คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
การกู้เงินตามสัญญาเดิมนั้น คือ การกู้เงินที่มีการจำนองบ้านเป็นประกัน
หนี้หลัก คือ หนี้เงินกู้ ซึ่งหาากผู้กู้ชำระหนี้ตามกำหนด ธนาคารก็ไม่ต้องบังคับจำนอง
แต่เมื่อใดที่ไม่ชำระหนี้ ธนาคารก็มีสิทธิบังคับจำนองเอากับบ้านที่จำนองไว้
กรณีนี้ หนี้เดิม เป็นกู้ร่วม หมายถึง จขกท.-แฟนเก่า เป็นลูกหนี้ร่วมกัน เนื่องจากยังไม่สมรสกันจึงต้องถามก่อนว่า ระหว่าง จขกท. กับ แฟนเก่า ใครเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้าน(โฉนด)นั้น (ซึ่งดูได้จากด้านหลังของโฉนดที่ดิน ที่จดทะเบียนจำนองนั้น)
หาก เป็นเจ้าของรวม ก็ย่อมมีกรรมสิทธิ์คนละครึ่ง แต่หากเป็นของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว ฝ่ายนั้นก็เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
รีไฟแนนซ์ หมายถึง การไปขอกู้เงินเพิ่ม แล้วหักเงินกู้บางส่วนชำระหนี้เดิมที่เหลืออยู่ สัญากู้เงินเดิมระงับไป ผู้กู้ผูกพันตามสัญญาใหม่เริ่มส่งวดใหม่ และผู้กู้จะเหลือเงินบางส่วน (และใช้บ่านจำนองเหมือนเดิม) แต่ไม่มีผลต่อกรรมสิทธิ์ในบ้าน ฝ่ายใดมีสิทธิอย่างไร ก็คงมีสิทธิแค่นั้น
เช่น เดิมกู้ 1 ล้านบาท ส่งงวด(เฉพาะต้นเงิน)เดือนละ 1 หมื่น และได้ชำระหนี้ไป 20 งวด เป็น 2 แสน หนี้เิดิมเหลือ 8 แสน
ต่อมา ผู้กู้ ไปขอกู้ใหม่(รีไแนนซ์) 1.1 ล้าน บาท โดยหักชำระหนี้เิดิม 8 แสน สัญญาเดิมระงับ ผุ้กู้คงเลือเงิน 3 แสน
สัญญากู้ใหม่ เริ่มส่งงวดที่ 1 ใหม่
เมื่อกรรมสิทธิ์ในบ้านไม่เปลี่ยนแปลง หากจขกท. เป็นเจ้าของ หรือเป็นเจ้าของรวม ส่วนนั้นย่อมเป็นสินส่วนตัว เมื่อไปสมรสใหม่ ก็ยังคงเป็นสินส่วนตัวอยู่นั่นเอง
กรณีแฟนเก่าที่อาศัยอยู่ในบ้าน เนื่องจากการรีไฟแนนซ์ ไม่มีผลกระทบต่อกรรมสิทธิ์ หากบ้านเป็นกรรมสิทธิ์ของแฟนเก่าเพียงฝ่ายเดียว เธอและครอบครัวย่อมมีสิทธิ์อาศัยอยู่ได้ หากเป็นเจ้าของรวมก็มีสิทธิ์อยู่อาศัย จนกว่า จขกท.จะเรียกให้แบ่ง หรือหากเป็นกรรมสิทธิ์ของ จขกท.เพียงฝ่ายเดียว จขกท.ก็ย่อมมีสิทธิ์ฟ้องขับไล่ได้ หรือ ให้สิทธิอยู่อาศัยได้
สวัสดีครับ
หนี้หลัก คือ หนี้เงินกู้ ซึ่งหาากผู้กู้ชำระหนี้ตามกำหนด ธนาคารก็ไม่ต้องบังคับจำนอง
