หลายคนที่ติดตามข่าว ก็คงจะทราบกันแล้วว่ากรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพมหกรรมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563) ทันทีที่ทราบประกาศผลก็ทำให้ชาวญี่ปุ่นที่เฝ้าติดตามต่างพากันดีใจกันถ้วนหน้า ซึ่งการจัดมหกรรมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในอีก 7 ปีข้างหน้า เป็นการจัดครั้งที่สอง หลังจากที่เคยเป็นเจ้าภาพมาแล้วในปี ค.ศ. 1964 (พ.ศ. 2507)
การถ่ายทอดสดการจัดการแข่งขันกีฬาระดับชาติในกลุ่มโซนเอเชียทางโทรทัศน์ในยุคนี้ อย่างน้อยก็ทำให้คนไทยได้ชมการแข่งขันกีฬาในช่วงเวลาที่เหมาะสม ไม่ดึกดื่น ขณะเดียวกันกว่าจะถึงช่วงเวลานั้น ทางญี่ปุ่นคงมีเทคโนโลยีด้านภาพและเสียงให้ได้ชมกัน
ถ้าย้อนกลับไปเมื่อ 40 กว่าปีก่อน ในยุคที่บ้านเรายังไม่มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ การที่จะได้ติดตามการแข่งขันกีฬา ไม่ว่าจะเป็นมวย ฟุตบอล รวมไปถึงกีฬาระดับชาติ อย่าง “กีฬาแหลมทอง” (หรือ “ซีเกมส์”), “เอเชี่ยนเกมส์” หรือ “โอลิมปิก” ต้องรอเป็นฟิล์มภาพยนตร์ 16 ม.ม. อย่างเดียวครับ
ช่องทางในการชมภาพยนตร์ข่าวการแข่งขันกีฬาดังกล่าวนี้ มี 2 ช่องทางคือ ทางโทรทัศน์ (จากการถ่ายทอดพร้อมกับการฉายภาพยนตร์ในห้องส่งของสถานีโทรทัศน์) และที่โรงภาพยนตร์ ซึ่งกรณีหลังนี้ มีทั้งแบบฉายประกอบภาพยนตร์หลักในโปรแกรม กับแบบรายการพิเศษ เสมือนเป็นการเข้าฉายในโปรแกรมปกติ ซึ่งจะต้องรอชมหลังจากที่ได้มีการจัดการแข่งขันไปแล้ว สื่อประเภทแรกที่จะได้ข่าวการแข่งขันกีฬาจากต่างประเทศก่อนใคร นั่นคือ หนังสือพิมพ์ครับ
ในอดีตก็เคยมีภาพยนตร์ข่าวการแข่งขันกีฬาซึ่งเข้าฉายในโรงภาพยนตร์อยู่หลายครั้ง ส่วนใหญ่จะเป็นการแจ้งเป็นข้อความประกาศ พร้อมภาพประกอบเล็กๆ น้อยๆ ส่วนใบปิดหนังของจริง ไม่แน่ใจว่าจะมีออกมาด้วยหรือเปล่า
ล่าสุดก็ไปเห็นใบปิดภาพยนตร์ข่าวรายการหนึ่ง ซึ่งเป็นการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ที่ตอนนี้ ทางญี่ปุ่นก็เตรียมความพร้อมที่จะเป็นเจ้าภาพอีกครั้งในปี พ.ศ. 2563 สำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้ มีชื่อภาษาไทยว่า “โตเกียวโอลิมปิค” ชื่อภาษาอังกฤษคือ Tokyo Olympic 1964 พร้อมระบุระบบภาพเป็นภาษาอังกฤษไว้ นั่นคือ สีอีสต์แมน - ภาพสโคป
