เฮ้อ กลุ้มใจจริงๆ เงินเดือนก็ขึ้นน้อย แถมกว่าจะขึ้นต้องรอถึงต้นปีอีก แต่ที่ขึ้นไปก่อนเลยไม่รอเงินเดือนของเราก็คงหนีไม่พ้นค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ทยอยปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันที่ 1 ก.ย.ที่ผ่านมา ไม่ว่าค่าก๊าซหุงต้ม ค่าไฟ ค่าทางด่วน แล้วนี่ค่าแท็กซี่ก็กำลังจะปรับขึ้นอีก
เพียงแค่นี้ ข้าวแกงแถวบ้านก็ปรับขึ้นจาก 35 บาท เป็น 40 บาทเรียบร้อยแล้ว เห็นอย่างนี้แล้วรู้เลยว่า เงินออมที่จะเหลือต่อเดือนคงต้องลดน้อยลงอย่างไม่น่าสงสัย แล้วอย่างนี้เงินที่ฝากอยู่ในธนาคารกินดอกเบี้ยอยู่ที่ประมาณ 3% ต่อปี (ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้วเหลือแค่ 2.55% ต่อปี) จะโตทันค่าใช้จ่ายที่พุ่งแบบติดจรวดอย่างนี้ได้ยังไง สงสัยที่เขาบอกกันว่า ถ้าจะให้เงินโตทันค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นต้องลงทุนถ้าจะจริง แต่เคราะห์ซ้ำกรรมซัดจริงๆ เพราะเพิ่งไม่นานที่ผ่านมา สภาพัฒน์ หรือสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ประกาศตัวเลขอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไตรมาส 2 ของปีนี้ (มี.ค.-มิ.ย. 2556) ขยายตัวเพียงร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน และชะลอตัวลงเมื่อเปรียบเทียบกับจีดีพีในไตรมาสแรกที่ขยายตัว 5.4% นอกจากนั้น หากพิจารณาจากไตรมาสไปอีกไตรมาส (QoQ) จะพบว่าไทยเข้าสู่สภาวะถดถอยแล้ว เพราะเศรษฐกิจหดตัวติดต่อกัน 2 ไตรมาส คือ จากไตรมาส 4 ไปไตรมาสแรก และจากไตรมาสแรกไปไตรมาส 2 บางคนก็ว่าถดถอยจริงๆ บางคน|ก็ว่าถดถอยทางเทคนิคเท่านั้น แต่จะเป็นแบบไหนก็ช่างที่เรารู้สึกกันช่วงนี้ก็คือ เศรษฐกิจชะลอตัวจริงๆ เอ! แล้วอย่างนี้ถ้ายังมีเงินออมเหลืออยู่จะลงทุนอะไรดีล่ะ (สำหรับคนที่ติดดอยอยู่คงต้องหาวิธีลงจากดอยก่อนนะ)
โชคดีครับ พอดีผมได้ข้อมูลจากศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน (TSI) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ให้ข้อคิดการจัดสรรเงินลงทุนให้เหมาะสมกับวัฏจักรเศรษฐกิจ โดยมองว่าภาวะเศรษฐกิจจะเปลี่ยนแปลงไปมาในรูปคลื่นมีขึ้นก็มีลง ซึ่งพอสรุปได้คร่าวๆ เป็น 4 ช่วง ตามภาพประกอบ
โดยการจัดสรรเงินลงทุนที่เหมาะสมตามวัฏจักรเศรษฐกิจจะเป็น ดังนี้ครับ
-การจัดพอร์ตสำหรับวัฏจักรเศรษฐกิจในช่วงฟื้นตัว (Early Recovery) ในช่วงนี้อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในระดับต่ำ ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนจะดีขึ้นตามเศรษฐกิจที่ขยายตัว ตราสารหนี้และเงินฝากจะให้ผลตอบแทนต่ำ สินทรัพย์ที่ให้อัตราผลตอบแทนที่น่าสนใจก็คือ “หุ้นสามัญ” เพราะหุ้นจะได้ผลบวกโดยตรงจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำและเศรษฐกิจที่ขยายตัว
-การจัดพอร์ตสำหรับวัฏจักรเศรษฐกิจในช่วงเฟื่องฟู (Late Recovery) ช่วงนี้แม้ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แต่การลงทุนในหุ้นก็ไม่ได้มีความน่าสนใจมากนัก เนื่องจากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น สินทรัพย์ที่น่าสนใจคือ “ทองคำ” เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าในตัวเองและป้องกันเงินเฟ้อได้ดี
