10 ปีเด็กบ้านนอกใน New Zealandเเรงบัลดาลใจจาก Btour Major Development สู้ Postgraduate NZ Immigration Law/Advisory

อยากเเชร์ชีวิตในต่างเเดน ประเทศนิวซีเเลนด์ตั้งเเต่เริ่มชีวิตจนถึงวันนี้จากเด็กบ้านนอกสู่เมืองนอก

ได้มีโอกาสย้ายตามคุณเเม่มาอาศัยอยู่ที่ประเทศนิวซีเเลนด์ตั้งเเต่ปี 2004 ตอนนั้นอายุ 13 ปี เรียน ม1
ชีวิตกำลังเข้าวัยรุ่นที่ประเทศไทย มีเพื่อนสนุกสนาน ย้ายมานิวซีเเลนด์ ชีวิตเปลี่ยนไปจากหน้ามือเป็น
หลังมือค่ะ บอกได้เลยว่ามาใหม่อยากจะกลับมาก เพราะพูดกับใครก็ไม่รู้เรื่องสื่อสารไม่ได้ ซื้ออะไรก็ไม่เป็น
ห่อเเซนวิชไปกิน กับผลไม้ที่ รร ทุกวัน เพื่อนชาวนิวซีเเลนด์ก็มีอยากคุยบ้าง ไม่อยากบ้าง เป็นชีวิตที่หดหู่สุดๆ
ในโรงเรียนที่เรียนตอนนั้นไม่มีคนไทยเลย จนมาถึงปี 2005 เริ่มสื่อสารพอไปได้อาศัยจำๆคนโน่นคนนี้พูดเอา
มีน้องคนไทยมาเรียน ตอนนั้นรู้สึกเหมือนสวรรค์มาโปรด เลยย้ายไปโรงเรียน ญ ล้วน อีกเมืองข้างๆกันทีน้อง
คนไทยเรียน ชีวิตก็เหมือนจะดีขึ้นแต่ดัน ก่ำๆกึ่งๆ โดนอาจารย์ดูเเลนักเรียนต่างชาติ เห็นเราเป็นคนละชั้นกับนักเรียน
ต่างชาติคนอื่นเพราะ เรามาอาศัยอยู่กับเเม่ จ่ายเงินราคาปกติ เเต่นักเรียนต่างชาติทั่วไปจะจ่ายเงินค่อนข้างเเพงมาก
สรุป ปีนั้นเลวร้ายที่สุดไม่อยากไปโรงเรียน โดดเรียน ขี้เกียจ งานไม่ส่ง ไม่สนใจ สรุป ตกหมดทุกวิชา ฮ่าๆ
เเต่ก็ยังได้เลื่อนชั้น ปีต่อมา ต้นปีก้อยังทำตัวเกเรเหมือนเดิม เกลียดโรงเรียนมาก ไม่อยากไปเลย ใจไม่อยู่
เพราะไม่รู้สึกว่าเขาต้อนรับ ย้ายก็ไม่ได้เพราะเราเรียกร้องอยากย้ายมาโรงเรียนนี้ตอนเเรกเอง เป็นช่วงชีวิตไฮสูลที่
เเย่เเละห่วยสุดๆ ต้องปั่นจักรยานไปโรงเรียนประมาณ 5 กิโลจากบ้าน บางวันก้อเเกล้งทำโซ่หลุดเข็นจักรยานกลับบ้าน
ช่วงนั้นรู้สึกได้ว่าเเม่คงเสียใจสุดๆเพราะตอนอยู่ไทยเราไม่ใช่เด็กเกเรเลย เเต่พอมาอยู่นี่ชีวิตเรากลับเปลี่ยน เครียดสุดๆ
เพราะปีที่ 2ของไฮสคูลการเรียนก็ยังห่วยเเตกเหมือนเดิม คือ ตกหมดทุกตัว!!!!
