อาจเป็น ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
บรรยากาศทางการเมืองไทยที่กำลังร้อนแรงอยู่ในปัจจุบัน
จะเพิ่มดีกรีความเข้มข้นมากขึ้นหรือไม่ หากมีใครสักคน
ประกาศว่าเจ้าของรางวัลโนเบลคนแรกของประเทศไทย
อาจเป็น "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ของไทย
ความเห็นข้างต้น ดูเสมือนเป็นการสอพลอ ยกยอเกินจริง
ที่บรรดาเผด็จการอำมาตย์ พรรคฝ่ายค้าน คนเสื้อเหลืองและสลิ่มทุกเฉดสี
คงทนไม่ได้ต้องออกมาระเบ็งเซ็งแซ่ส่งเสียงสาปแช่งกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา
โหมประนามหยามเหยียด "ความเป็นยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ให้ตายคาตีน
ว่าคนอย่าง "ปู" นะหรือจะได้รับรางวัลเกียรติยศระดับโลกรางวัลนี้
"
อีปลวก อี
ขายชาติอย่างนังนี่นะหรือ" จะได้รับรางวัลโนเบล ฝันไปหรือเปล่า
หญ้าแฝกยังออกเสียงเป็นหญ้าแพรก ประเทศซีดนีย์มันมีที่ไหน ยิ่ง thank you three times
ทำให้คนไทยขายหน้ากันไปทั้งสามโลก ทั้งยังแสดงความงี่เง่าอีกมากมายสุดจะบรรยาย
เสื่อมเสียภาพลักษณ์หญิงไทย อับอายกันไปทั้งแผ่นดิน ยังฝันจะได้รับรางวัลโนเบล....โอ้แม่เจ้า
จากวันที่ 16 พฤษภาคม 2554
วันที่ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรได้รับการเสนอชื่อให้อยู่ในอันดับ 1
ของผู้สมัคร สส.ระบบบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทย
อันเป็นความหมายที่เข้าใจกันทางการเมืองว่าเธอคือ
ว่าที่ นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทยนั่นเอง
เพียง 49 วันนับจากวันนั้น
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็นำพาพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งทั่วไปอย่างถล่มทลาย
ผลการเลือกตั้งที่มีขึ้นเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 พรรคเพื่อไทยได้ สส. จำนวน 265 ที่นั่ง
เกินกึ่งหนึ่งของจำนวน สส.ทั้งหมดในสภาผู้แทนราษฎร ได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล
จากวันที่ 5 สิงหาคม 2554
วันที่ทรงลงพระปรมาภิไธยโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ของประเทศไทย
แม้การสนองพระบรมราชโองการฯ อย่างเป็นทางการจะมีขึ้นในอีกสามวันต่อมาในวันที่ 8 สิงหาคม 2554 ก็ตาม
นับถึงวันนี้ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทยมาแล้วครบ 2 ปีเต็ม
จากวันแรกที่เปิดตัวสมัคร สส. ในระบบบัญชีรายชื่อ
จนถึงวันแถลงนโยบายต่อรัฐสภาในวันอังคารที่ 23 สิงหาคม 2554
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย
ได้ประกาศย้ำจุดยืนของเธอให้คนไทยทั้งชาติและนานาประเทศ
ได้รับรู้กันอีกครั้งว่าเธอมา "แก้ไข ไม่แก้แค้น"
เสียงประกาศของเธอในวันนั้นหนักแน่น ผู้ฟังสามารถสัมผัสได้
ถึงความมุ่งมั่นและความจริงใจที่หล่อหลอมอยู่ในน้ำเสียงแห่งคำประกาศนั้น
การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและการฟื้นฟูประชาธิปไตย
คือนโยบายเร่งด่วนประการแรกของรัฐบาลที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประกาศก้องกลางรัฐสภาในวันนั้น
ในวันอังคารที่ 23 สิงหาคม 2554 ที่บรรดาสมาชิกของรัฐสภาไทยต่างได้รับรู้รับฟังกันถ้วนทั่วทุกรูปนาม
คำแถลงที่ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มุ่งมั่นทุ่มเทเพื่อให้เกิดความสมานฉันท์และประชาธิปไตยจากวันนั้นจนถึงวันนี้
ที่ผู้รักประชาธิปไตยและผู้รักความเป็นธรรมสามารถพิสูจน์ได้ในปัจจุบัน
รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เยียวยาผู้บาดเจ็บล้มตายจากเหตุการณ์ทางการเมือง
ให้กับคนไทยทุกกลุ่มทุกสีเสื้อ ย้อนหลังไปนับสิบปีไม่เว้นแม้แต่เหตุการณ์กรือเซะ ตากใบ
เพื่อลบบาดแผลในใจและสมานร้อยร้าวที่เกิดจากการกระทบกระทั่งทางความคิดที่แตกต่าง
เยียวยาผู้คนทุกสีเสื้อที่ได้รับความเสียหายและผลกระทบจากภัยธรรมชาติโดยไม่แบ่งเขาแบ่งเรา
เธอก้มหน้าทำงานเพื่อประชาชนอย่างมุ่งมั่นอดทน ไม่ตอบโต้คำให้ร้ายป้ายสีจากฝ่ายค้านและผู้เห็นต่าง
เพราะเธอคือนายกรัฐมนตรีของคนไทยทั้งประเทศ ของคนไทยทุกกลุ่มและของคนไทยทุกสีเสื้อ
และเธอไม่ใช่ตัวแทนของกลุ่มผลประโยชน์ใด นอกจากเป็นนายกรัฐมนตรีของคนไทยทุกคน
สงครามและความระหองระแหงกับประเทศเพื่อนบ้านจางหายไป
เมื่อยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยต่อจากรัฐบาลอำมาตย์อุ้มสม
เสียงปืนสงบ ความสัมพันธ์ฉันท์มิตรกลับคืนมา ด่านชายแดนเปิดทำมาค้าขายกันคึกคักอีกครั้ง
หลังจากที่ผู้คนล้มตายในสงครามระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ด่านการค้าขายชายแดนปิดตายหลายแห่งจากพม่าทางตะวันตกยันชายแดนกัมพูชาทางตะวันออก
สร้างความยากลำบากให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณตะเข็บที่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน
ความกังวลของประเทศสมาชิกอาเซียนต่อความมั่นคงของภูมิภาคคลี่คลายมลายไป
เมื่อยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เดินสายเยี่ยมเยือนประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนทุกชาติ
เรียกความเชื่อมั่นให้กับทั้งบรรดาประเทศสมาชิกอาเซียนและนานาประเทศว่าไทยจะไม่เป็นปัญหา
ต่อการดำรงอยู่ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจและการค้าของภูมิภาคเอเชีย
โครงการ AEC ที่อาเซียน+3 อาเซียน+6 จนถึงอาเซียน+10 เป็นกังวล จะดำเนินไปอย่างราบรื่น
นโยบายต่างประเทศที่ล้มเหลวในรัฐบาลก่อน
ได้รับการฟื้นฟูจนเป็นที่ยอมรับของนานาอารยะประเทศ
เพียง 2 ปีที่เข้ามาบริหารประเทศ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย
สามารถทำให้นานาประเทศ ทั้งประเทศมหาอำนาจและประเทศน้อยใหญ่ในทุกภูมิภาคของโลก
ยอมรับความเป็น "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" และพร้อมรับมิตรไมตรีที่เธอหยิบยื่นให้ในนามของประเทศไทย
โดยไม่นำเอาการพูดผิดพูดถูกในการปราศรัยของเธอที่เพื่อนร่วมชาติประนามหยามเหยียดมาเป็นสาระ
เป็นความจริงที่ไม่มีผู้นำคนใดในโลกกล้าปฏิเสธว่า
ผู้ที่ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งใหญ่โตระดับผู้นำประเทศไม่เคยผ่านประสบการณ์นี้
ไม่เว้นแม้แต่ผู้ที่มีชื่อเสียงระดับโลกนับร้อยนับพันคน ล้วนเคยพูดผิดพูดถูกมาด้วยกันทั้งนั้น
นิตยสาร FORBES จัดอันดับให้
"ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นผู้หญิงที่ทรงอิทธิพลอันดับที่ 31 ของโลก"
โดยไม่เอาการพูดผิดพูดถูกในการปราศรัยของเธอมาเป็นมาตรฐานวัดความเป็นผู้นำ
คือข้อพิสูจน์ตัวตนของผู้หญิงคนนี้ ผู้หญิงที่ใช้เวลาเพียง 49 วันก้าวขึ้นสู่ตำแหน่ง
ผู้นำของประเทศ ในฐานะนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เดินทางไปเยือนนานาชาติกว่า 40 ประเทศในรอบ 2 ปี
และทุกแห่งที่ไปเยือน เธอได้รับการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่สมเกียรติเทียบเท่าผู้นำประเทศชั้นนำพึงได้รับ
