สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 19
ถ้าพูดถึงแง่สิ่งประดิษฐ์ ก็ถือว่าเป็นชิ้นงานประดิษฐ์ที่ประสบความสำเร็จสูงสำหรับเยาวชน(ด้านวิศวกรรม/เคมี/วัสดุศาสตร์)
แต่ถ้าพูดถึงอรรถประโยชน์ใน application ที่จะเกิดขึ้นจริงในทางการแพทย์ อาจจะห่างไกลกับสิ่งที่เรียกว่าคุณประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ
สิ่งประดิษฐ์วัสดุการแพทย์ที่ไม่มีการทดสอบประสิทธิภาพในคนจริง ยังไงก็เอามาใช้ไม่ได้ ขายก็ไม่มีคนซื้อ เพราะ US FDA ไม่อนุมัติแน่ๆ
เอาแค่ตอบคำถามว่าการตรวจคัดกรอง mesothelin มีประโยชน์จริงหรือไม่ก่อน ทำ ROC curve analysis ออกมาก่อน
ยังไม่ต้องถามว่าจะเลือกตรวจด้วยวิธีอะไร และสามารถใช้สิ่งประดิษฐ์นี้ได้หรือไม่
อีกอย่างประโยชน์ในแง่การตรวจคัดกรองมะเร็ง (cancer screening) พูดถึงประสิทธิภาพของ test อย่างเดียวไม่พอครับ
มันยังมีเรื่องวิธีปฏิบัติเพื่อการตรวจยืนยัน และการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ตามมาอีกยาวเหยียด
test ที่ว่าถึงจะโฆษณาว่ามี sensitivity ถึง 90% นี่ยังถือว่าต่ำ เมื่อจะเอามาใช้ในแง่ screening
ตาม Bayes' theorem สิ่งที่ต้องคิดถึงพร้อมกันเสมอคือ prevalence เพื่อคำนวณ positive predictive value
เลข 90% อาจฟังดูแม่นยำมาก แต่เมื่อนำมาใช้กับโรคที่พบน้อย prevalence ต่ำๆ เช่นมะเร็งนั้น
จะกลายเป็นว่าผลบวกจากการทดสอบส่วนใหญ่จะเป็นผลบวกปลอม
เช่นสมมติ sensitivity 95% แต่ถ้า prevalence มีแค่ 0.1% จะกลายเป็นว่า PPV เหลือแค่ 1.9%
นั่นก็คือ"คนส่วนใหญ่"ที่ได้ผลตรวจว่าเป็นมะเร็ง จะเป็นผลตรวจที่ผิดพลาด คือไม่ได้เป็นมะเร็งจริง
ประมาณว่า หากมีคน 1000 คนตรวจคัดกรองพบว่าเป็นมะเร็ง ในจำนวนนี้อาจจะมีคนเพียงคนเดียวที่เป็นมะเร็งจริง
นั่นก็หมายถึงงบประมาณมหาศาลที่ต้องทุ่มตามลงไปเพื่อ"การตรวจยืนยัน"ว่าใน 1000 คน หนึ่งเดียวคนไหนที่เป็นมะเร็งจริง
ตรวจคัดกรองอาจเสียแค่บาทเดียว แต่จะตามมาด้วย CT-scan ราคาหลายพันบาทสำหรับคนอีกจำนวนมากที่ไม่น่าต้องมาตรวจแต่แรก
แต่ถ้าพูดถึงอรรถประโยชน์ใน application ที่จะเกิดขึ้นจริงในทางการแพทย์ อาจจะห่างไกลกับสิ่งที่เรียกว่าคุณประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ
สิ่งประดิษฐ์วัสดุการแพทย์ที่ไม่มีการทดสอบประสิทธิภาพในคนจริง ยังไงก็เอามาใช้ไม่ได้ ขายก็ไม่มีคนซื้อ เพราะ US FDA ไม่อนุมัติแน่ๆ
เอาแค่ตอบคำถามว่าการตรวจคัดกรอง mesothelin มีประโยชน์จริงหรือไม่ก่อน ทำ ROC curve analysis ออกมาก่อน
ยังไม่ต้องถามว่าจะเลือกตรวจด้วยวิธีอะไร และสามารถใช้สิ่งประดิษฐ์นี้ได้หรือไม่
อีกอย่างประโยชน์ในแง่การตรวจคัดกรองมะเร็ง (cancer screening) พูดถึงประสิทธิภาพของ test อย่างเดียวไม่พอครับ
มันยังมีเรื่องวิธีปฏิบัติเพื่อการตรวจยืนยัน และการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ตามมาอีกยาวเหยียด
test ที่ว่าถึงจะโฆษณาว่ามี sensitivity ถึง 90% นี่ยังถือว่าต่ำ เมื่อจะเอามาใช้ในแง่ screening
ตาม Bayes' theorem สิ่งที่ต้องคิดถึงพร้อมกันเสมอคือ prevalence เพื่อคำนวณ positive predictive value
เลข 90% อาจฟังดูแม่นยำมาก แต่เมื่อนำมาใช้กับโรคที่พบน้อย prevalence ต่ำๆ เช่นมะเร็งนั้น
