http://www.stock2morrow.com/showthread.php?t=50000
เจอแล้วแก๊ง4โมงเย็นที่แท้แห่ขายปิดบัญชีประจำวัน/สมาคมหลักทรัพย์เสนอคุมเข้มพอร์ตโบรเกอร์
แฉแก๊ง 4 โมงเย็นที่แท้นักเก็งกำไรเล่นสั้นใน 1 วัน พบ 3 กลุ่มพฤติกรรมเข้าข่าย ทั้งนักลงทุน Net settlement หลัง 8 เดือน โวลุ่ม 1.49 ล้านล้าน กลุ่มพอร์ตบล. Prop trade ยังมีต่างชาติผสมโรง ด้านสมาคมบล. เตรียมออกกฎคุมพอร์ตโบรกเกอร์ จ่อเก็บค่าคอมมิสชัน พอร์ต Directional trading และซื้อขายเดย์เทรด ขณะที่"ก้องเกียรติ" โวยเอาอีกโบรกเกอร์ไม่พ้นตกเป็นแพะ
จากกรณีที่มีกระแสข่าวและวิพากษ์วิจารณ์ถึง"แก๊ง 4 โมงเย็น"กันสนั่นทั้งในสังคมออนไลน์ และโซเชียลเน็ตเวิร์ก อาทิ เฟซบุ๊ก พันทิป และเว็บบอร์ดสื่อธุรกิจชั้นนำ ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่ที่เข้ามาโพสต์ข้อความ เป็นนักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนหน้าใหม่ ผนวกกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)ระบุว่าได้มีการหารือกับสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย (สมาคมบล.) ถึงสถานการณ์การซื้อขายของบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ (Proprietary trade-Prop Trade) หลังจากมีการตั้งข้อสังเกตว่าบัญชีบล. อาจมีการเอาเปรียบนักลงทุนรายย่อย หรือมีการซื้อขายที่ไม่เหมาะสม
**"เล่นเนตฯ" ขาใหญ่แก๊ง 4 โมงเย็น
แหล่งข่าวจากวงการตลาดหุ้นเปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า"แก๊ง 4 โมงเย็น" ได้ยินกันมานานแล้ว ซึ่งไม่ใช่กลุ่มนักลงทุนที่สร้างราคาหรือปั่นหุ้น แต่เป็นนักลงทุนที่มีพฤติกรรมการลงทุนที่คล้ายๆกัน คือ ซื้อ-ขายเร็ว หรือเก็งกำไรนั่นเอง เช่น ต้องทยอยขายหุ้นออกให้ทันภายในวันเดียวโดยจะต้องเริ่มขายช่วง 4 โมงเย็น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนักลงทุนที่เล่นหุ้นแบบหักกลบค่าซื้อและค่าหุ้นตัวเดียวกันภายในวันเดียวกัน (Net settlement) และกลุ่มที่เป็นบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ หรือพอร์ตลงทุน หรือพร็อพเทรด (Prop trade)
โดยเฉพาะกลุ่มที่เล่นเนตฯ ซึ่งหากไม่ออก(ขายหุ้น)ช่วงเวลา 4 โมงเย็น ถ้าไม่ได้กำไร ก็อาจจะขาดทุนไปเลย เช่น นักลงทุนเล่นเนตฯในวงเงิน 20 ล้านบาท สามารถรับขาดทุนได้สูงสุด 1 ล้านบาท (คิดเป็น 1 % ของวงเงินที่เล่นหุ้น) ดังนั้นในแต่ละวันนักลงทุนเหล่านี้ต้องบริหารพอร์ต
