ชี้แจงกรณีงานวิจัยกล่าวหาวัดพระธรรมกายเป็นภัยต่อความมั่นคง

กระทู้ข่าว
เราเป็นชาวพุทธคนหนึ่งที่ได้มีโอกาสรู้จักวัดพระธรรมกาย
ที่มาชี้แจงนี้เพราะทนไม่ได้ที่วัดโดนสร้างกระแสโจมตี ไม่ได้มีเจตนาสร้างความขัดแย้งในหมู่ชาวพุทธ และไม่ได้ทำในนามของวัดพระธรรมกาย แต่เป็นการกระทำส่วนตัว
ที่มา เนื้อหาบางส่วนเป็นความเห็นของชาวพันทิป tiger18
ต้องขอขอบพระคุณเจ้าของเนื้อหาด้วยจ้า
ขออนุญาตว่าไปเป็นประเด็นนะ

ประเด็นที่หนึ่ง
ท่านว.ศึกษาบทบาทในการรักษาพระธรรมวินัยของพระธรรมปิฎกหรือพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
ศึกษาเฉพาะกรณีธรรมกาย โดยเน้นประเด็นข้อบกพร่องของวัดพระธรรมกาย
หรือพูดง่ายๆก็คือ ศึกษาแบบจับผิดนั่นเอง

คำถามก็คือ แล้วบทบาทของท่านว.เอง
หากมีใครศึกษาแบบจับผิดอย่างเดียวเหมือนวัดพระธรรมกายจะเป็นเช่นใด
คำสอนที่เน้นถ้อยคำสวยหรูมากกว่าอิงหลักทางพระพุทธศาสนา เช่น ฆ่าเวลาบาปกว่าฆ่าคน
พฤติกรรมส่วนตัวที่มีข่าวออกมาเป็นระยะ เช่น อร่อยจนลืมกลับวัด
แล้วบทบาทด้านที่มีดีของท่านว.มีไหม ทุกคนก็ตอบได้ว่ามี
แล้วบทบาทด้านดีของวัดพระธรรมกายมีไหม
คำตอบกลับเงียบหายไป...


ประเด็นที่สอง
ก็เนื่องจากประเด็นแรก โดยสรุปก็มีเพียง ๔ ข้อ คือ

1. กรณีธรรมกายหมายถึงชื่อเรียกโดยรวมเกี่ยวกับพฤติการณ์ต่าง ๆ ที่สำนักวัดพระธรรมกายเป็นผู้ก่อให้เกิดขึ้น พฤติการณ์ทั้งหมดที่สำนักวัดพระธรรมกายเป็นต้นเหตุให้เกิดขึ้นนั้นเมื่อกล่าวโดยสรุปแล้วก็มีสองลักษณะเท่านั้น คือ การทำพระธรรมวินัยให้วิปริต และการประพฤติวิปริตจากพระธรรมวินัย

2. การทำพระธรรมวินัยให้วิปริตที่พบว่ามีสาเหตุมาจากสำนักวัดพระธรรมกายก็คือ การทำลายความน่าเชื่อถือของพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่ประมวลไว้ซึ่งพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า การพยายามปลอมปนคำสอนในลัทธิของตนลงในพระไตรปิฎก การพยายามยกย่องครูบาอาจารย์ของตน หรือแม้แต่นักวิชาการจากต่างประเทศให้มีฐานะสำคัญ ถึงขนาดที่ใช้ทัศนะของท่านเหล่านั้นขึ้นมาอ้างเป็นมาตรฐานเพื่อตัดสินหลักการสำคัญของพระพุทธศาสนาอย่างเรื่องนิพพาน เป็นต้น การพยายามให้อรรถาธิบายชักจูงให้คนทั่วไปเข้าใจว่า บุญมีฐานะเป็นดุจสินค้าชนิดหนึ่ง และเมื่อทำบุญและอานิสงส์ของบุญจะก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่าง ๆ ได้อย่างปาฎิหาริย์

3. การประพฤติวิปริตจากพระธรรมวินัยเฉพาะประเด็นหลัก ได้แก่ การพยายามนำเอาลัทธิทุนนิยมที่มีความโดดเด่นอยู่ที่ระบบการตลาดเข้ามาผสมผสานกับการบริหารจัดการวัด การจัดตั้งองค์กร รวมทั้งการระดมทุนและการเผยแผ่พระพุทธศาสนา รวมทั้งการสร้างความสัมพันธ์กับบุคคล องค์กรทางธุรกิจ การเมือง และการศาสนาทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งการทำเช่นนี้ส่งผลให้สำนักวัดพระธรรมกายกลายเป็นสำนักที่มีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วทั้งในทางวัตถุ ทุนทรัพย์ และในทางเกียรติคุณชื่อเสียง แต่วิธีเหล่านี้เป็นพฤติการณ์ที่สวนทางอย่างสิ้นเชิงกับพระพุทธศาสนาเถรวาทที่เน้นความเรียบง่าย ความเป็นธรรมชาติชนิดที่ปราศจาการจัดตั้ง หรือการจัดการ และไม่เกี่ยวข้องกับระบบทุนนิยม (รวมทั้งวัตถุนิยม) อย่างสิ้นเชิง

