เคยสงสัยกันไหมครับว่า ในแต่ละยุคสมัย การแบ่งช่วงชั้นเรียน และการสอบเข้ามหาวิทยาลัยของระบบการศึกษาไทยแบ่งเป็นอะไรบ้าง
หรือไม่ก็อยากทราบว่า มศ.4-5 ที่เขาว่ากันนั้นคืออะไร จขกท. เลยอยากยกตัวอย่างมาพอสังเขปครับ
แต่เดิมการศึกษาของไทยมักอยู่ในวัด พระจะเป็นผู้สอนวิชาการต่างๆให้กับเด็ก ทั้งเรียนอ่านเขียน คิดเลข และวิชาอื่นๆ โดยมากมักจะเป็นเด็กผู้ชายที่ได้มีโอกาสเรียนหนังสือ ผู้หญิงทั่วไปมักเรียนวิชาการเรือนจากที่บ้าน ทำให้สมัยก่อนมีผู้หญิงที่ไม่รู้หนังสืออยู่จำนวนมาก
ต่อมามีการเริ่มระบบการศึกษาในโรงเรียนขึ้น ทั้งจากความต้องการของทางราชการที่อยากให้ได้ผู้ที่มีความต้องการได้มีโอกาสเรียน เมื่อสำเร็จแล้วจึงได้เข้ารับราชการต่อไป รวมทั้งจากกลุ่มมิชชันนารีในคริสตศาสนาที่ได้ตั้งโรงเรียนขึ้นหลายแห่ง
ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้มีการออกพระราขบัญญัติการศึกษา พ.ศ.๒๔๖๔ ให้ราษฎรได้เรียนไม่ต่ำกว่าชั้นประถม นับเป็นการวางการศึกษาภาคบังคับครั้งแรกของไทย และได้พัฒนามาเรื่อยๆจนปัจจุบัน
การแบ่งเวลาช่วงชั้นของการศึกษาไทยในแต่ละยุคสมัยเป็นดังต่อไปนี้
หลักสูตรดั้งเดิม พ.ศ. ๒๔๔๕ แบ่งเป็นชั้นมูลและปฐม
หลักสูตร พ.ศ. ๒๔๕๖ จัดเป็นประถม(ป.) ๑ - ๓ มัธยม(ม.) ๑-๓ มัธยม ๔-๖ และมัธยม ๗ - ๘
หลักสูตร พ.ศ. ๒๔๗๖ จัดเป็นประถม ๑ - ๔ มัธยม ๑-๓ มัธยม ๔-๖ และมัธยม ๗ - ๘
หลักสูตร พ.ศ. ๒๔๗๙ จัดเป็นประถม ๑ - ๔ มัธยม ๑-๓ มัธยม ๔-๖ และเตรียมมหาวิทยาลัย
หลักสูตร พ.ศ. ๒๔๘๙ จัดเป็นประถม ๑ - ๔ มัธยม ๑-๓ มัธยม ๔-๖ และเตรียมอุดมศึกษาปีที่ ๑-๒
หลักสูตร พ.ศ. ๒๕๐๓ จัดเป็นประถม ๑ - ๔ จัดเป็นประถม ๕ - ๗ มัธยมปีที่(ม.) ๑-๓ มัธยมศึกษาปีที่(ม.ศ.) ๔-๕
หลักสูตร พ.ศ. ๒๕๒๔ จัดเป็นประถม ๑ - ๔ จัดเป็นประถม ๕ - ๖ มัธยมศึกษา(ม.)ปีที่ ๑-๓ มัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖
หลักสูตรปัจจุบัน จัดเป็นประถมศึกษา ๑ - ๓ จัดเป็นประถมศึกษา ๔ - ๖ มัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ มัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖
การสอบเข้ามหาวิทยาลัยในแต่ละสมัย
เดิมแต่ละมหาวิทยาลัย จะดำเนินการสอบคัดเลือกเอง ทั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์(ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยมหิดล) (ในช่วงแรกมหาวิทยา่ลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองมีลักษณะเป็นตลาดวิชาหรือมหาวิทยาลัยเปิด ต่อมาเปลี่ยนชื่อตัดคำว่าการเมืองออกและเป็นมหาวิทยาลัยปิดเนื่องด้วยผลทางการเมือง) ทำให้เกิดการวิ่งรอกสอบหลายที่ มีผลให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายมาก จึงได้มีการรวมกันจัดสอบมหาวิทยาลัยร่วมกัน หรือที่เรียกว่า Entrance ครั้งแรกในปี พ.ศ.2505
