หลังจากงานเปิดตัว ไอโฟนรุ่นใหม่ เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาทำให้นึกถึงเรื่องนี้ขึ้นมา…
" ทำไมเดี่ยวนี้เราไม่ค่อยเห็นคนใช้โนเกียกันเลยไม่เหมือนเมื่อก่อน" ปัจจุบันทุกคนหันมาใช้ ไอโฟนกันหมด ไอโฟนเริ่มดังสุดขีดมาจากการบริหารของสตีฟ จ็อบส์ แม้ว่าตอนนี้เวลาจะผ่านไปสองปีแล้วที่สตีฟ จ็อบส์ เสียชีวิตลง จ็อบส์เรียกได้ว่าเขาคือคนที่พลิกวงการโทรศัพท์มือถืออย่างแท้จริง จากยุคโทรศัพท์มือถือมีเอาไว้แค่ โทรออก รับสาย ส่งข้อความ จนมาถึงตอนนี้โทรศัพท์มือเป็นได้ทั้ง คอมพิวเตอร์ กล่องถ่ายรูป มันเป็นได้ทุกๆอย่าง
มันทำให้เราคิดนะว่าทำไมเค้าถึงมีความคิดที่สร้างสรรค์แบบนี้พลิกวงการโทรศัพท์ทำให้บริษัทที่เป็นอันดับหนึ่งมายาวนานล้มลงแล้วทำให้บริษัทของเขาแทนที่ขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง ยิ่งตอนนี้มีหนังเรื่องJobs เพิ่งเข้าฉายอีกหนังมันตอบโจทย์เรื่องการบริหารสำหรับใครที่อยากรู้เรื่องกลยุทธ์ต่างๆ ว่าทำไมถึงประสบความสำเร็จจนถึงทุกวันนี้
Jobs เข้าฉายแล้ววันนี้
คราวนี้เรามาดูกันว่าทำไมการบริหารของ Jobs ถึงทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่อย่างโนเกียถึงขึ้นถึงขายหุ้นให้กับไมโครซอฟท์เรา ไล่เหตุการณ์กันดีกว่า แล้วคุณจะรู้ ว่า Jobs เขาคือ อัจริยะเปลี่ยนโลก ที่แท้จริง
ในปีค.ศ. 2000 ซึ่งเป็นปีที่โนเกียรุ่งเรืองที่สุดเป็นผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือใหญ่ที่สุดในโลก ครองส่วนแบ่งตลาดโลกมากกว่า 1 ใน 4 มีมูลค่ากิจการถึง 3 แสนล้านเหรียญส่วนแอปเปิลมีมูลค่าเพียง 6.5 พันล้านเหรียญต่างกันเกือบ 300 เท่า
วันนี้แอปเปิลมีมูลค่าประมาณ 445 พันล้านเหรียญขณะที่โนเกียถูกขายไปในราคาที่ต้องนับว่าถูกมากเพียง 7 พันล้านเหรียญภายในระยะเวลาเพียง 13 ปี ยักษ์ใหญ่ที่เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่ทรงคุณค่ามากที่สุดของโลกแบรนด์หนึ่ง และเป็นหนึ่งในความเป็นฟินแลนด์ที่ใครๆต้องนึกถึงเมื่อเอ่ยชื่อประเทศนี้ต้องปิดฉากอันยิ่งใหญ่ลง
หลังขายกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้กับไมโครซอฟต์พร้อมกับโอนพนักงาน 32,000 คนรวมทั้งซีอีโอสตีเฟนอีล็อปไปด้วย โนเกียก็จะเหลือแต่กิจการผลิตอุปกรณ์และเครือข่ายการสื่อสารไร้สายเท่านั้น
โนเกียมีอายุเก่าแก่นานถึง 148 ปีโดยก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ.1865 เป็นโรงงานผลิตเยื่อกระดาษทางตอนใต้ของฟินแลนด์และเปลี่ยนไปผลิตรองเท้าบู๊ตที่ทำจากยางในตอนต้นศตวรรษที่ 20
อีก 63 ปีต่อมาโนเกียถึงจะก้าวเข้าสู่ธุรกิจโทรคมนาคมโดยเป็นผู้ผลิตวิทยุโทรศัพท์ที่ใช้ในกองทัพด้วยการควบกิจการกับบริษัทฟินนิชเคเบิลเวิร์กที่ทำธุรกิจนี้อยู่แล้ว
โนเกียผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่ติดตั้งในรถยนต์เครื่องแรกMobira Senator เมื่อปี 1982 หนึ่งปีหลังจากสร้างเครือข่าย Nordic Mobile Telephone หรือ NMT ซึ่งเป็นเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระหว่างประเทศเครือข่ายแรกของโลก และเปิดตัวโทรศัพท์มือถือเครื่องแรกMobira City Man ในปี 1987
โนเกียเริ่มหันมาเน้นธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างจริงจังในปี 1992 หลังจากที่ก่อนหน้านั้น ไปเทคโอเวอร์โรงงานผลิตเครื่องรับโทรทัศน์ในยุโรปมาแต่ไม่ประสบความสำเร็จ โนเกียประสบความสำเร็จอย่างสูงในตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถก้าวขึ้นเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดในโลกและโทรศัพท์โนเกียเป็นโทรศัพท์ขายดีอันดับหนึ่งของโลกติดต่อกัน 13 ปี
จนกระทั่งแอปเปิลนำไอโฟนออกสู่ตลาดเป็นครั้งแรกในปี 2007 นั่นแหละที่การปฏิวัติเทคโนโลยี่การสื่อสารในระดับบุคคลได้เริ่มขึ้นและขยายตัวสร้างผลสะเทือนอย่างรุนแรงมากขึ้นเป็นลำดับโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อซัมซุงนำสมาร์ทโฟนในระบบแอนดรอยด์ออกมาแข่งกับไอโฟนซึ่งใช้ระบบโอแอสที่แอปเปิลผลิตเองทำให้โทรศัพท์เคลื่อนที่โนเกียซึ่งเพียงไม่กี่ปีก่อนหน้านี้เองคืออุปกรณ์สื่อสารที่แสดงถึงสถานะทางสังคมของผู้ใช้กลายเป็นวัตถุล้าสมัยไปในพริบตา
ความจริงแล้วโนเกียผลิตสมาร์ทโฟนออกมาก่อนเพื่อนเพราะผู้บริหารโนเกียคาดการณ์ว่า รายได้จากโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพื้นฐานจะลดลงไปเรื่อย ๆ และเมื่อถึงปี 2000 จะไม่มีกำไรเลยดังน้น จึงได้ลงทุนวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีอีเมล์ที่ใช้กับโทรศัพท์เคลื่อนที่จอสัมผัส หรือทัชสกรีนและเครือข่ายไร้สายที่เร็วขึ้นในตอนต้นทศวรรษ 1990 และนำสมาร์ทโฟนเครื่องแรกคือโนเกีย 9000 ออกสู่ตลาดในปี 1996 สิบปีก่อนที่ไอโฟนจะเกิด
แต่ผู้ถือหุ้นในขณะนั้นพอใจกับผลกำไรจากการขายโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบธรรมดา และเห็นว่าโนเกียไม่ควรลงทุนกับสมาร์ทโฟนเพราะเป็นโทรศัพท์ที่มีราคาแพงสำหรับตลาดบนซึ่งมีผู้ใช้น้อยมาก
ประกอบกับในขณะนั้นโมโตโรล่าซึ่งเป็นคู่แข่งจากอเมริกานำโทรศัพท์รุ่นRazrซึ่งบางและมีฝาเปิดปิดออกสู่ตลาดได้รับความนิยมอย่างมากทำให้ผู้บิรหารโนเกียถูกผู้ถือหุ้นตำหนิซีอีโอคนเก่าลาออกไปซีอีโอคนใหม่ที่มาจากฝ่ายการเงินของโนเกียเปลี่ยนยุทธศาสตร์ใหม่ โดยนำเอาฟังก์ชั่นบางอย่างของสมาร์ทโนฟมาใส่ไว้ในโทรศัพท์แบบธรรมดา และหยุดการพัฒนาสมาร์ทโฟนซึ่งยุทธศาสตร์ใหม่นี้ประสบความสำเร็จทำให้โนเกียเป็นโทรศัพท์ขายดีที่สุดในโลก
