The Bling Ring (2013)
Genre: Crime, Drama
Director: Sofia Coppola
Based on the Vanity Fair article "The Suspect Wore Louboutins" by: Nancy Jo Sales
Screenplay: Sofia Coppola
ตอนแรกที่จะดู The Bling Ring นี่ก็เปิดดูคะแนน IMDb กับรีวิวคร่าว ๆ ในนั้นก็ทำใจไว้พอสมควรว่ายังไงก็คิดซะว่าไปดูหนังวัยรุ่นสาว ๆ เต็มเรื่องก็โอเคแล้ว ฮ่า ๆ รีวิวนี้อาจจะมีศัพท์วัยรุ่น คำทับศัพท์เยอะไปสักนิดต้องขออภัยจริง ๆ เพราะไม่รู้ว่าจะใช้คำไหนแทนแล้วได้อารมณ์เท่าเขียนทับศัพท์ หะหะ
The Bling Ring สร้างจากเหตุการณ์จริงซึ่งถูกนำมาเขียนเป็นบทความเรื่อง "ผู้ต้องสงสัยสวมลูบูแตง" เรื่องราวของกลุ่มวัยรุ่นที่เพลิดเพลินกับการขโมยของในบ้านเซเลป ขโมยเงินขโมยของแบรนด์เนมราคาแพงง่าย ๆ เพราะบ้านเซเลปเหล่านั้นไม่ได้ล็อกครับ
ผมจัด The Bling Ring อยู่ในประเภทหนัง Bitch Girl ครับ หนัง Bitch Girl คืออะไร? สำหรับผมมันคือหนังที่มีตัวละครนำเป็นผู้หญิงแรด ๆ หรือกลุ่มวัยรุ่นหญิงเปรี้ยว ๆ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพก็เช่น Mean Girl, Easy A, Confessions of a Shopaholic, Gossip Girl, A-list เป็นต้นครับ ซึ่งหนังที่มีตัวละครเป็น Bitch Girl ก็จะแตกหน่อไปทำเป็นแนวคอเมดี้บ้าง โรแมนติกบ้าง หรือมาเป็นแนวอาชญากรรมแบบนี้ก็ได้ครับ
การดู The Bling Ring ทำให้ผมนึกถึง The Virgin Suicides ตรงที่ว่ากลุ่มตัวละครนำเป็นวัยรุ่นมีความไร้เดียงสาซ่อนอยู่ อย่างใน Virgin Suicides เราจะพบเด็กสาว 5 คนที่ถูกเลี้ยงดูแบบเข้มงวดโดยเฉพาะเรื่องการเข้าสังคมและการคุยกับเพศตรงข้าม ความอึดอัดก็ทำให้หนึ่งในเด็กสาวฆ่าตัวตายซึ่งก็ส่งผลให้พี่น้องที่เหลือได้รับความกดดันจากการที่พ่อแม่หลอกตัวเองว่ามันเป็นอุบัติเหตุ ในขณะที่ The Bling Ring ก็เป็นเรื่องของวัยรุ่นมีปัญหาเช่นกัน
เริ่มจากหัวโจกอย่างรีเบคก้า (Katie Chang) ตัวละครนี้เราจะเห็นแรงจูงใจชัดเจนจากสายตาคนอื่นที่มองว่าเธออยากใช้ชีวิต อยากแต่งตัวแบบเซเลปที่ชอบจนเริ่มชวนเพื่อนปล้นบ้านคนดัง แม้หนังจะไม่ได้ให้เราเห็นภาพครอบครัวแต่จากการพูดถึงพ่อเลี้ยงในแง่ลบก็พอจะทำให้เข้าใจได้ว่าเธออาจจะอยู่ในครอบครัวที่ไม่อบอุ่น