เธอเดินบนพรมแดงเคียงข้างผู้นำประเทศทั้งเล็กและใหญ่ตรวจแถวทหารกองเกียรติยศประดุจนางพญา
ที่อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยอย่าง อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่เคยมีโอกาสแม้แต่ครั้งเดียว
การไปเยือนต่างประเทศของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร คือการสร้างโอกาสให้ประเทศไทย
ยกระดับความสำคัญของนโยบายต่างประเทศที่ตกต่ำเสื่อมทรุดในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ให้ฟื้นคืนกลับและพัฒนาต่อยอดให้แน่นแฟ้นมั่นคงยิ่งขึ้น ทั้งด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและการค้าการลงทุน มีการลงนามความร่วมมือกับทุกประเทศที่ไปเยือน
ฉบับแล้วฉบับเล่า ทั้งในลักษณะของทวิภาคีและในรูปแบบของพยุหภาคี
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เดินสายป่าวประกาศให้นานาประเทศได้รับรู้ว่า
ไทยเป็นประเทศประชาธิปไตย ปกครองด้วยระบอบประชาธิไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป็นประเทศที่น่าลงทุน
พรั่งพร้อมด้วยวัตถุดิบ ทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรบุคคลากรที่มีคุณภาพ
ปาฐกถาอันลือลั่น ณ กรุงอูลันบาตู ประเทศมองโกเลียเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2556
คือการประกาศจุดยืนอันมั่นคงของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย
ต่อผู้นำของทุกประเทศที่เข้าร่วมในการประชุมของ "ประชาคมประชาธิปไตยโลก" ในครั้งนั้นว่า
ประเทศไทยจะเดินอยู่บนเส้นทางประชาธิปไตยอย่างมั่นคงแม้จะมีองค์กรอิสระที่ทำงานเกินหน้าที่
แม้รัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศยังขัดขวางการเติบโตของประชาธิปไตยก็ตาม
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยังให้คำมั่นต่อที่ประชุม
ว่าโศกนาฏกรรมการฆ่าหมู่ประชาชนกลางเมืองหลวงอย่างเหตุการณ์ "เมษา-พฤษภา 2553" จะไม่เกิดขึ้นอีก
ประหนึ่งให้คำมั่นว่าสังคมไทยจะสมานสามัคคี ให้ความเชื่อมั่นและความปลอดภัยต่อทั้งนักลงทุนและนักท่องเที่ยว
วันที่ 2 สิงหาคม 2556
ความเพียรพยายามเพื่อสร้างความปรองดองของคนในชาติไม่เคยหยุดนิ่ง
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เสนอแนวทางเพื่อหาทางออกให้กับประเทศไทยอย่างยั่งยืน
โดยเสนอให้เชิญตัวแทนจากกลุ่มบุคคลฝ่ายต่างๆ ทั้งฝ่ายรัฐบาล พรรคการเมือง
นปช. พธม. นักวิชาการ ตลอดจน สว. องค์กรอิสระและภาคเอกชนมาเปิดเวที
เพื่อระดมความคิด ร่วมกันออกแบบหาทางออกให้ประเทศที่สอดคล้องกับสภาพสังคม
ในขณะเดียวกันก็ให้เป็นที่ยอมรับของสังคมโลกและนานาอารยะประเทศ
ปลดปล่อยประเทศไทยให้หลุดพ้นจากความขัดแย้งแตกแยกที่ร้าวลึกขึ้นทุกวัน
เพื่อให้คนรุ่นลูกสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบ มีชีวิตร่วมกันในสังคมอย่างเป็นสุข
วันที่ 7 สิงหาคม 2556
ร่าง พรบ.นิรโทษกรรม ฉบับของ สส.วรชัย เหมะได้ถูกนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาในวาระ 1
จากการผลักดันของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ของสส.พรรคเพื่อไทย และจากมติของพรรคเพื่อไทย
เพื่อปลดปล่อยประชาชนที่ต้องคดีและถูกคุมขังจากการประชุมทางการเมือง
ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2549 ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 ให้พ้นผิดและความรับผิดชอบใดๆ
เพื่อความสมัครสมานของประชาชน แม้พรรคฝ่ายค้านจะมุ่งมั่นคัดค้านอย่างเอาเป็นเอาตาย