-การจัดพอร์ตสำหรับวัฏจักรเศรษฐกิจในช่วงถดถอยและเงินเฟ้อ (Stagflation) เศรษฐกิจในช่วงนี้เริ่มที่จะถดถอยส่งผลลบต่อตลาดทุน เนื่องจากผลประกอบการที่ยังชะลอตัวตามเศรษฐกิจ ผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับสูงและน่าสนใจ ส่วนตราสารหนี้ก็ไม่น่าสนใจ เพราะแนวโน้มดอกเบี้ยที่จะขยับสูงตามเงินเฟ้อ การเลือกถือ “เงินฝาก” จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะผู้ลงทุนจะได้รับดอกเบี้ยสูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยที่ขยับเพิ่มขึ้น
-การจัดพอร์ตสำหรับวัฏจักรเศรษฐกิจในช่วงตกต่ำ (Recession) เศรษฐกิจในช่วงนี้เป็นช่วงที่ทั้งภาคธุรกิจและตลาดการเงินได้ชะลอตัวลงอย่างมากและเตรียมที่จะฟื้นตัว อีกทั้งอัตราดอกเบี้ยในช่วงนี้อยู่ในภาวะขาลง เนื่องจากเป็นนโยบายทางการเงินที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ|ให้กลับมาฟื้นตัวในอนาคต ตราสารทุนยังให้ผลตอบ แทนที่ไม่น่าสนใจนัก สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำและได้รับผลประโยชน์จากภาวะดอกเบี้ยขาลง เช่น ตราสารหนี้ จึงมีความน่าสนใจ
การจัดสรรเงินลงทุนตามวัฏจักรเศรษฐกิจนี้เป็นแค่แนวทางหนึ่งในการพิจารณาการลงทุนนะครับ เรายังต้องใช้แนวทางอื่นๆ มาประกอบในการพิจารณาด้วย นอกจากนี้ การจัดสรรเงินลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของตนเองเป็นสิ่งสำคัญ การปรับตามวัฏจักรเศรษฐกิจจะเพียงแค่ปรับเพิ่มสินทรัพย์ที่เหมาะสมในภาวะนั้นประมาณ 10% เท่านั้น ตัวอย่างเช่น หากเราเหมาะสมที่จะลงทุนในหุ้น 40% ของเงินลงทุน หากเป็นช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัวก็อาจปรับการลงทุนในหุ้นเป็น 50% ครับ
โดย...สาธิต บวรสันติสุทธิ์ CFP
http://www.posttoday.com/เศรษฐกิจ-หุ้น/กูรูลงทุน/245568/ช่วงนี้ลงทุนอะไรดี
ช่วงนี้ลงทุนอะไรดี
เพียงแค่นี้ ข้าวแกงแถวบ้านก็ปรับขึ้นจาก 35 บาท เป็น 40 บาทเรียบร้อยแล้ว เห็นอย่างนี้แล้วรู้เลยว่า เงินออมที่จะเหลือต่อเดือนคงต้องลดน้อยลงอย่างไม่น่าสงสัย แล้วอย่างนี้เงินที่ฝากอยู่ในธนาคารกินดอกเบี้ยอยู่ที่ประมาณ 3% ต่อปี (ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้วเหลือแค่ 2.55% ต่อปี) จะโตทันค่าใช้จ่ายที่พุ่งแบบติดจรวดอย่างนี้ได้ยังไง สงสัยที่เขาบอกกันว่า ถ้าจะให้เงินโตทันค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นต้องลงทุนถ้าจะจริง แต่เคราะห์ซ้ำกรรมซัดจริงๆ เพราะเพิ่งไม่นานที่ผ่านมา สภาพัฒน์ หรือสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ประกาศตัวเลขอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไตรมาส 2 ของปีนี้ (มี.ค.-มิ.ย. 2556) ขยายตัวเพียงร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน และชะลอตัวลงเมื่อเปรียบเทียบกับจีดีพีในไตรมาสแรกที่ขยายตัว 5.4% นอกจากนั้น หากพิจารณาจากไตรมาสไปอีกไตรมาส (QoQ) จะพบว่าไทยเข้าสู่สภาวะถดถอยแล้ว เพราะเศรษฐกิจหดตัวติดต่อกัน 2 ไตรมาส คือ จากไตรมาส 4 ไปไตรมาสแรก และจากไตรมาสแรกไปไตรมาส 2 บางคนก็ว่าถดถอยจริงๆ บางคน|ก็ว่าถดถอยทางเทคนิคเท่านั้น แต่จะเป็นแบบไหนก็ช่างที่เรารู้สึกกันช่วงนี้ก็คือ เศรษฐกิจชะลอตัวจริงๆ เอ! แล้วอย่างนี้ถ้ายังมีเงินออมเหลืออยู่จะลงทุนอะไรดีล่ะ (สำหรับคนที่ติดดอยอยู่คงต้องหาวิธีลงจากดอยก่อนนะ)