มาร์ค (Israel Broussard) เด็กหนุ่มคนเดียวในคดี The Bling Ring เขาเป็นคนไม่มั่นใจในตัวเอง เมื่อเข้ามาในโรงเรียนวันแรกก็เจอกับรีเบคก้าที่มาชวนเขาไปปาร์ตี้ก่อนที่เธอจะชวนเขาไป "ส่องรถ" ซึ่งหมายถึงการเดินไล่เปิดประตูรถทีละคันเพื่อดูว่าคันไหนไม่ได้ล็อคและก็เริ่มเปลี่ยนจากปล้นรถไม่ได้ล็อคเป็นปล้นบ้านที่ไม่ได้ล็อค
นิคกี้ (Emma Watson) เธออยากเข้าวงการบันเทิงจึงมักชวนแซม (Taissa Farmiga) ไปสิงประจำอยู่ในผับเดียวกับเหล่าคนในวงการบันเทิง เผื่อจะมีคนชักชวนเธอไปทำงานเดินแบบหรือเล่น mv เราจะสังเกตเห็นว่าเธออยากมีชื่อเสียง
เรื่องบทหนังต้องบอกว่ามันครึ่ง ๆ กลาง ๆ เริ่มจากวิธีการเล่าเรื่องที่ในตอนแรกเหมือนจะใช้รูปแบบสารคดีอยู่ 2-3 ฉากแล้วก็หายยาวไปเลย (หมายถึงการเล่าเรื่องเหตุการณ์สลับกับการสัมภาษณ์ตัวละคร) ตัวละครมีปมให้เล่นแต่หนังกลับปล่อยผ่านทั้งที่ในฉากสัมภาษณ์ก็ใช้ให้ตัวละครพูดคุยกับคอลัมนิสต์เสมือนนั่งคุยกับจิตแพทย์ เวลาในหนังมอบให้กับความรื่นเริงในบ้านเซเลปเยอะพอสมควรจนเหมือนเป็นการสนองความอยากของผู้กำกับเลย ฮ่า ๆ (โซเฟียเธอก็จัดว่าอยู่ในกลุ่มไฮโซเหมือนกัน) ประเด็นที่พูดถึง "สังคมอเมริกันนิยมอาชญากร" ในช่วงท้ายก็เป็นกาีรพูดขึ้นมาลอย ๆ มากกว่าจะนำไปต่อยอด พอมองในภาพรวมทั้งหมดตลอด 90 นาทีจึงกลายเป็นว่าเรามานั่งดูกลุ่มเด็กหญิงแรด ๆ ปล้นบ้านเซเลปมาทำตัวชิค ๆ คูล ๆ ดูดยาขับรถเล่นเต้นในผับสุดท้ายโดนจับแค่นั้นจบ
งานด้านเทคนิคมีทั้งดีและไม่ดี ส่วนที่ดีคือเอกลักษณ์งานภาพถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกสไตล์โซเฟียที่เคยเห็นใน The Virgin Suicides หรือ Lost in Translation มันยังมีให้เห็นในหนังเรื่องนี้ครับ แม้จะไม่ได้รู้สึกว่ามันเยี่ยมอะไรแต่ก็นับว่าอยู่ในเกณฑ์ดีไม่เสียมาตรฐานของโซเฟีย ส่วนที่ผมไม่ค่อยปลื้มคือการตัดต่อที่หลายครั้งเหมือนเอาเศษฟิล์มมาต่อกัน ยิ่งพวกฉากสั้น ๆ คนละเหตุการณ์มาต่อกันมันดูสะดุดมาก การตัดต่อที่ดีจะทำให้เราดูหนังได้ไหลลื่นแต่ถ้าตัดต่อโดดจากกันแบบนี้มันก็จะทำให้รู้สึกสะดุดครับ
ส่วนนักแสดงคงไม่ต้องพูดถึงเรื่องการแสดง ขอพูดถึงความงามอย่างเดียวละกันครับว่าแจ่มมากกกกก เอ็มม่า วัตสันสวยเปรี้ยวแรดมากกกก, เทียสซ่า ฟาร์มิก้าสวยสเป็ค, เคที่ ชางก็น่ารัก, แคลร์ จูเลี่ยนก็สวยยย ตีตั๋วดูแค่นี้ก็คุ้มละครับ ฮ่า ๆ