ทั้งในสภาและนอกสภา ถึงขั้นก่อม็อบขู่นำกองทัพประชาชนเพื่อโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
แต่ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้นำรัฐบาล ก็ไม่ย่นย่อยังเดินหน้าหวังให้ ร่าง พรบ.ฉบับนี้ออกมาประกาศใช้
ความมุ่งมั่นให้เกิดความสามัคคีของคนในชาติ
การเสริมสร้างสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน
เพื่อยุติการสู้รบ สร้างสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย
การเดินทางเยี่ยมเยือนนานาประเทศเพื่อเพิ่มสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างประเทศทั่วทุกภูมิภาค
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรสมควรได้รับรางวัลระดับโลกรางวัลใดรางวัลหนึ่งในผลงานอันยิ่งใหญ่เหล่านี้
ปี พ.ศ. 2534
ออง ซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านของประเทศพม่าได้รับรางโนเบลสาขาสันติภาพ
"สำหรับการต่อสู้ที่ไม่รุนแรงในการเรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน"
ปี พ.ศ. 2552
บารัค โอบามา ประธานาธิบดีคนที่ 44 ของสหรัฐอเมริกาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
"สำหรับความพยายามในการสร้างความเข้มแข็งให้กับการฑูตระหว่างประเทศและความ
ร่วมมือระหว่างผู้คนทั่วโลก"
จากเหตุผลที่ทำให้
ออง ซาน ซูจี และ บารัค โอบามา ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพข้างต้น
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทยจะมีสิทธิบ้างไหม
RED USA
August 8, 2013
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.prachatalk.com/webboard/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B8%99%E0%B8%B0
ในที่สุดความดีที่ท่านทำก็ส่งผล ดีใจมากๆๆ
เจ้าของรางวัลโนเบลคนแรกของไทย
บรรยากาศทางการเมืองไทยที่กำลังร้อนแรงอยู่ในปัจจุบัน
จะเพิ่มดีกรีความเข้มข้นมากขึ้นหรือไม่ หากมีใครสักคน
ประกาศว่าเจ้าของรางวัลโนเบลคนแรกของประเทศไทย
อาจเป็น "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ของไทย
ความเห็นข้างต้น ดูเสมือนเป็นการสอพลอ ยกยอเกินจริง
ที่บรรดาเผด็จการอำมาตย์ พรรคฝ่ายค้าน คนเสื้อเหลืองและสลิ่มทุกเฉดสี
คงทนไม่ได้ต้องออกมาระเบ็งเซ็งแซ่ส่งเสียงสาปแช่งกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา
โหมประนามหยามเหยียด "ความเป็นยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ให้ตายคาตีน
ว่าคนอย่าง "ปู" นะหรือจะได้รับรางวัลเกียรติยศระดับโลกรางวัลนี้
" อีปลวก อีขายชาติอย่างนังนี่นะหรือ" จะได้รับรางวัลโนเบล ฝันไปหรือเปล่า
หญ้าแฝกยังออกเสียงเป็นหญ้าแพรก ประเทศซีดนีย์มันมีที่ไหน ยิ่ง thank you three times
ทำให้คนไทยขายหน้ากันไปทั้งสามโลก ทั้งยังแสดงความงี่เง่าอีกมากมายสุดจะบรรยาย
เสื่อมเสียภาพลักษณ์หญิงไทย อับอายกันไปทั้งแผ่นดิน ยังฝันจะได้รับรางวัลโนเบล....โอ้แม่เจ้า
จากวันที่ 16 พฤษภาคม 2554
วันที่ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรได้รับการเสนอชื่อให้อยู่ในอันดับ 1
ของผู้สมัคร สส.ระบบบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทย
อันเป็นความหมายที่เข้าใจกันทางการเมืองว่าเธอคือ
ว่าที่ นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทยนั่นเอง
เพียง 49 วันนับจากวันนั้น
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็นำพาพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งทั่วไปอย่างถล่มทลาย