4. พฤติการณ์อันสืบเนื่องมาจากสำนักวัดพระธรรมกายทั้งหมดนั้น เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนาและต่อสังคมไทยอย่างลึกซึ้งถึงรากฐานชนิดที่ว่า ถ้าสำนักวัดพระธรรมกายทำสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่สำนักตั้งเอาไว้ ก็จะส่งผลให้พระพุทธศาสนาในประเทศไทยซึ่งเป็นพระพุทธศาสนาอย่างเถรวาทต้องสูญสิ้นอันตรธานไป และสังคมไทยก็อาจกลายเป็นสังคมที่มีค่านิยมหวังผลดลบันดาลเชื่อมั่นศรัทธาในเทพเจ้า ในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มัวเมาอยู่ในอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ และถูกหลอกให้เพลินจมอยู่ในสุขอันดื่มด่ำจากสมาธิวิธีที่ถือว่าเป็นมิจฉาสมาธิและเต็มไปด้วยผู้คนที่ตกเป็นทาสของลัทธิทุนนิยม บริโภคนิยม และวัตถุนิยมอย่างงมงายไม่อาจหลุดพ้นเป็นอิสระไปจากการครอบงำของลัทธิเหล่านี้ได้


ในเรื่องเหล่านี้
วัดพระธรรมกายเอง
ก็ได้ยอมรับมติของศาลสงฆ์ว่าจะสอนให้ถูกต้องตามธรรมวินัยจำนวน ๔ ด้านด้วยกัน คือ

ประการที่ 1 พิจารณาเห็นว่า วัดพระธรรมกายมีความรู้ความเข้าจในด้านคันถธุระหรือพระปริยัติธรรมยังไม่สมบูรณ์ จึงดำเนินการให้วัดพระธรรมกายจัดตั้งสถานศึกษาพระอภิธรรมให้มีการเรียนการสอนวิชาพระอภิธรรมกันอย่างจริงจัง เพื่อเพิ่มเติมศักยภาพในด้านคันถธุระของวัดพระธรรมกายให้สูงขึ้น อันจะก่อให้เกิดประโยชน์โสตถิผลแก่วัดพระธรรมกายเอง

ประการที่ 2 พิจารณาเห็นว่า วัดพระธรรมกายมีความรู้ความเข้าใจในด้านวิปัสนาธุระ หรือพระปฏิบัติธรรมยังไม่สมบูรณ์ จึงดำเนินการให้วัดพระธรรมกายจัดตั้งสถานที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ให้มีการปฏิบัติการบอกวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้องตามพระคัมภีร์กันอย่างจริงจัง เพื่อเพิ่มเติมศักยภาพในด้านวิปัสสนาธุระของวัดพระธรรมกายให้สูงขึ้น อันจะเกิดคุณประโยชน์แก่วัดพระธรรมกายเอง

ประการที่ 3 พิจารณาเห็นว่า วัดพระธรรมกายมีการเผยแพ่พระพุทธศาสนามากมายหลายด้านเป็นที่จับตามองของสาธารณชนในวงกว้าง อาจจะมีโอกาสประพฤติผิดพลาดขึ้นมาได้จะโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม จึงดำเนินการ โดยแนะนำให้พยายามสำรวมระวัง และปฏิบัติตามพระธรรมวินัยโดยเคร่งครัด ทั้งนี้เพื่อป้องกันโลกวัชชะที่จะพึงบังเกิดขึ้นจากเจตนาที่ดี ทั้งที่พึงจะบังเกิดขึ้นจากวิสังวาทนเจตนาก็ตามที

ประการที่ 4 พิจารณาเห็นว่า วัดพระธรรมกายจะต้องทำงานหนัก จะต้องฝ่าฟันอุปสรรคอีกมากมายหลายด้าน เพราะว่างานที่เริ่มต้นไว้เพื่อประโยชน์พระพุทธศาสนา ล้วนแต่เป็นงานที่ใหญ่โตกว้างขวางทั้งสิ้น จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอกหลายฝ่าย อาจจะเกิดความประมาทพลาดผิดไปก็ได้ จึงดำเนินการโดยแนะนำให้วัดพระธรรมกายบริหารงานให้ถูกต้อง โดยปฏิบัติตามกฎหมาย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง มติ ประกาศ พระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช คำสั่งของผู้บังคับบัญชาเหนือตน โดยเคร่งครัด ทั้งนี้เพื่อความเรียบร้อยดีงามของวัดและพระพุทธศาสนา