โชคดีครับ พอดีผมได้ข้อมูลจากศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน (TSI) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ให้ข้อคิดการจัดสรรเงินลงทุนให้เหมาะสมกับวัฏจักรเศรษฐกิจ โดยมองว่าภาวะเศรษฐกิจจะเปลี่ยนแปลงไปมาในรูปคลื่นมีขึ้นก็มีลง ซึ่งพอสรุปได้คร่าวๆ เป็น 4 ช่วง ตามภาพประกอบ
โดยการจัดสรรเงินลงทุนที่เหมาะสมตามวัฏจักรเศรษฐกิจจะเป็น ดังนี้ครับ
-การจัดพอร์ตสำหรับวัฏจักรเศรษฐกิจในช่วงฟื้นตัว (Early Recovery) ในช่วงนี้อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในระดับต่ำ ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนจะดีขึ้นตามเศรษฐกิจที่ขยายตัว ตราสารหนี้และเงินฝากจะให้ผลตอบแทนต่ำ สินทรัพย์ที่ให้อัตราผลตอบแทนที่น่าสนใจก็คือ “หุ้นสามัญ” เพราะหุ้นจะได้ผลบวกโดยตรงจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำและเศรษฐกิจที่ขยายตัว
-การจัดพอร์ตสำหรับวัฏจักรเศรษฐกิจในช่วงเฟื่องฟู (Late Recovery) ช่วงนี้แม้ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แต่การลงทุนในหุ้นก็ไม่ได้มีความน่าสนใจมากนัก เนื่องจากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น สินทรัพย์ที่น่าสนใจคือ “ทองคำ” เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าในตัวเองและป้องกันเงินเฟ้อได้ดี
-การจัดพอร์ตสำหรับวัฏจักรเศรษฐกิจในช่วงถดถอยและเงินเฟ้อ (Stagflation) เศรษฐกิจในช่วงนี้เริ่มที่จะถดถอยส่งผลลบต่อตลาดทุน เนื่องจากผลประกอบการที่ยังชะลอตัวตามเศรษฐกิจ ผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับสูงและน่าสนใจ ส่วนตราสารหนี้ก็ไม่น่าสนใจ เพราะแนวโน้มดอกเบี้ยที่จะขยับสูงตามเงินเฟ้อ การเลือกถือ “เงินฝาก” จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะผู้ลงทุนจะได้รับดอกเบี้ยสูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยที่ขยับเพิ่มขึ้น
-การจัดพอร์ตสำหรับวัฏจักรเศรษฐกิจในช่วงตกต่ำ (Recession) เศรษฐกิจในช่วงนี้เป็นช่วงที่ทั้งภาคธุรกิจและตลาดการเงินได้ชะลอตัวลงอย่างมากและเตรียมที่จะฟื้นตัว อีกทั้งอัตราดอกเบี้ยในช่วงนี้อยู่ในภาวะขาลง เนื่องจากเป็นนโยบายทางการเงินที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ|ให้กลับมาฟื้นตัวในอนาคต ตราสารทุนยังให้ผลตอบ แทนที่ไม่น่าสนใจนัก สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำและได้รับผลประโยชน์จากภาวะดอกเบี้ยขาลง เช่น ตราสารหนี้ จึงมีความน่าสนใจ
การจัดสรรเงินลงทุนตามวัฏจักรเศรษฐกิจนี้เป็นแค่แนวทางหนึ่งในการพิจารณาการลงทุนนะครับ เรายังต้องใช้แนวทางอื่นๆ มาประกอบในการพิจารณาด้วย นอกจากนี้ การจัดสรรเงินลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของตนเองเป็นสิ่งสำคัญ การปรับตามวัฏจักรเศรษฐกิจจะเพียงแค่ปรับเพิ่มสินทรัพย์ที่เหมาะสมในภาวะนั้นประมาณ 10% เท่านั้น ตัวอย่างเช่น หากเราเหมาะสมที่จะลงทุนในหุ้น 40% ของเงินลงทุน หากเป็นช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัวก็อาจปรับการลงทุนในหุ้นเป็น 50% ครับ
โดย...สาธิต บวรสันติสุทธิ์ CFP
http://www.posttoday.com/เศรษฐกิจ-หุ้น/กูรูลงทุน/245568/ช่วงนี้ลงทุนอะไรดี