ผลการเลือกตั้งที่มีขึ้นเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 พรรคเพื่อไทยได้ สส. จำนวน 265 ที่นั่ง
เกินกึ่งหนึ่งของจำนวน สส.ทั้งหมดในสภาผู้แทนราษฎร ได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล
จากวันที่ 5 สิงหาคม 2554
วันที่ทรงลงพระปรมาภิไธยโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ของประเทศไทย
แม้การสนองพระบรมราชโองการฯ อย่างเป็นทางการจะมีขึ้นในอีกสามวันต่อมาในวันที่ 8 สิงหาคม 2554 ก็ตาม
นับถึงวันนี้ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทยมาแล้วครบ 2 ปีเต็ม
จากวันแรกที่เปิดตัวสมัคร สส. ในระบบบัญชีรายชื่อ
จนถึงวันแถลงนโยบายต่อรัฐสภาในวันอังคารที่ 23 สิงหาคม 2554
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย
ได้ประกาศย้ำจุดยืนของเธอให้คนไทยทั้งชาติและนานาประเทศ
ได้รับรู้กันอีกครั้งว่าเธอมา "แก้ไข ไม่แก้แค้น"
เสียงประกาศของเธอในวันนั้นหนักแน่น ผู้ฟังสามารถสัมผัสได้
ถึงความมุ่งมั่นและความจริงใจที่หล่อหลอมอยู่ในน้ำเสียงแห่งคำประกาศนั้น
การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและการฟื้นฟูประชาธิปไตย
คือนโยบายเร่งด่วนประการแรกของรัฐบาลที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประกาศก้องกลางรัฐสภาในวันนั้น
ในวันอังคารที่ 23 สิงหาคม 2554 ที่บรรดาสมาชิกของรัฐสภาไทยต่างได้รับรู้รับฟังกันถ้วนทั่วทุกรูปนาม
คำแถลงที่ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มุ่งมั่นทุ่มเทเพื่อให้เกิดความสมานฉันท์และประชาธิปไตยจากวันนั้นจนถึงวันนี้
ที่ผู้รักประชาธิปไตยและผู้รักความเป็นธรรมสามารถพิสูจน์ได้ในปัจจุบัน
รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เยียวยาผู้บาดเจ็บล้มตายจากเหตุการณ์ทางการเมือง
ให้กับคนไทยทุกกลุ่มทุกสีเสื้อ ย้อนหลังไปนับสิบปีไม่เว้นแม้แต่เหตุการณ์กรือเซะ ตากใบ
เพื่อลบบาดแผลในใจและสมานร้อยร้าวที่เกิดจากการกระทบกระทั่งทางความคิดที่แตกต่าง
เยียวยาผู้คนทุกสีเสื้อที่ได้รับความเสียหายและผลกระทบจากภัยธรรมชาติโดยไม่แบ่งเขาแบ่งเรา
เธอก้มหน้าทำงานเพื่อประชาชนอย่างมุ่งมั่นอดทน ไม่ตอบโต้คำให้ร้ายป้ายสีจากฝ่ายค้านและผู้เห็นต่าง
เพราะเธอคือนายกรัฐมนตรีของคนไทยทั้งประเทศ ของคนไทยทุกกลุ่มและของคนไทยทุกสีเสื้อ
และเธอไม่ใช่ตัวแทนของกลุ่มผลประโยชน์ใด นอกจากเป็นนายกรัฐมนตรีของคนไทยทุกคน
สงครามและความระหองระแหงกับประเทศเพื่อนบ้านจางหายไป
เมื่อยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยต่อจากรัฐบาลอำมาตย์อุ้มสม
เสียงปืนสงบ ความสัมพันธ์ฉันท์มิตรกลับคืนมา ด่านชายแดนเปิดทำมาค้าขายกันคึกคักอีกครั้ง
หลังจากที่ผู้คนล้มตายในสงครามระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ด่านการค้าขายชายแดนปิดตายหลายแห่งจากพม่าทางตะวันตกยันชายแดนกัมพูชาทางตะวันออก
สร้างความยากลำบากให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณตะเข็บที่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน
ความกังวลของประเทศสมาชิกอาเซียนต่อความมั่นคงของภูมิภาคคลี่คลายมลายไป
เมื่อยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เดินสายเยี่ยมเยือนประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนทุกชาติ
เรียกความเชื่อมั่นให้กับทั้งบรรดาประเทศสมาชิกอาเซียนและนานาประเทศว่าไทยจะไม่เป็นปัญหา
