เบื่อมั้ยกับ"ภาษาธรรม"ในห้องศาสนา?

ขอให้ผู้รู้ทั้งหลาย ช่วยเลิกใช้ภาษาธรรม ที่คนทั่วไปยากต่อการเข้าใจบ้างเถอะ

ผมรู้ว่าพวกท่านระดับเทพกันเเล้ว เเต่การที่เราจะสอนใครควรใช้ภาษาที่ คนเรียนรู้เรื่อง

จะดีกว่ามั้ยครับ เลิกก็อปเเปะพระไตรมาทั้งประโยคซะที ขอให้ท่านที่เก่งจริงๆ (ผมรู้ว่าเยอะมาก)

ประมวลผล เรียบเรียง เป็นภาษาที่เรียกว่า ภาษาชาวบ้าน บ้างเถอะ ถือซะว่าเอาบุญ

เผื่อผู้ที่ต้องการศึกษาเเนวทาง ศาสนาพุทธ บ้างจะได้เข้าใจในทางเเห่งพุทธ มากขึ้นกว่าเดิม

ขอบคุณเเทนเพื่อนๆสมาชิกทุกคน ถ้าท่านผู้รู้จะเมตตา ในการเรียกร้องครั้งนี้
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 14
คืองี้ครับ
๑.การพูดหรือมีความเห็น จำเป็นต้องอ้างแหล่งที่มาก่อน แลั้วจึงอธิบาย ถ้าไม่อ้างแหล่งที่มาเดิม
   จะกลายเป็นเหมือนผุ้มีความเห็นออกไปยกเมฆขึ้นมาเอง จึงจำเป็นต้องยกบทหลักคำเดิมมาก่อน
   ผุ้อ่านจะเข้าใจหรือไม่ ส่วนหนึ่งอยู่ที่การอธิบายของผู้มีความเห้นอกไป

๒.ภาษาเดิมของคำสอน ถูกยกมาในรูปของบาลีมคธ จากนั้นแปลมาสู่บาลีอักษรไทย และแปลมาสู่
   พระไตรปิฎกหรือคัมภีร์ภาษาไทย การที่จะละเว้นภาษาเดิมเลย เป็นการเสี่ยงที่ความหมายของการอธิบาย
   จะคลาดเคลื่อนไป สุดท้าย เมื่อไม่อ้างอิงไปที่ภาษาเดิมหรือไกล้ภาษาเดิมเลย เมื่อความหมายคลาดเคลื่อนไป
   ก็จะไม่มีอะไรอ้างอิงหรือเป็นหลักของการอธิบายตีความ

๓.พระพุทธเจ้า ทรงตรัสสรรเสริญการแสดงหรือแปลธรรมโดยพยัญชนะก่อน แล้วอนุโลมโดยภาษาถิ่น
   ซึ่งการยกภาษาที่ดูว่ายากนั้น ก็คือการแสดงโดยพยัญชนะก่อน ส่วนอธิบายในภายหลัง คือการอนุโลม
   คำสอนตามภาษาของถิ่นนั้นๆ

ฯลฯ

พยายามศึกษาครับ ไม่ต้องเร่งรีบ เดี๋ยวก็อ่านสบายๆ

ปล.บางคนผมตามอ่านานแล้ว ยังงงเหมือนเดิม
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่