เมื่อได้เห็น นักกล่าวตู่พระพุทธเจ้า(มืออาชีพ) พยายามจะ "มั่วนิ่ม" หลักการ และ เหตุผล ของพระธรรมวินัย ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว
ย่อมจำเป็นอยู่เอง ที่ผมและชาวพุทธเถรวาททั้งหลาย จำต้อง "เอาใจใส่" ต่อการ "บิดเบือน" อย่างหน้าด้านๆ แบบนี้ ตามสมควร
หรือมิใช่ ?
ที่จริงแล้ว กรณีนี้ ไม่มีอะไรยุ่งยากมากนัก เรื่องของเรื่อง ก็เพียงแค่ว่า นายคันโตนาซี ผู้ชื่นชอบในการกล่าวตู่พระพุทธเจ้า(อย่างปราศจากความละอาย)
ได้ยก ข้อความบางส่วนจาก พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ของท่านพระสารีบุตร ขึ้นเทียบกับ ข้อความบางส่วนจาก พระอภิธรรมปิฎก
จากนั้นจึงได้ตั้งข้อสังเกตว่า ...........
(๑) คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ของท่านพระสารีบุตร มีถ้อยคำ หรือ คำศัพท์ เกี่ยวกับ ปัจจัย ๒๔ ตรงกันกับ พระอภิธรรมปิฎก
(๒) แต่ คำศัพท์ เกี่ยวกับ ปัจจัย ๒๔ จาก คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ของท่านพระสารีบุตร กลับไม่พบว่ามีอยู่ในพระสูตรใดเลย
สมมุติฐาน(โง่ๆ) ของ นายคันโตนาซี ผู้ชื่นชอบในการกล่าวตู่พระพุทธเจ้า(อย่างปราศจากความละอาย) ก็คือ
(๑) ถ้า พระอภิธรรม เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นหลัง ปฐมสังคายนา มิใช่ พุทธดำรัสโดยตรงจากพระพุทธเจ้า ก็จะเท่ากับว่า ท่านพระสารีบุตร บัญญัติธรรม(ใหม่)ขึ้นเอง
(๒) ดังนั้น นายคันโตนาซี จึงสรุปความ(เอาเอง)อย่างโง่ๆ ว่า พระอภิธรรม ต้องเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นก่อน ปฐมสังคายนา และเป็นพระพุทธดำรัสโดยตรง
ด้วยเหตุที่ปรากฏ "ตรรก(บือ)" อันเป็นพิษภัยต่อ "พระธรรมวินัย" ผมจึงจำต้องใช้ "สิทธิ" ในความเป็นชาวพุทธเถรวาท แสดงความเห็นแย้ง ดังต่อไปนี้
********************************************************************************************************************
ประการแรก
สิ่งที่ท่านทั้งหลายพึงทำความเข้าใจให้ตรงกัน ก็คือ ลักษณะโดยทั่วไปของ คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ที่รจนาโดยท่านพระสารีบุตร
เป็นการ อธิบาย คำศัพท์ธรรมะต่างๆ โดยมี พระพุทธภาษิต หรือ ภาษิตของท่านพระอานนท์ หรือ ภาษิตของท่านพระสารีบุตรเอง เป็น บทตั้ง
จากนั้น ท่านพระสารีบุตร ก็จะทำการอธิบายคำศัพท์ต่างๆ เหล่านั้น อย่างละเอียด !
เปรียบเทียบให้สามารถเข้าใจได้ง่ายๆ ก็คือ คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ของ ท่านพระสารีบุตร มีลักษณะคล้ายๆ กับ คัมภีร์ อรรถกถา
เป็นแต่เพียง "นับถือ" กันว่า ภาษิตของท่านพระสารีบุตร มีค่าเท่ากับพุทธพจน์ ดังนั้น คัมภีร์เล่มนี้จึงถูกยกขึ้นสู่พระบาลี เป็นส่วนหนึ่งของพระไตรปิฎก
********************************************************************************************************************
ประการที่ ๒
พระพุทธเจ้าได้ตรัส "หลักการ" ตรวจสอบพระธรรมวินัย เอาไว้ดังนี้ว่า .........