จากใบปิดภาษาไทยนี้ ถือเป็นหลักฐานอย่างหนึ่งได้ว่า ครั้งหนึ่งคนไทยมีโอกาสได้ชมภาพยนตร์ข่าวบันทึกการแข่งขันกีฬาครั้งสำคัญ ซึ่ง จขกท. เองก็ไม่ค่อยสันทัดเรื่องกีฬาสักเท่าไหร่ กล่าวคือ ไม่รู้เลยว่ามีนักกีฬาไทยได้เข้าร่วมการแข่งขันกี่รายการ แต่ละรายการมีใครบ้าง ผลการแข่งขันเป็นอย่างไร (ทราบแต่เพียงวันจัดการแข่งขัน คือระหว่างวันที่ 10 - 24 ตุลาคม พ.ศ. 2507)
ดูจากข้อมูลบนใบปิดแล้ว สิ่งที่บ่งบอกถึงสถานที่ฉายภาพยนตร์เรื่องนี้ ก็ต้องเป็นที่โรงภาพยนตร์แค็ปปิตอล (สะกดตามชื่อเดิม) ย่านเยาวราชนั่นเอง เนื่องจากคุณพ่อของ จขกท. เคยเข้าไปชมหนังที่โรงนี้ ส่วนใหญ่จะฉายหนังญี่ปุ่น (บางครั้งก็สลับมาฉายหนังจีน หรือหนังฝรั่งบ้าง) แม้แต่หนังของผู้กำกับ “อากิระ คุโรซาว่า” อย่าง “7 เซียนซามูไร”, “ทัพคนเถื่อน” (Hidden Fortes) ก็เคยฉายที่นี่ และที่โรงนี้ ก็มีออฟฟิศสำหรับติดต่อเช่าฟิล์มภาพยนตร์ญี่ปุ่นไปฉายที่ต่างจังหวัด ซึ่งก็จะมีบทพากย์ให้ด้วย เพราะหนังญี่ปุ่นในยุคนั้น มีแต่ซาวด์แทร็ค ตอกซับไทย-จีนเท่านั้นครับ ตอนฉายจริงในโรงแค็ปปิตอล ก็จะมีรอบหนึ่งพากย์เสียงไทย กับพากย์เสียงจีน ซึ่งเป็นการพากย์สดครับ (ข้อมูลมาจากคำบอกเล่าของคุณพ่อ และอ่านจากหนังสือพิมพ์เก่า)
สำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้ เมื่อครั้งที่เข้าฉายบ้านเรา ก็คงเป็นโปรแกรมพิเศษ โดยมี 2 หน่วยงานร่วมเป็นกรรมสิทธิ์ นั่นคือ สมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่น และแค็ปปิตอลฟิล์ม ในใบปิดแม้จะไม่ได้บอกระบบฟิล์ม แต่ จขกท. ก็เดาเอาว่าเป็นฟิล์ม 16 ม.ม. ครับ เพราะปกติที่โรงนี้จะฉายด้วยระบบฟิล์ม 35 ม.ม. อยู่แล้ว ส่วนวันที่เริ่มเข้าฉาย อยู่ระหว่างการค้นหาข้อมูล (พ.ศ. 2508 ขึ้นไป) ส่วนตัวหนังจริง คงไม่หลงเหลือให้เห็นแล้วล่ะครับ ส่วนใน Youtube ก็มีฟุตเตจที่แปลงจากฟิล์มเป็นวิดีโอไปแล้ว
แจ้งข่าวเล็กๆ น้อยๆ เรื่องส่วนตัวนิดหนึ่ง เมื่อ 2 - 3 เดือนที่ผ่านมา จขกท. ได้ปิดแฟนเพจ BAN KAK NANG แล้วนะครับ แต่การจัดหา จัดเก็บ เพื่ออนุรักษ์ฟิล์มภาพยนตร์ยังคงเป็นไปตามปกติ ล่าสุดเมื่อ 4 ส.ค. ที่ผ่านมา จขกท. ได้นำฟิล์มภาพยนตร์ 16 ม.ม. จำนวน 6 รายการตามภาพด้านล่าง ไปเข้ากระบวนการเทเลซีนเป็นวิดีทัศน์ในแบบความคมชัดสูง (HD) และยังมีภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ทั้งฟิล์ม 16 ม.ม. และ 35 ม.ม. ที่จะถูกนำกลับมาผ่านกระบวนการดังกล่าวด้วย เร็วๆ นี้จะลองเขียนใน Bloggang ดูบ้าง (เคยสมัครไว้นานแล้ว แล้วก็ไม่ได้เขียนเลย แต่ก็จะลองดูครับ)
หลักฐานจากภาพยนตร์ข่าว “โตเกียว โอลิมปิก 1964” ซึ่งเคยเข้าฉายในบ้านเรา ก่อนที่จะเป็นเจ้าภาพอีกครั้ง ในปี 2020