(หมายเหตุ ปีที่กล่าวนี่หมายถึงปีที่มีการจัดสอบ เช่น ปี 2549 คือนักเรียนม.6 ที่จบปี 2549 และจะเข้าเป็นนิสิต นักศึกษาในปีการศึกษา 2550)
พ.ศ.2505 มีการจัดสอบเข้ามหาวิทยาลัยร่วมกันครั้งแรก โดยแต่ละปีจัดสอบเพียงครั้งเดียวในช่วงเดือนเมษายน วิชาละสามชั่วโมง แบ่งออกเป็นแผนกวิทย์และแผนกศิลป์ ใช้ข้อสอบแยกกัน เช่น วิชาคณิตศาสตร์ แผนกวิทย์จะเป็น คณิตศาสตร์ กข แผนกศิลป์จะเป็นคณิตศาสตร์ ก
เป็นเช่นนี้มากว่าสามสิบปี ในช่วงนี้ก็มีหลายมหาวิทยาลัยที่ได้ก่อตั้งขึ้น
พ.ศ.2541 ได้มีการนำคะแนนสะสมช่วงชั้นเรียนหรือ GPA มาใช้พิจารณาคะแนนสอบด้วย เพื่อให้นักเรียนเพิ่มความสนใจการเรียนในห้องเรียนด้วย นอกจากนี้ยังมีการสอบสองครั้ง คือในช่วงตุลาคมและมีนาคม โดยแบ่งเป็นแผนกวิทย์และศิลป์เหมือนเดิม วิชาละสองชั่วโมง
พ.ศ.2547 เกิดกรณีข้อสอบเอนทรานซ์รั่วจนเป็นข่าวใหญ่โต จึงให้มีแนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงการสอบเข้ามหาวิทยาลัย
พ.ศ.2549 เป็นปีแรกที่มีการใช้ระบบแอดมิชชัน โดยใช้คะแนน O-net A-net(ภายหลังยกเลิกไป) และ GPA เป็นตัวพิจารณาในการเลือกเข้ามหาวิทยาลัย
เนื่องด้วยการสอบที่เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งมองว่าข้อสอบ O-net และ A-net จากส่วนกลางไม่ได้มาตรฐาน หลายสถาบันและหลายหลักสูตรจึงหันกลับมารับนักศึกษาด้วยตัวเอง เช่น ข้อสอบของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย(กสพท.) รวมทั้งข้อสอบรับตรงของแต่ละคณะในแต่ละมหาวิทยาลัย (จุดนี้ถูกมองว่าทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ)
พ.ศ.2552 เพิ่มการสอบ GAT PAT โดยจัดสอบปีละสามครั้ง เก็บคะแนนที่ดีที่สุด ใช้ได้สามปี สอบได้ทั้งม.5 และ ม.6 แต่ภายหลังจึงให้สอบเฉพาะ ม.6 เท่านั้น และสอบได้เพียงปีละสองครั้ง
พ.ศ.2554 ได้มีการเพิ่มวิชาสามัญ 7 วิชาเืพื่อใช้ในการรับตรงกลาง ก่อนแอดมิชชัน และมีการเริ่มใช้ระบบ Clearing house เพื่อยืนยันหรือสละสิทธิ์ผู้ที่ได้ที่นั่งจากการสอบตรงแล้ว หากว่าไม่ต้องการจึงสละสิทธิ์ เพื่อมิให้เกิดการกินที่ผู้อื่น
คร่าวๆประมาณนี้ครับ
(ใครมีอะไรเพิ่มเติมก็บอกได้ครับ อีกทั้งข้อมูลส่วนไหนผิดไปก็ขออภัยด้วยนะครับ และจะเป็นการดีมากหากมีการนำเรื่องอื่นๆเช่น การศึกษาของอาชีวะ ของทหาร-ตำรวจ ฯลฯ มาแชร์หรือแลกเปลี่ยนกัน)