นั่นจึงหมายความว่า โดยหลักการแล้ว การที่เราจะสามารถ สรุปความได้ว่า คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค และ คัมภีร์พระอภิธรรม
เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือไม่ ก็ด้วยการ (๑) สอบสวนในพระสูตร (๒) เทียบเคียงในพระวินัย
๑) หากเทียบเคียงกันได้ ลงกันได้ พึงถึงความตกลงว่า เป็นคำสอนของพระศาสดา
๒) แต่ หากเทียบเคียงกันไม่ได้ ลงกันไม่ได้ พึงถึงความตกลงว่า นี่มิใช่ คำสอนของพระศาสดา อย่างแน่นอน
********************************************************************************************************************
ประการที่ ๓
ในกรณีนี้ เป็นการพิจารณาแนวทางการใช้ "คำศัพท์" เป็น "หลักการ" ในการพิสูจน์ "ข้อเท็จจริง" ซึ่งสามารถเทียบเคียงได้กับการพิจารณาว่า
คำศัพท์หนึ่งใดก็ตาม เป็นพระพุทธดำรัสเดิมแท้ หรือเป็นถ้อยคำชั้นสาวกในสมัยหลัง ก็ด้วยการพิจารณาแนวทางการใช้คำศัพท์ เช่นกัน
ตัวอย่างเช่น เราจะไม่พบการใช้คำว่า "ปัจจยาการ" ในพระสูตร หรือพระวินัย แต่จะพบคำศัพท์นี้อย่างดกดื่น ในพระคัมภีร์ชั้นอรรถกถา
ดังนั้น จึงสามารถสรุปเป็นหลักการได้ว่า หากพบคำว่า "ปัจจยาการ" ปรากฏในคัมภีร์เล่มใด คัมภีร์นั้น ย่อมมิใช่พุทธพจน์ของเก่าเมื่อครั้งปฐมสังคายนา เป็นต้น
๑) กรณีของ คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค นี้เราทราบอย่างแน่นอนแล้วว่า เป็นภาษิตของท่านพระสารีบุตร
ในเมื่อทำการสอบสวน เทียบเคียง กับพระสูตรและพระวินัยแล้ว พบข้อเท็จจริงว่า มีคำศัพท์อยู่หลายคำ ที่ไม่ปรากฏอยู่ในชั้นพุทธพจน์
เราย่อมสรุปความได้ว่า "คำศัพท์" เหล่านั้น เป็นสาวกภาษิต เป็นถ้อยคำของพระสาวกในชั้นหลัง
โดยอาจเป็นคำของท่านพระสารีบุตรเอง หรือไม่ก็เป็นถ้อยคำของพระอรหันตสาวกท่านอื่นๆ(เช่น ท่านพระอานนท์)
๒) ส่วนกรณีของ คัมภีร์พระอภิธรรม การที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ข้อความบางส่วนของพระคัมภีร์ ปรากฏ "คำศัพท์" ที่ไม่มีอยู่ในพระสูตรและพระวินัย
แต่กลับพบ คำศัพท์เหล่านั้น ในพระคัมภีร์ ซึ่งเป็นสาวกภาษิต คือ คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค(ของท่านพระสารีบุตร)
ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้อย่างมากว่า ข้อความในส่วนนี้ จะเป็นสาวกภาษิต มิได้เป็นพระพุทธดำรัส ที่มีมาแต่เดิม
ทั้งหมดนี้ เป็นการกล่าวสรุปความ ตามหลักการ(มหาปเทส) และ เหตุผล ตามปกติ โดยปราศจากการชี้นำ(ปักธง)ด้วย "อคติ" ส่วนตน นะครับ !
********************************************************************************************************************
ประการที่ ๔
ในการใช้หลักเหตุผล หรือ ตรรกะใดๆ ก็ตาม สิ่งที่ต้องพึงระวังให้มาก ก็คือ การคาดหวังผล หรือ กะเก็งผล
ที่มีมากเสียจนกลายเป็นตัวทำลาย ตรรกะ หรือ หลักการ เหตุผล นั้นเสียเอง !
ทั้งนี้ ในเบื้องต้น เราจะต้องแยกแยะให้ได้เสียก่อนว่า ...............
ข้อมูลใด ที่เรียกว่า "ข้อเท็จจริง" ที่ได้รับการตรวจสอบอย่างชัดเจนแล้ว และ ข้อมูลใด ที่เป็นเพียงแค่ "ความเห็น" หรือ "ข้อสันนิษฐาน"
จากนั้น จึงจะสามารถพิจารณา ด้วย ตรรกะ หรือ หลักการ เหตุผล ได้โดยปราศจาก อคติ ส่วนตนเข้ามา ชี้นำ หรือ แทรกแซง !
