สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 12
เกศณีย์ เตปิน
เกศณีย์ แปลว่า หญิงสาวผู้มีผมงาม ถูกต้องนะครับ
แต่อยากให้แปลต่างจากนี้บ้าง ( จะได้ไม่เหมือนใคร อิอิ )
เกศ แปลว่า ผม หรือบางกรณีก็แปลว่า หัว ครับ เช่นคำว่า ก้มเกศ คือการก้มหัว ก้มศรีษะ
แต่ถ้าแปลอีกนัยหนึ่งแปลว่า สิ่งที่อยู่สูงสุด เช่นคำว่า ตารเกศ ดารเกศ แปลว่า สิ่งที่อยู่สูงว่าดาว หรือสิ่งที่งดงามกว่าดาว คือ พระจันทร์ นั่นเอง
ณีย์ แปลว่า หญิงสาว ผู้หญิง
แต่ถ้าแยกศัพท์แบบนี้คือ เกศ + ณ ปัจจัย แทน อัตถิ ศัพท์ แปลว่า มี + อนีย ปัจจัย ในกิจจปัจจัย ในกิริยกิตก์ แปลว่า ควร + สิ
( อย่าไปจำในรายละเอียดมากครับ มันจะงง ผมก็งงนะ )
แปลในรูปแบบใหม่ได้ว่า ผู้ควรแก่ความเจริญถึงจุดสูงสุด หรือ ผู้ควรแก่การดำเนินไปสูจุดสูงสุดในชีวิต นะครับ
เตปิน แปลว่า ผู้รักษาสิ่งสามอย่างไว้ได้ ส่วนจะรักษาอะไรนั้น คำนี้ไม่กว้างพอจะให้ตีความหมายเพิ่มเติมได้
แต่ถ้าจะให้ดี สิ่งสามประการที่สำคัญในชีวิตขงคนเรา คือ กาย วาจา ใจ ครับ และอื่น ๆ ก็ได้ ขอให้ดีเข้าใว้
ดังนั้น จึงแปลใจความว่า ผู้รักษาสิ่งสามประการในชีวิตไว้ได้ คือ กาย วาจา ใจ และอื่นๆ ครับ
หากจะถามว่า มั่ว ไหม มั่วนิดหน่อยครับ อิอิ
แต่ถอดศัพท์ ได้ดังนี้
เต มาจากคำว่า ติ แปลว่า สาม เช่น ติสรณะ ไตรสรณคมณ์ ที่พึงสามประการ ครับ
ปิน มาจาก ปา ธาตุ ซึ่งเป็นรากศัพท์ของภาษาบาลีโบราณ แปลว่า รักษา + อินะ ซึ่งเป็น กิตกปัจจัย ใน นามกิตก์
อันจะมีความหมายยกฐานะศัพท์ให้แลความคร่าว ๆ ว่า ความมี ความเป็น ผู้มี ผู้เป็น การมี การเป็น
เตปิน จึงแปลคร่าว ๆ ว่า ผู้รักษาสิ่งสามอย่างไว้ได้ ( อาจหมายถึง กาย วาจา ใจ และอื่น ๆ ตามใจชอบเลยครับ )
มาถึงการเขียนโคลง ในกรณีนี้ ต้องใช้การเขียนแบบโคลงกระทู้หน้าบาท จึงควร
เกศ รองผองพิสุทธิ์ล้ำ. คุณไตร- รัตน์เฮย
ณีย์ จึ่งจำเริญใจ. พรั่งพร้อม
เต ชะมั่นคงใน- ผดุงอาตม์ นั่นแฮ
ปิน กอปรการดี น้อม. ย่อมได้วัฒนา ฯ
ราตรีสวัสดิ์ ครับ
เกศณีย์ แปลว่า หญิงสาวผู้มีผมงาม ถูกต้องนะครับ
