ผมจบวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ม.รัฐบาล ในกรุงเทพ แห่งหนึ่งมา
ตั้งแต่เข้ามหาลัยปี 1 พอใครรู้ว่าเรียน วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
ก็เริ่มมีเรื่องเข้าใจผิดจากคนรอบข้างบ่อยๆ เช่น
"ลงวินโดว์ให้หน่อยสิ ถือว่าฝึกฝีมือก่อนสอบ"
"คอมเปิดไม่ติดอ่ะ ดูให้หน่อยว่าเป็นอะไร"
"เฮ้ย กุลงเกมนี้ไม่ได้ว่ะ มาดูให้หน่อยดิ"
หรือแม้กระทั่ง
"อยู่ๆ ไมโครเวฟมันไปไม่ติดอ่ะไม่รู้เป็นไร ดูให้หน่อย"
อันที่เจ็บสุดๆ คือ
"แอร์ไม่เย็นอีกแล้ว ดูให้หน่อยว่าเป็นที่น้ำยาแอร์หรือคอมเสีย" >> พี่ครับ นั่นมันคอมเพรสเซอร์ ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ แล้วผมก็ไม่ใช่ช่างแอร์ แต่ผมไม่เล็กนะครับ
เข้าเรื่องนะครับ
เอาง่ายๆนะ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มาจาก วิศวกรรม+คอมพิวเตอร์
จะเป็นส่วนผสมของ วิทยาการคอมพิวเตอร์ + วิศวกรรมไฟฟ้า
แยกง่ายๆ ดังนี้
วิศวกรรม คือ การสร้างหรือทำอะไรสักอย่างหนึ่งโดยมีระเบียบแบบแผนที่ชัดเจน มีขั้นตอนวิธีที่แน่นอน สามารถตรวจสอบได้
คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ ที่สามารถรับข้อมูล หรือ ชุดคำสั่ง แล้วนำไปประมวลผลเพื่อใช้ในการคำนวณที่ซับซ้อน และ แก้ปัญหาต่างๆ โดยสามารถที่จะแสดงผลลัพธ์ออกมาได้ และ สามารถบันทึกผลลัพธ์นั้นได้
เมื่อเอามารวมกัน จะได้ว่า การสร้างชุดคำสั่ง การสร้างข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การแก้ปัญหาต่างๆ โดยการเขียนคำสั่งให้คอมพิวเตอร์แก้ปัญหาให้ รวมไปถึงการสร้างวงจร อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ที่มีความสำคัญกับการทำงานของคอมพิวเตอร์
ซึ่งผู้ที่เรียนวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จะเรียนเกี่ยวกับระบบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ แต่ละส่วนทำงานได้อย่างไร ข้อมูลจะเก็บตรงไหนอย่างไร ทั้งในเชิงวัตถุ (เห็นว่าข้อมูลเป็นอย่างไร) และในเชิงกายภาพ (รู้ว่าไฟฟ้าวิ่งในคอมพิวเตอร์อย่างไร) จะเห็นว่าเราเรียนลึกกว่าการซ่อมคอมพิวเตอร์ครับ
แต่ที่วิศวกรคอมพิวเตอร์สามารถซ่อมคอมพิวเตอร์ได้ ก็เกิดจากการศึกษาเพิ่มเติมจากตัวเค้าเองครับ บางคนซ่อมเป็นก่อนมาเรียนวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ด้วยซ้ำ
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จะแบ่งออกเป็น 3 สาย หลักๆ ครับ
1.สาย Hardware -> สายนี้จะเรียนเกี่ยวกับการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และ เรียนรู้ที่จะสร้างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขึ้นมา ซึ่งทางสายนี้จะมีความใกล้ชิดกับวิศวกรรมไฟฟ้าค่อนข้างมาก โดยจะเรียนไปถึงวงจรต่างๆ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ต่างๆ แรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า ฯลฯ โดยจะนำความรู้ที่เรียนไปทั้งหมด มาทำการสร้างอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ชิ้นนึงที่สามารถทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ได้ อนึ่งการเรียนทางด้านสาย Hardware ก็จะมีการเขียนโปรแกรมด้วยเช่นกัน แต่จะเป็นโปรแกรมที่ใช้ควบคุม Hardware เช่นภาษา Assembly