จนกระทั่งสตีฟจ็อบส์แนะนำไอโฟนให้โลกรู้จักเป็นครั้งแรกเมื่อ 6 ปีก่อนโนเกียก็เริ่มนับถอยหลัง ถึงแม้ว่าจะพยายามพัฒนาสมาร์ทโฟนของตนขึ้นมาแข่งขันแต่ก็ไล่ไม่ทันแล้ว
สองปีที่แล้วโนเกียเลิกใช้ระบบปฏิบัติการซิมเบียนที่พัฒนาเองหันไปจับมือกับไมโครซอฟต์ใช้ระบบวินโดวส์เป็นระบบปฏิบัติการของสมาร์ทโฟนแทน“ลูเมีย” ซึ่งเป็นสมาร์ทโฟนของโนเกียแม้จะมีคุณสมบัติในการใข้งานที่ดีแต่ก็ไม่สามารถเทียบกับความนิยมและยอดขายของซัมซุงและไอโฟนได้เลย
ไมโครซอฟต์เองก็เป็นเหยื่อของความคิดสร้างสรรค์ของสตีฟจ็อบส์แบบเดียวกับโนเกียเพราะเมื่อสตีฟจ็อบส์ทำให้ไอโฟนเป็นคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่และพัฒนาไอแพดขึ้นมาอีกตัวหนึ่งก็รุกคืบเข้าไปกินส่วนแบ่งตลาดของคอมพิวเตอร์พีซีและโน้ตบุ๊กที่ไมโครซอฟต์ผูกขาดซอฟต์แวร์มานานหลายสิบปี
ไมโครซอฟต์ต้องหารายได้ใหม่มาแทนรายได้จากซอฟต์แวร์ที่แม้จะยังมากอยู่ แต่อนาคตนั้นไม่แน่การซื้อโนเกียทำให้ไมโครซอฟต์ซึ่งเดิมอยู่ในธุรกิจซอฟต์แวร์อย่างเดียวก้าวไปสู่ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ด้วยเหมือนกับแอปเปิลเพื่อจะผลิตสมาร์ทโฟนแทบเล็ตและเครื่องมือสื่อสารแบบเคลื่อนที่อื่นๆอยู่ที่ว่า จะแข่งขันได้และไล่ทันแอปเปิลหรือซัมซุงซึ่งล่วงหน้าไปไกลแล้วหรือไม่
แหล่งที่มาข้อมูล:
http://www.manager.co.th/Politics/Vi...=9560000112485
จริงมั้ย “โนเกีย” มีวันนี้เพราะ “สตีฟ จ็อบส์ “
" ทำไมเดี่ยวนี้เราไม่ค่อยเห็นคนใช้โนเกียกันเลยไม่เหมือนเมื่อก่อน" ปัจจุบันทุกคนหันมาใช้ ไอโฟนกันหมด ไอโฟนเริ่มดังสุดขีดมาจากการบริหารของสตีฟ จ็อบส์ แม้ว่าตอนนี้เวลาจะผ่านไปสองปีแล้วที่สตีฟ จ็อบส์ เสียชีวิตลง จ็อบส์เรียกได้ว่าเขาคือคนที่พลิกวงการโทรศัพท์มือถืออย่างแท้จริง จากยุคโทรศัพท์มือถือมีเอาไว้แค่ โทรออก รับสาย ส่งข้อความ จนมาถึงตอนนี้โทรศัพท์มือเป็นได้ทั้ง คอมพิวเตอร์ กล่องถ่ายรูป มันเป็นได้ทุกๆอย่าง
มันทำให้เราคิดนะว่าทำไมเค้าถึงมีความคิดที่สร้างสรรค์แบบนี้พลิกวงการโทรศัพท์ทำให้บริษัทที่เป็นอันดับหนึ่งมายาวนานล้มลงแล้วทำให้บริษัทของเขาแทนที่ขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง ยิ่งตอนนี้มีหนังเรื่องJobs เพิ่งเข้าฉายอีกหนังมันตอบโจทย์เรื่องการบริหารสำหรับใครที่อยากรู้เรื่องกลยุทธ์ต่างๆ ว่าทำไมถึงประสบความสำเร็จจนถึงทุกวันนี้
Jobs เข้าฉายแล้ววันนี้
คราวนี้เรามาดูกันว่าทำไมการบริหารของ Jobs ถึงทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่อย่างโนเกียถึงขึ้นถึงขายหุ้นให้กับไมโครซอฟท์เรา ไล่เหตุการณ์กันดีกว่า แล้วคุณจะรู้ ว่า Jobs เขาคือ อัจริยะเปลี่ยนโลก ที่แท้จริง