และศาลอาญาท่านก็ได้ถอนฟ้องพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (สมณศักดิ์ในขณะนั้น)
และที่สำคัญหนึ่งในเหตุผลที่ถอนฟ้องก็คือการสอนที่ถูกต้องตามธรรมวินัย

1. พระธัมมชโยได้คืนเงินให้แก่ทางวัดพระธรรมกายครบถ้วนทุกบาททุกสตังค์แล้ว ถือว่าได้ปฏิบัติตามพระลิขิตของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก จึงไม่มีเหตุผลที่จะฟ้องร้องเอาผิดอีกต่อไป

2. เรื่องพระธรรมคำสอน ได้รับความคิดเห็นสนับสนุนจากผู้รู้และมียศตำแหน่งในทางพระพุทธศาสนาสำคัญ 3 ท่าน คือ 1.อธิบดีกรมการศาสนา 2.ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 3.เจ้าคณะภาค 1 ซึ่งทั้งสามท่านยืนยันว่า พระธัมมชโยมิได้สอนสั่งนอกพระไตรปิฎกแต่อย่างใด ทั้งจำเลยยังได้ช่วยเหลือกิจการคณะสงฆ์ไทยเป็นอันมาก ทั้งในด้านการศึกษา การเผยแผ่ และสาธารณูปการ รวมทั้งการสาธารณสงเคราะห์ด้วย ซึ่งผลงานของวัดพระธรรมกายนั้นเป็นที่ประจักษ์ในระดับสากล มิใช่เฉพาะในเมืองไทยเท่านั้น

3. ถ้าฟ้องร้องต่อไปให้สิ้นสุดกระบวนการ ก็จะเป็นการสร้างความแตกแยกในศาสนจักรและประชาชนคนไทยในชาติ


ฟังจากเหตุผลและบทสรุปของทั้งสองศาลแล้ว
หากมีใจเป็นธรรมจริง ไม่ได้มุ่งที่จะทำลายวัดพระธรรมกายอย่างเดียว
ก็ควรยึดหลักของศาลสงฆ์และศาลอาญาเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติกับวัดพระธรรมกาย
นั่นคือว่ากันไปตามธรรมวินัยและมีเหตุผลในการสนทนา
เรื่องนี้จึงจะยุติลงโดยธรรม...