ในกรณีของกระทู้นี้ ข้อมูลในส่วนที่เป็น "ข้อเท็จจริง" ก็คือ
๑) คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค เป็นภาษิตของท่านพระสารีบุตร
๒) ข้อความในพระสูตร และพระวินัย เป็นพุทธพจน์(โดยส่วนใหญ่)
๓) หลักการตรวจสอบคำสอนของพระพุทธเจ้าคือ หลักมหาปเทส ๔ ซึ่งกำหนดให้ (๑) สอบสวนในพระสูตร (๒) เทียบเคียงในพระวินัย
ส่วนประเด็นที่ว่า พระอภิธรรม เป็นพุทธดำรัสโดยตรง (หรือไม่ ?) เป็นประเด็นที่เรากำลังพิจารณา
ดังนั้น ข้อมูลในส่วนนี้ จึงจัดเป็น สมมุติฐาน หรือ ความเห็น ยังไม่ใช่ "ความจริง" จนกว่าจะได้รับการพิสูจน์ !
(ก) แนวทางในการพิจารณาที่ถูกต้อง ก็คือ ถ้าหากปรากฏว่ามี "ข้อความ" หรือ "คำศัพท์" ใดๆ ก็ตามจาก พระอภิธรรม
ปรากฏอยู่ใน คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ของท่านพระสารีบุตร แต่ไม่ปรากฏอยู่ในรูปพุทธพจน์จาก พระสูตร หรือ พระวินัย
ด้วยเหตุดังนี้ เราจึงควรสรุปความว่า "ข้อความ" หรือ "คำศัพท์" นั้นๆ จาก พระอภิธรรม เป็น สาวกพจน์ (มิใช่พุทธพจน์)
(ข) แต่เราไม่อาจ พิจารณาด้วยแนวทาง(ผิดๆ)ที่ว่า เพราะ "ข้อความ" หรือ "คำศัพท์" จาก คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ของท่านพระสารีบุตร
ไม่ปรากฏอยู่ในรูปพุทธพจน์จาก พระสูตร หรือ พระวินัย แต่กลับปรากฏอยู่ใน คัมภีร์พระอภิธรรม
ดังนั้น คัมภีร์พระอภิธรรม จึงต้องเป็น พุทธพจน์
ที่เป็นดังนี้ ก็เพราะ .........
แนวทางในข้อ (ก) เป็นการตรวจสอบ สมมุติฐานว่า พระอภิธรรมเป็นพระพุทธดำรัสโดยตรง หรือไม่ ?
โดยนำไปเปรียบเทียบ กับ คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ซึ่งเราทราบ "ข้อเท็จจริง" อย่างแน่นอนแล้วว่า เป็นสาวกพจน์
รวมไปถึงการนำไปเปรียบเทียบกับ ข้อความจาก พระสูตร และพระวินัย ซึ่งเราก็ทราบอย่างแน่นอนเช่นกันว่าเป็น พระพุทธดำรัสเดิมแท้
แต่แนวทางในข้อ (ข) กลับมิได้เป็นการตรวจสอบ สมมุติฐาน หากแต่เป็นการใช้ "อัตโนมัติ" สรุปความเอาเองดื้อๆ
ทั้งนี้ เนื่องจาก การที่ "ข้อความ" หรือ "คำศัพท์" บางส่วนจาก คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค
ไม่ปรากฏว่า "มีอยู่" ในพระสูตร หรือ พระวินัย ย่อมมิได้เป็นความแปลกประหลาดอันใดเลย
ถ้าหากเรายอมรับตามความเป็นจริงว่า คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค เป็น "สาวกพจน์" ซึ่งย่อมมีคำของพระสาวก "ปะปน" อยู่เป็นธรรมดา
ไม่ต่างไปจาก พระคัมภีร์ชั้นอรรถกถา ที่ "ข้อความ" หรือ "คำศัพท์" หลายๆ คำ ก็พึ่งถูกบัญญัติขึ้นโดยอรรถกถาจารย์ เช่นกัน !
ปัญหาของแนวทางการพิจารณาในข้อ (ข) ก็คือ การพยายามจะทำให้ เรื่องธรรมดา กลายเป็น เรื่องผิดปกติ ให้ได้
หรือมิใช่ ?
********************************************************************************************************************
ประการที่ ๕
ท่านทั้งหลาย พึงพิจารณาด้วยเหตุผล อย่างถี่ถ้วนรอบคอบว่า ..........