ทีนี้ประเด็นที่อยากพูดถึงคือในสัมภาษณ์มาร์คเขาบอกว่าหลังจากถูกจับ ปรากฎว่าเฟซบุ๊คเขามีคนขอเป็นเพื่อนกว่า 800 คนและถึงขั้นมีคนทำเพจให้ วัยรุ่นหลายคนปลื้มการกระทำของพวกเขาทั้งที่ก็รู้กันว่าเป็นสิ่งที่ผิด เขาเลยพูดประโยคหนึ่งว่า "สังคมอเมริกันนิยมอาชญากร" ประเด็นนี้แทบไม่ต้องย้อนไปไหนไกลเลยด้วยซ้ำเอาแค่เหตุการณ์กราดยิงสังหารหมู่นักเรียนในอเมริกา ถามว่าสื่อให้ความสนใจกับอะไรมากที่สุด คำตอบคือตัวอาชญากร มีสื่อไหนจะมานั่งสนใจเหยื่อไหม? สื่อไล่ค้นหาแต่ประวัติอาชญากรหาแรงจูงใจ บรรยายเหตุการณ์แทบจะละเอียดยิบ นำเสนอจากคนธรรมดากลายเป็นคนดังเป็นที่จดจำ จนทำให้มองได้ว่าการเกิดพฤติกรรมเลียนแบบเพราะพวกเรียกร้องความสนใจรู้ว่ามันได้ผล
หรือดูในประเทศไทยเราไม่นานนี้สื่อก็ให้ความสนใจกับคนค้ายา นำมาออกรายการโทรทัศน์ นำมาเล่น mv (พูดให้ดูดีก็บอกว่าให้โอกาสคน พูดแบบตรง ๆ ก็บอกว่าการตลาด อาชญากรเป็นที่สนใจเอามาร่วมงานก็มีคนตามดู) ซึ่งพอมองกรณีนี้มันก็จะเข้ากับตัวละครนิคกี้ที่แสดงโดยเอ็มม่า วัตสัน เธอก็เป็นหนึ่งในแก๊งปล้นบ้านเซเลป เมื่อโดนจับเธอก็เริ่มมีชื่อเสียง สื่อให้ความสนใจ เธอก็ฉกฉวยประโยชน์จากตรงนั้นได้ดี
อย่าคาดหวังกับชื่อโซเฟีย คอปโปล่าในครั้งนี้มากนักครับ
6.5/10
Review The Bling Ring หนัง Bitch Girl โดยโซเฟีย คอปโปล่า
Genre: Crime, Drama
Director: Sofia Coppola
Based on the Vanity Fair article "The Suspect Wore Louboutins" by: Nancy Jo Sales
Screenplay: Sofia Coppola
ตอนแรกที่จะดู The Bling Ring นี่ก็เปิดดูคะแนน IMDb กับรีวิวคร่าว ๆ ในนั้นก็ทำใจไว้พอสมควรว่ายังไงก็คิดซะว่าไปดูหนังวัยรุ่นสาว ๆ เต็มเรื่องก็โอเคแล้ว ฮ่า ๆ รีวิวนี้อาจจะมีศัพท์วัยรุ่น คำทับศัพท์เยอะไปสักนิดต้องขออภัยจริง ๆ เพราะไม่รู้ว่าจะใช้คำไหนแทนแล้วได้อารมณ์เท่าเขียนทับศัพท์ หะหะ
The Bling Ring สร้างจากเหตุการณ์จริงซึ่งถูกนำมาเขียนเป็นบทความเรื่อง "ผู้ต้องสงสัยสวมลูบูแตง" เรื่องราวของกลุ่มวัยรุ่นที่เพลิดเพลินกับการขโมยของในบ้านเซเลป ขโมยเงินขโมยของแบรนด์เนมราคาแพงง่าย ๆ เพราะบ้านเซเลปเหล่านั้นไม่ได้ล็อกครับ
ผมจัด The Bling Ring อยู่ในประเภทหนัง Bitch Girl ครับ หนัง Bitch Girl คืออะไร? สำหรับผมมันคือหนังที่มีตัวละครนำเป็นผู้หญิงแรด ๆ หรือกลุ่มวัยรุ่นหญิงเปรี้ยว ๆ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพก็เช่น Mean Girl, Easy A, Confessions of a Shopaholic, Gossip Girl, A-list เป็นต้นครับ ซึ่งหนังที่มีตัวละครเป็น Bitch Girl ก็จะแตกหน่อไปทำเป็นแนวคอเมดี้บ้าง โรแมนติกบ้าง หรือมาเป็นแนวอาชญากรรมแบบนี้ก็ได้ครับ
