ฮอลลีวูดสร้าง ’อุลตร้าแมน’ หลังแน่ชัดลิขสิทธิ์เป็นของไทย
แอลเอ (สยามทาวน์ยูเอส) : “สมหมาย ปัทมคันธิน” ดึงผู้สร้างภาพยนตร์จากอเมริกา พบ “สมโพธิ แสงเดือนฉาย” เพื่อเจรจาซื้อสิทธิ์ “อุลตร้าแมน” มาสร้างเป็นภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ พร้อมนำหนังเก่าของ “ไชโยภาพยนตร์” สองเรื่องคือ “ยักษ์วัดแจ้งพบจัมโบ้เอ” และ “จระเข้” มาปรับโฉมใหม่ทั้งภาพและเสียง พร้อมฉายอีกครั้งในระบบ “3ดี"
นายสมหมาย ปัทมคันธิน อดีตประธานสภาหอการค้าไทยแห่งแคลิฟอร์เนีย เปิดเผยสยามทาวน์ฯ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ตน ในฐานะตัวแทนของนายสมโพธิ แสงเดือนฉาย ได้นำนายบาแบ็ค มอนทามีดี้ ผู้บริหารของบริษัท Aufarin Advisory Group ซึ่งเป็นบริษัทเกี่ยวกับการลงทุน (Investment and Holding) ในอริโซน่า ไปพบกับนายสมโพธิ แสงเดือนฉาย เมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เพื่อลงนามในสัญญาซื้อขายภาพยนตร์ของบริษัท ไชโยภาพยนตร์ มาปรับปรุงเป็นระบบ เอชดี และ 3ดี
“อุลตร้าแมนมันดังมาก แม้แต่นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เขาถามว่ามีใครเป็นฮีโร่ เขาบอกว่าอุลตร้าแมน จริงๆ ผมคุยกับคุณสมโพธิเรื่องนี้มาตั้งแต่สี่ปีที่แล้ว เพราะคุณสมโพธิเขาอยากจะให้อุลตร้าแมนได้กลายเป็นหนังฮอลลีวูด แต่ตอนนั้นทำอะไรไม่ได้เพราะเรื่องยังไม่จบ ไม่มีใครกล้า แต่พอเรื่องจบแล้ว ก็มีคนสนใจที่จะเข้ามาลงทุนแล้ว คุยกันว่าจะสร้างเป็นหนังใหญ่ แบบเดียวกับซูเปอร์แมน สไปเดอร์แมนเลย ออกแบบโปสเตอร์อะไรมาให้ดูแล้วด้วย”
นายสมหมาย ปัทมคันธิน กล่าวด้วยว่า การเจรจาเพื่อนำลิขสิทธิ์ของอุลตร้าแมนมาสร้างเป็นภาพยนตร์ฮอลลีวูดนั้น ลุล่วงไปแล้วกว่า 70 เปอร์เซ็นต์
“เหลือแค่คุยกันเรื่องเงิน จะแบ่งกันยังไง เพราะคนทำต้องเอาเงินมาวางพอสมควร อย่าลืมว่าเราไม่ได้คุยเรื่องหนังอย่างเดียว แต่คุยเรื่อง merchandise (สินค้าที่เกี่ยวข้อง) ด้วย พวกตุ๊กตุ่นตุ๊กตาอะไรต่างๆ ทั่วโลกนี่ว่ากันเป็นพันล้านนะ ขายของพวกนี้รวยกว่าทำหนังอีก แต่ยังไงก็คงเร็วๆ นี้แหละ เพราะเขาก็อยากจะเร่งทำในช่วงที่ตลาดยังสนใจหนังแนวซูเปอร์ฮีโร่อยู่”
นอกจากการนำอุลตร้าแมนมาสร้างเป็นภาพยนตร์ฮอลลีวูดแล้ว นายสมหมาย ปัทมคันธิน ยังเปิดเผยด้วยว่า มีการนำซีรีย์อุลตร้าแมน จำนวน 196 ตอน รวมถึงภาพยนตร์สองเรื่องของไชโยภาพยนตร์ คือ “ยักษ์วัดแจ้งพบจัมโบ้เอ” และ “จระเข้” มาปรับปรุงทั้งภาพและเสียงให้เป็นระบบดิจิตอล 3ดี สำหรับเสนอขายให้ผู้สนใจในอเมริกา และทั่วโลกด้วย