2.สาย Software -> สายนี้จะเรียนเน้นไปทางด้านการเขียนโปรแกรม ทั้งโปรแกรมระบบ และ โปรแกรมประยุกต์ โดยจะเรียนตั้งแต่พื้นฐานของการแก้ไขปัญหาอย่างมีวิธีการ (Algorithm อัลกอริธึม) ตลอดไปถึงการเรียนรู้ว่า คอมพิวเตอร์มีการทำงานอย่างไร เมื่อเขียนโปรแกรมลงไป โปรแกรมจะนำค่าที่ได้ไปเก็บไว้ที่ไหน แล้วเราจะเรียกค่านั้นมาใช้ได้อย่างไร เรามีขั้นตอนวิธีในการรับงานเขียนโปแกรม วิเคราะห์ระบบอย่างไร (Software Engineering) โดยเราอาจจะไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมก็ได้ เราเพียงแค่วิเคราะห์ระบบว่าจะให้ทำงานไปในทิศทางใด อย่างไร แก้ปัญหาใด และนำแนวคิดเหล่านั้นไปโยนให้โปรแกรมเมอร์เขียนก็ได้ครับ
3.สาย Network -> สายนี้ดูจะเป็นสายที่มีผู้เรียนค่อนข้างมาก เป็นสายที่เรียนเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูล ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งเนื้อหาจะเริ่มตั้งแต่สัญญาณที่ส่งผ่านตัวกลาง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นวิทยุ จนนำพื้นฐานที่เรียนมาทำการสร้างเป็นระบบเครือข่าย LAN, MAN หรือ WAN นอกจากนั้นบรรดา Hacker ทั้งหลายโดยส่วนมากก็จะอยู่สายนี้ครับ เราจะเรียนเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม การควบคุมระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้เป็นแม่ข่าย คุณสมบัติของสายส่งข้อมูล หรือ ตัวกลางแบบไร้สาย
จะเห็นได้ว่า วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เรียนค่อนข้างครอบคลุมเนื้อหาสาระของ วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science), MIS(Management Information System) และสาขาอื่นๆ ของคอมพิวเตอร์ (อาจจะมีไฟฟ้านิดหน่อย) ดังนั้นเมื่อจบมาแล้ว สายงานที่เป็นไปได้จะมีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นนักพัฒนาระบบ โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ระบบ ผู้ดูแลระบบเครือข่าย วิศวกรระบบ ผู้พัฒนาฮาร์ดแวร์ ฯลฯ
อ้างอิงเนื้อหาจาก
http://blog.eduzones.com/jothailand/7238
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ไม่ใช่ช่างคอม อยากรู้ว่าเขาเรียนอะไรกันบ้าง ลองเข้ามาดูครับ
ตั้งแต่เข้ามหาลัยปี 1 พอใครรู้ว่าเรียน วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
ก็เริ่มมีเรื่องเข้าใจผิดจากคนรอบข้างบ่อยๆ เช่น
"ลงวินโดว์ให้หน่อยสิ ถือว่าฝึกฝีมือก่อนสอบ"
"คอมเปิดไม่ติดอ่ะ ดูให้หน่อยว่าเป็นอะไร"
"เฮ้ย กุลงเกมนี้ไม่ได้ว่ะ มาดูให้หน่อยดิ"
หรือแม้กระทั่ง
"อยู่ๆ ไมโครเวฟมันไปไม่ติดอ่ะไม่รู้เป็นไร ดูให้หน่อย"
อันที่เจ็บสุดๆ คือ
"แอร์ไม่เย็นอีกแล้ว ดูให้หน่อยว่าเป็นที่น้ำยาแอร์หรือคอมเสีย" >> พี่ครับ นั่นมันคอมเพรสเซอร์ ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ แล้วผมก็ไม่ใช่ช่างแอร์ แต่ผมไม่เล็กนะครับ
เข้าเรื่องนะครับ
เอาง่ายๆนะ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มาจาก วิศวกรรม+คอมพิวเตอร์
จะเป็นส่วนผสมของ วิทยาการคอมพิวเตอร์ + วิศวกรรมไฟฟ้า
แยกง่ายๆ ดังนี้
วิศวกรรม คือ การสร้างหรือทำอะไรสักอย่างหนึ่งโดยมีระเบียบแบบแผนที่ชัดเจน มีขั้นตอนวิธีที่แน่นอน สามารถตรวจสอบได้
คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ ที่สามารถรับข้อมูล หรือ ชุดคำสั่ง แล้วนำไปประมวลผลเพื่อใช้ในการคำนวณที่ซับซ้อน และ แก้ปัญหาต่างๆ โดยสามารถที่จะแสดงผลลัพธ์ออกมาได้ และ สามารถบันทึกผลลัพธ์นั้นได้
เมื่อเอามารวมกัน จะได้ว่า การสร้างชุดคำสั่ง การสร้างข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การแก้ปัญหาต่างๆ โดยการเขียนคำสั่งให้คอมพิวเตอร์แก้ปัญหาให้ รวมไปถึงการสร้างวงจร อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ที่มีความสำคัญกับการทำงานของคอมพิวเตอร์