(๑) หาก "ข้อความ" หรือ "คำศัพท์" บางส่วนจาก คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ซึ่งเป็น สาวกพจน์
ปรากฏอยู่ใน คัมภีร์พระอภิธรรม แต่ไม่มีอยู่ในพระสูตรและพระวินัย
ย่อมสามารถสรุปได้ว่า คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค สามารถเทียบเคียงกันได้กับ คัมภีร์พระอภิธรรม
หรืออาจสรุปได้ว่า คัมภีร์พระอภิธรรม สามารถเทียบเคียงกันได้กับ คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค
แต่มิอาจสรุปว่า (บางส่วนของ)คัมภีร์พระอภิธรรม สามารถเทียบเคียงกันได้กับ พระสูตรและพระวินัย(เฉพาะกรณีนี้)
และมิอาจสรุปว่า คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค สามารถเทียบเคียงกันได้กับ พระสูตรและพระวินัย(เฉพาะกรณีนี้)
(๒) ในทางกลับกัน หาก "ข้อความ" หรือ "คำศัพท์" บางส่วนจาก คัมภีร์พระอภิธรรม (ซึ่งเป็นส่วนของ สมมุติฐาน)
ปรากฏอยู่ใน คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ซึ่งเป็นสาวกพจน์ แต่ไม่มีอยู่ในพระสูตรและพระวินัย
ย่อมสามารถสรุปได้ว่า คัมภีร์พระอภิธรรม สามารถเทียบเคียงกันได้กับ คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค
หรืออาจสรุปได้ว่า คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค สามารถเทียบเคียงกันได้กับ คัมภีร์พระอภิธรรม
แต่มิอาจสรุปว่า คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค สามารถเทียบเคียงกันได้กับ พระสูตรและพระวินัย(เฉพาะกรณีนี้)
และมิอาจสรุปว่า (บางส่วนของ)คัมภีร์พระอภิธรรม สามารถเทียบเคียงกันได้กับ พระสูตรและพระวินัย เช่นกัน(เฉพาะกรณีนี้)
(๓) การพยายาม "โมเม" ว่า เพราะ "ข้อความ" หรือ "คำศัพท์" บางส่วนจาก คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ซึ่งเป็น สาวกพจน์
ปรากฏอยู่ใน คัมภีร์พระอภิธรรม แต่ไม่มีอยู่ในพระสูตรและพระวินัย
ดังนั้น คัมภีร์พระอภิธรรม จึงสามารถเทียบเคียงกันได้กับ พระสูตรและพระวินัย
ย่อมเป็นการสรุปความที่ผิดหลัก ตรรกะ และ ระบบเหตุผลทั้งหมด ไม่สามารถนำมาใช้การใดๆ ได้ !
ก็ในเมื่อปรากฏ "ข้อเท็จจริง" ว่า ข้อความ หรือ ถ้อยคำ หนึ่งใด มีความสอดคล้อง หรือตรงกับ สาวกพจน์
นั่นย่อมหมายความว่า ข้อความในส่วนนั้นๆ มีแนวโน้มที่จะเป็น "สาวกพจน์" มากกว่า
เข้าใจไหมครับ ?
********************************************************************************************************************
สรุป
ในเมื่อ ข้อเท็จจริง ปรากฏว่า ข้อความบางส่วนจาก คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ตรงกันกับ ข้อความบางส่วนจาก คัมภีร์พระอภิธรรม
โดยที่ ข้อความบางส่วน ที่ระบุถึงนี้ ไม่ปรากฏอยู่ในรูปพุทธพจน์จาก พระสูตร หรือ พระวินัย
ด้วยกฏเกณฑ์ทางตรรกศาสตร์ หรือจะด้วยหลักการทางเหตุผลใดๆ ก็ตาม
ย่อมมิอาจนำไปสู่การสรุปความว่า คัมภีร์พระอภิธรรม เป็นพุทธพจน์โดยตรง ด้วย "หลักฐาน" แบบนี้
นอกไปเสียจาก การคิดเองเออเองแบบ "ฟุ้งซ่าน" ไปตามประสา โมฆบุรุษ
ที่นิยมชมชอบ การกล่าวตู่พระพุทธเจ้าเป็นอาจินต์ อย่างปราศจากความละอาย เท่านั้นเอง
ช่างน่าหวัว .........................................
ที่กระบือบางตัว ไปยก ข้อความจาก พระอภิธรรม ซึ่งมันและพวก หมายมั่นปั้นมือ ที่จะสรุปความว่าเป็น พุทธพจน์โดยตรง
มาเทียบเคียงกับ คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ซึ่งทราบกันเป็นอย่างดีว่าเป็น สาวกพจน์ และทั้งๆ ที่เห็นอยู่ตำตาของมันว่า
ข้อความตามที่อ้างถึงจากพระคัมภีร์ทั้ง ๒ นั้น ตรงกัน แต่กลับไม่ปรากฏอยู่เลย ทั้งในพระสูตร และ พระวินัย !
ถึงกระนั้น มันก็ยังอุตส่าห์ สรุปความออกมาได้(อย่างหน้าด้านๆ)ว่า พระอภิธรรม เป็น พุทธพจน์โดยตรง (เหรอ?)