***ถูกบีบ 4 โมงเย็นต้องขาย
แหล่งข่าวกล่าวว่า ในความเป็นจริงนักลงทุนที่เล่นเนตฯ คงไม่รอให้ราคาหุ้นปรับตัวลงถึง 5 % ก็ต้องขายออกมาก่อน โดยเมื่อถึง 4 โมงเย็น ทุกคนก็รู้แล้วว่าไปไม่รอด สุดท้ายก็ต้องแบ่งขายออกมา แม้ไม่อยากเป็นแก๊ง 4 โมงเย็นก็ต้องเป็นช่วยไม่ได้ และบางคนลุ้นนาทีสุดท้ายเพื่อวัดดวง ซึ่งทำได้ในช่วงตลาดขาขึ้น คือ ซื้อเช้าแล้วขายตอนตลาดปิด ( 17.00 น.) แต่หากเป็นตลาดขาลง ก็กลับกัน คือขาย หรือขายช็อตในธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์(SBL)และเช้าในวันถัดไปก็ซื้อเพื่อปิดสถานะหรือการนำหุ้นที่ยืมมาคืน
***พอร์ตบล.ติดกลุ่ม
แหล่งข่าวรายเดียวกันยังกล่าวอีกว่า นักลงทุนอีกกลุ่มที่ถูกให้นิยามว่าเป็น"แก๊ง 4 โมงเย็น" คือ คือ พอร์ตบริษัทหลักทรัพย์ ที่ในระยะหลังๆมีพฤติกรรมการลงทุนที่เข้าออกเร็ว เนื่องจากมีแรงจูงใจเรื่องค่าตอบแทนให้กับผู้บริหารพอร์ต หลังช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีบริษัทหลักทรัพย์บางรายจ้างเจ้าหน้าที่การตลาดหรือมาร์เก็ตติ้งที่มีประสบการณ์มาบริหารพอร์ต
ตัวอย่างเช่น บริษัทหลักทรัพย์แห่งหนึ่งให้วงเงินบริหาร 200 ล้านบาท แล้วตกลงผลตอบแทนจากการลงทุนกันในสัดส่วน 50 : 50 ของกำไรที่ได้รับ (พอร์ตบล.รับกำไร 50 % มาร์เก็ตติ้งที่บริหารพอร์ตรับกำไร 50 % ) ซึ่งถือเป็นการให้เป็นอินเซนทีฟกับมาร์เก็ตติ้งที่บริหารพอร์ต เป็นเหมือนโบนัสรายเดือน ซึ่งด้านมาร์เก็ตติ้งเองก็ดีเท่ากับลงทุนในหุ้นโดยที่ไม่ต้องมีการวางหลักประกัน และสิ้นเดือนก็จะมาหักในส่วนของกำไรกับขาดทุนก็แบ่งกันระหว่าง 2 ฝ่าย
***ลงทุนยาวสุดข้ามวัน-ต้นทุนต่ำ
แหล่งข่าวยังกล่าวอีกว่า จากแรงจูงใจเรื่องการจ่ายผลตอบแทนที่จูงใจทำให้ช่วงหลังๆ เริ่มมีบรรดาบริษัทหลักทรัพย์ที่มีพอร์ตลงทุนมากขึ้น และลักษณะการลงทุนดังกล่าวจะเน้นลงทุนเร็ว หรือเน้นบริหารพอร์ตระยะสั้นๆมากขึ้น อีกทั้งได้ว่าจ้างมาร์เก็ตติ้งที่มีประสบการณ์เพื่อบริหารพอร์ตลงทุนเช่นกัน ทำให้ส่วนใหญ่ไม่นิยมถือลงทุนระยะยาว
ทั้งนี้พบว่าช่วงหลังพอร์ตบริษัทหลักทรัพย์บางแห่งลงทุนยาวสุดแค่ข้ามวัน ซึ่งหากมีข่าวร้ายช่วงกลางคืน ช่วงเช้าก็ยอมออกก่อน(ขายหุ้น)จึงส่งผลให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯปรับตัวลงแรง 20 จุด เป็นต้น นอกจากนี้ด้านต้นทุนของพอร์ตเทรดก็ยังได้เปรียบบัญชีทั่วไปคือจ่ายเพียง ล้านละ 78 บาท ขณะที่บัญชีของนักลงทุนทั่วไปมีต้นทุนล้านละ 2,578 บาท(คำนวณโดยอิงค่าคอมมิสชันที่ 0.25 % ของมูลค่าซื้อขาย )
นอกจากนี้พอร์ตเทรด(เก็งกำไร)ของบริษัทหลักทรัพย์ไม่ได้ลงทุนเฉพาะหุ้นอย่างเดียว แต่มีการลงทุนในตลาดอนุพันธ์หรือ ฟิวเจอร์ส การลงทุนในใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์(DW) เป็นต้น จึงส่งผลให้ตลาดหุ้นเกิดความผันผวนได้