แต่เมื่อใดที่ไม่ชำระหนี้ ธนาคารก็มีสิทธิบังคับจำนองเอากับบ้านที่จำนองไว้
กรณีนี้ หนี้เดิม เป็นกู้ร่วม หมายถึง จขกท.-แฟนเก่า เป็นลูกหนี้ร่วมกัน เนื่องจากยังไม่สมรสกันจึงต้องถามก่อนว่า ระหว่าง จขกท. กับ แฟนเก่า ใครเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้าน(โฉนด)นั้น (ซึ่งดูได้จากด้านหลังของโฉนดที่ดิน ที่จดทะเบียนจำนองนั้น)
หาก เป็นเจ้าของรวม ก็ย่อมมีกรรมสิทธิ์คนละครึ่ง แต่หากเป็นของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว ฝ่ายนั้นก็เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
รีไฟแนนซ์ หมายถึง การไปขอกู้เงินเพิ่ม แล้วหักเงินกู้บางส่วนชำระหนี้เดิมที่เหลืออยู่ สัญากู้เงินเดิมระงับไป ผู้กู้ผูกพันตามสัญญาใหม่เริ่มส่งวดใหม่ และผู้กู้จะเหลือเงินบางส่วน (และใช้บ่านจำนองเหมือนเดิม) แต่ไม่มีผลต่อกรรมสิทธิ์ในบ้าน ฝ่ายใดมีสิทธิอย่างไร ก็คงมีสิทธิแค่นั้น
เช่น เดิมกู้ 1 ล้านบาท ส่งงวด(เฉพาะต้นเงิน)เดือนละ 1 หมื่น และได้ชำระหนี้ไป 20 งวด เป็น 2 แสน หนี้เิดิมเหลือ 8 แสน
ต่อมา ผู้กู้ ไปขอกู้ใหม่(รีไแนนซ์) 1.1 ล้าน บาท โดยหักชำระหนี้เิดิม 8 แสน สัญญาเดิมระงับ ผุ้กู้คงเลือเงิน 3 แสน
สัญญากู้ใหม่ เริ่มส่งงวดที่ 1 ใหม่
เมื่อกรรมสิทธิ์ในบ้านไม่เปลี่ยนแปลง หากจขกท. เป็นเจ้าของ หรือเป็นเจ้าของรวม ส่วนนั้นย่อมเป็นสินส่วนตัว เมื่อไปสมรสใหม่ ก็ยังคงเป็นสินส่วนตัวอยู่นั่นเอง
กรณีแฟนเก่าที่อาศัยอยู่ในบ้าน เนื่องจากการรีไฟแนนซ์ ไม่มีผลกระทบต่อกรรมสิทธิ์ หากบ้านเป็นกรรมสิทธิ์ของแฟนเก่าเพียงฝ่ายเดียว เธอและครอบครัวย่อมมีสิทธิ์อาศัยอยู่ได้ หากเป็นเจ้าของรวมก็มีสิทธิ์อยู่อาศัย จนกว่า จขกท.จะเรียกให้แบ่ง หรือหากเป็นกรรมสิทธิ์ของ จขกท.เพียงฝ่ายเดียว จขกท.ก็ย่อมมีสิทธิ์ฟ้องขับไล่ได้ หรือ ให้สิทธิอยู่อาศัยได้
สวัสดีครับ
แสดงความคิดเห็น
สอบถามเรื่องการ "รีไฟแนนซ์บ้าน" ครับผม ...
หลังจากนั้นผมก็ไปต้องไปแต่งงานกับผู้หญิงอีกคนหนึ่ง จดทะเบียนสมรส กับผู้หญิงคนนี้
เวลาผ่านไปสามารถรีไฟแนนซ์บ้านได้ ผมก็เลยกะว่าจะไปรีไฟแนนซ์บ้านหลังนั้นสักหน่อย
คำถาม มันจะมีผลอะไรกับผู้หญิงคนที่ผมกู้ร่วม และ ครอบครัวของเค้าไหมครับ
บ้านจะถือเป็นสินสมรส ของผมกับผู้หญิงคนที่ผมจดทะเบียนไหมครับ
ขอบคุณครับ