ความรู้รอบตัว

7 สิ่งมหัศจรรย์ ของโลก ยุคใหม่

Chichén Itzá, Mexico

1. เมืองโบราณซีเชน อิตซา ของชนเผ่ามายา ในเขตยูคาทาน เม็กซิโก

ชิเชน อิตซา ตั้งอยู่ที่คาบสมุทรยูคาทาน ประเทศเม็กซิโก เป็นเมืองศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของเผ่ามายา ตัววิหารที่สร้างถวายแด่เทพเจ้าของชนเผ่ามายา

สร้างอยู่บนเนื้อที่กว่า 6.4 ตรารางกิโลเมตร มีลักษณะเป็นปีระมิดเป็นชั้นลดหลั่นลงมา และมีบันไดอยู่ตรงกลาง บนยอดเป็นแท่นบูชา

สำหรับทำพิธีกรรมสังเวยแด่เทพเจ้าชนเผ่ามายาได้ชื่อว่าเป็นเผ่าที่มีความป่าเถื่อนในการบูชายันมนุษย์ แต่ก็ได้ชื่อว่ามีความเจริญทางภาษา

และความรู้ทางคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์ โดยมีการสร้างปฏิทินมายาขึ้นโดยกำหนดให้ 1 ปี มี 18 เดือนและแต่ละเดือนมี 20 วัน

ดังนั้น 1 ปีของชาวมายาจึงมี 360 วันและมีการเพิ่มวันที่ไม่ขึ้นกับเดือนใดเข้าไปอีก 5 วัน แม้จะมีความรู้ถึงเพียงนี้แต่พวกนี้กลับไม่ค้นพบการประดิษฐ์ล้อแต่อย่างใด





Christ Redeemer, Brazil

2. รูปปั้นพระเยซูคริสต์ หรือคริสต์ รีดีมเมอร์ บนยอดเขาในนครริโอ เดอ จาเนโร ของบราซิล



รูปปั้นพระเยซูคริสต์ ตั้งอยู่บนยอดเขาโคคาวาดู ( Cocarvado ) กรุงริโอ เดอ จาเนโร ( Rio de Janero ) ประเทศบราซิล มีความสูงราว 38 เมตร สร้างในปีค.ศ. 1921

ได้รับการออกแบบโดยไฮตอร์ ดา ซิลวา กอสตา( Heitor da Silva Costa ) ชาวบราซิล และสร้างโดยพอล ลันดอฟสกี ( Paul Landowski )

ประติมากรชาวฝรั่งเศสเชื้อสายโปแลนด์ ใช้เวลาในการสร้าง 5 ปี โดยทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 ตุลาคม 1926

ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถขึ้นไปยังฐานของรูปปั้นเพื่อชมทิวทัศน์ของเมืองริโอ เดอ จาเนโรได้






The Great Wall, China

3.กำแพงเมืองจีน (ติดโผครั้งที่ 2 จากยุคกลาง)

กำแพงเมืองจีน หรือ กำแพงหมื่นลี้ สร้างในสมัยของพระเจ้าจิ๋นซีฮ่องเต้ เพื่อป้องกันการรุกรานจากพวกมองโกล และพวกเติร์ก และได้มีการสร้างกำแพงต่ออีก 4 ครั้งใหญ่ๆโดยส่วนใหญ่ถูกสร้างในสมัยราชวงศ์หมิง แต่ก็ถูเผ่าเร่ร่อนจากมองโกเลียและแมนจูเรียบุกข้ามกำแพงเมืองจีนได้สำเร็จ

กำแพงเมืองจีนเป็นกำแพงที่กั้นระหว่างพรมแดนจีนกับธิเบต มีความสูงจากพื้นดิน 20 - 30 ฟุต กว้าง 15 - 20 ฟุต ยาวประมาณ 2,400 กิโลเมตร

กำแพงก่อด้วยดิน หินและอิฐ โดยทุกๆ 200 เมตรจะมีหอตรวจการอยู่ และมีระฆังแขวนอยู่ทุกหอรวมไม่ตำกว่า 20,000 หอ

ระหว่างการก่อสร้างมีผู้เสียชีวิตนับหมื่นคนและศพของผู้เสียชีวิตก็ถูกผังอยู่ในกำแพงนั่นเอง กำแพงเมืองจีนเป็นสิ่งก่อสร้างสิ่งเดียวของมนุษย์

