เรื่องการใส่ชุดนักศึกษา ของมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์

คาดว่าหลายคนคงได้ข่าวเกี่ยวกับนักศึกษามธ.คนหนึ่ง ออกมาประท้วงเรื่องการถูกบังคับให้ใส่ชุดนักศึกษาแล้ว และหลายคนก็คงจะเห็นว่า การกระทำของนักศึกษา มธ คนนั้น เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม และเกินเลยคำว่าการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพไปค่อนข้างมาก ในฐานะที่ผมเคยเป็นเด็ก มธ.คนหนึ่ง ก็ไม่เห็นด้วยกับการกระทำดังกล่าว แต่สิ่งที่ผมสนใจจริงๆคือ หลังจากเหตุการณ์นี้ทำให้ช่วงนี้มีประเด็นเรื่องการใส่ชุดนักศึกษาของนักศึกษา มธ. มีการแบ่งแยกความคิดเห็นออกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายเสรีนิยม เห็นว่าอาจารย์ควรให้อิสระเสรีภาพในการแต่งกายมาเรียนของนักศึกษา เพราะมันไม่ได้เกี่ยวอะไรกับการเรียน ไม่แต่งชุดนักศึกษาก็สามารถมีผลการเรียนที่ดีได้ หากจะอ้างว่าการใส่เครื่องแบบจะทำให้นักศึกษา มีความภูมิใจในสถาบัน ตระหนักในบทบาทหน้าที่ของตน เหมือนหมอใส่เครื่องแบบหมอแล้วจะตระหนักในความเป็นหมอ ถ้าใช้ตรรกะเช่นนี้ อาจารย์เองก็ควรจะใส่เครื่องแบบมาสอนเหมือนกัน จะได้ตระหนักในหน้าทีของการเป็นอาจารย์ที่ดี และทุ่มเทแรงกายแรงใจในฐานะแม่พิมพ์ของชาติอย่างเต็มทีเช่นกัน

ทางฝั่งที่มีแนวคิดอนุรักษ์นิยมคิดว่า ควรให้นักศึกษา ใส่เครื่องแบบมาเรียน ได้ยินดังนั้นก็ไม่พอใจ อ้างว่าอาจารย์นั้นได้ใส่เครื่องแบบนักเรียนนักศึกษามานานแล้ว ไม่จำเป็นจะต้องมาใส่เครื่องแบบอะไรอีก อีกทั้ง มีเงินเดือนซื้อชุดใส่เองแล้ว แต่เด็กยังไม่มีเงินเดือน ยังต้องขอตังพ่อแม่ การให้นักศึกษาใส่ชุดอะไรก็ได้ถือเป็นการผลาญเงินพ่อแม่ แต่คนที่ใช้เหตุผลนี้ ไม่ได้คำนึงว่า การที่พ่อแม่จะให้เงินลูกของตนเองไปเพื่อให้ลูกซื้อเสื้อผ้าสวยๆใส่นั้น แม้จะสิ้นเปลืองในสายตาใครบางคน แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องที่ใครจะต้องไปกังวลแทนเขา แล้วปัจจุบันนึกศึกษาบางคน เขาก็ไม่ได้นั่งงอมืองอเท้านั่งรอเงินพ่อแม่ แต่ออกไปทำงานพิเศษตามร้านต่างๆ เช่น ร้านกาแฟใต้ตึกคณะบัญชี หรือรัฐศาตร์นี่แหละ ไม่แน่ใจ และถ้าจำไม่ผิด พวกร้านไก่ทอด ของทอด ใน มธ.รังสิต หรือตามซอยหอของมหาลัยบางร้าน เนี่ยก็เป็นร้านของเด็ก มธ.ใช่หรือเปล่าครับ (ถ้าข้อมูลผิดพลาด ขออภัยครับ) อีกประการหนึ่ง การที่ไม่ต้องใส่ชุดนักศึกษาก็ไม่ได้ทำให้เปลืองเงินเสมอไป เผลอๆ ช่วยประหยัดเงินด้วยซ้ำ เพราะบางคนก็ใส่เสื้อห่านคู่ไปเรียนได้เลย ง่ายๆสบายๆไม่ต้องแต่งตัวไรมาก อิ๊อิ๊

ที่น่าขำกว่านั้นก็คือศิษย์เก่า มธ.บางคน วิญญาณนักอนุรักษ์นิยมมาเข้าสิงเอาตอนที่ตัวเอง จบไปแล้วออกมาเรียกร้องให้นักศึกษาปัจจุบันใส่เครื่องแบบมาเรียน บ้างก็พูดประมาณว่า "เราภูมิใจในเครื่องแบบนักศึกษาของเรา" เพื่อนผมบางคนก็เป็นส่วนหนึ่งในพวกนั้น ทั้งๆที่ตัวเองตอนเรียนอยู่เพื่อนผมบางคนในนั้นก็เคยไม่ใส่ชุดนักศึกษาไปเรียนเหมินกัน บางคนตื่นไปควิซไม่ทัน รีบไปมหาลัยโดยไม่อาบน้ำด้วยซ้ำแล้วแบบนี้แล้วเหมือน คนที่ทำหน้าที่ตรวจสอบทุจริตคนอื่น แต่ตัวเองเคยทุจริตลอกวิทยานิพนธ์มาแล้วไม่มีผิด

ผมว่าปัญหานี้เถียงกันไปก็ไม่จบ แต่ละคนก็มีเหตุผลของตัวเองไม่มีฝั่งใหนถูกหรือผิดหมด ผมเลยมีทางออกมาให้ ศาสนาพุทธกล่าวไว้ว่าทางสายกลางนั้นดีที่สุด ในเมื่อทั้งการเรียนและการสอนคือหน้าที่ ทั้งนักศึกษา และอาจารย์ต่างก็ต้องตระหนักในหน้าที่ด้วยกันทั้งคู่ (ถ้าจะใช้ตรรกะที่ว่า การสวมเครื่ิองแบบคือการทำให้ตระหนักในหน้าที่ และภาคภูมิใจในสถาบัน) และ จริงอยู่ที่บอกว่าเวลาเรียนจบทำงานก็ต้องถูกบังคับให้ใส่เครื่ิองแบบชุดทำงานอยู่ดี แต่หลายๆองค์กรก็อนุญาติให้พนักงานแต่งตัวตามใจชอบได้ในวันศุกร์ ดังนั้นก็ให้ทั้งศิษย์ทั้งอาจารย์แต่งเครื่องแบบกันทั้งคู่ไปเลยดีมั้ยครับ? ในวันจันทร์ ถึงพฤหัส เวลาราชการ 8.30 - 16.30 น. ใครมีเรียนหรือมีสอนหลัง 16.30 จะใส่อะไรมาเรียนก็ได้เพราะเลยเวลาแล้ว ส่วนวันศุกร์ เสาร์-อาทิตย์ก็แต่งตัวตามใจชอบกันไปทั้งคู่ วิธีนี้น่าจะยุติธรรมที่สุดแล้ว ทุกท่านมีความคิดเห็นอย่างไรกันบ้างครับ
*** ปิดโหวต วันที่ 13 กันยายน พ.ศ.2556 เวลา 23:53:48 น.
1. ควรแก้ปัญหาเรื่องการแต่งตัวของนักศึกษาและอาจารย์อย่างไร
2.

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่