***ต่างชาติผสมโรง
นอกจากนักลงทุนเล่นเนตฯและพอร์ตบริษัทหลักทรัพย์ที่ถูกให้นิยามว่าเป็น"แก๊ง 4 โมงเย็น"แล้ว แหล่งข่าวยังตั้งข้อสังเกตว่า นักลงทุนต่างประเทศก็ติดกลุ่มนี้เช่นกัน เนื่องจากมีพอร์ตลงทุนหรือพร็อพเทรด และมีการซื้อขายผ่านระบบอินเตอร์เน็ต หรือเทรดออนไลน์โดยมีการส่งคำสั่งซื้อขายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์จากระบบซื้อขายของผู้ลงทุนหรือ "DMA" (Direct Market Access)
"นักลงทุนต่างชาติกลุ่มนี้ได้วงเงินมาเพื่อบริหารพอร์ตเช่นกัน แต่เขาสามารถเลือกได้ว่าจะเทรดตลาดไหนไม่จำกัดเฉพาะตลาดหุ้นไทยเท่านั้น และมีการไล่หุ้น 3-4 ช่อง แต่คนเล่นหุ้นที่มีประสบการณ์ก็จะรู้ว่าเป็นพอร์ตต่างชาติ แต่มีบางคนไล่ตาม ซึ่งเมื่อต่างชาติมีกำไรเขาก็ต้องเทขาย และมีกำไร 2 เด้ง คือ กำไรจากค่าเงิน และกำไรจากตลาดหุ้น ส่วนนักลงทุนในประเทศที่ไล่ตาม(ซื้อหุ้นตาม)สุดท้ายก็ติดหุ้น
***คลอดแล้วกฎคุมพอร์ตบล.เก็งกำไร
สำหรับความคืบหน้าการออกกฎควบคุมบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ นางภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ นายกสมาคมบล.เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ" ว่าจากการหารือกับสมาชิกของสมาคมอย่างไม่เป็นทางการมีข้อสรุปเบื้องต้นที่จะเสนอต่อที่ประชุมสมาคมบล.ในวันศุกร์ที่ 13 กันยายน 2556 อีกครั้ง โดยจะมีการออกกฎเกณฑ์เพื่อคุมพอร์ตบริษัทหลักทรัพย์ 2 เรื่อง คือ
1.การเสนอให้มีการเก็บค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์หรือค่าคอมมิสชัน สำหรับพอร์ตโบรกเกอร์ในส่วนที่เป็น Directional trading หรือที่เรียกว่าพอร์ตที่มีการซื้อขายระยะสั้นตามทิศทางตลาด ซึ่งรวมการซื้อขายระยะสั้นหรือเดย์เทรดด้วย ไม่รวมพอร์ตลงทุนระยะยาว หรือพอร์ตที่มีไว้สำหรับการป้องกันความเสี่ยงในการรองรับการออกผลิตภัณฑ์การลงทุน อาทิ ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์(DW) เป็นต้น
โดยค่าคอมมิสชันที่พอร์ตเก็งกำไรจะต้องจ่ายต้องไม่น้อยกว่าที่จัดเก็บจากลูกค้าสถาบัน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความทัดเทียมกับนักลงทุนทั่วไปที่ต้องจ่ายค่าคอมมิสชันในการซื้อขายหุ้น
2. การจำกัดวงเงินเทรดของพอร์ตเทรดระยะสั้นจากเดิมให้ลงทุนได้ไม่เกิน 75 % ของส่วนผู้ถือหุ้น โดยคาดว่าลดลงเหลือไม่เกิน 50-60 % ของส่วนผู้ถือหุ้น เป็นต้น แม้ว่าที่ผ่านมาที่ระดับ 75 % ของส่วนผู้ถือหุ้นนั้นทางสมาคมบล.เห็นว่าเพียงพอแล้วก็ตาม ซึ่งแนวทางที่ 2 นี้ถึงแม้ว่าไม่ได้จำกัดที่มูลค่าการซื้อขายหรือโวลุ่มเทรดแต่ไปจำกัดที่วงเงินก็ตาม เนื่องจากการจำกัดที่โวลุ่มซื้อขายได้ถูกเก็บค่าคอมมิสชันไปแล้ว ซึ่งมีต้นทุนเหมือนๆกัน ก็เป็นการสะท้อนว่าหากพอร์ตเทรดมีโวลุ่มสูงก็จะถูกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่ม เป็นต้น
