ขอคำแนะนำค่ะ คุณแฟนกำลังจะโดนฟ้องจากที่ทำงานเก่า..

สวัสดีค่ะ

พอดีตอนเช้าตื่นขึ้นมาแล้วคุณแฟนโทรมาเล่าว่าที่บริษัทกำลังจัดหาทนาย
จะมาไล่ฟ้องเค้าและพี่ๆ ที่ลาออกรวมกันประมาณ 4 คน

คุณแฟนของเรากำลังเรียนปริญญาโทค่ะ กำลังจะจบแล้ว
และมีปัญหาด้านความดันในกระบอกตา ตาจะแดงน่ากลัวบ่อยมาก ตอนนี้หยอดตาและรักษาอยู่
เค้าทำงานเกี่ยวกับด้านความปลอดภัยบนแท่นขุดเจาะค่ะ
ด้วยเหตุผลเรื่องเรียนและสุขภาพดังกล่าว เลยคิดว่าควรจะลาออกมาทำงานนั่งโต๊ะดีกว่า
จึงได้ยื่นจดหมายลาออก โดยยื่นล่วงหน้าก่อนเป็นเวลา 1 เดือน
ทางเจ้านายส่งอีเมลรับทราบ และตกลงกันไว้อย่างดีว่าวันทำงานวันสุดท้ายคือวันที่เท่าไหร่
ทางเราก็วางใจ จบเรื่อง

ทีนี้มามีปัญหาตอนไกล้จะถึงวันสุดท้าย อยู่ดีๆ ก็มีจดหมายปิดผนึกมาถึงว่า ลาออกไม่ได้
ต้องยื่นจดหมายก่อนล่วงหน้า  2 เดือน !!!!
คุณแฟนก็งง เลยไปสอบถามทางบริษัท เค้าบอกว่าเป็นไปตามสัญญาจ้างงาน
คุณแฟนเลยเอาสัญญามาให้เราดู ซึ่งตัวสัญญานั้นเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดค่ะ
คุณแฟนเราอ่อนแอเรื่องภาษา คือพอใช้ได้ แต่ไม่ได้มากถึงขนาดอ่านสัญญาเป็นภาษาอังกฤษได้แตกฉาน

อันนี้อาจเป็นความผิดของเราเอง
คือตอนที่เราแปลสัญญาให้เค้าเมื่อนานมากมากแล้ว เราคงบอกเค้าไปแต่ไม่ได้ย้ำ
แล้วเราเองก็ไม่ได้จำ คุณแฟนเองก็มึน คงคิดว่าบริษัทไหนก็ยื่นลาออกก่อน 1 เดือนเหมือนกัน
ตรงนี้รับผิดเต็มประตูค่ะ

แต่ปัญหาคือทำอะไรไม่ได้แล้ว เพราะก็ไปตกลงกับทางบริษัทใหม่เรียบร้อย ที่เป็นงานนั่งโต๊ะ
เลยส่งจดหมายไปคุยอีกรอบ แต่ทางบริษัทเก่าก็ไม่ยินยอม คุณแฟนไม่รู้ว่าจะทำยังไง
วันสุดท้ายของการทำงานที่ได้ตกลงกันไว้รอบแรกจบ ก็เลยไม่ได้ไปอีก

จากนั้นไม่นานบริษัทก็ส่งจดหมายเรียกร้องค่าเสียหายค่ะ
เป็นจำนวนเท่ากับเงินเดือน 1 เดือน เพราะลาออกก่อนไม่ถึง  2 เดือน
ถ้าไม่จ่ายจะดำเนินการฟ้องร้องค่ะ และตอนนี้พี่ที่อยู่ข้างในเค้าส่งแมสเสจมาบอกคุณแฟนว่าบริษัทกำลังหาทนายอยู่

คือเงินเดือนที่ทางบริษัทเก่าเรียกมาคุณแฟนก็พอมีจ่ายนะคะ
แต่เรารู้สึกว่าเราจำเป็นต้องจ่ายด้วยหรือ งงๆ ว่ามีแบบนี้ด้วย
ตอนนี้รบกวนขอคำแนะนำจากพี่ๆ เพื่อนๆ ผู้รู้นะคะ ว่าเราต้องดำเนินการอย่างไรต่อไปดี

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
~เพลงกระบี่ต้นหลิว~
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 7
เข้ามายืนยันตาม คุณTingTing  ครับว่า
กม.คุ้มครองแรงงานกำหนดให้บอกกล่าวล่วงหน้า 30 วัน
นายจ้างไม่อาจอ้างสัญญาได้ว่าต้องบอกกล่าวล่วงหน้า 2 เดือน หรือมากกว่านั้น
เพราะ กม.คุ้มครองแรงงาน เป็น กม.เอกชน กึ่ง มหาชน
อะไรที่ขัดต่อ กม.แรงงาน ย่อมไม่มีผลบังคับได้ หากว่าทำให้ลูกจ้างรับภาระหนักเกินควร
แต่ถ้าอะไรที่ทำให้ลูกจ้างได้รับประโยชน์มากขึ้นกว่า กม.แรงงาน อันนั้นมีผลบังคับได้ ครับ


ดอกไม้
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  ปัญหาชีวิต กฎหมายชาวบ้าน
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่