การดู The Bling Ring ทำให้ผมนึกถึง The Virgin Suicides ตรงที่ว่ากลุ่มตัวละครนำเป็นวัยรุ่นมีความไร้เดียงสาซ่อนอยู่ อย่างใน Virgin Suicides เราจะพบเด็กสาว 5 คนที่ถูกเลี้ยงดูแบบเข้มงวดโดยเฉพาะเรื่องการเข้าสังคมและการคุยกับเพศตรงข้าม ความอึดอัดก็ทำให้หนึ่งในเด็กสาวฆ่าตัวตายซึ่งก็ส่งผลให้พี่น้องที่เหลือได้รับความกดดันจากการที่พ่อแม่หลอกตัวเองว่ามันเป็นอุบัติเหตุ ในขณะที่ The Bling Ring ก็เป็นเรื่องของวัยรุ่นมีปัญหาเช่นกัน
เริ่มจากหัวโจกอย่างรีเบคก้า (Katie Chang) ตัวละครนี้เราจะเห็นแรงจูงใจชัดเจนจากสายตาคนอื่นที่มองว่าเธออยากใช้ชีวิต อยากแต่งตัวแบบเซเลปที่ชอบจนเริ่มชวนเพื่อนปล้นบ้านคนดัง แม้หนังจะไม่ได้ให้เราเห็นภาพครอบครัวแต่จากการพูดถึงพ่อเลี้ยงในแง่ลบก็พอจะทำให้เข้าใจได้ว่าเธออาจจะอยู่ในครอบครัวที่ไม่อบอุ่น
มาร์ค (Israel Broussard) เด็กหนุ่มคนเดียวในคดี The Bling Ring เขาเป็นคนไม่มั่นใจในตัวเอง เมื่อเข้ามาในโรงเรียนวันแรกก็เจอกับรีเบคก้าที่มาชวนเขาไปปาร์ตี้ก่อนที่เธอจะชวนเขาไป "ส่องรถ" ซึ่งหมายถึงการเดินไล่เปิดประตูรถทีละคันเพื่อดูว่าคันไหนไม่ได้ล็อคและก็เริ่มเปลี่ยนจากปล้นรถไม่ได้ล็อคเป็นปล้นบ้านที่ไม่ได้ล็อค
นิคกี้ (Emma Watson) เธออยากเข้าวงการบันเทิงจึงมักชวนแซม (Taissa Farmiga) ไปสิงประจำอยู่ในผับเดียวกับเหล่าคนในวงการบันเทิง เผื่อจะมีคนชักชวนเธอไปทำงานเดินแบบหรือเล่น mv เราจะสังเกตเห็นว่าเธออยากมีชื่อเสียง
เรื่องบทหนังต้องบอกว่ามันครึ่ง ๆ กลาง ๆ เริ่มจากวิธีการเล่าเรื่องที่ในตอนแรกเหมือนจะใช้รูปแบบสารคดีอยู่ 2-3 ฉากแล้วก็หายยาวไปเลย (หมายถึงการเล่าเรื่องเหตุการณ์สลับกับการสัมภาษณ์ตัวละคร) ตัวละครมีปมให้เล่นแต่หนังกลับปล่อยผ่านทั้งที่ในฉากสัมภาษณ์ก็ใช้ให้ตัวละครพูดคุยกับคอลัมนิสต์เสมือนนั่งคุยกับจิตแพทย์ เวลาในหนังมอบให้กับความรื่นเริงในบ้านเซเลปเยอะพอสมควรจนเหมือนเป็นการสนองความอยากของผู้กำกับเลย ฮ่า ๆ (โซเฟียเธอก็จัดว่าอยู่ในกลุ่มไฮโซเหมือนกัน) ประเด็นที่พูดถึง "สังคมอเมริกันนิยมอาชญากร" ในช่วงท้ายก็เป็นกาีรพูดขึ้นมาลอย ๆ มากกว่าจะนำไปต่อยอด พอมองในภาพรวมทั้งหมดตลอด 90 นาทีจึงกลายเป็นว่าเรามานั่งดูกลุ่มเด็กหญิงแรด ๆ ปล้นบ้านเซเลปมาทำตัวชิค ๆ คูล ๆ ดูดยาขับรถเล่นเต้นในผับสุดท้ายโดนจับแค่นั้นจบ