ต่อการดำรงอยู่ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจและการค้าของภูมิภาคเอเชีย
โครงการ AEC ที่อาเซียน+3 อาเซียน+6 จนถึงอาเซียน+10 เป็นกังวล จะดำเนินไปอย่างราบรื่น
นโยบายต่างประเทศที่ล้มเหลวในรัฐบาลก่อน
ได้รับการฟื้นฟูจนเป็นที่ยอมรับของนานาอารยะประเทศ
เพียง 2 ปีที่เข้ามาบริหารประเทศ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย
สามารถทำให้นานาประเทศ ทั้งประเทศมหาอำนาจและประเทศน้อยใหญ่ในทุกภูมิภาคของโลก
ยอมรับความเป็น "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" และพร้อมรับมิตรไมตรีที่เธอหยิบยื่นให้ในนามของประเทศไทย
โดยไม่นำเอาการพูดผิดพูดถูกในการปราศรัยของเธอที่เพื่อนร่วมชาติประนามหยามเหยียดมาเป็นสาระ
เป็นความจริงที่ไม่มีผู้นำคนใดในโลกกล้าปฏิเสธว่า
ผู้ที่ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งใหญ่โตระดับผู้นำประเทศไม่เคยผ่านประสบการณ์นี้
ไม่เว้นแม้แต่ผู้ที่มีชื่อเสียงระดับโลกนับร้อยนับพันคน ล้วนเคยพูดผิดพูดถูกมาด้วยกันทั้งนั้น
นิตยสาร FORBES จัดอันดับให้
"ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นผู้หญิงที่ทรงอิทธิพลอันดับที่ 31 ของโลก"
โดยไม่เอาการพูดผิดพูดถูกในการปราศรัยของเธอมาเป็นมาตรฐานวัดความเป็นผู้นำ
คือข้อพิสูจน์ตัวตนของผู้หญิงคนนี้ ผู้หญิงที่ใช้เวลาเพียง 49 วันก้าวขึ้นสู่ตำแหน่ง
ผู้นำของประเทศ ในฐานะนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เดินทางไปเยือนนานาชาติกว่า 40 ประเทศในรอบ 2 ปี
และทุกแห่งที่ไปเยือน เธอได้รับการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่สมเกียรติเทียบเท่าผู้นำประเทศชั้นนำพึงได้รับ
เธอเดินบนพรมแดงเคียงข้างผู้นำประเทศทั้งเล็กและใหญ่ตรวจแถวทหารกองเกียรติยศประดุจนางพญา
ที่อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยอย่าง อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่เคยมีโอกาสแม้แต่ครั้งเดียว
การไปเยือนต่างประเทศของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร คือการสร้างโอกาสให้ประเทศไทย
ยกระดับความสำคัญของนโยบายต่างประเทศที่ตกต่ำเสื่อมทรุดในสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ให้ฟื้นคืนกลับและพัฒนาต่อยอดให้แน่นแฟ้นมั่นคงยิ่งขึ้น ทั้งด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและการค้าการลงทุน มีการลงนามความร่วมมือกับทุกประเทศที่ไปเยือน
ฉบับแล้วฉบับเล่า ทั้งในลักษณะของทวิภาคีและในรูปแบบของพยุหภาคี
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เดินสายป่าวประกาศให้นานาประเทศได้รับรู้ว่า
ไทยเป็นประเทศประชาธิปไตย ปกครองด้วยระบอบประชาธิไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป็นประเทศที่น่าลงทุน
พรั่งพร้อมด้วยวัตถุดิบ ทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรบุคคลากรที่มีคุณภาพ
ปาฐกถาอันลือลั่น ณ กรุงอูลันบาตู ประเทศมองโกเลียเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2556
คือการประกาศจุดยืนอันมั่นคงของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย
ต่อผู้นำของทุกประเทศที่เข้าร่วมในการประชุมของ "ประชาคมประชาธิปไตยโลก" ในครั้งนั้นว่า
ประเทศไทยจะเดินอยู่บนเส้นทางประชาธิปไตยอย่างมั่นคงแม้จะมีองค์กรอิสระที่ทำงานเกินหน้าที่
แม้รัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศยังขัดขวางการเติบโตของประชาธิปไตยก็ตาม