ที่สามารถมองเห็นได้จากดวงจันทร์ ปัจจุบันกำแพงเมืองจีนส่วนที่เหลืออยู่สร้างในสมัยราชวงศ์หมิงทั้งสิ้น

กำแพงเมืองจีนถูกจัดเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลางด้วย




Machu Picchu, Peru

4. เมืองโบราณมาชูปิกชู ของชนเผ่าอินคา ในเปรู

มาชู พิคชู หรือนครสาบสูญแห่งอินคา ( The Lost City of the Incas ) เป็นเมืองโบราณที่ตั้งอยู่บนภูเขาในประเทศเปรู

อยู่สูงจากระดับนำทะเลถึง 2,350 เมตร มาชู พิคชูสร้างโดยจักรวรรดิ์อินคา และถูกทิ้งร่างเมื่ออินคาพ่ายแพ้แก่ชาวสเปน

จนกระทั่งถูกค้นพบโดยนักสำรวจชาวอเมริกันชื่อ ฮิราม บิงแฮม ( Hiram Bingham ) ในปีค.ศ. 1911




Petra, Jordan

5. เมืองโบราณเพตรา ในจอร์แดน

นครเพตรา เป็นนครที่แกะสลักลงบนหุบเขาใกล้ทะเลสาบเดดซี( Dead sea ) และอ่าวอัคบา ( Gulf of Aqaba ) เมืองเพตราถูกสร้างโดยชาวบานาเทียน ( Nabataeans )

ซึ่งเป็นชนเผ่าเร่ร่อนกลางทะเลทรายอาหรับ ซึ่งได้สกัดหน้าผาหินทรายให้เป็นบ้านเรือนสำหรับพักอาศัย และได้เปลี่ยนจากอาชีพเลี้ยงแกะมาเป็นพ่อค้า

และรับคุ้มครองกองคาราวาน ทำให้เพตราเป็นศูนย์กลางการค้าขนาดใหญ่มีพ่อค้าชาวกรีกได้อธิบายถึงความมั่งคั่งของเพตราว่าเป็นตลาดที่สำคัญที่สุดของชาวอาหรับ

เปตราเจริญถึงขีดสูงสุดในช่วง 50 ปีก่อนคริสตกาล จนถึงคริสตศักราชที่ 70 ในช่วงเวลานี้เปตราถูกปกครองด้วยกษัตริย์นาม อารีตัสที่ 4 ( Aretas IV )

ผู้ที่ชาวกรีกยกย่องว่า ฟิโลเดมอส ( Philodemos ) ซึ่งแปลว่า ผู้รักประชาชน เพตราเริ่มเสียอำนาจเมื่อมีเส้นทางการค้าที่สะดวกและปลอดภัยกว่าเกิดขึ้น

จนกระทั่งปีค.ศ. 106 เพตราถูกผนวกเข้ากับอาณาจักรโรมัน จนคริสตศตวรรษที่ 5 เพตรากลายเป็นที่ตั้งของมณฑลของบิชอบ

และถูกมุสลิมยึดครองในครสตศตวรรษที่ 7 และค่อยๆเสื่อมลงจนหายไปจากประวัติศาสตร์ จนกระทั่งถูกค้นพบโดย

นักสำรวจชาวสวิตเซอร์แลนด์ โจฮันน์ ลุควิก เบิร์กฮาร์ท ( Johann Ludwig Burckhardt ) ในปีค.ศ. 1812 เพตราจึงได้ปรากฏโฉมต่อชาวโลกอีกครั้ง




The Roman Colloseum, Italy (ติดโผครั้งที่ 2 จากยุคกลาง)

6. สนามกีฬาโคลอสเซียมในกรุงโรมของอิตาลี



โคลอสเซียม เป็นสนามกีฬากลางแจ้งขนาดใหญ่ในกรุงโรม สร้างในสมัยจักรพรรดิ์เวสปาเชียน ( Emperor Vespasian )

แห่งอาณาจักรโรมันและสร้างเสร็จในสมัยของจักรพรรดิไตตัส ( Titus ) ในคริสตศตวรรษที่ 1 โคลอสเซียมมีลักษณะเป็นอัฒจันทร์รูปวงกลมก่อด้วยหินทรายและอิฐวัดโดยรอบประมาณ 527 เมตร สูง 57 เมตร จุคนได้ประมาณ 80,000 คน