อย่างไรก็ตามนางภัทธีรา กล่าวย้ำว่า การที่บริษัทหลักทรัพย์มีพอร์ตเทรดก็ไม่ใช่สิ่งที่เลวร้าย เนื่องจากยังช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับตลาดได้อีกทาง ส่วนกรณีที่พอร์ตเทรดอาจจะมีพฤติกรรมนอกลู่นอกทางนั้นคงเป็นหน้าที่ของตลาดหลักทรัพย์ฯในการดำเนินการมากกว่า ซึ่งยอมรับว่าอาจจะมีบ้าง แต่หากลงลึกในรายละเอียด การบริหารพอร์ตระยะสั้นของบริษัทหลักทรัพย์ว่ามีการจ้างผู้บริหารพอร์ตฝีมือดีเพื่อมาลงทุนให้แล้วมีการแบ่งกำไรกันนั้นถือว่าเป็นข้อตกลงกันเองของสมาชิกกับผู้บริหารพอร์ต ทางสมาคมบล.คงไม่ได้ดูลึกในระดับนั้น
***"ก้องเกียรติ"โวยหาแพะ
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบล.เอเซีย พลัสฯ ยืนยันถึงกรณีที่ก.ล.ต. มีการคุมเข้มการลงทุนของบัญชีซื้อขายของพอร์ตบริษัทหลักทรัพย์ว่า ประเด็นนี้ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างการซื้อขายของพอร์ตบริษัทหลักทรัพย์กับการทำหน้าที่ซื้อขายหลักทรัพย์ให้กับผู้ลงทุนเพราะถูกคุมเข้มจากทั้ง ก.ล.ต.และตลาดหลักทรัพย์ฯที่เข้มงวดอยู่แล้ว
"ดัชนีร่วงตอนแรกก็ให้ต่างชาติเป็นแพะ สักพักให้กองทุนทริกเกอร์ฟันด์เป็นแพะ คราวนี้ก็ให้พอร์ตบริษัทหลักทรัพย์เป็นแพะ " นายก้องเกียรติ กล่าวและว่าสำหรับการขายหุ้นนั้น เมื่อระดับราคาหุ้นปรับขึ้นไปในระดับที่แพงก็จะต้องขายทำกำไรออกมา ถือเป็นเรื่องปกติของการลงทุน
**พิสูจน์ 4 โมงเย็นมาตามนัดจริง
ทั้งนี้ "ฐานเศรษฐกิจ"ได้สังเกตการณ์บรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นไทยวันที่ 10 กันยายน ที่ผ่านมา โดยจับตาการเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ พบว่าเมื่อเวลา 15.48 น. ดัชนีปรับขึ้นไปสูงสุดที่ 1,413.98 จุด เพิ่มขึ้น 29.67 จุด จากวันก่อนหน้าที่ดัชนีปิด 1,384.31 จุด หลังจากนั้นดัชนีก็ถูกกระชากลงลึกเวลา 16.15 น. โดยปรับลงต่ำสุด 1,384.47 จุด ก่อน และปรับขึ้นมาปิดตลาดที่ 1,393.17 จุด
ส่วนมูลค่าการซื้อขายนักลงทุนแยกประเภทในวันที่ 10 กันยายนที่ผ่านมา แบ่งเป็นบัญชีนักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 2.07 พันล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์หรือพอร์ตโบรกเกอร์ ซื้อสุทธิ 1.24 พันล้านบาท นักลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิ 3.53 พันล้านบาท ขณะที่บัญชีนักลงทุนบุคคล ขายสุทธิ 6.84 พันล้านบาท