ส่วนสาเหตุที่เลือกภาพยนตร์ไทยสองเรื่องนี้นั้น นายสมหมาย ปัทมคันธิน กล่าวว่า เรื่องจระเข้ มีความเป็นสากล เพราะเป็นเรื่องของจระเข้ยักษ์ที่ออกมาอาละวาด ใครดูก็เข้าใจ ส่วนยักษ์วัดแจ้งนั้น ตนมองว่าเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั่วโลกดีอยู่แล้ว
นอกจากนี้ อดีตประธานสภาหอการค้าไทยแห่งแคลิฟอร์เนียภาคใต้ ยังเปิดเผยด้วยว่า เร็วๆ นี้ ตนจะนำลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ซามูไรของดาราผู้ยิ่งใหญ่ โตชิโร่ มิฟูเน่ (Samurai Trilogy ปี 1954-1956) มาเสนอขายในอเมริกาด้วย
“เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะเจ้าของโตโฮของญี่ปุ่น เขาไม่ให้สิทธิ์หนังซามูไรของ โตชิโร มิฟูเน่ กับใครเลย เขารวยมาก แต่คุณสมโพธิ ไปเอามาได้ เพราะสนิทกัน เป็นเพื่อนกินเหล้าด้วยกันมาตั้งแต่หนุ่มๆ คุณสมโพธิก็ให้ผมมาทำตลาดให้ เชื่อว่าขายได้ เพราะโตชิโร่ มิฟูเน่ ดังมากที่นี่ ดังตั้งแต่เรื่องเจ็ดเซียนซามูไร เคยมาเล่นหนังฮอลลีวูดด้วย เดี๋ยวจะเอามาทำเป็น 3ดี ให้หมด เพราะสิ้นปีนี้ 3ดี มันดูได้หมดแล้ว ทั้งทีวี ทั้งสมาร์ทโฟน” นายสมหมาย ปัทมคันธิน กล่าว
ทั้งนี้ นายสมโพธิ แสงเดือนฉาย ผู้ก่อตั้งบริษัท ไชโยภาพยนตร์ มีผลงานภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น ท่าเตียน (ปี 2516 สมบัติ เมทะนี, สุภัค ลิขิตกุล), ยักษ์วัดแจ้งพบจัมโบ้เอ (ปี 1974 ไชยา สุริยัน, อรัญญา นามวงศ์), หนุมานพบ 7 ยอดมนุษย์ (ปี 1974 ยอดชาย เมฆสุวรรณ, ภาวนา ชนะจิต), หนุมานพบ 5 ไอ้มดแดง (ปี 1975 ยอดชาย เมฆสุวรรณ, ธัญญรัตน์ โลหะนันท์), ยอดมนุษย์คอมพิวเตอร์ (1977 ยอดชาย เมฆสุวรรณ, ดวงชีวัน โกมลเสน), จระเข้ (1980 นาท ภูวนัย, เถียนหนี) ฯลฯ ซึ่งภาพยนตร์แนวแฟนตาซีแบบไทยๆ เหล่านี้ หลายเรื่องได้กลายเป็นภาพยนตร์ประเภท Cult Movies ที่มีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก
ส่วนเรื่องราวที่ทำให้นายสมโพธิ แสงเดือนฉาย กลายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของอุลตร้าแมนนั้น เริ่มขึ้นตั้งแต่สมัยที่เขาทำงานอยู่กับธนาคารออมสิน (ตำแหน่งช่างถ่ายภาพยนตร์) ถูกส่งไปฝึกงานที่โรงถ่ายโตโฮ ของญี่ปุ่น และมีโอกาสมอบตัวเป็นศิษย์ของอาจารย์ เอยิ ซึบูราย่า ผู้ควบคุมโรงถ่ายโตโฮ ในเวลานั้น เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคการสร้างภาพยนตร์
ช่วงเวลาดังกล่าว อาจารย์เอยิ ซึบูราย่า กำลังสร้างฮีโร่ชื่ออุลตร้าแมนอยู่ มีการออกแบบหน้าตาของอุลตร้าแมนหลายเวอร์ชั่น ก่อนจะลงตัวที่เวอร์ชั่นของสมโพธิ แสงเดือนฉาย ซึ่งใช้ภาพของพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ชื่อพระอัฏฐารศ แห่งวัดมหาธาตุ จ.สุโขทัย เป็นต้นแบบ