ในปีค.ศ. 2000 ซึ่งเป็นปีที่โนเกียรุ่งเรืองที่สุดเป็นผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือใหญ่ที่สุดในโลก ครองส่วนแบ่งตลาดโลกมากกว่า 1 ใน 4 มีมูลค่ากิจการถึง 3 แสนล้านเหรียญส่วนแอปเปิลมีมูลค่าเพียง 6.5 พันล้านเหรียญต่างกันเกือบ 300 เท่า
วันนี้แอปเปิลมีมูลค่าประมาณ 445 พันล้านเหรียญขณะที่โนเกียถูกขายไปในราคาที่ต้องนับว่าถูกมากเพียง 7 พันล้านเหรียญภายในระยะเวลาเพียง 13 ปี ยักษ์ใหญ่ที่เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่ทรงคุณค่ามากที่สุดของโลกแบรนด์หนึ่ง และเป็นหนึ่งในความเป็นฟินแลนด์ที่ใครๆต้องนึกถึงเมื่อเอ่ยชื่อประเทศนี้ต้องปิดฉากอันยิ่งใหญ่ลง
หลังขายกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้กับไมโครซอฟต์พร้อมกับโอนพนักงาน 32,000 คนรวมทั้งซีอีโอสตีเฟนอีล็อปไปด้วย โนเกียก็จะเหลือแต่กิจการผลิตอุปกรณ์และเครือข่ายการสื่อสารไร้สายเท่านั้น
โนเกียมีอายุเก่าแก่นานถึง 148 ปีโดยก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ.1865 เป็นโรงงานผลิตเยื่อกระดาษทางตอนใต้ของฟินแลนด์และเปลี่ยนไปผลิตรองเท้าบู๊ตที่ทำจากยางในตอนต้นศตวรรษที่ 20
อีก 63 ปีต่อมาโนเกียถึงจะก้าวเข้าสู่ธุรกิจโทรคมนาคมโดยเป็นผู้ผลิตวิทยุโทรศัพท์ที่ใช้ในกองทัพด้วยการควบกิจการกับบริษัทฟินนิชเคเบิลเวิร์กที่ทำธุรกิจนี้อยู่แล้ว
โนเกียผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่ติดตั้งในรถยนต์เครื่องแรกMobira Senator เมื่อปี 1982 หนึ่งปีหลังจากสร้างเครือข่าย Nordic Mobile Telephone หรือ NMT ซึ่งเป็นเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ระหว่างประเทศเครือข่ายแรกของโลก และเปิดตัวโทรศัพท์มือถือเครื่องแรกMobira City Man ในปี 1987
โนเกียเริ่มหันมาเน้นธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างจริงจังในปี 1992 หลังจากที่ก่อนหน้านั้น ไปเทคโอเวอร์โรงงานผลิตเครื่องรับโทรทัศน์ในยุโรปมาแต่ไม่ประสบความสำเร็จ โนเกียประสบความสำเร็จอย่างสูงในตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถก้าวขึ้นเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดในโลกและโทรศัพท์โนเกียเป็นโทรศัพท์ขายดีอันดับหนึ่งของโลกติดต่อกัน 13 ปี
จนกระทั่งแอปเปิลนำไอโฟนออกสู่ตลาดเป็นครั้งแรกในปี 2007 นั่นแหละที่การปฏิวัติเทคโนโลยี่การสื่อสารในระดับบุคคลได้เริ่มขึ้นและขยายตัวสร้างผลสะเทือนอย่างรุนแรงมากขึ้นเป็นลำดับโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อซัมซุงนำสมาร์ทโฟนในระบบแอนดรอยด์ออกมาแข่งกับไอโฟนซึ่งใช้ระบบโอแอสที่แอปเปิลผลิตเองทำให้โทรศัพท์เคลื่อนที่โนเกียซึ่งเพียงไม่กี่ปีก่อนหน้านี้เองคืออุปกรณ์สื่อสารที่แสดงถึงสถานะทางสังคมของผู้ใช้กลายเป็นวัตถุล้าสมัยไปในพริบตา