เวรกรรมของ สัตว์โลก(โง่ๆ)
จริงๆ
สวัสดี
ท่านพระสารีบุตร เอาปัจจัยต่างๆ มาจากไหน ?????????
ย่อมจำเป็นอยู่เอง ที่ผมและชาวพุทธเถรวาททั้งหลาย จำต้อง "เอาใจใส่" ต่อการ "บิดเบือน" อย่างหน้าด้านๆ แบบนี้ ตามสมควร
หรือมิใช่ ?
ที่จริงแล้ว กรณีนี้ ไม่มีอะไรยุ่งยากมากนัก เรื่องของเรื่อง ก็เพียงแค่ว่า นายคันโตนาซี ผู้ชื่นชอบในการกล่าวตู่พระพุทธเจ้า(อย่างปราศจากความละอาย)
ได้ยก ข้อความบางส่วนจาก พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ของท่านพระสารีบุตร ขึ้นเทียบกับ ข้อความบางส่วนจาก พระอภิธรรมปิฎก
จากนั้นจึงได้ตั้งข้อสังเกตว่า ...........
(๑) คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ของท่านพระสารีบุตร มีถ้อยคำ หรือ คำศัพท์ เกี่ยวกับ ปัจจัย ๒๔ ตรงกันกับ พระอภิธรรมปิฎก
(๒) แต่ คำศัพท์ เกี่ยวกับ ปัจจัย ๒๔ จาก คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ของท่านพระสารีบุตร กลับไม่พบว่ามีอยู่ในพระสูตรใดเลย
สมมุติฐาน(โง่ๆ) ของ นายคันโตนาซี ผู้ชื่นชอบในการกล่าวตู่พระพุทธเจ้า(อย่างปราศจากความละอาย) ก็คือ
(๑) ถ้า พระอภิธรรม เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นหลัง ปฐมสังคายนา มิใช่ พุทธดำรัสโดยตรงจากพระพุทธเจ้า ก็จะเท่ากับว่า ท่านพระสารีบุตร บัญญัติธรรม(ใหม่)ขึ้นเอง
(๒) ดังนั้น นายคันโตนาซี จึงสรุปความ(เอาเอง)อย่างโง่ๆ ว่า พระอภิธรรม ต้องเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นก่อน ปฐมสังคายนา และเป็นพระพุทธดำรัสโดยตรง
ด้วยเหตุที่ปรากฏ "ตรรก(บือ)" อันเป็นพิษภัยต่อ "พระธรรมวินัย" ผมจึงจำต้องใช้ "สิทธิ" ในความเป็นชาวพุทธเถรวาท แสดงความเห็นแย้ง ดังต่อไปนี้
********************************************************************************************************************
ประการแรก
สิ่งที่ท่านทั้งหลายพึงทำความเข้าใจให้ตรงกัน ก็คือ ลักษณะโดยทั่วไปของ คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ที่รจนาโดยท่านพระสารีบุตร
เป็นการ อธิบาย คำศัพท์ธรรมะต่างๆ โดยมี พระพุทธภาษิต หรือ ภาษิตของท่านพระอานนท์ หรือ ภาษิตของท่านพระสารีบุตรเอง เป็น บทตั้ง
จากนั้น ท่านพระสารีบุตร ก็จะทำการอธิบายคำศัพท์ต่างๆ เหล่านั้น อย่างละเอียด !
เปรียบเทียบให้สามารถเข้าใจได้ง่ายๆ ก็คือ คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ของ ท่านพระสารีบุตร มีลักษณะคล้ายๆ กับ คัมภีร์ อรรถกถา
เป็นแต่เพียง "นับถือ" กันว่า ภาษิตของท่านพระสารีบุตร มีค่าเท่ากับพุทธพจน์ ดังนั้น คัมภีร์เล่มนี้จึงถูกยกขึ้นสู่พระบาลี เป็นส่วนหนึ่งของพระไตรปิฎก
********************************************************************************************************************
ประการที่ ๒
พระพุทธเจ้าได้ตรัส "หลักการ" ตรวจสอบพระธรรมวินัย เอาไว้ดังนี้ว่า .........