ส่วนการที่นายสมโพธิ แสงเดือนฉาย กลายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของอุลตร้าแมน นั้น เป็นเพราะบุตรชายของอาจารย์เอยิ ซึบูราย่า ชื่อ โนโบรุ ซึบูราย่า ซึ่งรับช่วงตำแหน่งผู้บริหารบริษัทซึบูราย่าต่อจากพ่อ ได้ยื่นข้อเสนอโอนลิขสิทธิ์อุลตร้าแมน (นอกประเทศญี่ปุ่น) ให้กับนายสมโพธิ แสงเดือนฉาย เพื่อค้ำประกันเงินกู้ 16.2 ล้านเยน โดยเขาจะนำไปสร้างภาพยนตร์เรื่อง จัมโบ้เอ และเมื่อจัมโบ้เอ ออกฉายในญี่ปุ่นและประสบความสำเร็จอย่างสูงในปี 1976 นายโนโบรุ ได้ปฏิเสธที่จะคืนเงินต้น แต่ยินยอมให้นายสมโพธิ แสงเดือนฉาย ถือลิขสิทธิ์ของอุลตร้าแมน (นอกประเทศญี่ปุ่น) ต่อไป เพราะในเวลานั้น อุลตร้าแมนยังไม่เป็นที่รู้จักนอกประเทศญี่ปุ่นมากนัก
แต่หลังจากที่อุลตร้าแมน กลายเป็นซูเปอร์ฮีโร่จากเอเชียที่ทั่วโลกรู้จัก และสามารถทำเงินได้มหาศาลจากลิขสิทธิ์สินค้าที่เกี่ยวข้อง ทำให้ลูกชายของ นายโนโบรุ ซึบูราย่า ซึ่งรับช่วงบริษัทซึบูราย่า โปรดักชั่น ต่อจากพ่อ ได้ฟ้องร้องต่อศาล ทั้งในญี่ปุ่นและประเทศไทย ในปี 1997 อ้างว่าสัญญาลิขสิทธิ์ของอุลตร้าแมนที่นายสมโพธิ แสงเดือนฉาย ถืออยู่นั้นเป็นของปลอม จึงเกิดการต่อสู้ในชั้นศาลขึ้น
โดยการต่อสู้คดีของทั้งสองฝ่ายกินเวลานานหลายปี ก่อนที่ศาลสูงของญี่ปุ่นจะมีคำตัดสินเมื่อปี 2003 ว่าลิขสิทธิ์อุลตร้าแมน เป็นของนายสมโพธิ แสงเดือนฉาย จริง ขณะที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง (ของไทย) ตัดสินให้นายสมโพธิ แสงเดือนฉาย เป็นฝ่ายแพ้คดีเมื่อปี 2007 ต้องชำระค่าเสียหายให้กับโจทก์เป็นจำนวนเงิน 10 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี
ในปี 2007 นายสมโพธิ แสงเดือนฉายฟ้องเรียกค่าเสียหายต่อศาลญี่ปุ่น ระบุในคำฟ้องว่าบริษัทซึบูราย่า โปรดักชั่น เพิกเฉยต่อคำสั่งศาลสูงของญี่ปุ่น โดยการทำสินค้าอุลตร้าแมน ออกเผยแพร่นอกประเทศญี่ปุ่น และล่าสุด เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2010 ผู้พิพากษามีคำสั่งให้ ซึบูราย่า โปรดักชั่น จ่ายค่าเสียหายแก่ฝ่ายนายสมโพธิ แสงเดือนฉาย เป็นจำนวนเงิน 16.36 ล้านเยนนับตั้งแต่วันที่ 26 เดือนมิถุนายน 2006 พร้อมดอกเบี้ยปีละ 5 เปอร์เซ็นต์จนกว่าจะชำระหมด