การแบ่งช่วงชั้นการศึกษา และการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในแต่ละยุคสมัย
หรือไม่ก็อยากทราบว่า มศ.4-5 ที่เขาว่ากันนั้นคืออะไร จขกท. เลยอยากยกตัวอย่างมาพอสังเขปครับ
แต่เดิมการศึกษาของไทยมักอยู่ในวัด พระจะเป็นผู้สอนวิชาการต่างๆให้กับเด็ก ทั้งเรียนอ่านเขียน คิดเลข และวิชาอื่นๆ โดยมากมักจะเป็นเด็กผู้ชายที่ได้มีโอกาสเรียนหนังสือ ผู้หญิงทั่วไปมักเรียนวิชาการเรือนจากที่บ้าน ทำให้สมัยก่อนมีผู้หญิงที่ไม่รู้หนังสืออยู่จำนวนมาก
ต่อมามีการเริ่มระบบการศึกษาในโรงเรียนขึ้น ทั้งจากความต้องการของทางราชการที่อยากให้ได้ผู้ที่มีความต้องการได้มีโอกาสเรียน เมื่อสำเร็จแล้วจึงได้เข้ารับราชการต่อไป รวมทั้งจากกลุ่มมิชชันนารีในคริสตศาสนาที่ได้ตั้งโรงเรียนขึ้นหลายแห่ง
ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้มีการออกพระราขบัญญัติการศึกษา พ.ศ.๒๔๖๔ ให้ราษฎรได้เรียนไม่ต่ำกว่าชั้นประถม นับเป็นการวางการศึกษาภาคบังคับครั้งแรกของไทย และได้พัฒนามาเรื่อยๆจนปัจจุบัน
การแบ่งเวลาช่วงชั้นของการศึกษาไทยในแต่ละยุคสมัยเป็นดังต่อไปนี้
หลักสูตรดั้งเดิม พ.ศ. ๒๔๔๕ แบ่งเป็นชั้นมูลและปฐม
หลักสูตร พ.ศ. ๒๔๕๖ จัดเป็นประถม(ป.) ๑ - ๓ มัธยม(ม.) ๑-๓ มัธยม ๔-๖ และมัธยม ๗ - ๘
หลักสูตร พ.ศ. ๒๔๗๖ จัดเป็นประถม ๑ - ๔ มัธยม ๑-๓ มัธยม ๔-๖ และมัธยม ๗ - ๘
หลักสูตร พ.ศ. ๒๔๗๙ จัดเป็นประถม ๑ - ๔ มัธยม ๑-๓ มัธยม ๔-๖ และเตรียมมหาวิทยาลัย
หลักสูตร พ.ศ. ๒๔๘๙ จัดเป็นประถม ๑ - ๔ มัธยม ๑-๓ มัธยม ๔-๖ และเตรียมอุดมศึกษาปีที่ ๑-๒
หลักสูตร พ.ศ. ๒๕๐๓ จัดเป็นประถม ๑ - ๔ จัดเป็นประถม ๕ - ๗ มัธยมปีที่(ม.) ๑-๓ มัธยมศึกษาปีที่(ม.ศ.) ๔-๕
หลักสูตร พ.ศ. ๒๕๒๔ จัดเป็นประถม ๑ - ๔ จัดเป็นประถม ๕ - ๖ มัธยมศึกษา(ม.)ปีที่ ๑-๓ มัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖
หลักสูตรปัจจุบัน จัดเป็นประถมศึกษา ๑ - ๓ จัดเป็นประถมศึกษา ๔ - ๖ มัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ มัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖
การสอบเข้ามหาวิทยาลัยในแต่ละสมัย
เดิมแต่ละมหาวิทยาลัย จะดำเนินการสอบคัดเลือกเอง ทั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์(ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยมหิดล) (ในช่วงแรกมหาวิทยา่ลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองมีลักษณะเป็นตลาดวิชาหรือมหาวิทยาลัยเปิด ต่อมาเปลี่ยนชื่อตัดคำว่าการเมืองออกและเป็นมหาวิทยาลัยปิดเนื่องด้วยผลทางการเมือง) ทำให้เกิดการวิ่งรอกสอบหลายที่ มีผลให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายมาก จึงได้มีการรวมกันจัดสอบมหาวิทยาลัยร่วมกัน หรือที่เรียกว่า Entrance ครั้งแรกในปี พ.ศ.2505