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยังให้คำมั่นต่อที่ประชุม
ว่าโศกนาฏกรรมการฆ่าหมู่ประชาชนกลางเมืองหลวงอย่างเหตุการณ์ "เมษา-พฤษภา 2553" จะไม่เกิดขึ้นอีก
ประหนึ่งให้คำมั่นว่าสังคมไทยจะสมานสามัคคี ให้ความเชื่อมั่นและความปลอดภัยต่อทั้งนักลงทุนและนักท่องเที่ยว
วันที่ 2 สิงหาคม 2556
ความเพียรพยายามเพื่อสร้างความปรองดองของคนในชาติไม่เคยหยุดนิ่ง
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เสนอแนวทางเพื่อหาทางออกให้กับประเทศไทยอย่างยั่งยืน
โดยเสนอให้เชิญตัวแทนจากกลุ่มบุคคลฝ่ายต่างๆ ทั้งฝ่ายรัฐบาล พรรคการเมือง
นปช. พธม. นักวิชาการ ตลอดจน สว. องค์กรอิสระและภาคเอกชนมาเปิดเวที
เพื่อระดมความคิด ร่วมกันออกแบบหาทางออกให้ประเทศที่สอดคล้องกับสภาพสังคม
ในขณะเดียวกันก็ให้เป็นที่ยอมรับของสังคมโลกและนานาอารยะประเทศ
ปลดปล่อยประเทศไทยให้หลุดพ้นจากความขัดแย้งแตกแยกที่ร้าวลึกขึ้นทุกวัน
เพื่อให้คนรุ่นลูกสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบ มีชีวิตร่วมกันในสังคมอย่างเป็นสุข
วันที่ 7 สิงหาคม 2556
ร่าง พรบ.นิรโทษกรรม ฉบับของ สส.วรชัย เหมะได้ถูกนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาในวาระ 1
จากการผลักดันของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ของสส.พรรคเพื่อไทย และจากมติของพรรคเพื่อไทย
เพื่อปลดปล่อยประชาชนที่ต้องคดีและถูกคุมขังจากการประชุมทางการเมือง
ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2549 ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2554 ให้พ้นผิดและความรับผิดชอบใดๆ
เพื่อความสมัครสมานของประชาชน แม้พรรคฝ่ายค้านจะมุ่งมั่นคัดค้านอย่างเอาเป็นเอาตาย
ทั้งในสภาและนอกสภา ถึงขั้นก่อม็อบขู่นำกองทัพประชาชนเพื่อโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
แต่ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผู้นำรัฐบาล ก็ไม่ย่นย่อยังเดินหน้าหวังให้ ร่าง พรบ.ฉบับนี้ออกมาประกาศใช้
ความมุ่งมั่นให้เกิดความสามัคคีของคนในชาติ
การเสริมสร้างสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน
เพื่อยุติการสู้รบ สร้างสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย
การเดินทางเยี่ยมเยือนนานาประเทศเพื่อเพิ่มสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างประเทศทั่วทุกภูมิภาค
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรสมควรได้รับรางวัลระดับโลกรางวัลใดรางวัลหนึ่งในผลงานอันยิ่งใหญ่เหล่านี้
ปี พ.ศ. 2534
ออง ซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านของประเทศพม่าได้รับรางโนเบลสาขาสันติภาพ
"สำหรับการต่อสู้ที่ไม่รุนแรงในการเรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน"
ปี พ.ศ. 2552
บารัค โอบามา ประธานาธิบดีคนที่ 44 ของสหรัฐอเมริกาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ
"สำหรับความพยายามในการสร้างความเข้มแข็งให้กับการฑูตระหว่างประเทศและความ
ร่วมมือระหว่างผู้คนทั่วโลก"
จากเหตุผลที่ทำให้
ออง ซาน ซูจี และ บารัค โอบามา ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพข้างต้น
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทยจะมีสิทธิบ้างไหม
RED USA
August 8, 2013
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ในที่สุดความดีที่ท่านทำก็ส่งผล ดีใจมากๆๆ