คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 8
วิเคราะห์ กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด (4P’s) ของยาสีฟันสมุนไพรดอกบัวคู่
กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด(4P) เน้นสร้างความแตกต่างของตัวผลิตภัณฑ์ และเนื่องจากครีมอาบน้ำดอกบัวคู่เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแนะนำผลิตภัณฑ์ ดังนั้นส่วนผสมทางการตลาดที่สำคัญที่สุดในช่วงแนะนำคือ
Promotion เพื่อสร้างการรับรู้และทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ โดยใช้การสื่อสารทางการตลาดแบบครบวงจร คือ IMC เน้นทั้ง Above the Line และ Below the Line ทั้งโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ตลอดจนส่งเสริมการขาย ด้วย Sale Promotion โดยช่วงแนะนำอาจขายพ่วงกับยาสีฟันเดิมเป็นต้น และมีการแจกตัวอย่างสินค้า ตามห้างต่างๆ จัด Event ออกบูธโชว์สินค้ากระตุ้นให้เกิดการทดลอง และรับรู้อย่างกว้างขวาง
Product เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งเพราะเป็นสิ่งที่ลูกค้าซื้อ สินค้าจะต้องมีคุณภาพดีและมีคุณค่าในสายตาของลูกค้าจริงและแตกต่างจากคู่แข่งขันคือ ครีมอาบน้ำ มีส่วนผสมของ Witch Hazel Extract จากประเทศเยอรมนี , Olive Oil Derivative , ขมิ้น และสมุนไพรสูตรเฉพาะของดอกบัวคู่ ซึ่งมีจุดเด่น คือ ป้องกันริ้วรอย ต่อต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งการเสื่อมของเซลส์ กระชับผิว ลดผดผื่น คันได้ และมีกลิ่นหอม ทำให้ผู้บริโภครู้สึกสดชื่น และสามารถดูแลผิวพรรณได้อย่างดี เหมาะกับสาวทำงานที่อายุ 30 ปี ขึ้นไป กลัวความแก่ต้องการคงความงามไว้ให้นานที่สุด
ส่วนแชมพูและครีมนวดผม สูตรซีรั่มสกัดสมุนไพรจากใบจูนิเปอร์และใบสติ้งกิ้ง-เน็ทเทิ้ล ช่วยบำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ ปรับสภาพผมเสียจากสารเคมี เน้นผมเสีย ผมทำสี ป้องกันเส้นผมจากมลภาวะ เหมาะกับสาวตั้งแต่วัยรุ่นขึ้นไป ที่ชอบทำสีผม ชอบย้อม ชอบดัด โดยแต่ละผลิตภัณท์ สามารถเน้นกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน ทำให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น
Price มีการกำหนดราคาที่คำนึงถึงการแข่งขัน เน้นคุณภาพเหนือกว่าคู่แข่งขันในราคาที่เหมาะสม ไม่แพงกว่าคู่แข่งขันในตลาดใหม่
Place ช่องทางการจัดจำหน่ายสามารถใช้ช่องทางเดิมของยาสีฟัน ที่มีศักยภาพดีอยู่แล้ว และเพิ่มเข้าไปวางในตลาดซุปเปอร์มาเก็ต โมเดิร์นเทรด และคอนวีเนี่ยนสโตร์ให้มากขึ้น
กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด(4P) เน้นสร้างความแตกต่างของตัวผลิตภัณฑ์ และเนื่องจากครีมอาบน้ำดอกบัวคู่เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแนะนำผลิตภัณฑ์ ดังนั้นส่วนผสมทางการตลาดที่สำคัญที่สุดในช่วงแนะนำคือ
Promotion เพื่อสร้างการรับรู้และทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ โดยใช้การสื่อสารทางการตลาดแบบครบวงจร คือ IMC เน้นทั้ง Above the Line และ Below the Line ทั้งโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ตลอดจนส่งเสริมการขาย ด้วย Sale Promotion โดยช่วงแนะนำอาจขายพ่วงกับยาสีฟันเดิมเป็นต้น และมีการแจกตัวอย่างสินค้า ตามห้างต่างๆ จัด Event ออกบูธโชว์สินค้ากระตุ้นให้เกิดการทดลอง และรับรู้อย่างกว้างขวาง