ในช่วง พ.ศ. 2540-2541 สื่อมวลชนได้จุดประเด็นวิพากษ์วิจารณ์พระเทพญาณมหามุนี และทีมงาน รวมถึงมีการเผยแพร่ข่าวเชิงลบอย่างต่อเนื่อง เช่น ประเด็นการยักยอกทรัพย์ และการบริหารเงินบริจาค และมีความพยายามเปลี่ยนการเรียกนามของพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (สมณศักดิ์ในขณะนั้น) เป็น "นายไชยบูลย์ สุทธิผล" โดยด้วยความผิดทางพระธรรมวินัยขั้นปาราชิก ในข้อหายักยอกทรัพย์ ซึ่งในขณะนั้นปรากฏว่ามีศิษยานุศิษย์บางส่วนได้เกิดความไม่มั่นใจและถอนตัวออกไปจากวัด แต่ในขณะเดียวกันก็ยังคงมีศิษยานุศิษย์ของวัดพระธรรมกายอีกจำนวนมากที่ยังคงมีความเลื่อมใสศรัทธาอย่างแรงกล้า และได้ออกมาปกป้องพระเทพญาณมหามุนี ว่าถูกขบวนการทำลายล้างวางแผนทำลายชื่อเสียงวัดพระธรรมกายและพระเทพญาณมหามุนี ผ่านสื่อมวลชนและการกดดันทางการเมืองและเจ้าคณะผู้ปกครองคณะสงฆ์ อีกทั้งเชื่อว่าบุคคลในห้องกระจกอาจมีส่วนรู้เห็นในการปลอมแปลงพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราชเพื่อหวังผลในการจับสึกพระเทพญาณมหามุนี [12] ในขณะที่คณะวัดพระธรรมกายได้มีความพยายามออกแถลงการณ์เพื่อชี้แจงข้อสงสัยอยู่เป็นระยะ อย่างไรก็ตามขบวนการโจมตีวัดพระธรรมกายก็ยังคงพยายามชี้นำสังคมให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยวัดพระธรรมกายอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน ภายหลังสื่อมวลชนทั้งหลายได้ออกมาขอขมาวัดพระธรรมกาย เพราะว่าได้ลงข่าวที่ไม่เป็นความจริงลงไปอย่างมากมาย ทำให้วัดพระธรรมกายและพระเทพญาณมหามุนีได้รับความเสียหายในระหว่างที่คดียังคงอยู่ในกระบวนพิจารณาในชั้นศาลพระเทพญาณมหามุนีและคณะวัดพระธรรมกาย ได้ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา แต่ในระหว่างการพิจารณาคดีดังกล่าว สื่อมวลชนบางสำนักได้นำเสนอข่าวแพร่สะพัดออกไปในทางเสื่อมเสีย จึงได้มีการฟ้องกลับสื่อมวลชนต่อขบวนการยุติธรรม ซึ่งต่อมาศาลอาญาได้พิพากษา ว่าการกระทำดังกล่าวของสื่อมวลชนเป็นความผิด และได้ลงโทษให้ประกาศข้อความขอขมาวัดพระธรรมกายและพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (สมณศักดิ์ในขณะนั้น) ทางหนังสือพิมพ์ หลายฉบับ ทั้งมติชน[13] กรุงเทพธุรกิจ สยามรัฐกระทั่งในปี พ.ศ. 2549 สำนักงานอัยการสูงสุดได้ถอนฟ้องคดีทั้งหมดของพระเทพญาณมหามุนี หลังจากนั้นสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ประกาศรับรองความบริสุทธิ์ของพระเทพญาณมหามุนี และมหาเถรสมาคมได้ส่งผู้แทนมายังวัดพระธรรมกายเพื่อถวายคืนตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายแก่พระเทพญาณมหามุนี สำหรับประเด็นนี้นักวิชาการบางคน เช่น ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง[14] นักวิจารณ์เหตุการณ์บ้านเมืองซึ่งถูกคดีอาญาหมิ่นประมาทผู้อื่น ศาลสั่งจำคุกในช่วง มิ.ย. 55 ที่ผ่านมา เคยเขียนบทความวิพากษ์คำตัดสินของศาลว่ามีการใช้อิทธิพลของผู้มีอำนาจระดับสูงเพื่อให้พระเทพญาณมหามุนีพ้นคดี[ต้องการอ้างอิง] ในขณะที่กลุ่มผู้สนับสนุนวัดพระธรรมกายได้ออกมาแย้งในรูปแบบต่างๆ ว่า คดีของวัดพระธรรมกายที่เกิดขึ้นเป็นเพราะมีการใช้อิทธิพลของผู้มีอำนาจระดับสูงกดดันหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินคดีกับวัดพระธรรมกายและพระเทพญาณมหามุนีเช่นกัน ด้วยเหตุผลที่วัดพระธรรมกายเป็นศูนย์กลางของการดำเนินงานด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา รวมถึงมีศิษยานุศิษย์ในทุกระดับชั้นของสังคมและทั่วโลก จึงเกรงว่าหมู่คณะวัดพระธรรมกายอาจมีอำนาจการต่อรองทางการเมืองการปกครองของประเทศไทยตามคำแถลงขอถอนฟ้องของอัยการมีความว่า “สำหรับในด้านทรัพย์สินนั้น ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 (นายไชยบูลย์ สุทธิผล) กับพวก ได้มอบทรัพย์สินทั้งหมด ซึ่งมีทั้งที่ดินและเงินจำนวน 959,300,000 บาท คืนให้แก่วัดพระธรรมกาย การกระทำดังกล่าวของจำเลยที่ 1 กับพวก จึงเป็นการปฏิบัติตามพระลิขิตของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ครบถ้วนทุกประการแล้ว”ซึ่งการที่อัยการอ้างว่า พระไชยบูลย์ สุทธิผล ได้มอบทรัพย์คืนแก่วัดไปแล้ว ซึ่งคดียักยอกทรัพย์ก็ถือเป็นอันยุติลง สำหรับเรื่องคดีและคำถอนฟ้องนั้น เป็นเรื่องของการเขียนสำนวนคดีทางกฎหมาย จึงต้องเขียนไปในลักษณะเช่นนั้น แต่ในความเป็นจริงพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ สุทธิผล) ไม่ได้นำเงินนั้นไปใช้ส่วนตัว และเงินนั้นเป็นเงินที่พระเทพญาณมหามุนีหามาสร้างและบำรุงวัด บำรุงพระพุทธศาสนา ดูแลพระภิกษุ สามเณร บุคลากร เจ้าหน้าที่ อาสาสมัครในวัด รวมทั้งสาธุชนที่มาปฏิบัติธรรมให้ได้รับความสะดวก เหมาะสมต่อการปฏิบัติบุญกิริยาวัตถุ 3 (ทาน ศีล ภาวนา) และปฏิบัติไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ สุทธิผล) จึงไม่ได้กระทำผิดตามพระธรรมวินัยแต่อย่างใด เพราะไม่ได้ขโมย และไม่ได้นำเงินนั้นไปใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ส่วนตัวแต่อย่างใด[15]
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่