาชนคนไทย
แล้ววันนี้ “พรรคประชาธิปัตย์” และ “กรณ์ จาติกวณิช” ที่กำลังใช้วาทกรรม “สร้างหนี้สินแก่ลูกหลาน” อีกครั้ง นั้นคงต้องหาหนทางกลับไปถาม “เกษม จาติกวณิช” ว่า สมเหตุ สมผล และที่สำคัญคือสมควรหรือไม่ ???

http://www.phranakornsarn.com/democrat/1170.html
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่