นั่นจึงหมายความว่า โดยหลักการแล้ว การที่เราจะสามารถ สรุปความได้ว่า คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค และ คัมภีร์พระอภิธรรม
เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือไม่ ก็ด้วยการ (๑) สอบสวนในพระสูตร (๒) เทียบเคียงในพระวินัย
๑) หากเทียบเคียงกันได้ ลงกันได้ พึงถึงความตกลงว่า เป็นคำสอนของพระศาสดา
๒) แต่ หากเทียบเคียงกันไม่ได้ ลงกันไม่ได้ พึงถึงความตกลงว่า นี่มิใช่ คำสอนของพระศาสดา อย่างแน่นอน
********************************************************************************************************************
ประการที่ ๓
ในกรณีนี้ เป็นการพิจารณาแนวทางการใช้ "คำศัพท์" เป็น "หลักการ" ในการพิสูจน์ "ข้อเท็จจริง" ซึ่งสามารถเทียบเคียงได้กับการพิจารณาว่า
คำศัพท์หนึ่งใดก็ตาม เป็นพระพุทธดำรัสเดิมแท้ หรือเป็นถ้อยคำชั้นสาวกในสมัยหลัง ก็ด้วยการพิจารณาแนวทางการใช้คำศัพท์ เช่นกัน
ตัวอย่างเช่น เราจะไม่พบการใช้คำว่า "ปัจจยาการ" ในพระสูตร หรือพระวินัย แต่จะพบคำศัพท์นี้อย่างดกดื่น ในพระคัมภีร์ชั้นอรรถกถา
ดังนั้น จึงสามารถสรุปเป็นหลักการได้ว่า หากพบคำว่า "ปัจจยาการ" ปรากฏในคัมภีร์เล่มใด คัมภีร์นั้น ย่อมมิใช่พุทธพจน์ของเก่าเมื่อครั้งปฐมสังคายนา เป็นต้น
๑) กรณีของ คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค นี้เราทราบอย่างแน่นอนแล้วว่า เป็นภาษิตของท่านพระสารีบุตร
ในเมื่อทำการสอบสวน เทียบเคียง กับพระสูตรและพระวินัยแล้ว พบข้อเท็จจริงว่า มีคำศัพท์อยู่หลายคำ ที่ไม่ปรากฏอยู่ในชั้นพุทธพจน์
เราย่อมสรุปความได้ว่า "คำศัพท์" เหล่านั้น เป็นสาวกภาษิต เป็นถ้อยคำของพระสาวกในชั้นหลัง
โดยอาจเป็นคำของท่านพระสารีบุตรเอง หรือไม่ก็เป็นถ้อยคำของพระอรหันตสาวกท่านอื่นๆ(เช่น ท่านพระอานนท์)
๒) ส่วนกรณีของ คัมภีร์พระอภิธรรม การที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ข้อความบางส่วนของพระคัมภีร์ ปรากฏ "คำศัพท์" ที่ไม่มีอยู่ในพระสูตรและพระวินัย
แต่กลับพบ คำศัพท์เหล่านั้น ในพระคัมภีร์ ซึ่งเป็นสาวกภาษิต คือ คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค(ของท่านพระสารีบุตร)
ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้อย่างมากว่า ข้อความในส่วนนี้ จะเป็นสาวกภาษิต มิได้เป็นพระพุทธดำรัส ที่มีมาแต่เดิม
ทั้งหมดนี้ เป็นการกล่าวสรุปความ ตามหลักการ(มหาปเทส) และ เหตุผล ตามปกติ โดยปราศจากการชี้นำ(ปักธง)ด้วย "อคติ" ส่วนตน นะครับ !
********************************************************************************************************************
ประการที่ ๔
ในการใช้หลักเหตุผล หรือ ตรรกะใดๆ ก็ตาม สิ่งที่ต้องพึงระวังให้มาก ก็คือ การคาดหวังผล หรือ กะเก็งผล
ที่มีมากเสียจนกลายเป็นตัวทำลาย ตรรกะ หรือ หลักการ เหตุผล นั้นเสียเอง !
ทั้งนี้ ในเบื้องต้น เราจะต้องแยกแยะให้ได้เสียก่อนว่า ...............
ข้อมูลใด ที่เรียกว่า "ข้อเท็จจริง" ที่ได้รับการตรวจสอบอย่างชัดเจนแล้ว และ ข้อมูลใด ที่เป็นเพียงแค่ "ความเห็น" หรือ "ข้อสันนิษฐาน"
จากนั้น จึงจะสามารถพิจารณา ด้วย ตรรกะ หรือ หลักการ เหตุผล ได้โดยปราศจาก อคติ ส่วนตนเข้ามา ชี้นำ หรือ แทรกแซง !