Product เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งเพราะเป็นสิ่งที่ลูกค้าซื้อ สินค้าจะต้องมีคุณภาพดีและมีคุณค่าในสายตาของลูกค้าจริงและแตกต่างจากคู่แข่งขันคือ ครีมอาบน้ำ มีส่วนผสมของ Witch Hazel Extract จากประเทศเยอรมนี , Olive Oil Derivative , ขมิ้น และสมุนไพรสูตรเฉพาะของดอกบัวคู่ ซึ่งมีจุดเด่น คือ ป้องกันริ้วรอย ต่อต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งการเสื่อมของเซลส์ กระชับผิว ลดผดผื่น คันได้ และมีกลิ่นหอม ทำให้ผู้บริโภครู้สึกสดชื่น และสามารถดูแลผิวพรรณได้อย่างดี เหมาะกับสาวทำงานที่อายุ 30 ปี ขึ้นไป กลัวความแก่ต้องการคงความงามไว้ให้นานที่สุด
ส่วนแชมพูและครีมนวดผม สูตรซีรั่มสกัดสมุนไพรจากใบจูนิเปอร์และใบสติ้งกิ้ง-เน็ทเทิ้ล ช่วยบำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ ปรับสภาพผมเสียจากสารเคมี เน้นผมเสีย ผมทำสี ป้องกันเส้นผมจากมลภาวะ เหมาะกับสาวตั้งแต่วัยรุ่นขึ้นไป ที่ชอบทำสีผม ชอบย้อม ชอบดัด โดยแต่ละผลิตภัณท์ สามารถเน้นกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน ทำให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น
Price มีการกำหนดราคาที่คำนึงถึงการแข่งขัน เน้นคุณภาพเหนือกว่าคู่แข่งขันในราคาที่เหมาะสม ไม่แพงกว่าคู่แข่งขันในตลาดใหม่
Place ช่องทางการจัดจำหน่ายสามารถใช้ช่องทางเดิมของยาสีฟัน ที่มีศักยภาพดีอยู่แล้ว และเพิ่มเข้าไปวางในตลาดซุปเปอร์มาเก็ต โมเดิร์นเทรด และคอนวีเนี่ยนสโตร์ให้มากขึ้น
แสดงความคิดเห็น
ช่วยวิเคราะ SWOT and 4P's ของยาสีฟันดอกบัวคู่
แม้ว่าจะเป็นผู้นำในเซ็กเมนต์ยาสีฟันสมุนไพร แต่ยาสีฟันดอกบัวคู่ก็มีข้อจำกัดสำคัญในการทำตลาดนั่นคือ ภาพลักษณ์ของสินค้าที่ดูไม่ทันสมัย ทำให้ถูกมองว่าเป็นสินค้าของคนต่างจังหวัด ดอกบัวคู่จึงต้อง Rebranding ตัวเองครั้งใหญ่ ด้วยงบประมาณ 30 ล้านบาท เพื่อขยายตลาดไปสู่กลุ่มคนเมือง
กระแสธรรมชาติ โอกาสของดอกบัวคู่
- แม้ว่าตลาดยาสีฟันรวม ซึ่งมีมูลค่า 5,000 ล้านบาท จะมีอัตราเติบโตเฉลี่ยปีละประมาณ 10%
- แต่เซ็กเมนต์ที่มีอัตราการเติบโตมากที่สุด คือยาสีฟันสมุนไพร กลับมีอัตราเติบโตถึง 30% ต่อปี ขณะที่ยาสีฟันสูตรมาตรฐานมีอัตราเติบโตเพียงปีละประมาณ 5% ต่อปีเท่านั้น
- การที่ผู้บริโภคหันมาให้ความสนใจในการดูแลสุขภาพโดยวิธีธรรมชาติมากขึ้นเช่นนี้ ทำให้ดอกบัวคู่มองเห็นโอกาสที่จะขยายตลาดให้กว้างออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขยายไปสู่กลุ่มคนเมือง ซึ่งที่ผ่านมาเป็นกลุ่มที่ใช้ยาสีฟันดอกบัวคู่ไม่มากนัก
- รวมทั้งเพื่อขยายกลุ่มเป้าหมายให้กว้างขึ้น จากเดิมที่จับกลุ่มที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป ลงมาเป็นกลุ่มที่อายุ 18 ปีขึ้นไป
ดอกบัวคู่ ดำแต่ดี
- สาเหตุสำคัญที่ทำให้ยาสีฟันดอกบัวคู่ไม่ได้รับความนิยมในหมู่ผู้ใช้ที่อยู่ในเมืองก็เนื่องมาจากภาพลักษณ์ของสินค้าที่ไม่ทันสมัย ทั้งในส่วนของแพ็กเก็จจิ้ง และเนื้อยาสีฟันที่มีสีดำ ทำให้ดูไม่น่าใช้
- การ Rebranding ของดอกบัวคู่ครั้งนี้จึงเริ่มจากการปรับเปลี่ยนแพ็กเก็จจิ้งใหม่ให้ดูทันสมัยมากขึ้น แต่ยังคงเน้นโทนสีขาวและเขียวเพื่อสื่อถึงความเป็นสมุนไพร
- ส่วนในแง่ภาพลักษณ์ของยาสีฟันนั้น ดอกบัวคู่แก้ด้วยการออกหนังโฆษณาเรื่องใหม่ ภายใต้แนวคิด “ดำแต่ดี..เพราะทำจากสมุนไพรล้วน ๆ” เพื่อชูคุณภาพจากสมุนไพรและลบจุดอ่อนด้านความรู้สึกที่ผู้บริโภคมีต่อเนื้อยาสีฟันที่มีสีดำ