ความจริงแล้วโนเกียผลิตสมาร์ทโฟนออกมาก่อนเพื่อนเพราะผู้บริหารโนเกียคาดการณ์ว่า รายได้จากโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพื้นฐานจะลดลงไปเรื่อย ๆ และเมื่อถึงปี 2000 จะไม่มีกำไรเลยดังน้น จึงได้ลงทุนวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีอีเมล์ที่ใช้กับโทรศัพท์เคลื่อนที่จอสัมผัส หรือทัชสกรีนและเครือข่ายไร้สายที่เร็วขึ้นในตอนต้นทศวรรษ 1990 และนำสมาร์ทโฟนเครื่องแรกคือโนเกีย 9000 ออกสู่ตลาดในปี 1996 สิบปีก่อนที่ไอโฟนจะเกิด
แต่ผู้ถือหุ้นในขณะนั้นพอใจกับผลกำไรจากการขายโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบธรรมดา และเห็นว่าโนเกียไม่ควรลงทุนกับสมาร์ทโฟนเพราะเป็นโทรศัพท์ที่มีราคาแพงสำหรับตลาดบนซึ่งมีผู้ใช้น้อยมาก
ประกอบกับในขณะนั้นโมโตโรล่าซึ่งเป็นคู่แข่งจากอเมริกานำโทรศัพท์รุ่นRazrซึ่งบางและมีฝาเปิดปิดออกสู่ตลาดได้รับความนิยมอย่างมากทำให้ผู้บิรหารโนเกียถูกผู้ถือหุ้นตำหนิซีอีโอคนเก่าลาออกไปซีอีโอคนใหม่ที่มาจากฝ่ายการเงินของโนเกียเปลี่ยนยุทธศาสตร์ใหม่ โดยนำเอาฟังก์ชั่นบางอย่างของสมาร์ทโนฟมาใส่ไว้ในโทรศัพท์แบบธรรมดา และหยุดการพัฒนาสมาร์ทโฟนซึ่งยุทธศาสตร์ใหม่นี้ประสบความสำเร็จทำให้โนเกียเป็นโทรศัพท์ขายดีที่สุดในโลก
จนกระทั่งสตีฟจ็อบส์แนะนำไอโฟนให้โลกรู้จักเป็นครั้งแรกเมื่อ 6 ปีก่อนโนเกียก็เริ่มนับถอยหลัง ถึงแม้ว่าจะพยายามพัฒนาสมาร์ทโฟนของตนขึ้นมาแข่งขันแต่ก็ไล่ไม่ทันแล้ว
สองปีที่แล้วโนเกียเลิกใช้ระบบปฏิบัติการซิมเบียนที่พัฒนาเองหันไปจับมือกับไมโครซอฟต์ใช้ระบบวินโดวส์เป็นระบบปฏิบัติการของสมาร์ทโฟนแทน“ลูเมีย” ซึ่งเป็นสมาร์ทโฟนของโนเกียแม้จะมีคุณสมบัติในการใข้งานที่ดีแต่ก็ไม่สามารถเทียบกับความนิยมและยอดขายของซัมซุงและไอโฟนได้เลย
ไมโครซอฟต์เองก็เป็นเหยื่อของความคิดสร้างสรรค์ของสตีฟจ็อบส์แบบเดียวกับโนเกียเพราะเมื่อสตีฟจ็อบส์ทำให้ไอโฟนเป็นคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่และพัฒนาไอแพดขึ้นมาอีกตัวหนึ่งก็รุกคืบเข้าไปกินส่วนแบ่งตลาดของคอมพิวเตอร์พีซีและโน้ตบุ๊กที่ไมโครซอฟต์ผูกขาดซอฟต์แวร์มานานหลายสิบปี
ไมโครซอฟต์ต้องหารายได้ใหม่มาแทนรายได้จากซอฟต์แวร์ที่แม้จะยังมากอยู่ แต่อนาคตนั้นไม่แน่การซื้อโนเกียทำให้ไมโครซอฟต์ซึ่งเดิมอยู่ในธุรกิจซอฟต์แวร์อย่างเดียวก้าวไปสู่ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ด้วยเหมือนกับแอปเปิลเพื่อจะผลิตสมาร์ทโฟนแทบเล็ตและเครื่องมือสื่อสารแบบเคลื่อนที่อื่นๆอยู่ที่ว่า จะแข่งขันได้และไล่ทันแอปเปิลหรือซัมซุงซึ่งล่วงหน้าไปไกลแล้วหรือไม่
แหล่งที่มาข้อมูล: http://www.manager.co.th/Politics/Vi...=9560000112485