***8 เดือนเล่นเนตฯ 16 % โวลุ่ม1.49 ล้านล.
ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยมูลค่าการซื้อขายในบัญชีเนตเซตเทิลเมนต์ในรอบ 8 เดือน(ม.ค.-ส.ค.56) รวม 1.49 ล้านล้านบาท คิดเป็น 16.08 % ของมูลค่าการซื้อขายรวม 9.24 ล้านล้านบาท
ส่วนมูลค่าการซื้อขายรวมนักลงทุนแยกประเภท รอบ 8 เดือนเศษ (2ม.ค.-9ก.ย.56) แบ่งเป็นนักลงทุนสถาบันในประเทศ 1.56 ล้านล้านบาท ,บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ 2.38 ล้านล้านบาท,นักลงทุนต่างประเทศ 3.97 ล้านล้านบาท และนักลงทุนบุคคลในประเทศ 11.03 ล้านล้านบาท
Credit: ฐานเศรษฐกิจ
เจอแล้วแก๊ง4โมงเย็น
เจอแล้วแก๊ง4โมงเย็นที่แท้แห่ขายปิดบัญชีประจำวัน/สมาคมหลักทรัพย์เสนอคุมเข้มพอร์ตโบรเกอร์
แฉแก๊ง 4 โมงเย็นที่แท้นักเก็งกำไรเล่นสั้นใน 1 วัน พบ 3 กลุ่มพฤติกรรมเข้าข่าย ทั้งนักลงทุน Net settlement หลัง 8 เดือน โวลุ่ม 1.49 ล้านล้าน กลุ่มพอร์ตบล. Prop trade ยังมีต่างชาติผสมโรง ด้านสมาคมบล. เตรียมออกกฎคุมพอร์ตโบรกเกอร์ จ่อเก็บค่าคอมมิสชัน พอร์ต Directional trading และซื้อขายเดย์เทรด ขณะที่"ก้องเกียรติ" โวยเอาอีกโบรกเกอร์ไม่พ้นตกเป็นแพะ
จากกรณีที่มีกระแสข่าวและวิพากษ์วิจารณ์ถึง"แก๊ง 4 โมงเย็น"กันสนั่นทั้งในสังคมออนไลน์ และโซเชียลเน็ตเวิร์ก อาทิ เฟซบุ๊ก พันทิป และเว็บบอร์ดสื่อธุรกิจชั้นนำ ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่ที่เข้ามาโพสต์ข้อความ เป็นนักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนหน้าใหม่ ผนวกกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)ระบุว่าได้มีการหารือกับสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย (สมาคมบล.) ถึงสถานการณ์การซื้อขายของบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ (Proprietary trade-Prop Trade) หลังจากมีการตั้งข้อสังเกตว่าบัญชีบล. อาจมีการเอาเปรียบนักลงทุนรายย่อย หรือมีการซื้อขายที่ไม่เหมาะสม
**"เล่นเนตฯ" ขาใหญ่แก๊ง 4 โมงเย็น
แหล่งข่าวจากวงการตลาดหุ้นเปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า"แก๊ง 4 โมงเย็น" ได้ยินกันมานานแล้ว ซึ่งไม่ใช่กลุ่มนักลงทุนที่สร้างราคาหรือปั่นหุ้น แต่เป็นนักลงทุนที่มีพฤติกรรมการลงทุนที่คล้ายๆกัน คือ ซื้อ-ขายเร็ว หรือเก็งกำไรนั่นเอง เช่น ต้องทยอยขายหุ้นออกให้ทันภายในวันเดียวโดยจะต้องเริ่มขายช่วง 4 โมงเย็น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนักลงทุนที่เล่นหุ้นแบบหักกลบค่าซื้อและค่าหุ้นตัวเดียวกันภายในวันเดียวกัน (Net settlement) และกลุ่มที่เป็นบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ หรือพอร์ตลงทุน หรือพร็อพเทรด (Prop trade)
โดยเฉพาะกลุ่มที่เล่นเนตฯ ซึ่งหากไม่ออก(ขายหุ้น)ช่วงเวลา 4 โมงเย็น ถ้าไม่ได้กำไร ก็อาจจะขาดทุนไปเลย เช่น นักลงทุนเล่นเนตฯในวงเงิน 20 ล้านบาท สามารถรับขาดทุนได้สูงสุด 1 ล้านบาท (คิดเป็น 1 % ของวงเงินที่เล่นหุ้น) ดังนั้นในแต่ละวันนักลงทุนเหล่านี้ต้องบริหารพอร์ต