มีห้องสำหรับขังทาส นักโทษ และสัตว์ดุร้าย เช่น สิงโต เสือ โดยจะให้ทาสสู้กันเองจนกว่าจะเหลือผู้รอดชีวิตเพียงคนเดียว

จึงจะได้รับอิสระภาพ หรือ ให้นักโทษสู้กับสิงโตที่หิวโซเนื่องจากถูกจับอดอาหาร ในแต่ละปีมีนักโทษและทาสตายไม่ต่ำกว่า 100 คน

โคลอสเซียมถูกจัดเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลางด้วย



The Taj Mahal, India
7. ทัชมาฮาล ในเมืองอักรา ประเทศอินเดีย





ทัชมาฮาล สร้างโดยจักรพรรดิ์ชาห์ เจฮัน ( Emperor Shah Jahan ) เพื่อเป็นอนุสรณืแห่งความรักแด่พระมเหสีมุมทัช มาฮาล ( Mumtaz Mahal )

ทัชมาฮาลสร้างขึ้นระหว่างสร้างระหว่าง ค.ศ.1630-1648 ณ สวนริมผั่งแม่นำยมนา เมืองอัครา ออกแบบโดยอุสตาด ไอสา (Ustad lsa)

สร้างด้วยหินอ่อนสีขาวจากเมืองมะครานา หินอ่อนสีแดงจากเมืองฟาตีบุระ หินอ่อนสีเหลืองจากฝั่งแม่น้ำนรภัทฑ์ เพชรตาแมวจากกรุงแบกแดด ปะการัง

และ หอยมุกจากมหาสมุทรอินเดีย หินเจียระไนสีฟ้าจากเกาะลังขะ เพชรจากเมืองบนทลขัณฑ์

ทัชมาฮาลได้รับการรับรองจากสถาปิกทั่วโลกว่าสร้างได้ถูกสัดส่วน และงดงามที่สุด กว้างยาวด้านละ 100 เมตร ตรงกลางมีโดมสูง 60 เมตร

มีหอสูงมีโดมอยู่บนรอบทั้ง 4 มุม ภายใต้โดมใหญ่มีโลงหินอ่อนประดับด้วยอัญมณีมากมายบรรจุอยู่ แต่โลงพระศพจริงๆอยู่ในอุโมงค์ข้างใต้โลงหินนั้น

เดิมชาห์ เจฮันตั้งพระทัยจะสร้างสุสานสำหรับพระองค์เองที่อีกฝั่งของแม่น้ำยมนา โดยสร้างให้เหมือนกับทัชมาฮาลแต่สร้างด้วยหินอ่อนสีดำ

แต่ถูกพระโอรสจับพระองค์ขังอยู่ 7 ปีจึงสิ้นพระชนม์ และพระศพของพรองค์ถูกฝังอยู่เคียงข้างมิ่งมเหสีสุดที่รักนั่นเอง

ส่วนอุสตาด ไอสาสถาปนิกผู้ออกแบบก็ถูกชาห์ เจฮันสั่งประหารเนื่องจากไม่ต้องการให้ออกแบบสถาปัตยกรรมใดๆที่สวยกว่าทัชมาฮาลได้



ทั้งนี้ สถานที่ทั้ง 7 แห่งได้รับการคัดเลือกจากประชาชนทั่วโลกร่วม 100 ล้านคน

เป็นผู้ร่วมโหวตในอินเตอร์เน็ต ผ่านทางเว็บไซต์www.new7wonders.com และผ่านระบบข้อความสั้น หรือเอสเอ็มเอสของโทรศัพท์ มือถือ อย่างไรก็ดี

ฝ่ายผู้จัดยอมรับว่าไม่ได้หาวิธีป้องกันการโหวตสนับสนุนสถานที่ที่ชื่นชอบมากกว่าหนึ่งครั้งของประชาชนไว้รองรับ และอ้างว่ามีผู้ร่วมโหวตจากทุกประเทศในโลก

กลุ่มสถานที่สำคัญที่ติดรายชื่อรอบสุดท้าย แต่ ไม่ได้รับเลือก

มีอาทิ ปราสาทหินนครวัดในกัมพูชา หอไอเฟล ในฝรั่งเศส สโตนเฮนจ์ ในอังกฤษ และวัดคิโยมิสึ วัดเก่าแก่ในญี่ปุ่น เป็นต้น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่