ซึ่งผู้ที่เรียนวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จะเรียนเกี่ยวกับระบบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ แต่ละส่วนทำงานได้อย่างไร ข้อมูลจะเก็บตรงไหนอย่างไร ทั้งในเชิงวัตถุ (เห็นว่าข้อมูลเป็นอย่างไร) และในเชิงกายภาพ (รู้ว่าไฟฟ้าวิ่งในคอมพิวเตอร์อย่างไร) จะเห็นว่าเราเรียนลึกกว่าการซ่อมคอมพิวเตอร์ครับ แต่ที่วิศวกรคอมพิวเตอร์สามารถซ่อมคอมพิวเตอร์ได้ ก็เกิดจากการศึกษาเพิ่มเติมจากตัวเค้าเองครับ บางคนซ่อมเป็นก่อนมาเรียนวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ด้วยซ้ำ
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จะแบ่งออกเป็น 3 สาย หลักๆ ครับ
1.สาย Hardware -> สายนี้จะเรียนเกี่ยวกับการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และ เรียนรู้ที่จะสร้างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขึ้นมา ซึ่งทางสายนี้จะมีความใกล้ชิดกับวิศวกรรมไฟฟ้าค่อนข้างมาก โดยจะเรียนไปถึงวงจรต่างๆ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ต่างๆ แรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า ฯลฯ โดยจะนำความรู้ที่เรียนไปทั้งหมด มาทำการสร้างอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ชิ้นนึงที่สามารถทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ได้ อนึ่งการเรียนทางด้านสาย Hardware ก็จะมีการเขียนโปรแกรมด้วยเช่นกัน แต่จะเป็นโปรแกรมที่ใช้ควบคุม Hardware เช่นภาษา Assembly
2.สาย Software -> สายนี้จะเรียนเน้นไปทางด้านการเขียนโปรแกรม ทั้งโปรแกรมระบบ และ โปรแกรมประยุกต์ โดยจะเรียนตั้งแต่พื้นฐานของการแก้ไขปัญหาอย่างมีวิธีการ (Algorithm อัลกอริธึม) ตลอดไปถึงการเรียนรู้ว่า คอมพิวเตอร์มีการทำงานอย่างไร เมื่อเขียนโปรแกรมลงไป โปรแกรมจะนำค่าที่ได้ไปเก็บไว้ที่ไหน แล้วเราจะเรียกค่านั้นมาใช้ได้อย่างไร เรามีขั้นตอนวิธีในการรับงานเขียนโปแกรม วิเคราะห์ระบบอย่างไร (Software Engineering) โดยเราอาจจะไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมก็ได้ เราเพียงแค่วิเคราะห์ระบบว่าจะให้ทำงานไปในทิศทางใด อย่างไร แก้ปัญหาใด และนำแนวคิดเหล่านั้นไปโยนให้โปรแกรมเมอร์เขียนก็ได้ครับ
3.สาย Network -> สายนี้ดูจะเป็นสายที่มีผู้เรียนค่อนข้างมาก เป็นสายที่เรียนเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูล ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งเนื้อหาจะเริ่มตั้งแต่สัญญาณที่ส่งผ่านตัวกลาง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นวิทยุ จนนำพื้นฐานที่เรียนมาทำการสร้างเป็นระบบเครือข่าย LAN, MAN หรือ WAN นอกจากนั้นบรรดา Hacker ทั้งหลายโดยส่วนมากก็จะอยู่สายนี้ครับ เราจะเรียนเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม การควบคุมระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้เป็นแม่ข่าย คุณสมบัติของสายส่งข้อมูล หรือ ตัวกลางแบบไร้สาย
จะเห็นได้ว่า วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เรียนค่อนข้างครอบคลุมเนื้อหาสาระของ วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science), MIS(Management Information System) และสาขาอื่นๆ ของคอมพิวเตอร์ (อาจจะมีไฟฟ้านิดหน่อย) ดังนั้นเมื่อจบมาแล้ว สายงานที่เป็นไปได้จะมีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นนักพัฒนาระบบ โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ระบบ ผู้ดูแลระบบเครือข่าย วิศวกรระบบ ผู้พัฒนาฮาร์ดแวร์ ฯลฯ
อ้างอิงเนื้อหาจาก http://blog.eduzones.com/jothailand/7238