ในกรณีของกระทู้นี้ ข้อมูลในส่วนที่เป็น "ข้อเท็จจริง" ก็คือ
๑) คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค เป็นภาษิตของท่านพระสารีบุตร
๒) ข้อความในพระสูตร และพระวินัย เป็นพุทธพจน์(โดยส่วนใหญ่)
๓) หลักการตรวจสอบคำสอนของพระพุทธเจ้าคือ หลักมหาปเทส ๔ ซึ่งกำหนดให้ (๑) สอบสวนในพระสูตร (๒) เทียบเคียงในพระวินัย
ส่วนประเด็นที่ว่า พระอภิธรรม เป็นพุทธดำรัสโดยตรง (หรือไม่ ?) เป็นประเด็นที่เรากำลังพิจารณา
ดังนั้น ข้อมูลในส่วนนี้ จึงจัดเป็น สมมุติฐาน หรือ ความเห็น ยังไม่ใช่ "ความจริง" จนกว่าจะได้รับการพิสูจน์ !
(ก) แนวทางในการพิจารณาที่ถูกต้อง ก็คือ ถ้าหากปรากฏว่ามี "ข้อความ" หรือ "คำศัพท์" ใดๆ ก็ตามจาก พระอภิธรรม
ปรากฏอยู่ใน คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ของท่านพระสารีบุตร แต่ไม่ปรากฏอยู่ในรูปพุทธพจน์จาก พระสูตร หรือ พระวินัย
ด้วยเหตุดังนี้ เราจึงควรสรุปความว่า "ข้อความ" หรือ "คำศัพท์" นั้นๆ จาก พระอภิธรรม เป็น สาวกพจน์ (มิใช่พุทธพจน์)
(ข) แต่เราไม่อาจ พิจารณาด้วยแนวทาง(ผิดๆ)ที่ว่า เพราะ "ข้อความ" หรือ "คำศัพท์" จาก คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ของท่านพระสารีบุตร
ไม่ปรากฏอยู่ในรูปพุทธพจน์จาก พระสูตร หรือ พระวินัย แต่กลับปรากฏอยู่ใน คัมภีร์พระอภิธรรม
ดังนั้น คัมภีร์พระอภิธรรม จึงต้องเป็น พุทธพจน์
ที่เป็นดังนี้ ก็เพราะ .........
แนวทางในข้อ (ก) เป็นการตรวจสอบ สมมุติฐานว่า พระอภิธรรมเป็นพระพุทธดำรัสโดยตรง หรือไม่ ?
โดยนำไปเปรียบเทียบ กับ คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ซึ่งเราทราบ "ข้อเท็จจริง" อย่างแน่นอนแล้วว่า เป็นสาวกพจน์
รวมไปถึงการนำไปเปรียบเทียบกับ ข้อความจาก พระสูตร และพระวินัย ซึ่งเราก็ทราบอย่างแน่นอนเช่นกันว่าเป็น พระพุทธดำรัสเดิมแท้
แต่แนวทางในข้อ (ข) กลับมิได้เป็นการตรวจสอบ สมมุติฐาน หากแต่เป็นการใช้ "อัตโนมัติ" สรุปความเอาเองดื้อๆ
ทั้งนี้ เนื่องจาก การที่ "ข้อความ" หรือ "คำศัพท์" บางส่วนจาก คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค
ไม่ปรากฏว่า "มีอยู่" ในพระสูตร หรือ พระวินัย ย่อมมิได้เป็นความแปลกประหลาดอันใดเลย
ถ้าหากเรายอมรับตามความเป็นจริงว่า คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค เป็น "สาวกพจน์" ซึ่งย่อมมีคำของพระสาวก "ปะปน" อยู่เป็นธรรมดา
ไม่ต่างไปจาก พระคัมภีร์ชั้นอรรถกถา ที่ "ข้อความ" หรือ "คำศัพท์" หลายๆ คำ ก็พึ่งถูกบัญญัติขึ้นโดยอรรถกถาจารย์ เช่นกัน !
ปัญหาของแนวทางการพิจารณาในข้อ (ข) ก็คือ การพยายามจะทำให้ เรื่องธรรมดา กลายเป็น เรื่องผิดปกติ ให้ได้
หรือมิใช่ ?
********************************************************************************************************************
ประการที่ ๕
ท่านทั้งหลาย พึงพิจารณาด้วยเหตุผล อย่างถี่ถ้วนรอบคอบว่า ..........