หลายคนที่ติดตามข่าว ก็คงจะทราบกันแล้วว่ากรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพมหกรรมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ปี ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563) ทันทีที่ทราบประกาศผลก็ทำให้ชาวญี่ปุ่นที่เฝ้าติดตามต่างพากันดีใจกันถ้วนหน้า ซึ่งการจัดมหกรรมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในอีก 7 ปีข้างหน้า เป็นการจัดครั้งที่สอง หลังจากที่เคยเป็นเจ้าภาพมาแล้วในปี ค.ศ. 1964 (พ.ศ. 2507)
การถ่ายทอดสดการจัดการแข่งขันกีฬาระดับชาติในกลุ่มโซนเอเชียทางโทรทัศน์ในยุคนี้ อย่างน้อยก็ทำให้คนไทยได้ชมการแข่งขันกีฬาในช่วงเวลาที่เหมาะสม ไม่ดึกดื่น ขณะเดียวกันกว่าจะถึงช่วงเวลานั้น ทางญี่ปุ่นคงมีเทคโนโลยีด้านภาพและเสียงให้ได้ชมกัน
ถ้าย้อนกลับไปเมื่อ 40 กว่าปีก่อน ในยุคที่บ้านเรายังไม่มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ การที่จะได้ติดตามการแข่งขันกีฬา ไม่ว่าจะเป็นมวย ฟุตบอล รวมไปถึงกีฬาระดับชาติ อย่าง “กีฬาแหลมทอง” (หรือ “ซีเกมส์”), “เอเชี่ยนเกมส์” หรือ “โอลิมปิก” ต้องรอเป็นฟิล์มภาพยนตร์ 16 ม.ม. อย่างเดียวครับ
ช่องทางในการชมภาพยนตร์ข่าวการแข่งขันกีฬาดังกล่าวนี้ มี 2 ช่องทางคือ ทางโทรทัศน์ (จากการถ่ายทอดพร้อมกับการฉายภาพยนตร์ในห้องส่งของสถานีโทรทัศน์) และที่โรงภาพยนตร์ ซึ่งกรณีหลังนี้ มีทั้งแบบฉายประกอบภาพยนตร์หลักในโปรแกรม กับแบบรายการพิเศษ เสมือนเป็นการเข้าฉายในโปรแกรมปกติ ซึ่งจะต้องรอชมหลังจากที่ได้มีการจัดการแข่งขันไปแล้ว สื่อประเภทแรกที่จะได้ข่าวการแข่งขันกีฬาจากต่างประเทศก่อนใคร นั่นคือ หนังสือพิมพ์ครับ
ในอดีตก็เคยมีภาพยนตร์ข่าวการแข่งขันกีฬาซึ่งเข้าฉายในโรงภาพยนตร์อยู่หลายครั้ง ส่วนใหญ่จะเป็นการแจ้งเป็นข้อความประกาศ พร้อมภาพประกอบเล็กๆ น้อยๆ ส่วนใบปิดหนังของจริง ไม่แน่ใจว่าจะมีออกมาด้วยหรือเปล่า
ล่าสุดก็ไปเห็นใบปิดภาพยนตร์ข่าวรายการหนึ่ง ซึ่งเป็นการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ที่ตอนนี้ ทางญี่ปุ่นก็เตรียมความพร้อมที่จะเป็นเจ้าภาพอีกครั้งในปี พ.ศ. 2563 สำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้ มีชื่อภาษาไทยว่า “โตเกียวโอลิมปิค” ชื่อภาษาอังกฤษคือ Tokyo Olympic 1964 พร้อมระบุระบบภาพเป็นภาษาอังกฤษไว้ นั่นคือ สีอีสต์แมน - ภาพสโคป