***ถูกบีบ 4 โมงเย็นต้องขาย
แหล่งข่าวกล่าวว่า ในความเป็นจริงนักลงทุนที่เล่นเนตฯ คงไม่รอให้ราคาหุ้นปรับตัวลงถึง 5 % ก็ต้องขายออกมาก่อน โดยเมื่อถึง 4 โมงเย็น ทุกคนก็รู้แล้วว่าไปไม่รอด สุดท้ายก็ต้องแบ่งขายออกมา แม้ไม่อยากเป็นแก๊ง 4 โมงเย็นก็ต้องเป็นช่วยไม่ได้ และบางคนลุ้นนาทีสุดท้ายเพื่อวัดดวง ซึ่งทำได้ในช่วงตลาดขาขึ้น คือ ซื้อเช้าแล้วขายตอนตลาดปิด ( 17.00 น.) แต่หากเป็นตลาดขาลง ก็กลับกัน คือขาย หรือขายช็อตในธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์(SBL)และเช้าในวันถัดไปก็ซื้อเพื่อปิดสถานะหรือการนำหุ้นที่ยืมมาคืน
***พอร์ตบล.ติดกลุ่ม
แหล่งข่าวรายเดียวกันยังกล่าวอีกว่า นักลงทุนอีกกลุ่มที่ถูกให้นิยามว่าเป็น"แก๊ง 4 โมงเย็น" คือ คือ พอร์ตบริษัทหลักทรัพย์ ที่ในระยะหลังๆมีพฤติกรรมการลงทุนที่เข้าออกเร็ว เนื่องจากมีแรงจูงใจเรื่องค่าตอบแทนให้กับผู้บริหารพอร์ต หลังช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีบริษัทหลักทรัพย์บางรายจ้างเจ้าหน้าที่การตลาดหรือมาร์เก็ตติ้งที่มีประสบการณ์มาบริหารพอร์ต
ตัวอย่างเช่น บริษัทหลักทรัพย์แห่งหนึ่งให้วงเงินบริหาร 200 ล้านบาท แล้วตกลงผลตอบแทนจากการลงทุนกันในสัดส่วน 50 : 50 ของกำไรที่ได้รับ (พอร์ตบล.รับกำไร 50 % มาร์เก็ตติ้งที่บริหารพอร์ตรับกำไร 50 % ) ซึ่งถือเป็นการให้เป็นอินเซนทีฟกับมาร์เก็ตติ้งที่บริหารพอร์ต เป็นเหมือนโบนัสรายเดือน ซึ่งด้านมาร์เก็ตติ้งเองก็ดีเท่ากับลงทุนในหุ้นโดยที่ไม่ต้องมีการวางหลักประกัน และสิ้นเดือนก็จะมาหักในส่วนของกำไรกับขาดทุนก็แบ่งกันระหว่าง 2 ฝ่าย
***ลงทุนยาวสุดข้ามวัน-ต้นทุนต่ำ
แหล่งข่าวยังกล่าวอีกว่า จากแรงจูงใจเรื่องการจ่ายผลตอบแทนที่จูงใจทำให้ช่วงหลังๆ เริ่มมีบรรดาบริษัทหลักทรัพย์ที่มีพอร์ตลงทุนมากขึ้น และลักษณะการลงทุนดังกล่าวจะเน้นลงทุนเร็ว หรือเน้นบริหารพอร์ตระยะสั้นๆมากขึ้น อีกทั้งได้ว่าจ้างมาร์เก็ตติ้งที่มีประสบการณ์เพื่อบริหารพอร์ตลงทุนเช่นกัน ทำให้ส่วนใหญ่ไม่นิยมถือลงทุนระยะยาว
ทั้งนี้พบว่าช่วงหลังพอร์ตบริษัทหลักทรัพย์บางแห่งลงทุนยาวสุดแค่ข้ามวัน ซึ่งหากมีข่าวร้ายช่วงกลางคืน ช่วงเช้าก็ยอมออกก่อน(ขายหุ้น)จึงส่งผลให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯปรับตัวลงแรง 20 จุด เป็นต้น นอกจากนี้ด้านต้นทุนของพอร์ตเทรดก็ยังได้เปรียบบัญชีทั่วไปคือจ่ายเพียง ล้านละ 78 บาท ขณะที่บัญชีของนักลงทุนทั่วไปมีต้นทุนล้านละ 2,578 บาท(คำนวณโดยอิงค่าคอมมิสชันที่ 0.25 % ของมูลค่าซื้อขาย )
นอกจากนี้พอร์ตเทรด(เก็งกำไร)ของบริษัทหลักทรัพย์ไม่ได้ลงทุนเฉพาะหุ้นอย่างเดียว แต่มีการลงทุนในตลาดอนุพันธ์หรือ ฟิวเจอร์ส การลงทุนในใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์(DW) เป็นต้น จึงส่งผลให้ตลาดหุ้นเกิดความผันผวนได้