(หมายเหตุ ปีที่กล่าวนี่หมายถึงปีที่มีการจัดสอบ เช่น ปี 2549 คือนักเรียนม.6 ที่จบปี 2549 และจะเข้าเป็นนิสิต นักศึกษาในปีการศึกษา 2550)
พ.ศ.2505 มีการจัดสอบเข้ามหาวิทยาลัยร่วมกันครั้งแรก โดยแต่ละปีจัดสอบเพียงครั้งเดียวในช่วงเดือนเมษายน วิชาละสามชั่วโมง แบ่งออกเป็นแผนกวิทย์และแผนกศิลป์ ใช้ข้อสอบแยกกัน เช่น วิชาคณิตศาสตร์ แผนกวิทย์จะเป็น คณิตศาสตร์ กข แผนกศิลป์จะเป็นคณิตศาสตร์ ก
เป็นเช่นนี้มากว่าสามสิบปี ในช่วงนี้ก็มีหลายมหาวิทยาลัยที่ได้ก่อตั้งขึ้น
พ.ศ.2541 ได้มีการนำคะแนนสะสมช่วงชั้นเรียนหรือ GPA มาใช้พิจารณาคะแนนสอบด้วย เพื่อให้นักเรียนเพิ่มความสนใจการเรียนในห้องเรียนด้วย นอกจากนี้ยังมีการสอบสองครั้ง คือในช่วงตุลาคมและมีนาคม โดยแบ่งเป็นแผนกวิทย์และศิลป์เหมือนเดิม วิชาละสองชั่วโมง
พ.ศ.2547 เกิดกรณีข้อสอบเอนทรานซ์รั่วจนเป็นข่าวใหญ่โต จึงให้มีแนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงการสอบเข้ามหาวิทยาลัย
พ.ศ.2549 เป็นปีแรกที่มีการใช้ระบบแอดมิชชัน โดยใช้คะแนน O-net A-net(ภายหลังยกเลิกไป) และ GPA เป็นตัวพิจารณาในการเลือกเข้ามหาวิทยาลัย
เนื่องด้วยการสอบที่เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งมองว่าข้อสอบ O-net และ A-net จากส่วนกลางไม่ได้มาตรฐาน หลายสถาบันและหลายหลักสูตรจึงหันกลับมารับนักศึกษาด้วยตัวเอง เช่น ข้อสอบของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย(กสพท.) รวมทั้งข้อสอบรับตรงของแต่ละคณะในแต่ละมหาวิทยาลัย (จุดนี้ถูกมองว่าทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ)
พ.ศ.2552 เพิ่มการสอบ GAT PAT โดยจัดสอบปีละสามครั้ง เก็บคะแนนที่ดีที่สุด ใช้ได้สามปี สอบได้ทั้งม.5 และ ม.6 แต่ภายหลังจึงให้สอบเฉพาะ ม.6 เท่านั้น และสอบได้เพียงปีละสองครั้ง
พ.ศ.2554 ได้มีการเพิ่มวิชาสามัญ 7 วิชาเืพื่อใช้ในการรับตรงกลาง ก่อนแอดมิชชัน และมีการเริ่มใช้ระบบ Clearing house เพื่อยืนยันหรือสละสิทธิ์ผู้ที่ได้ที่นั่งจากการสอบตรงแล้ว หากว่าไม่ต้องการจึงสละสิทธิ์ เพื่อมิให้เกิดการกินที่ผู้อื่น
คร่าวๆประมาณนี้ครับ
(ใครมีอะไรเพิ่มเติมก็บอกได้ครับ อีกทั้งข้อมูลส่วนไหนผิดไปก็ขออภัยด้วยนะครับ และจะเป็นการดีมากหากมีการนำเรื่องอื่นๆเช่น การศึกษาของอาชีวะ ของทหาร-ตำรวจ ฯลฯ มาแชร์หรือแลกเปลี่ยนกัน)