พอปีที่ 3 เลยคิดว่าอยากปรับปรุงอยากตั้งใจเรียน เลยเริ่มทำตัวเองใหม่ไปโรงเรียนทุกวันไม่เคยขาดเลย ตอนนั้นคือ
โดนเพื่อนเเซวจำได้ฝังใจมากว่า อ้าว มาเรียนเเล้วหรอทุกทีเห็นมาอาทิตย์ละครั้ง
ปีนั้นเกรดดีจนได้รับรางวัล ปลายปีเป็นใบประกาศ ที่นั้นเรียกว่า prize giving award สำหรับนักเรียนเรียนดีเเละมีความพยายาม
เราได้มา 3อัน Diligence in Applied Mathematics, Diligence in Communication Skills, & Diligence in Text Processing
จุดนี้คือทำให้ชีวิต ทัศนคติ ในชีวิตเปลี่ยนมาก คิดตลอดว่าช่างเถอะใครไม่ชอบเราด้วยเหตุผลอะไรเราก็
จะต้องอยู่ให้ได้ในชีวิตนี้ ตอนกลางวันถ้าไม่มีใครนั่งกินข้าวเป็นเพื่อนเราเราก็จะนั่งกินข้าวคนเดียว เราจะไม่ฝากชีวิตนี้ไว้กับ
ความรู้สึกคนอื่น
ต่อมาก็ย้ายไปเรียน Polytech ของที่นิวซีเเลนด์สาย การท่องเทียว ตอนนั้นคิดเเค่ว่าอยากเที่ยวอยากเที่ยวรอบโลกอยาก
ทำอาชีพอะไรก็ได้ที่ขอให้ได้เที่ยวด้วยตัดสินใจเรียนเอาวุติ Diploma หรืออนุปริญญา คิดว่าชีวิตนี้จะขออยู่เมืองนอกเรียนเอาเเค่
อนุปริญญาไปก่อน สำหรับที่นี้คือ อนุปริญญาถือว่าสูงนะเพราะคนที่นี้เขาจบเเค่ไฮสคูลกัน คือส่วนมากเพื่อนที่เรียนไฮสูลด้วยกันนี่
มีลูกกันไปหมดละ เพราะชีวิตทีนี้เขาเป็นประเทศ Developed เเล้วคุณภาพชีวิตคนที่นี้ดีมาก ไม่ต้องทำงานมีลูก govt ก็ให้เงินรายอาทิตย์
สรุป จบ ปี 2010 แต่... เมื่อ ตอนเรียนอนุปริญญาดันมาเจอเเฟนคนปัจจุบันซะก่อนเลยทำให้ชีวิตหักเหอีกครั้ง ......

เเฟนเป็นคนไทยเเฟนก็มีความคิดที่ปลูกฝังมาตลอดว่าไม่ได้นะต้องจบปริญญานะ ชวนกันเรียนมหาลัยก็เลยตัดสินใจทำงานช่วยเเม่อยู่ 1ปี เป็นเหมือน gap year เเล้วก็ไปเริ่มเรียนที่ University Of Waikato ที่นิวซีเเลนด์มีมหาลัยเเค่ประมาณ 6ที่เเละสำคัญคือเข้ายากมาก บอกเลย!
เเต่ก็เข้าไปได้อยู่ดีไม่รู้เพราะฟลุคหรืออะไรมหาลัยตอบรับมาดีใจเหมือนถูกหวยรางวัลที่ 1ทำนองว่าไม่คาดฝันว่าชีวิตนี้จะสามารถเข้ามหาลัยได้
เรียนจบปีนี้ สิ้นเดือน กันยานี้ก็จบเเล้ว 3ปีที่มหาลัยทรมานมาก งานเยอะสุดๆ หินที่สุดเท่าที่เคยเจอ อาจารย์ก็จะยืนบ่นๆอยู่หน้าห้อง พอหมด ชม ก็จบ เราจะจดไม่จดก็ช่างในมหาลัยคนไทยไม่เจอเลย อยู่ตัวคนเดียวอีกนั้นเเหละ อยู่มันไปอย่างนั้นเเหละ เเฟนก็เรียนเเต่ตอนหลังเเฟนย้ายไปมหาลัยเอกชนเดียวกับพี่เรา เราก็ไม่มีเพื่อนอีกนั้นเเหละ เรียนๆ เรียนเสร็จ ไปนั่งในห้องสมุดบ้างเดินไปซื้อกาเเฟบ้าง คนจีนก็จะเกาะกลุ่มกัน คนฝรั่งก้อเวลามีงานกลุ่มก็ไม่อยากต้อนรับคนเอเชีย เเต่คนจีนมันครึ่งต่อครึ่งเราก้ออยู่เเบบตัวคนเดียวอยู่สักพักก็ได้เจอกับเพื่อนสนิท
เพื่อนมาจากประเทศโซโลม่อน เป็นนักเรียนทุนมาเป็นคนง่ายๆเรียนวิชาเดียวกันหมดเลยเเล้วบังเอิญมีวันหนึ่งได้มีโอกาสนั่งข้างกัน