ครั้งนั้น นายสมโพธิ แสงเดือนฉาย ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนที่ประเทศไทยว่าคำพิพากษาของศาลสูงญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2010 นั้น เป็นอีกหนึ่งชัยชนะของเขา โดยก่อนหน้านั้น ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศของไทย ก็ได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2010 ให้ยกฟ้องในคดีที่บริษัทซึบูราย่า ของญี่ปุ่นฟ้องร้องมาตั้งแต่ปี 2004 กล่าวหาว่าตนนำคาแร็กเตอร์อุลตร้าแมน ไปใช้กับผลิตภัณฑ์ เคเอฟซี โดยบอกว่าไม่มีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะศาลสูงญี่ปุ่นตัดสินให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดี และเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์อุลตร้าแมนแล้ว
นอกจากนั้น ในปี 2009 ศาลอาญารัชดาฯ ที่ได้มีคำพิพากษาที่ 1484/2552 เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2009 ให้ยกฟ้องคดีที่บริษัท ซึบูราย่า โปรดักชั่น จำกัด (โตเกียว) เป็นโจทก์ฟ้องนายสมโพธิ แสงเดือนฉาย ว่า ใช้และอ้างเอกสารสิทธิ์ปลอม ร่วมกันนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ โดยอ้างถึงคำพิพากษาของศาลสูงญี่ปุ่นเมื่อปี 2003 เช่นกัน
ทั้งนี้ ภายหลังจากที่ศาลสูงของญี่ปุ่น มีคำพิพากษาว่านายสมโพธิ แสงเดือนฉาย เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของอุลตร้าแมน เมื่อปี 2003 นั้น นายสมโพธิ แสงเดือนฉาย ได้มอบให้บริษัทยูเอ็มซี คอร์ปอเรชั่น ในญี่ปุ่น เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของอุลตร้าแมน ซึ่งในช่วงนั้น มีการร่วมทุนสร้างซีรีย์ชุดอุลตร้าแมน ระหว่างไทยและจีนขึ้น ใช้ชื่อขณะนั้นว่าโปรเจ็กซ์อุลตร้าแมน มีดาราชื่อดังของจีน เจิ้งอี้เจี้ยน (Ekin Cheng) เป็นอุลตร้าแมน อีลิท ประกบกับนักแสดงไทย เช่น เรย์ แมคโดนัลด์ เป็น ดาร์ค อุลตร้าแมน และแมทธิว ดีน เป็น อุลตร้าแมน มิลเลเนียม และมี พอลล่า เทเลอร์ ร่วมแสดงด้วย แต่หลังจากถ่ายทำไปได้ระยะหนึ่งก็เกิดปัญหาขึ้น เป็นเหตุให้ซีรีย์เรื่องดังกล่าวชะงักงันจนถึงวันนี้
โดยนายสมหมาย ปัทมคันธิน ตัวแทนของนายสมโพธิ แสงเดือนฉาย ในตลาดอเมริกา กล่าวว่าที่ผ่านมา ยังมีความสับสนอยู่มากว่าลิขสิทธิ์อุลตร้าแมนเป็นของใครกันแน่ ซึ่งความสับสนดังกล่าว ทำให้ผู้สร้างภาพยนตร์จากอเมริกา ไม่กล้าตัดสินใจซื้ออุลตร้าแมนมาสร้างเป็นภาพยนตร์ ทั้งที่ในช่วงที่ผ่านมา ตลาดภาพยนตร์กำลังให้ความสนใจกับเหล่าซูเปอร์ฮีโร่ อย่างมาก
“คุณสมโพธิฝากมาด้วยว่า อยากให้ช่วยกันบอกต่อๆ ไปว่าเราชนะคดีแล้ว คดีสิ้นสุดแล้วว่าคนไทยเป็นผู้ถือครองสิทธิ์ของอุลตร้าแมนอย่างถูกต้อง หากอุลตร้าแมนกลายเป็นภาพยนตร์ฮอลลีวูดจริงๆ อย่างที่คิด ก็จะสร้างชื่อเสียงให้กับไทย สนับสนุนการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมสร้างภาพยนตร์ของไทยด้วย” นายสมหมาย ปัทมคันธิน กล่าว.