***ต่างชาติผสมโรง
นอกจากนักลงทุนเล่นเนตฯและพอร์ตบริษัทหลักทรัพย์ที่ถูกให้นิยามว่าเป็น"แก๊ง 4 โมงเย็น"แล้ว แหล่งข่าวยังตั้งข้อสังเกตว่า นักลงทุนต่างประเทศก็ติดกลุ่มนี้เช่นกัน เนื่องจากมีพอร์ตลงทุนหรือพร็อพเทรด และมีการซื้อขายผ่านระบบอินเตอร์เน็ต หรือเทรดออนไลน์โดยมีการส่งคำสั่งซื้อขายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์จากระบบซื้อขายของผู้ลงทุนหรือ "DMA" (Direct Market Access)
"นักลงทุนต่างชาติกลุ่มนี้ได้วงเงินมาเพื่อบริหารพอร์ตเช่นกัน แต่เขาสามารถเลือกได้ว่าจะเทรดตลาดไหนไม่จำกัดเฉพาะตลาดหุ้นไทยเท่านั้น และมีการไล่หุ้น 3-4 ช่อง แต่คนเล่นหุ้นที่มีประสบการณ์ก็จะรู้ว่าเป็นพอร์ตต่างชาติ แต่มีบางคนไล่ตาม ซึ่งเมื่อต่างชาติมีกำไรเขาก็ต้องเทขาย และมีกำไร 2 เด้ง คือ กำไรจากค่าเงิน และกำไรจากตลาดหุ้น ส่วนนักลงทุนในประเทศที่ไล่ตาม(ซื้อหุ้นตาม)สุดท้ายก็ติดหุ้น
***คลอดแล้วกฎคุมพอร์ตบล.เก็งกำไร
สำหรับความคืบหน้าการออกกฎควบคุมบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ นางภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ นายกสมาคมบล.เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ" ว่าจากการหารือกับสมาชิกของสมาคมอย่างไม่เป็นทางการมีข้อสรุปเบื้องต้นที่จะเสนอต่อที่ประชุมสมาคมบล.ในวันศุกร์ที่ 13 กันยายน 2556 อีกครั้ง โดยจะมีการออกกฎเกณฑ์เพื่อคุมพอร์ตบริษัทหลักทรัพย์ 2 เรื่อง คือ
1.การเสนอให้มีการเก็บค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์หรือค่าคอมมิสชัน สำหรับพอร์ตโบรกเกอร์ในส่วนที่เป็น Directional trading หรือที่เรียกว่าพอร์ตที่มีการซื้อขายระยะสั้นตามทิศทางตลาด ซึ่งรวมการซื้อขายระยะสั้นหรือเดย์เทรดด้วย ไม่รวมพอร์ตลงทุนระยะยาว หรือพอร์ตที่มีไว้สำหรับการป้องกันความเสี่ยงในการรองรับการออกผลิตภัณฑ์การลงทุน อาทิ ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์(DW) เป็นต้น
โดยค่าคอมมิสชันที่พอร์ตเก็งกำไรจะต้องจ่ายต้องไม่น้อยกว่าที่จัดเก็บจากลูกค้าสถาบัน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความทัดเทียมกับนักลงทุนทั่วไปที่ต้องจ่ายค่าคอมมิสชันในการซื้อขายหุ้น
2. การจำกัดวงเงินเทรดของพอร์ตเทรดระยะสั้นจากเดิมให้ลงทุนได้ไม่เกิน 75 % ของส่วนผู้ถือหุ้น โดยคาดว่าลดลงเหลือไม่เกิน 50-60 % ของส่วนผู้ถือหุ้น เป็นต้น แม้ว่าที่ผ่านมาที่ระดับ 75 % ของส่วนผู้ถือหุ้นนั้นทางสมาคมบล.เห็นว่าเพียงพอแล้วก็ตาม ซึ่งแนวทางที่ 2 นี้ถึงแม้ว่าไม่ได้จำกัดที่มูลค่าการซื้อขายหรือโวลุ่มเทรดแต่ไปจำกัดที่วงเงินก็ตาม เนื่องจากการจำกัดที่โวลุ่มซื้อขายได้ถูกเก็บค่าคอมมิสชันไปแล้ว ซึ่งมีต้นทุนเหมือนๆกัน ก็เป็นการสะท้อนว่าหากพอร์ตเทรดมีโวลุ่มสูงก็จะถูกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่ม เป็นต้น