จะกลายเป็นว่าผลบวกจากการทดสอบส่วนใหญ่จะเป็นผลบวกปลอม
เช่นสมมติ sensitivity 95% แต่ถ้า prevalence มีแค่ 0.1% จะกลายเป็นว่า PPV เหลือแค่ 1.9%
นั่นก็คือ"คนส่วนใหญ่"ที่ได้ผลตรวจว่าเป็นมะเร็ง จะเป็นผลตรวจที่ผิดพลาด คือไม่ได้เป็นมะเร็งจริง
ประมาณว่า หากมีคน 1000 คนตรวจคัดกรองพบว่าเป็นมะเร็ง ในจำนวนนี้อาจจะมีคนเพียงคนเดียวที่เป็นมะเร็งจริง
นั่นก็หมายถึงงบประมาณมหาศาลที่ต้องทุ่มตามลงไปเพื่อ"การตรวจยืนยัน"ว่าใน 1000 คน หนึ่งเดียวคนไหนที่เป็นมะเร็งจริง
ตรวจคัดกรองอาจเสียแค่บาทเดียว แต่จะตามมาด้วย CT-scan ราคาหลายพันบาทสำหรับคนอีกจำนวนมากที่ไม่น่าต้องมาตรวจแต่แรก
ความคิดเห็นที่ 1
วิธีที่ทดสอบยังไม่น่าสนใจเพราะใช้ตัวบ่งชี้มะเร็งซึ่งมีความผิดพลาดมีข้อจำกัดสูงมากเหมือนตัวบ่งชี้มะเร็งในเลือด
แต่ที่ทำให้เขาได้รับรางวัลจริงๆคือวิธีที่สามารถทำให้การทดสอบนั้นสะดวกมากและมีความไวสูงไปอ่านวิธีการทำงานแล้วทึ่งมาก เพราะมันอาจสามารถขยายไปสู่การตรวจเลือดหรือแม้แต่น้ำลายแนวใหม่ที่มีความไวสูงมากๆ ซึ่งเดิมอาจทำไม่ได้หรือมีราคาแพงมาก และโดยหลักการนั้นอาจพลิกแพลงไปตรวจสารอื่นๆได้อีกเช่นยีน
ปล.ต้องรอดูประโยชน์ว่าการทดสอบนี้ดีพอในคนหรือไม่ครับ ถ้าใช่โนเบลอาจเป็นไปได้
แต่ที่ทำให้เขาได้รับรางวัลจริงๆคือวิธีที่สามารถทำให้การทดสอบนั้นสะดวกมากและมีความไวสูงไปอ่านวิธีการทำงานแล้วทึ่งมาก เพราะมันอาจสามารถขยายไปสู่การตรวจเลือดหรือแม้แต่น้ำลายแนวใหม่ที่มีความไวสูงมากๆ ซึ่งเดิมอาจทำไม่ได้หรือมีราคาแพงมาก และโดยหลักการนั้นอาจพลิกแพลงไปตรวจสารอื่นๆได้อีกเช่นยีน
ปล.ต้องรอดูประโยชน์ว่าการทดสอบนี้ดีพอในคนหรือไม่ครับ ถ้าใช่โนเบลอาจเป็นไปได้
แสดงความคิดเห็น
Jack Andraka ว่าที่ตำแหน่งรางวัลโนเบลด้านการแพทย์ อายุน้อยที่สุดในโลก
Jack Andraka เป็นตัวอย่างความพยายามที่น่าสนใจ หลังจากเสียญาติไปด้วยโรคมะเร็งตับอ่อนในวัยเด็ก เขาจึงอุทิศชีวิตเพื่อสร้างอุปกรณ์ค้นหาโรคมะเร็งตั้งแต่ระยะต้นๆ เพราะพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะรู้ตัวเมื่อสายเกินไป
จนกระทั่งอายุ 16 ปี เขาสามารถคิดค้นเซนเซอร์ตรวจมะเร็งตับอ่อน ที่ได้ผลแม่นยำถึง 90% และเร็วกว่าเดิม 400 เท่า และยังมีราคาถูกลงกว่าการตรวจในปัจจุบัน 26,000 เท่า เหลือเพียงครั้งละประมาณ 1 บาทเท่านั้น เนื่องจาอุปกรณ์เป็นเพียงกระดาษบางๆ
การทำงานก็เพียงแค่หยดเลือดหรือปัสสาวะลงไป แล้วรอประมาณ 5 นาทีก็จะสามารถทราบผล โดยไม่ต้องใช้เครื่องตรวจจับมะเร็งให้ยุ่งยากแต่อยางใด
ผลงานนี้สร้างชื่อเสียงและสร้างคุณประโยชน์ให้แก่มวลมนุษย์อย่างมาก จนส่งผลให้ Jack สามารถคว้ารางวัลสูงสุดจากงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมนานาชาติสำเร็จ
แต่ว่าจะมาถึงตอนนี้ เชื่อหรือไม่ว่าเขาส่งงานวิจัยไปห้องแล็บของมหาวิทยาลัยต่างๆกว่า 200 แห่ง แต่มีเพียงโรงเรียนแพทย์จอห์น ฮอบสกิน แห่งเดียวเท่านั้นที่อนุญาตให้เขาใช้แล็บทดลอง มิฉะนั้นแล้วเขาอาจจะไม่ประสบความสำเร็จเช่นนี้…..
http://www.wegointer.com/2013/09/jack-andraka-%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B9%82/#.UjB3v16onWM.facebook