จากใบปิดภาษาไทยนี้ ถือเป็นหลักฐานอย่างหนึ่งได้ว่า ครั้งหนึ่งคนไทยมีโอกาสได้ชมภาพยนตร์ข่าวบันทึกการแข่งขันกีฬาครั้งสำคัญ ซึ่ง จขกท. เองก็ไม่ค่อยสันทัดเรื่องกีฬาสักเท่าไหร่ กล่าวคือ ไม่รู้เลยว่ามีนักกีฬาไทยได้เข้าร่วมการแข่งขันกี่รายการ แต่ละรายการมีใครบ้าง ผลการแข่งขันเป็นอย่างไร (ทราบแต่เพียงวันจัดการแข่งขัน คือระหว่างวันที่ 10 - 24 ตุลาคม พ.ศ. 2507)
ดูจากข้อมูลบนใบปิดแล้ว สิ่งที่บ่งบอกถึงสถานที่ฉายภาพยนตร์เรื่องนี้ ก็ต้องเป็นที่โรงภาพยนตร์แค็ปปิตอล (สะกดตามชื่อเดิม) ย่านเยาวราชนั่นเอง เนื่องจากคุณพ่อของ จขกท. เคยเข้าไปชมหนังที่โรงนี้ ส่วนใหญ่จะฉายหนังญี่ปุ่น (บางครั้งก็สลับมาฉายหนังจีน หรือหนังฝรั่งบ้าง) แม้แต่หนังของผู้กำกับ “อากิระ คุโรซาว่า” อย่าง “7 เซียนซามูไร”, “ทัพคนเถื่อน” (Hidden Fortes) ก็เคยฉายที่นี่ และที่โรงนี้ ก็มีออฟฟิศสำหรับติดต่อเช่าฟิล์มภาพยนตร์ญี่ปุ่นไปฉายที่ต่างจังหวัด ซึ่งก็จะมีบทพากย์ให้ด้วย เพราะหนังญี่ปุ่นในยุคนั้น มีแต่ซาวด์แทร็ค ตอกซับไทย-จีนเท่านั้นครับ ตอนฉายจริงในโรงแค็ปปิตอล ก็จะมีรอบหนึ่งพากย์เสียงไทย กับพากย์เสียงจีน ซึ่งเป็นการพากย์สดครับ (ข้อมูลมาจากคำบอกเล่าของคุณพ่อ และอ่านจากหนังสือพิมพ์เก่า)
สำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้ เมื่อครั้งที่เข้าฉายบ้านเรา ก็คงเป็นโปรแกรมพิเศษ โดยมี 2 หน่วยงานร่วมเป็นกรรมสิทธิ์ นั่นคือ สมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่น และแค็ปปิตอลฟิล์ม ในใบปิดแม้จะไม่ได้บอกระบบฟิล์ม แต่ จขกท. ก็เดาเอาว่าเป็นฟิล์ม 16 ม.ม. ครับ เพราะปกติที่โรงนี้จะฉายด้วยระบบฟิล์ม 35 ม.ม. อยู่แล้ว ส่วนวันที่เริ่มเข้าฉาย อยู่ระหว่างการค้นหาข้อมูล (พ.ศ. 2508 ขึ้นไป) ส่วนตัวหนังจริง คงไม่หลงเหลือให้เห็นแล้วล่ะครับ ส่วนใน Youtube ก็มีฟุตเตจที่แปลงจากฟิล์มเป็นวิดีโอไปแล้ว
แจ้งข่าวเล็กๆ น้อยๆ เรื่องส่วนตัวนิดหนึ่ง เมื่อ 2 - 3 เดือนที่ผ่านมา จขกท. ได้ปิดแฟนเพจ BAN KAK NANG แล้วนะครับ แต่การจัดหา จัดเก็บ เพื่ออนุรักษ์ฟิล์มภาพยนตร์ยังคงเป็นไปตามปกติ ล่าสุดเมื่อ 4 ส.ค. ที่ผ่านมา จขกท. ได้นำฟิล์มภาพยนตร์ 16 ม.ม. จำนวน 6 รายการตามภาพด้านล่าง ไปเข้ากระบวนการเทเลซีนเป็นวิดีทัศน์ในแบบความคมชัดสูง (HD) และยังมีภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ทั้งฟิล์ม 16 ม.ม. และ 35 ม.ม. ที่จะถูกนำกลับมาผ่านกระบวนการดังกล่าวด้วย เร็วๆ นี้จะลองเขียนใน Bloggang ดูบ้าง (เคยสมัครไว้นานแล้ว แล้วก็ไม่ได้เขียนเลย แต่ก็จะลองดูครับ)