(๑) หาก "ข้อความ" หรือ "คำศัพท์" บางส่วนจาก คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ซึ่งเป็น สาวกพจน์
ปรากฏอยู่ใน คัมภีร์พระอภิธรรม แต่ไม่มีอยู่ในพระสูตรและพระวินัย
ย่อมสามารถสรุปได้ว่า คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค สามารถเทียบเคียงกันได้กับ คัมภีร์พระอภิธรรม
หรืออาจสรุปได้ว่า คัมภีร์พระอภิธรรม สามารถเทียบเคียงกันได้กับ คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค
แต่มิอาจสรุปว่า (บางส่วนของ)คัมภีร์พระอภิธรรม สามารถเทียบเคียงกันได้กับ พระสูตรและพระวินัย(เฉพาะกรณีนี้)
และมิอาจสรุปว่า คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค สามารถเทียบเคียงกันได้กับ พระสูตรและพระวินัย(เฉพาะกรณีนี้)
(๒) ในทางกลับกัน หาก "ข้อความ" หรือ "คำศัพท์" บางส่วนจาก คัมภีร์พระอภิธรรม (ซึ่งเป็นส่วนของ สมมุติฐาน)
ปรากฏอยู่ใน คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ซึ่งเป็นสาวกพจน์ แต่ไม่มีอยู่ในพระสูตรและพระวินัย
ย่อมสามารถสรุปได้ว่า คัมภีร์พระอภิธรรม สามารถเทียบเคียงกันได้กับ คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค
หรืออาจสรุปได้ว่า คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค สามารถเทียบเคียงกันได้กับ คัมภีร์พระอภิธรรม
แต่มิอาจสรุปว่า คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค สามารถเทียบเคียงกันได้กับ พระสูตรและพระวินัย(เฉพาะกรณีนี้)
และมิอาจสรุปว่า (บางส่วนของ)คัมภีร์พระอภิธรรม สามารถเทียบเคียงกันได้กับ พระสูตรและพระวินัย เช่นกัน(เฉพาะกรณีนี้)
(๓) การพยายาม "โมเม" ว่า เพราะ "ข้อความ" หรือ "คำศัพท์" บางส่วนจาก คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ซึ่งเป็น สาวกพจน์
ปรากฏอยู่ใน คัมภีร์พระอภิธรรม แต่ไม่มีอยู่ในพระสูตรและพระวินัย
ดังนั้น คัมภีร์พระอภิธรรม จึงสามารถเทียบเคียงกันได้กับ พระสูตรและพระวินัย
ย่อมเป็นการสรุปความที่ผิดหลัก ตรรกะ และ ระบบเหตุผลทั้งหมด ไม่สามารถนำมาใช้การใดๆ ได้ !
ก็ในเมื่อปรากฏ "ข้อเท็จจริง" ว่า ข้อความ หรือ ถ้อยคำ หนึ่งใด มีความสอดคล้อง หรือตรงกับ สาวกพจน์
นั่นย่อมหมายความว่า ข้อความในส่วนนั้นๆ มีแนวโน้มที่จะเป็น "สาวกพจน์" มากกว่า
เข้าใจไหมครับ ?
********************************************************************************************************************
สรุป
ในเมื่อ ข้อเท็จจริง ปรากฏว่า ข้อความบางส่วนจาก คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ตรงกันกับ ข้อความบางส่วนจาก คัมภีร์พระอภิธรรม
โดยที่ ข้อความบางส่วน ที่ระบุถึงนี้ ไม่ปรากฏอยู่ในรูปพุทธพจน์จาก พระสูตร หรือ พระวินัย
ด้วยกฏเกณฑ์ทางตรรกศาสตร์ หรือจะด้วยหลักการทางเหตุผลใดๆ ก็ตาม
ย่อมมิอาจนำไปสู่การสรุปความว่า คัมภีร์พระอภิธรรม เป็นพุทธพจน์โดยตรง ด้วย "หลักฐาน" แบบนี้
นอกไปเสียจาก การคิดเองเออเองแบบ "ฟุ้งซ่าน" ไปตามประสา โมฆบุรุษ
ที่นิยมชมชอบ การกล่าวตู่พระพุทธเจ้าเป็นอาจินต์ อย่างปราศจากความละอาย เท่านั้นเอง
ช่างน่าหวัว .........................................
ที่กระบือบางตัว ไปยก ข้อความจาก พระอภิธรรม ซึ่งมันและพวก หมายมั่นปั้นมือ ที่จะสรุปความว่าเป็น พุทธพจน์โดยตรง
มาเทียบเคียงกับ คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ซึ่งทราบกันเป็นอย่างดีว่าเป็น สาวกพจน์ และทั้งๆ ที่เห็นอยู่ตำตาของมันว่า
ข้อความตามที่อ้างถึงจากพระคัมภีร์ทั้ง ๒ นั้น ตรงกัน แต่กลับไม่ปรากฏอยู่เลย ทั้งในพระสูตร และ พระวินัย !
ถึงกระนั้น มันก็ยังอุตส่าห์ สรุปความออกมาได้(อย่างหน้าด้านๆ)ว่า พระอภิธรรม เป็น พุทธพจน์โดยตรง (เหรอ?)
เวรกรรมของ สัตว์โลก(โง่ๆ)
จริงๆ
สวัสดี