เลยคุยกันสรุปเเล้วก็เลยกลายเป็นเพื่อนสนิทกันปีนี้จบเเล้วเพื่อนต้องกลับไปทำงานที่ประเทศเขาคงไม่ได้เจอกันอีกนานนึกเเล้วก็ใจหายเหมือนกันเเต่มันเป็นธรรมชาติของคนเราพบพรากเป็นเรื่องธรรมดา
จุดหักเหต่อมาคือเเม่เเฟนอยากจะทำธุรกิจที่นิวซีเเลนด์เพื่อให้เเฟนกับน้องได้กินได้ใช้เงินทางนี้บ้างไม่ต้องส่งไปส่งมาเเล้วเราก็เลยมีความจำเป็นต้องช่วยเพราะเเม่ไม่มีเวลามาทำเองเป็นธุรกิจ อิมพอร์ตของจากไทยเเล้วก็ขายส่ง ขายปลีกของเอเชีย
อาจารย์ที่ปรึกษาเราต้องการให้ลงเรียนต่ออีก 1ปีเพราะอยากให้เราได้ เกียรตินิยมมากตั้งเเต่เรียนมหาลัยมาเราไม่เคยได้เกรด C เลย
ปีนี้โปรเจคจบเขียนคล้ายๆวิทยานิพนเล่มเล็ก 5,000พันเราได้เกรด A- อาจารย์อยากจะเขียนชื่อเราลงให้ faculty ส่งจดหมายเชิญชวนให้เรา
เรียนเกรียตรินิยามเเต่ด้วยมีเหตุที่เราได้ทบทวนอย่างดีเเล้วไม่สามารถที่จะลงเรียนต่อได้เพราะทางร้านก็ไม่มีคนช่วยเราเลยตัดสินใจบอกอาจารย์ไปว่าเราไม่เรียน จุดนี้เฮริทมาก เราไม่ใช่คนเรียนเก่งเเต่เราอาศัยทำงานส่งเวลาคนอื่นเที่ยวเราอยู่บ้านนั่งเขียนงาน
ส่วนมากคนไทยที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษมากนักให้เราเเปลโน่นนี่ให้บ้าง ให้เราเขียนโน่นนี่ให้บ้าง บังเอิญกับช่วงก่อนนี้มีความจำเป็นต้องปรึกษากับทนายสาย อิมมิเกรชั่น เเล้วขอบอกว่าค่าใช้บริการเป็นเเสน เสียดายๆเงินมาก พี่สะใภ้ก็ต้องใช้เหมือนกันเหมือนอะไรมาดลใจ
อาจารย์เอาใบของมหาลัยโคกันใน Postgraduate กฎหมาย อิมมิเกรชั่น นิวซีเเลนด์ เเล้วเรียนในเน็ตได้ไม่ต้องไปมหาลัย เราเลยตัดสินใจให้อาจารย์เขียนจดหมายรับรองให้เราเข้า ทางโน่นจะพิจราณาเดือน ธค อยากให้ได้มากเพราะด้วยราคาค่าปริกษา นักกฎหมายต่างประเทศทีนี้
เเพงเกินเเล้วคนที่ไม่มีเงินนี่บางคนก็ต้องไปกู้หนี้ ยืมคนอื่นมาจ่ายเพราะไม่มีทางเลือกเรามีความคิดเเค่ว่าอยากเรียนไว้ช่วยคนไทย หรือคนเอเชียที่นี้ในนระหว่างที่เราทำงานกับเเฟน เราต้องเจอลูกค้าคนเอเชียเยอะ บางคนก็มีบางคนก็เดือดร้อนเเต่จะทำฟรีคงเป็นไปไม่ได้เพราะเราก็ต้องเสียค่าเรียนเเพง เเละต้องขอใบประกอบอาชีพด้วยไม่งั้นผิดกฎหมายใบนี้ก็ค่าขอเหยียบเเสน เเต่สิ่งที่เราอยากทำคือช่วยคนที่เดือดร้อน
ที่ไกลบ้านเมือง ไม่ให้ถูกทนายหรือกลุ่มคนบางกลุ่มเอาเปรียบ ถ้าเราสามารถเข้าเรียนสายนี้ได้เราจะขอสาบานว่าจะช่วยเหลือคนที่ตกทุกข์ได้
ยากในประเทศนิวซีเเลนด์ในราคาที่ยุติธรรมที่สุด ปัจจุบันทนายกับที่ปรึกษากฎหมายสายนี้ค่าเเรงอยู่ที่ชั่วโมงละ 2500-8000บาท ขอบอกว่า
เเพงมากเเฟนเราทำเรื่องขอวีซ่าปีที่เเล้วหมดไป ประมาณ 150,000

ขอให้เข้าได้เถอะ สาธุๆๆๆๆ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่