แต่อยากให้แปลต่างจากนี้บ้าง ( จะได้ไม่เหมือนใคร อิอิ )
เกศ แปลว่า ผม หรือบางกรณีก็แปลว่า หัว ครับ เช่นคำว่า ก้มเกศ คือการก้มหัว ก้มศรีษะ
แต่ถ้าแปลอีกนัยหนึ่งแปลว่า สิ่งที่อยู่สูงสุด เช่นคำว่า ตารเกศ ดารเกศ แปลว่า สิ่งที่อยู่สูงว่าดาว หรือสิ่งที่งดงามกว่าดาว คือ พระจันทร์ นั่นเอง
ณีย์ แปลว่า หญิงสาว ผู้หญิง
แต่ถ้าแยกศัพท์แบบนี้คือ เกศ + ณ ปัจจัย แทน อัตถิ ศัพท์ แปลว่า มี + อนีย ปัจจัย ในกิจจปัจจัย ในกิริยกิตก์ แปลว่า ควร + สิ
( อย่าไปจำในรายละเอียดมากครับ มันจะงง ผมก็งงนะ )
แปลในรูปแบบใหม่ได้ว่า ผู้ควรแก่ความเจริญถึงจุดสูงสุด หรือ ผู้ควรแก่การดำเนินไปสูจุดสูงสุดในชีวิต นะครับ
เตปิน แปลว่า ผู้รักษาสิ่งสามอย่างไว้ได้ ส่วนจะรักษาอะไรนั้น คำนี้ไม่กว้างพอจะให้ตีความหมายเพิ่มเติมได้
แต่ถ้าจะให้ดี สิ่งสามประการที่สำคัญในชีวิตขงคนเรา คือ กาย วาจา ใจ ครับ และอื่น ๆ ก็ได้ ขอให้ดีเข้าใว้
ดังนั้น จึงแปลใจความว่า ผู้รักษาสิ่งสามประการในชีวิตไว้ได้ คือ กาย วาจา ใจ และอื่นๆ ครับ
หากจะถามว่า มั่ว ไหม มั่วนิดหน่อยครับ อิอิ
แต่ถอดศัพท์ ได้ดังนี้
เต มาจากคำว่า ติ แปลว่า สาม เช่น ติสรณะ ไตรสรณคมณ์ ที่พึงสามประการ ครับ
ปิน มาจาก ปา ธาตุ ซึ่งเป็นรากศัพท์ของภาษาบาลีโบราณ แปลว่า รักษา + อินะ ซึ่งเป็น กิตกปัจจัย ใน นามกิตก์
อันจะมีความหมายยกฐานะศัพท์ให้แลความคร่าว ๆ ว่า ความมี ความเป็น ผู้มี ผู้เป็น การมี การเป็น
เตปิน จึงแปลคร่าว ๆ ว่า ผู้รักษาสิ่งสามอย่างไว้ได้ ( อาจหมายถึง กาย วาจา ใจ และอื่น ๆ ตามใจชอบเลยครับ )
มาถึงการเขียนโคลง ในกรณีนี้ ต้องใช้การเขียนแบบโคลงกระทู้หน้าบาท จึงควร
เกศ รองผองพิสุทธิ์ล้ำ. คุณไตร- รัตน์เฮย
ณีย์ จึ่งจำเริญใจ. พรั่งพร้อม
เต ชะมั่นคงใน- ผดุงอาตม์ นั่นแฮ
ปิน กอปรการดี น้อม. ย่อมได้วัฒนา ฯ
ราตรีสวัสดิ์ ครับ
แสดงความคิดเห็น
ช่วยแต่งโคลงสี่สุภาพเกี่ยวกับ "ชื่อตัวเอง" ให้หน่อยค่ะ(แต่งได้ 3 บาทแล้วมั้ง?) หมดปัญญาแล้วค่ะ T T
ยากมากเลยอ่า เพราะนามสกุลเราไม่มีความหมายด้วย(เคยถามพ่อมาแล้ว T T)
ขอความกรุณาด้วยนะคะ