ขอบคุณที่มาจาก :
http://www.siamtownus.com/New-1109000202-1.aspx
จากข่าวนี้ บอกว่า "ลิขสิทธิ์อุลตร้าแมน" นอกประเทศญี่ปุ่นเป็น "ของคนไทย" เรียบร้อยแล้ว คุณคิดเห็นอย่า
แอลเอ (สยามทาวน์ยูเอส) : “สมหมาย ปัทมคันธิน” ดึงผู้สร้างภาพยนตร์จากอเมริกา พบ “สมโพธิ แสงเดือนฉาย” เพื่อเจรจาซื้อสิทธิ์ “อุลตร้าแมน” มาสร้างเป็นภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ พร้อมนำหนังเก่าของ “ไชโยภาพยนตร์” สองเรื่องคือ “ยักษ์วัดแจ้งพบจัมโบ้เอ” และ “จระเข้” มาปรับโฉมใหม่ทั้งภาพและเสียง พร้อมฉายอีกครั้งในระบบ “3ดี"
นายสมหมาย ปัทมคันธิน อดีตประธานสภาหอการค้าไทยแห่งแคลิฟอร์เนีย เปิดเผยสยามทาวน์ฯ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ตน ในฐานะตัวแทนของนายสมโพธิ แสงเดือนฉาย ได้นำนายบาแบ็ค มอนทามีดี้ ผู้บริหารของบริษัท Aufarin Advisory Group ซึ่งเป็นบริษัทเกี่ยวกับการลงทุน (Investment and Holding) ในอริโซน่า ไปพบกับนายสมโพธิ แสงเดือนฉาย เมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เพื่อลงนามในสัญญาซื้อขายภาพยนตร์ของบริษัท ไชโยภาพยนตร์ มาปรับปรุงเป็นระบบ เอชดี และ 3ดี
“อุลตร้าแมนมันดังมาก แม้แต่นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เขาถามว่ามีใครเป็นฮีโร่ เขาบอกว่าอุลตร้าแมน จริงๆ ผมคุยกับคุณสมโพธิเรื่องนี้มาตั้งแต่สี่ปีที่แล้ว เพราะคุณสมโพธิเขาอยากจะให้อุลตร้าแมนได้กลายเป็นหนังฮอลลีวูด แต่ตอนนั้นทำอะไรไม่ได้เพราะเรื่องยังไม่จบ ไม่มีใครกล้า แต่พอเรื่องจบแล้ว ก็มีคนสนใจที่จะเข้ามาลงทุนแล้ว คุยกันว่าจะสร้างเป็นหนังใหญ่ แบบเดียวกับซูเปอร์แมน สไปเดอร์แมนเลย ออกแบบโปสเตอร์อะไรมาให้ดูแล้วด้วย”
นายสมหมาย ปัทมคันธิน กล่าวด้วยว่า การเจรจาเพื่อนำลิขสิทธิ์ของอุลตร้าแมนมาสร้างเป็นภาพยนตร์ฮอลลีวูดนั้น ลุล่วงไปแล้วกว่า 70 เปอร์เซ็นต์
“เหลือแค่คุยกันเรื่องเงิน จะแบ่งกันยังไง เพราะคนทำต้องเอาเงินมาวางพอสมควร อย่าลืมว่าเราไม่ได้คุยเรื่องหนังอย่างเดียว แต่คุยเรื่อง merchandise (สินค้าที่เกี่ยวข้อง) ด้วย พวกตุ๊กตุ่นตุ๊กตาอะไรต่างๆ ทั่วโลกนี่ว่ากันเป็นพันล้านนะ ขายของพวกนี้รวยกว่าทำหนังอีก แต่ยังไงก็คงเร็วๆ นี้แหละ เพราะเขาก็อยากจะเร่งทำในช่วงที่ตลาดยังสนใจหนังแนวซูเปอร์ฮีโร่อยู่”
นอกจากการนำอุลตร้าแมนมาสร้างเป็นภาพยนตร์ฮอลลีวูดแล้ว นายสมหมาย ปัทมคันธิน ยังเปิดเผยด้วยว่า มีการนำซีรีย์อุลตร้าแมน จำนวน 196 ตอน รวมถึงภาพยนตร์สองเรื่องของไชโยภาพยนตร์ คือ “ยักษ์วัดแจ้งพบจัมโบ้เอ” และ “จระเข้” มาปรับปรุงทั้งภาพและเสียงให้เป็นระบบดิจิตอล 3ดี สำหรับเสนอขายให้ผู้สนใจในอเมริกา และทั่วโลกด้วย