งานด้านเทคนิคมีทั้งดีและไม่ดี ส่วนที่ดีคือเอกลักษณ์งานภาพถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกสไตล์โซเฟียที่เคยเห็นใน The Virgin Suicides หรือ Lost in Translation มันยังมีให้เห็นในหนังเรื่องนี้ครับ แม้จะไม่ได้รู้สึกว่ามันเยี่ยมอะไรแต่ก็นับว่าอยู่ในเกณฑ์ดีไม่เสียมาตรฐานของโซเฟีย ส่วนที่ผมไม่ค่อยปลื้มคือการตัดต่อที่หลายครั้งเหมือนเอาเศษฟิล์มมาต่อกัน ยิ่งพวกฉากสั้น ๆ คนละเหตุการณ์มาต่อกันมันดูสะดุดมาก การตัดต่อที่ดีจะทำให้เราดูหนังได้ไหลลื่นแต่ถ้าตัดต่อโดดจากกันแบบนี้มันก็จะทำให้รู้สึกสะดุดครับ
ส่วนนักแสดงคงไม่ต้องพูดถึงเรื่องการแสดง ขอพูดถึงความงามอย่างเดียวละกันครับว่าแจ่มมากกกกก เอ็มม่า วัตสันสวยเปรี้ยวแรดมากกกก, เทียสซ่า ฟาร์มิก้าสวยสเป็ค, เคที่ ชางก็น่ารัก, แคลร์ จูเลี่ยนก็สวยยย ตีตั๋วดูแค่นี้ก็คุ้มละครับ ฮ่า ๆ
ทีนี้ประเด็นที่อยากพูดถึงคือในสัมภาษณ์มาร์คเขาบอกว่าหลังจากถูกจับ ปรากฎว่าเฟซบุ๊คเขามีคนขอเป็นเพื่อนกว่า 800 คนและถึงขั้นมีคนทำเพจให้ วัยรุ่นหลายคนปลื้มการกระทำของพวกเขาทั้งที่ก็รู้กันว่าเป็นสิ่งที่ผิด เขาเลยพูดประโยคหนึ่งว่า "สังคมอเมริกันนิยมอาชญากร" ประเด็นนี้แทบไม่ต้องย้อนไปไหนไกลเลยด้วยซ้ำเอาแค่เหตุการณ์กราดยิงสังหารหมู่นักเรียนในอเมริกา ถามว่าสื่อให้ความสนใจกับอะไรมากที่สุด คำตอบคือตัวอาชญากร มีสื่อไหนจะมานั่งสนใจเหยื่อไหม? สื่อไล่ค้นหาแต่ประวัติอาชญากรหาแรงจูงใจ บรรยายเหตุการณ์แทบจะละเอียดยิบ นำเสนอจากคนธรรมดากลายเป็นคนดังเป็นที่จดจำ จนทำให้มองได้ว่าการเกิดพฤติกรรมเลียนแบบเพราะพวกเรียกร้องความสนใจรู้ว่ามันได้ผล
หรือดูในประเทศไทยเราไม่นานนี้สื่อก็ให้ความสนใจกับคนค้ายา นำมาออกรายการโทรทัศน์ นำมาเล่น mv (พูดให้ดูดีก็บอกว่าให้โอกาสคน พูดแบบตรง ๆ ก็บอกว่าการตลาด อาชญากรเป็นที่สนใจเอามาร่วมงานก็มีคนตามดู) ซึ่งพอมองกรณีนี้มันก็จะเข้ากับตัวละครนิคกี้ที่แสดงโดยเอ็มม่า วัตสัน เธอก็เป็นหนึ่งในแก๊งปล้นบ้านเซเลป เมื่อโดนจับเธอก็เริ่มมีชื่อเสียง สื่อให้ความสนใจ เธอก็ฉกฉวยประโยชน์จากตรงนั้นได้ดี
อย่าคาดหวังกับชื่อโซเฟีย คอปโปล่าในครั้งนี้มากนักครับ
6.5/10