- โดยในภาพยนตร์โฆษณาได้มีการเปรียบเทียบยาสีฟันดอกบัวคู่กับชายผิวดำที่ถูกประเมินค่าผิด เพราะถูกตัดสินจากรูปลักษณ์ภายนอก ซึ่งภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้จะออกอากาศต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปี
- นอกจากนี้จะมีการทำ Road Show โดยในกรุงเทพฯ จะเน้นเข้าไปประชาสัมพันธ์สินค้าในสำนักงานต่าง ๆ รวมทั้งจะให้ความสำคัญกับช่องทางการขายที่เป็นโมเดิร์นเทรดมากขึ้นด้วย
ไม่ทิ้งตลาดเก่า
- อย่างไรก็ดี ดอกบัวคู่ ยังคงให้ความสำคัญกับกลุ่มลูกค้าเดิมที่อยู่ในต่างจังหวัดด้วย โดยจะมีการทำ Road Show ด้วยการมีหน่วยรถออกตระเวนขายสินค้าเข้าไปตามตลาดนัดและหมู่บ้าน รวมถึงการจัดกิจกรรมตามร้านค้าเล็ก ๆ ทั่วประเทศ เพื่อสร้างความใกล้ชิดให้ผู้บริโภคกับสินค้า
- นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการขายผ่านยี่ปั๊ว เพราะถือว่าเป็นช่องทางหลัก โดยปัจจุบันดอกบัวคู่จำหน่ายผ่านช่องทางนี้ถึง 53 %
ตั้งเป้าขึ้นที่ 2
- ปัจจุบันดอกบัวคู่มีส่วนแบ่งในตลาดยาสีฟันรวม 14 % และหลังจากการ รีแบรนด์ครั้งนี้คาดว่าจะเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดถึง 17% ซึ่งจะทำให้ดอกบั่วคู่ขึ้นมาเป็นอันดับ 2 ในตลาดยาสีฟันรวม และเพิ่มส่วนแบ่งตลาดสมุนไพรจาก 67% ในปีที่ผ่านมาเป็น 70%
ฝ่าสงครามราคาคู่แข่ง
- ตลาดยาสีฟันในปี 2547 มีการแข่งขันด้านราคาสูงมาก เนื่องมาจากการดัมพ์ราคาให้ต่ำลงมาของเจ้าตลาด ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการายอื่น ๆ ต้องปรับกระบวนยุทธ์เรื่องราคาใหม่ตามไปด้วย
- เริ่มจากคอลเกต เจ้าตลาดยาสีฟันที่เปิดศึกหั่นราคา ด้วยคอลเกตแพคคู่ 59 บาท จากเดิมราคา 84 บาท
- ขณะที่ ดาร์ลี่ จากค่ายเดียวกันที่ออกแพคคู่ราคา 59 บาทออกมาทำตลาดด้วย
- ทำให้ยูนิลีเวอร์เจ้าของผลิตภัณฑ์ "โคลสอัพ ใกล้ชิด" ต้องจัดแคมเปญแพคคู่ตาม ด้วยขนาด 160 กรัม ขายคู่ละ 50 บาทจาก พร้อมกับการปรับเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายของสินค้าให้เด็กลงด้วย จากเดิมที่จับกลุ่มอายุ 25-45 ปี ไปเป็นกลุ่ม อายุ 18-25 ปี
- ขณะที่ ฟลูโอคารีล หันมาเล่นในตลาดยาสีฟันสมุนไพร ด้วย ฟลูโอคารีล กรีนที ทวิสต์ เมื่อปลายปีที่แล้ว
- นอกจากเรื่องราคาแล้ว ประเด็นเรื่องฟันขาวยังถือว่าเป็นกลยุทธ์หลักที่ยาสีฟันคอลเกต ดาร์ลี่ และใกล้ชิด ให้ความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟันขาวขึ้นใน 4 สัปดาห์ ซึ่งทั้งคอลเกตและใกล้ชิดต่างใช้เป็นจุดหลักในการโฆษณา
lIlustrated by Number
ส่วนแบ่งในตลาดยาสีฟันรวม (5,000 ล้านบาท)
คอลเกต 30%
ดาร์ลี่ 19%
ดอกบัวคู่ 14%
ใกล้ชิด 13%
อื่นๆ 24%
สัดส่วนยอดขายในตลาดยาสีฟันแบ่งตามประเภท
ยาสีฟันมาตรฐาน 51%
ยาสีฟันสมุนไพร 22%
ยาสีฟันเพื่อฟันขาว 9%
ยาสีฟันเด็ก 4%
อื่น ๆ 14%
ส่วนแบ่งในตลาดยาสีฟันสมุนไพร (1,100 ล้าน)
ดอกบัวคู่ 67% (737 ล้านบาท)
อื่น ๆ 33 %
ยอดขายยาสีฟันดอกบัวคู่แบ่งตามประเภท (765 ล้านบาท)
ออริจินอล 83%
เฟรชแอนด์คูล 14%
เฮอเบิ้ล พลัส 3%
ช่องทางการจัดจำหน่ายยาสีฟันดอกบัวคู่ (ปี 2547)
โฮลด์เซล (ยี่ปั๊ว) 53 %
โมเดิร์นเทรด 33 %
ขายตรง 14 %
:: คำถาม วิเคราะ SWOT and 4P's ของยาสีฟันดอกบัวคู่ ::