ส่วนสาเหตุที่เลือกภาพยนตร์ไทยสองเรื่องนี้นั้น นายสมหมาย ปัทมคันธิน กล่าวว่า เรื่องจระเข้ มีความเป็นสากล เพราะเป็นเรื่องของจระเข้ยักษ์ที่ออกมาอาละวาด ใครดูก็เข้าใจ ส่วนยักษ์วัดแจ้งนั้น ตนมองว่าเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั่วโลกดีอยู่แล้ว
นอกจากนี้ อดีตประธานสภาหอการค้าไทยแห่งแคลิฟอร์เนียภาคใต้ ยังเปิดเผยด้วยว่า เร็วๆ นี้ ตนจะนำลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ซามูไรของดาราผู้ยิ่งใหญ่ โตชิโร่ มิฟูเน่ (Samurai Trilogy ปี 1954-1956) มาเสนอขายในอเมริกาด้วย
“เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะเจ้าของโตโฮของญี่ปุ่น เขาไม่ให้สิทธิ์หนังซามูไรของ โตชิโร มิฟูเน่ กับใครเลย เขารวยมาก แต่คุณสมโพธิ ไปเอามาได้ เพราะสนิทกัน เป็นเพื่อนกินเหล้าด้วยกันมาตั้งแต่หนุ่มๆ คุณสมโพธิก็ให้ผมมาทำตลาดให้ เชื่อว่าขายได้ เพราะโตชิโร่ มิฟูเน่ ดังมากที่นี่ ดังตั้งแต่เรื่องเจ็ดเซียนซามูไร เคยมาเล่นหนังฮอลลีวูดด้วย เดี๋ยวจะเอามาทำเป็น 3ดี ให้หมด เพราะสิ้นปีนี้ 3ดี มันดูได้หมดแล้ว ทั้งทีวี ทั้งสมาร์ทโฟน” นายสมหมาย ปัทมคันธิน กล่าว
ทั้งนี้ นายสมโพธิ แสงเดือนฉาย ผู้ก่อตั้งบริษัท ไชโยภาพยนตร์ มีผลงานภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น ท่าเตียน (ปี 2516 สมบัติ เมทะนี, สุภัค ลิขิตกุล), ยักษ์วัดแจ้งพบจัมโบ้เอ (ปี 1974 ไชยา สุริยัน, อรัญญา นามวงศ์), หนุมานพบ 7 ยอดมนุษย์ (ปี 1974 ยอดชาย เมฆสุวรรณ, ภาวนา ชนะจิต), หนุมานพบ 5 ไอ้มดแดง (ปี 1975 ยอดชาย เมฆสุวรรณ, ธัญญรัตน์ โลหะนันท์), ยอดมนุษย์คอมพิวเตอร์ (1977 ยอดชาย เมฆสุวรรณ, ดวงชีวัน โกมลเสน), จระเข้ (1980 นาท ภูวนัย, เถียนหนี) ฯลฯ ซึ่งภาพยนตร์แนวแฟนตาซีแบบไทยๆ เหล่านี้ หลายเรื่องได้กลายเป็นภาพยนตร์ประเภท Cult Movies ที่มีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก
ส่วนเรื่องราวที่ทำให้นายสมโพธิ แสงเดือนฉาย กลายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของอุลตร้าแมนนั้น เริ่มขึ้นตั้งแต่สมัยที่เขาทำงานอยู่กับธนาคารออมสิน (ตำแหน่งช่างถ่ายภาพยนตร์) ถูกส่งไปฝึกงานที่โรงถ่ายโตโฮ ของญี่ปุ่น และมีโอกาสมอบตัวเป็นศิษย์ของอาจารย์ เอยิ ซึบูราย่า ผู้ควบคุมโรงถ่ายโตโฮ ในเวลานั้น เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคการสร้างภาพยนตร์
ช่วงเวลาดังกล่าว อาจารย์เอยิ ซึบูราย่า กำลังสร้างฮีโร่ชื่ออุลตร้าแมนอยู่ มีการออกแบบหน้าตาของอุลตร้าแมนหลายเวอร์ชั่น ก่อนจะลงตัวที่เวอร์ชั่นของสมโพธิ แสงเดือนฉาย ซึ่งใช้ภาพของพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ชื่อพระอัฏฐารศ แห่งวัดมหาธาตุ จ.สุโขทัย เป็นต้นแบบ