อย่างไรก็ตามนางภัทธีรา กล่าวย้ำว่า การที่บริษัทหลักทรัพย์มีพอร์ตเทรดก็ไม่ใช่สิ่งที่เลวร้าย เนื่องจากยังช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับตลาดได้อีกทาง ส่วนกรณีที่พอร์ตเทรดอาจจะมีพฤติกรรมนอกลู่นอกทางนั้นคงเป็นหน้าที่ของตลาดหลักทรัพย์ฯในการดำเนินการมากกว่า ซึ่งยอมรับว่าอาจจะมีบ้าง แต่หากลงลึกในรายละเอียด การบริหารพอร์ตระยะสั้นของบริษัทหลักทรัพย์ว่ามีการจ้างผู้บริหารพอร์ตฝีมือดีเพื่อมาลงทุนให้แล้วมีการแบ่งกำไรกันนั้นถือว่าเป็นข้อตกลงกันเองของสมาชิกกับผู้บริหารพอร์ต ทางสมาคมบล.คงไม่ได้ดูลึกในระดับนั้น
***"ก้องเกียรติ"โวยหาแพะ
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบล.เอเซีย พลัสฯ ยืนยันถึงกรณีที่ก.ล.ต. มีการคุมเข้มการลงทุนของบัญชีซื้อขายของพอร์ตบริษัทหลักทรัพย์ว่า ประเด็นนี้ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างการซื้อขายของพอร์ตบริษัทหลักทรัพย์กับการทำหน้าที่ซื้อขายหลักทรัพย์ให้กับผู้ลงทุนเพราะถูกคุมเข้มจากทั้ง ก.ล.ต.และตลาดหลักทรัพย์ฯที่เข้มงวดอยู่แล้ว
"ดัชนีร่วงตอนแรกก็ให้ต่างชาติเป็นแพะ สักพักให้กองทุนทริกเกอร์ฟันด์เป็นแพะ คราวนี้ก็ให้พอร์ตบริษัทหลักทรัพย์เป็นแพะ " นายก้องเกียรติ กล่าวและว่าสำหรับการขายหุ้นนั้น เมื่อระดับราคาหุ้นปรับขึ้นไปในระดับที่แพงก็จะต้องขายทำกำไรออกมา ถือเป็นเรื่องปกติของการลงทุน
**พิสูจน์ 4 โมงเย็นมาตามนัดจริง
ทั้งนี้ "ฐานเศรษฐกิจ"ได้สังเกตการณ์บรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นไทยวันที่ 10 กันยายน ที่ผ่านมา โดยจับตาการเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ พบว่าเมื่อเวลา 15.48 น. ดัชนีปรับขึ้นไปสูงสุดที่ 1,413.98 จุด เพิ่มขึ้น 29.67 จุด จากวันก่อนหน้าที่ดัชนีปิด 1,384.31 จุด หลังจากนั้นดัชนีก็ถูกกระชากลงลึกเวลา 16.15 น. โดยปรับลงต่ำสุด 1,384.47 จุด ก่อน และปรับขึ้นมาปิดตลาดที่ 1,393.17 จุด
ส่วนมูลค่าการซื้อขายนักลงทุนแยกประเภทในวันที่ 10 กันยายนที่ผ่านมา แบ่งเป็นบัญชีนักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 2.07 พันล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์หรือพอร์ตโบรกเกอร์ ซื้อสุทธิ 1.24 พันล้านบาท นักลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิ 3.53 พันล้านบาท ขณะที่บัญชีนักลงทุนบุคคล ขายสุทธิ 6.84 พันล้านบาท
***8 เดือนเล่นเนตฯ 16 % โวลุ่ม1.49 ล้านล.
ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยมูลค่าการซื้อขายในบัญชีเนตเซตเทิลเมนต์ในรอบ 8 เดือน(ม.ค.-ส.ค.56) รวม 1.49 ล้านล้านบาท คิดเป็น 16.08 % ของมูลค่าการซื้อขายรวม 9.24 ล้านล้านบาท
ส่วนมูลค่าการซื้อขายรวมนักลงทุนแยกประเภท รอบ 8 เดือนเศษ (2ม.ค.-9ก.ย.56) แบ่งเป็นนักลงทุนสถาบันในประเทศ 1.56 ล้านล้านบาท ,บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ 2.38 ล้านล้านบาท,นักลงทุนต่างประเทศ 3.97 ล้านล้านบาท และนักลงทุนบุคคลในประเทศ 11.03 ล้านล้านบาท
Credit: ฐานเศรษฐกิจ