ส่วนการที่นายสมโพธิ แสงเดือนฉาย กลายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของอุลตร้าแมน นั้น เป็นเพราะบุตรชายของอาจารย์เอยิ ซึบูราย่า ชื่อ โนโบรุ ซึบูราย่า ซึ่งรับช่วงตำแหน่งผู้บริหารบริษัทซึบูราย่าต่อจากพ่อ ได้ยื่นข้อเสนอโอนลิขสิทธิ์อุลตร้าแมน (นอกประเทศญี่ปุ่น) ให้กับนายสมโพธิ แสงเดือนฉาย เพื่อค้ำประกันเงินกู้ 16.2 ล้านเยน โดยเขาจะนำไปสร้างภาพยนตร์เรื่อง จัมโบ้เอ และเมื่อจัมโบ้เอ ออกฉายในญี่ปุ่นและประสบความสำเร็จอย่างสูงในปี 1976 นายโนโบรุ ได้ปฏิเสธที่จะคืนเงินต้น แต่ยินยอมให้นายสมโพธิ แสงเดือนฉาย ถือลิขสิทธิ์ของอุลตร้าแมน (นอกประเทศญี่ปุ่น) ต่อไป เพราะในเวลานั้น อุลตร้าแมนยังไม่เป็นที่รู้จักนอกประเทศญี่ปุ่นมากนัก
แต่หลังจากที่อุลตร้าแมน กลายเป็นซูเปอร์ฮีโร่จากเอเชียที่ทั่วโลกรู้จัก และสามารถทำเงินได้มหาศาลจากลิขสิทธิ์สินค้าที่เกี่ยวข้อง ทำให้ลูกชายของ นายโนโบรุ ซึบูราย่า ซึ่งรับช่วงบริษัทซึบูราย่า โปรดักชั่น ต่อจากพ่อ ได้ฟ้องร้องต่อศาล ทั้งในญี่ปุ่นและประเทศไทย ในปี 1997 อ้างว่าสัญญาลิขสิทธิ์ของอุลตร้าแมนที่นายสมโพธิ แสงเดือนฉาย ถืออยู่นั้นเป็นของปลอม จึงเกิดการต่อสู้ในชั้นศาลขึ้น
โดยการต่อสู้คดีของทั้งสองฝ่ายกินเวลานานหลายปี ก่อนที่ศาลสูงของญี่ปุ่นจะมีคำตัดสินเมื่อปี 2003 ว่าลิขสิทธิ์อุลตร้าแมน เป็นของนายสมโพธิ แสงเดือนฉาย จริง ขณะที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง (ของไทย) ตัดสินให้นายสมโพธิ แสงเดือนฉาย เป็นฝ่ายแพ้คดีเมื่อปี 2007 ต้องชำระค่าเสียหายให้กับโจทก์เป็นจำนวนเงิน 10 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี
ในปี 2007 นายสมโพธิ แสงเดือนฉายฟ้องเรียกค่าเสียหายต่อศาลญี่ปุ่น ระบุในคำฟ้องว่าบริษัทซึบูราย่า โปรดักชั่น เพิกเฉยต่อคำสั่งศาลสูงของญี่ปุ่น โดยการทำสินค้าอุลตร้าแมน ออกเผยแพร่นอกประเทศญี่ปุ่น และล่าสุด เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2010 ผู้พิพากษามีคำสั่งให้ ซึบูราย่า โปรดักชั่น จ่ายค่าเสียหายแก่ฝ่ายนายสมโพธิ แสงเดือนฉาย เป็นจำนวนเงิน 16.36 ล้านเยนนับตั้งแต่วันที่ 26 เดือนมิถุนายน 2006 พร้อมดอกเบี้ยปีละ 5 เปอร์เซ็นต์จนกว่าจะชำระหมด
ครั้งนั้น นายสมโพธิ แสงเดือนฉาย ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนที่ประเทศไทยว่าคำพิพากษาของศาลสูงญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2010 นั้น เป็นอีกหนึ่งชัยชนะของเขา โดยก่อนหน้านั้น ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศของไทย ก็ได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2010 ให้ยกฟ้องในคดีที่บริษัทซึบูราย่า ของญี่ปุ่นฟ้องร้องมาตั้งแต่ปี 2004 กล่าวหาว่าตนนำคาแร็กเตอร์อุลตร้าแมน ไปใช้กับผลิตภัณฑ์ เคเอฟซี โดยบอกว่าไม่มีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะศาลสูงญี่ปุ่นตัดสินให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดี และเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์อุลตร้าแมนแล้ว
นอกจากนั้น ในปี 2009 ศาลอาญารัชดาฯ ที่ได้มีคำพิพากษาที่ 1484/2552 เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2009 ให้ยกฟ้องคดีที่บริษัท ซึบูราย่า โปรดักชั่น จำกัด (โตเกียว) เป็นโจทก์ฟ้องนายสมโพธิ แสงเดือนฉาย ว่า ใช้และอ้างเอกสารสิทธิ์ปลอม ร่วมกันนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ โดยอ้างถึงคำพิพากษาของศาลสูงญี่ปุ่นเมื่อปี 2003 เช่นกัน
ทั้งนี้ ภายหลังจากที่ศาลสูงของญี่ปุ่น มีคำพิพากษาว่านายสมโพธิ แสงเดือนฉาย เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ของอุลตร้าแมน เมื่อปี 2003 นั้น นายสมโพธิ แสงเดือนฉาย ได้มอบให้บริษัทยูเอ็มซี คอร์ปอเรชั่น ในญี่ปุ่น เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของอุลตร้าแมน ซึ่งในช่วงนั้น มีการร่วมทุนสร้างซีรีย์ชุดอุลตร้าแมน ระหว่างไทยและจีนขึ้น ใช้ชื่อขณะนั้นว่าโปรเจ็กซ์อุลตร้าแมน มีดาราชื่อดังของจีน เจิ้งอี้เจี้ยน (Ekin Cheng) เป็นอุลตร้าแมน อีลิท ประกบกับนักแสดงไทย เช่น เรย์ แมคโดนัลด์ เป็น ดาร์ค อุลตร้าแมน และแมทธิว ดีน เป็น อุลตร้าแมน มิลเลเนียม และมี พอลล่า เทเลอร์ ร่วมแสดงด้วย แต่หลังจากถ่ายทำไปได้ระยะหนึ่งก็เกิดปัญหาขึ้น เป็นเหตุให้ซีรีย์เรื่องดังกล่าวชะงักงันจนถึงวันนี้
โดยนายสมหมาย ปัทมคันธิน ตัวแทนของนายสมโพธิ แสงเดือนฉาย ในตลาดอเมริกา กล่าวว่าที่ผ่านมา ยังมีความสับสนอยู่มากว่าลิขสิทธิ์อุลตร้าแมนเป็นของใครกันแน่ ซึ่งความสับสนดังกล่าว ทำให้ผู้สร้างภาพยนตร์จากอเมริกา ไม่กล้าตัดสินใจซื้ออุลตร้าแมนมาสร้างเป็นภาพยนตร์ ทั้งที่ในช่วงที่ผ่านมา ตลาดภาพยนตร์กำลังให้ความสนใจกับเหล่าซูเปอร์ฮีโร่ อย่างมาก
“คุณสมโพธิฝากมาด้วยว่า อยากให้ช่วยกันบอกต่อๆ ไปว่าเราชนะคดีแล้ว คดีสิ้นสุดแล้วว่าคนไทยเป็นผู้ถือครองสิทธิ์ของอุลตร้าแมนอย่างถูกต้อง หากอุลตร้าแมนกลายเป็นภาพยนตร์ฮอลลีวูดจริงๆ อย่างที่คิด ก็จะสร้างชื่อเสียงให้กับไทย สนับสนุนการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมสร้างภาพยนตร์ของไทยด้วย” นายสมหมาย ปัทมคันธิน กล่าว.
ขอบคุณที่มาจาก : http://www.siamtownus.com/New-1109000202-1.aspx